ปริญญาเอก นวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา รุ่น 9


สวัสดีครับลูกศิษย์ ป.เอก เเละ blogger

ผมได้รับเกีรยติจากมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ให้มาเป็นอาจารย์พิเศษสอนในระดับ ป.เอก สาขานวัตกรรมการจัดการ ซึ่งรุ่นนี้ก็เป็นรุ่นที่ 9 เเล้วครับ

ในการเรียนครั้งนี้ผมได้วางเเนวทางไว้ดังนี้

1. การวิจารณ์หนังสือ

- ทรัพยากรมนุษย์พันธ์ุ

- 8K's+5K': ทุนมนุษย์คนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

- The Ethical Power พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม

2. เเนวทางการพัฒนาทุนมนุษย์ ของ Dave Ulrich โดยศึกษาจากหนังสือ

- HR from the Outside In

- The HR Scorecard

- Hr Transformation

นำมาเชื่อมโยงกับทฤษฎีพัฒนาทุนมนุษย์ของผม

3. ให้เกิดความเข้าใจความหมายเเละกระบวนการของ Innovative และ Innovation

4. เน้นเรื่องเศรษฐกิจทั้ง Macro และ Micro

5. การพัฒนาทุนมนุษย์ในปัจจุบันที่มีเเนวโน้มที่จะก้าวข้ามจากภาคเศรษฐกิจ ไปสู่ Service Sector มากขึ้น

ผมหวังว่าจะใช้ Blog นี้เป็นช่องทางการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักศึกษา เเละเป็นประโยชน์สำหรับผู้ใฝ่รู้ครับ

ขอบคุณครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

หมายเลขบันทึก: 595144เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2015 03:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กันยายน 2015 03:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (74)

สวัสดีคะทุกท่านและนศ.ปริญญาเอก

การพัฒนาทุนมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญ ของความสำเร็จในการบริหารจัดการ ความเข้าใจโครงสร้างทุนมนุษย์ตามทฤษฎี ศ.ดร.จีระ ด้านSupply side และDemand sideในโครงสร้างทุนมนุษย์ เพื่อนำไปปรับกระบวนการพัฒนา 8K5Kเพิ่มศักยภาพไปสู่ประสิทธิผลที่มุ่งความเป็นเลิศ

การปลูกและเก็บเกี่ยวทุนมนุษย์ต้องศึกษาให้รู้และเข้าใจถึง2Rคือความจริง(Reality)และตรงประเด็น(Relevant) เข่น องค์กรทหารในยุคDigital พัฒนาจุดอ่อนระบบความมั่นคงระหว่างประเทศ วิเคราะห์หาความจริงที่สำคัญ2-3 ประเด็น ทิศทางพัฒนามีเป้าหมายที่คำนึงถึงความเกี่ยวข้องที่ มั่นคงยั่งยืน มองผลระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว คือความเชื่อมโยงMacroกับMicro ยุคการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ความพร้อม การทันเหตุการณ์ เป็นต้น ทหารแต่ละระดับ จะพัฒนา8K5K อย่างไร นวัตกรรมที่จะเกิดขึ้น ในยุคนี้ต้องการการมีส่วนร่วม 2way communication เพื่อแสวงหาความเข้าใจ ความเขื่อใจ ความจงรักภักดี สร้างเป้าหมายใหม่ร่วมกัน ปลูกจิตสำนึกร่วมกัน นวัตกรรมใหม่ที่เกิดขึ้นจะประสบความสำเร็จต้องตั้งเป้าความสำเร็จที่ท้าทาย วัดผลได้ มุ่งความเป็นเลิศ ทหารต้องมี8K5K นวัตกรรมการปลูกและเก็บเกี่ยว ทุนมนุษย์ให้มีมูลค่าเพิ่ม จะใช้Kใดใช้อย่างไร

นศ.ทุกท่าน

การเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่หลากหลายในกลุ่มสู่blog เป็นการshare careความรู้ เพื่อเกิดความรู้ใหม่จากการต่อยอดหรือ ข่วยกันเสริมเติมมุมมองที่แตกต่างหลากหลายอันเป็นประโยชน์ในกลุ่ม และสังคมแห่งการเรียรรู้ร่วมกัน

ถึงนักศึกษารุ่นที 9

ประทับใจในคุณภาพของลูกศิษย์

ขอให้ช่วยกันส่ง Blog ว่าอาทิตย์ที่แล้วได้อะไร

Concepts แม่นๆ

ภาษาอังกฤษต้องดี

ต้องอ่านหนังสือทั้งไทยและภาษาอังกฤษ

ต้องเป็นคนดีและเก่ง และต้อง Contribute ให้สังคมมากๆ และต้องใช้เวลาให้คุ้มค่า

….. อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/595144

บรรยากาศ การเรียนรู้ ครั้งที่ 2 วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน 2558


สรุปการบรรยายปริญญาเอกนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา รุ่น 9

วันที่ 27 กันยายน 2558

Blog chiraacademy เป็นสิ่งที่รวบรวมความรู้เหมือนคลังความรู้

หลักสูตรนี้ต้อง Macro สู่ Micro

การเขียนวิทยานิพนธ์ต้องเขียนเรื่องเกี่ยวกับ Macro ด้วย เพราะคนต้องไปยังเป้าหมายหลัก

ถามว่า HR Architecture เกี่ยวกับ Macro อย่างไร


ถ้าเราเน้นเรื่อง Migration อาจจะคำนึงถึงแรงงาน อีก 20 ปีข้างหน้า

ตลาดแรงงาน ต้องคิดว่าปลูกคนเพื่ออะไร ต้องเข้าใจความต้องการของตลาดแรงงาน ถ้าเข้าไปในตลาดแรงงานต้องมีประสิทธิภาพ ต้องมีศักยภาพ สามารถแข่งขันกับสิงค์โปร์ได้ โครงสร้างแรงงานให้นักศึกษาไปศึกษา และจะมีการสอบ ในการสอบไม่มีการ Open book ต้องเตรียมตัวให้ดี

โครงสร้างอายุ

ต่ำกว่า 15 ปี

15-25 ปี

25-40 ปี

40-60 ปี

คนที่เกษียณอายุแล้ว ในประเทศญี่ปุ่นยังแบ่งช่วงออกไปอีก

65-75 ปี

75-85 ปี

85 ปีขึ้นไป

โครงสร้างประชากร สนใจเพื่อ
- ถ้าไม่มีmigration พูดได้เลยว่ามหาวิทยาลัยก็อยู่ไม่รอด

  • การมีลูกในอนาคตเป็นทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ เนื่องจากเป็นต้นทุนที่ยิ่งใหญ่
  • อายุ 0-15 ปี ประเทศไทยต้องเน้นเรื่องโภชนาการ เพื่อเสริมสร้าง IQ
  • ถ้าเราไม่ศึกษาด้าน supply ก็จะเกิดการศูนย์เปล่าไปเท่านั้น
  • ได้ความคิด และนำไปสู่การปฏิบัติจริง สามารถช่วยเรื่องสังคมและการพัฒนาประเทศได้

นวัตกรรมไม่ได้เกี่ยวกับธุรกิจที่ใหญ่โต

เวลาไปดู Demand side ต้องดูตลาดแรงานให้ดี ปัจจุบัน 40-50% อยู่ภาคเกษตร

มหาวิทยาลัยในอนาคตต้องคิดว่าหน้าตาและทิศทางจะไปทางไหน

Trend ของโลกในขณะนี้จะวิ่งจาก industry ไปสู่ service sector

การศึกษาไทยล้มเหลว กระทรวงศึกษาอยู่ภายใต้การดูแลของนักการเมือง เห็นด้วยกับการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง

นักการเมืองก็เข้าไปคุมข้าราชการครู

ต้องเปลี่ยนแนวคิดให้สถาบันศึกษาเป็นสถาบันอิสระ

ดร.สร้อยสุคนธ์: เรื่อง HR Architecture สามารถนำไปประยุกต์ในองค์กรของตัวเองได้ ปัญหาของภาพนี้สามารถนำเข้าไปสู่ปัญหาครอบครัว จนระดับประเทศ ทั้ง Supply side และ demand side

ศ.ดร.จีระ: จัดการได้กับทุกเรื่องทั้งเรื่องการแข่งขัน ประชาธิปไตย ความยากจน สันติภาพ สิ่งแวดล้อม โลกาภิวัตน์ คุณธรรม และไม่มีคอร์รัปชั่น

คำถาม : Supply side และ demand side ซ่อนกันอยู่ นศ.จะตอบว่าอะไร

ศ.ดร.จีระ: ต้องรู้ว่าจะผลิตคนเพื่ออะไร

- อ.นิยม: ทั้ง Supply side และ demand side มนุษย์ที่เกิดมาแล้วนั้นเราจะลงทุนเขาได้อย่างไร ถ้า 5 ปี ดูว่า Demand side เปลี่ยนไปอย่างไร อาจจะดูว่าจะสร้างคนได้อย่างไรมีแนวโน้มอย่างไร ก็ทำให้สอดคล้องกันได้

ศ.ดร.จีระ: สังคมต้องคิดเป็น วิเคราะห์เป็น คิดแบบวิทยาศาสตร์ คิดแบบ Creativity Innovation สังคมการเรียนรู้ จิตสาธารณะ ต้องทำให้เด็กคิดเป็น lifelong learning

คำตอบที่อยากเฉลยคือ เราปลูกไม่ได้ปลูกเฉพาะวัยเรียนเท่านั้น การเรียนแบบทุกหลักสูตรต้องดูว่าเรียนแล้วได้ความรู้จริงหรือเปล่า ไม่ได้เรียนเพื่อปริญญาเท่านั้น แต่เรียนเพื่อปัญญา ต้องมีความใฝ่รู้ ไม่ได้คิดเรื่อง connection อย่างเดียวเท่านั้น

ศ.ดร.จีระ: จากการเรียนสัปดาห์ที่แล้วได้แก่นอะไรบ้าง

ดร.นาที:

ศ.ดร.จีระ : น่าจะทำพัทลุง Community of learning

Cultural capital อยู่ที่การตีโจทย์ของแต่ละคน

UNESCO กล่าวว่าการเพิ่มมูลค่าคือการเพิ่มความคิดสร้างสรรค์

ประเทศไทยมีทุนทางวัฒนธรรมอย่างมาก

8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภทพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Human Capital ทุนมนุษย์

Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

Social Capital ทุนทางสังคม

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน อธิบายว่าความยั่งยืนเกิดขึ้นได้อย่างไร ต้องมีความใฝ่รู้ และต้องมี 2 R คือ relevance และ reality

Digital Capital ทุนทาง IT

Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital ทุนทางความรู้

Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

นวัตกรรมเป็น process มีเรื่อง social innovation ด้วย แนะนำช่อง CNBC

ชีวิตอ.จีระมีนวัตกรรม 2 อย่างคือ ตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์ที่ธรรมศาสตร์ และนวัตกรมที่โรงเรียนบางหัวเสือ

นวัตกรรมต้องทำเป็น team work

อ.นิยม: ไปเรียนที่อเมริกาหลายปี เห็นว่ามีวิธีการสอนที่ดีมาก เน้นให้เด็กคิด ออกไปที่สวนสาธารณะ ให้เด็กถือถุงแล้วเก็บใบไม้เด็กก็จะถามก็ต้นอะไร ต่อไปก็ไปทำวิจัยได้ ทำให้เด็กตั้งข้อสังเกตได้ดีมาก

คำถามหลังจากดูเทป

1. นวัตกรรมจีนและอินเดียมีอะไรแตกต่างกัน และในอนาคตของ2 ประทศนวัตกรรมจะไปในทิศทางใด

อ.จีระ: คำถามข้อ 1 สามารถนำมาใช้เป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ได้

จีน

อินเดีย

พันเอกชยพล การปกครองแบบคอมมิวนิสต์

เกิดปัญหาเรื่องอุตสาหกรรมที่เยอะ ทุนมนุษย์พัฒนาตามไม่ทันเทคโนโลยี ผลิตแล้วขายไม่ได้ นวัตกรรมที่คิดก็ไม่ทัน

การจะก้าวออกจากระบบทุนนิยม ก็ก้าวออกไปไม่ได้

นางณฐพร: มีนวัตกรรมแต่วีดีโออาจจะยังไม่ไฮไลท์ มีด้านเศรษฐกิจ แต่ด้านสังคมมีไม่มาก

หากพัฒนาคนได้ทั้งประเทศจะมีการพัฒนาที่ดีมาก

ในวีดีโอสามารถมองเป็น economic of scale ได้

จีนต้องเพิ่มเรื่องนวัตกรรมทางสังคม อาจจะเป็นด้านคุณธรรมจริยธรรม

อ.นิยม: ปรัชญาของจีนก็เก่าแก่มากเช่นกัน หลายๆประเทศกลัวว่าถ้าจีนสนับสนุนเรื่องนวัตกรรมมากก็จะไปได้ไกลกว่า เนื่องจากพื้นฐานของคนจีนอดทนมาก ทำไว้ก่อน ยอมทำจากเล็กๆโดนกดขี่ก็ยอม

จีนรู้เรื่อง know how เท่าไหร่ก็พัฒนาได้เท่านั้น

ดร.นาที: การเมืองค่อนข้างนิ่ง โดยเฉพาะพื้นฐานของคน ในอนาคตยังไม่ได้คิดเรื่องทุนมนุษย์แต่เน้นเรื่องโครงสร้างมากกว่า

อ.นิยม: จีนส่งคนไปเรียนต่างประเทศ

ดร.นาที: มีความรักประเทศชาติสูง มีความเป็น Strong culture สูง

ดร.นาที: ชาวต่างประเทศมีการเรียนภาษาจีนแล้ว

พันเอกชยพล รากฐานของศาสนาค่อนข้างเปลี่ยนยาก ไม่สามารถเปลี่ยนได้ เรื่องบังกะลอร์เป็นส่วนน้อยแต่ไม่สามารถทำในประทศตนเองได้เลย

อ.นิยม: มีพื้นฐานทางการศึกษาเพราะอังกฤษวางรากฐานได้ให้ ซึ่งมีมากกว่าจีน แต่มีข้อจำกัดทางศาสนา

นางณฐพร: เห็นชัดเรื่อง IT

อินเดียและจีนมีพื้นฐานทางศาสนาเหมือนกันมาก

อ.นิยม: ปรัชญาของอินเดียเก่าแก่มาก

ดร.นาที: การแบ่งชั้นวรรณะของคนอินเดีย ยังไม่เน้นเรื่องทุนมนุษย์เช่นกัน

อ.นิยม: สรุปว่าจีนและอินเดียมีความแตกต่างกันทางด้านวัฒนธรรม

อินเดียมีโอกาสออกความคิดเห็น แต่จีนไม่สามารถออกความเห็นได้ เนื่องจากไม่ต้องการให้มีเสรีภาพ

เนื่องจากการแบ่งชั้นวรรณะ ทำให้อินเดียมีปัญหาเรื่องการศึกษา มีการเข้าถึงการศึกษาได้ไม่ทั่วถึง ไม่เกิดการเคลื่อนย้ายทางสังคม

อ.จีระ: ประเทศไทยมีมีการศึกษาดี ในอดีตระบบการศึกษาเป็นระบบปิด แต่ภายหลังการศึกษาเน้นเรื่องความเสมอภาค

จีนมีปัญหาเรื่องfreedom แต่อินเดียมีมากกว่า จีนมีเรื่อง 1country 2 system เติ้งเสี่ยวผิงเป็นนักนวัตกรรมทาง process

ต้องยอมรับว่าคนจีนค้าขายเก่งที่สุดในโลก มีนวัตกรรมทางด้านการเมืองเปลี่ยนจากระบบกษัตริย์เป็นฮ่องเต้

อ.นิยม: ความเป็นผู้นำของจีน ทำให้เกิดนวัตกรรม มีความเป็น intellectual capital

อ.จีระ: มีความต่อเนื่องเกิดขึ้น แต่จะยั่งยืนหรือไม่

พันเอกชยพล: ประเทศจีนมีปัญหาทุนมนุษย์เรื่องความเหลื่อมล้ำ

อ.จีระ: สิจิ้นผิง เป็นผู้นำที่ต้องทำงานหนัก ตอนนี้มีปัญหาเรื่องเศรษฐกิจตกต่ำ เรื่องเศรษฐกิจฟองสบู่แตก

ผู้นำต้องสามารถ execution เอาชนะความล้มเหลว

คนไทยต้องออกไปสู่สังคมไร้พรมแดน

ผู้นำต้องคิดล่วงหน้าก่อนหาเงิน

อ.นิยม: สิจิ้นผิง จะมีปัญหาเรื่องการเข้าถึง

2. ท่านเห็นด้วยกับคำจำกัดความของนวัตกรรมของคุณศุภชัยหรือไม่

นางณฐพร: เห็นตรงกันเป็นส่วนใหญ่ แต่ไม่เห็นด้วยกับคำว่า Economy of scale เพราะคิดว่าเรื่องเล็กๆก็เป็นนวัตกรรมได้

อ.จีระ: เรื่องนวัตกรรม ต้อง

1. ใหม่ สร้างสรรรค์ มีองค์ความรู้

2. ต้อง turn idea into action บริหารโปรเจคให้เป็น ต้องบริหารของที่แปลกใหม่ ไม่ใช่งานประจำ

อุปสรรค

ไม่ดูแค่ demand side

ไม่ค่อยดูเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลง

มีผู้นำแบบสั่งการเยอะ

ในอนาคตอยากให้ทำวิจัยเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศเพราะเป็นเรื่องที่สำคัญและคนส่วนใหญ่เข้าถึง สิ่งสำคัญต้องหาข้อมูลและวิจารณ์เป็น

การบ้าน การอ่านหนังสือทรัพยากรมนุษยฺพันธุ์แท้ ให้วิเคราะห์บทบาทของท่านพารณ และดร.จีระ ว่าเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร

วันนี้ทฤษฎีโครงสร้างทรัพยากรมนุษย์เป็นทรัพย์สินทางปัญญา ของ ศจ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ นักเศรษฐศาสตร์ กูรูพัฒนาทุนมนุษย์มามากกว่า 40ปีได้อธิบาย Supply side และDemand side เราจะใช้ภาพนี้เป็นเครื่องมือพัฒนาด้วยการ ปลูก เก็บเกี่ยวและเอาชนะอุปสรรค โดยมุ่งสู่ความเป็นเลิศ และยั่งยืนต่อเนื่องในอนาคตสู่ความสุขและความสมดุลย

5k ด้านHRกับInnovation ในความหมายเกิดสิ่งใหม่ ทำจนสำเร็จ และมีคุณค่าทำประโยชน์ให้แก่องค์กรและสังคม

Pope Francis เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมความคิดด้านสังคมมนุษย์ ความเหลื่อมล้ำ ความไม่เท่าเทียมกัน และสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม รวมถึงทุนสามานย์ที่โลภ คอร์รับชั่นเพื่อประโยชน์เพื่อตนและพรรคพวก ทำลายคุณค่าความเป็นมนุษย์

นวัตกรรมความคืดเพื่อสังคมสามารถใช้กระบวนการโครงสร้างทุนมนุษย์ดังกล่าวปลูกทุนมนุษย์อย่างมีเป้าหมาย และเป็นระบบ เช่นระบบการศีกษา แต่ละระดับชั้น เป้าหมายการลงทุนต้องมีผลกำไรกลับคืนอย่างมีมูลค่าเพิ่มและคำนึงถึงค่าเสียโอกาสของเวลาที่ใช้ไป หากโครงสร้างดังกล่าวนำมาประยุกต์ใช้วางแผนพัฒนาการศึกษาทุกระดับชั้นเรียน จะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงทุนมนุษย์สู่ความเป็นเลิศ คนเก่งต้องเป็นคนดี ส่งผ่านให้สังคมดี ชุมชนดี ประเทศขาติดี

นศ.ได้ใช้เวทีปะทะปัญญา เรื่อง Hr กับ Innovation

ระหว่าง จีน กับอินเดีย มีความเหมือนและแตกต่างอย่างไร ให้มองอนาคต กลุ่ม นศ. คิดอย่างไร โดยให้นำเสนอเป็นบทความเพื่อตีพิมพ์สู่สังคมแห่งการเรียนรู้

และเชิญชวนเพื่อนๆแสดงความ คิดเห็นเพื่อความหลากหลายความรู้และมุมมองที่มีคุณค่าต่อชุมชนการเรียน

อจ.ท่านย้ำเสมอไม่มีถูกผิด โดยใช้หลัก 2R Real ความจริง Relavent ตรงประด็น

ถึงรุ่น 9

1.ขอชมเชยการวิเคราะห์ปัญหาเรื่อง Innovation ระหว่างจีนและอินเดีย

2.น่าจะเขียนเป็นบทความ

3.ผมจะให้คุณสร้อยยกร่างขึ้นมา

4. การมอง Innovation ระดับประเทศก็ดีมาก

5 ในประเทศไทยเขตเศรษฐกิจพิเศษที่จะเกิดขึ้นมาหลายแห่ง น่าจะศึกษาว่าที่ไหนจะทำนวัตกรรมได้และนวัตกรรมชนิดใดบ้าง เช่น สินค้าฮาลาลในภาคใต้หรือไม่ ช่วยกันคิด

6. SME's กับ Innovation น่าจะมีบทบาทสูง มีกรณีศึกษาหรือไม่?

ขอบคุณทุกท่าน

สวัสดีคะ นศ.ทุกท่าน

ได้ค้นgoogle พบงานวิจัยเรื่องตรงกับที่เราสนใจ

The Comparison of China and India :National Innovation System.

Wu Xiaobo,School of Management,Zhejiang University

นศ.ศึกษามาอ้างอิงใช้ข้อ มูลลงในบทความของกลุ่มได้

อจ.ไม่กำหนดจำนวนหน้า ขอให้ชวนกันเรียนรู้ให้ข้อเสนอแนะ มุมมอง และเหลียวมองประเทศไทยมีความเห็นอย่างไรด้วย

อาจารย์หนุ่ม share care learn เป็นแรงขับเคลื่อนด้วยคะ

อาจารย์นิยม สุวรรณเดช

บทความ: นวัตกรรมของประเทศจีน และประเทศอินเดีย มีความแตกต่างกันอย่างไร และในอนาคตนวัตกรรมของทั้งสองประเทศจะไปในทิศทางใด

นาที รัชกิจประการ1 ชยพล สุวัฒนฤกษ์2 ณฐพร พันธุ์อุดม3 นิยม สุวรรณเดช4

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์5

1-4 นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

5 ศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

นวัตกรรมหมายถึงการทำสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีใหม่ๆ และอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม ซึ่งหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างประสบผลสำเร็จ และในหลายสาขา เชื่อกันว่าการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้น จะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด และไม่เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นต้นว่า ในด้านศิลปะ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐ การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่า มูลค่าของลูกค้า หรือมูลค่าของผู้ผลิต เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่างๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น นวัตกรรมก่อให้เกิดผลิตผลเพิ่มขึ้น

นวัตกรรมของประเทศจีน และประเทศอินเดีย มีความแตกต่างกันอย่างไร และในอนาคตนวัตกรรมของทั้ง 2 ประเทศจะไปในทิศทางใด กล่าวถึงประเทศจีนก่อน ทำไมประเทศจีนจะกลายเป็นผู้นำเทคโนโลยี เพราะว่าประเทศจีนมีผู้นำที่เข้าใจในกระบวนการวิศวกรรม (ได้จากการศึกษาประวัติผู้นำของประเทศจีน) เหล่าผู้นำของจีนมีความต้องการที่จะมีนวัตกรรมเหนือประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้นำของจีนมีเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำในนวัตกรรมเทคโนโลยีทุกๆ ด้านตั้งแต่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ไปจนถึงนาโนเทคโนโลยี ผู้นำจีนลงทุนในด้านเทคโนโลยี ทุกๆ ด้าน เนื่องจากประเทศจีนมีจำนวนประชากรมากกว่า 1,000 ล้านคน จึงสามารถที่จะมีตัวเลือกสำหรับบรรดาผู้มีพรสวรรค์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากกว่าประเทศจีนกำลังจะได้ความรู้ด้านเทคโนโลยีของอเมริกาทั้งหมด เนื่องจากมีการลงทุนและย้ายฐานการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เข้าสู่ประเทศจีนมากขึ้น ในมุมมองของนักศึกษาปริญญาเอก สาขานวัตกรรมการจัดการ เป้าหมายของประเทศจีนนั้นไม่ใช่เรื่องของการผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์หรือชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แต่ในอนาคตประเทศจีนจะดำเนินการการสร้างเทคโนโลยีแท้ๆ ของจีนที่มีบริษัทสัญชาติจีนแท้ๆ เป็นเจ้าของ ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นแล้ว เช่น ดาวเทียม, ขีปนาวุธ ฯลฯ

อย่างไรก็ตามประชากรจำนวนมากของประเทศจีน ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีหรือระบบสารสนเทศยังมีอีกมาก ในทางกลับกันในประเทศอินเดีย ประชากรเกือบ 500 ล้านคนมีโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างกันและกัน ทั้งที่ไปสู่และมาจากพื้นที่บางแห่งที่ห่างไกลจากความเจริญมากที่สุดหรือยากจนที่สุดนั้นเป็นไปได้โดยง่ายมากกว่าในอดีต แม้ในประเทศอินเดียจะมีการแบ่งชนชั้นวรรณะต่อกันมาเป็นเวลานาน แต่ในปัจจุบันระบอบประชาธิปไตยมีการพัฒนามากขั้นในอินเดีย รัฐบาลอินเดียให้การสนับสนุนที่จะทำให้ประชาชนหลายล้านคนของอินเดียเข้าถึงความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น และสามารถนำเข้ามาใช้เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพของภาครัฐ เพื่อทำให้รัฐสามารถติดตามผลของการให้บริการต่าง ๆ แก่ประชาชนได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น ในมุมมองของนักศึกษาปริญญาเอก สาขานวัตกรรมการจัดการประเทศอินเดียจะเป็นประเทศผู้นำทางด้านนวัตกรรมในอนาคตได้เนื่องจากประเทศอินเดียให้ความอิสระในการเข้าถึงด้านเทคโนโลยีของประชากร มีระบอบประชาธิปไตยที่เข้มแข็งการเคยเป็นเมืองขึ้นของประเทศอินเดียต่อประเทศอังกฤษนั้น เป็นผลดีและผลเสียกล่าวคือประเทศอินเดียมีระบบการศึกษาที่ดีแต่อีกด้านหนึ่งประเทศอินเดียยังประสบปัญหาความยากจนของประชากรเนื่องจากมีอัตราการเพิ่มของประชากรมากขึ้น ผลดีอีกด้านหนึ่งคือการได้รับเทคโนโลยีที่ทันสมัยจากประเทศอังกฤษ แม้จะได้รับการปลดบ่อยการเป็นเมืองขึ้นต่อประเทศอังกฤษ การพัฒนาด้านเทคโนโลยีก็ยังเกิดขึ้นอยู่เสมอ เช่นที่เมือง บังกาลอร์ ซึ่งเป็นเมืองที่มีความสำคัญ คือเป็นศูนย์กลางไอทีของประเทศอินเดียจนได้รับสมญานามว่า ซิลิคอน วัลเลย์แห่งอินดีย ( India Silicon Valley )

สรุป ทั้งสองประเทศไม่ว่าจะเป็นประเทศจีนหรือประเทศอินเดีย การเจริญเติบโตทางด้านเทคโนโลยี ด้านไอที ด้านสารสนเทศ จะมีการพัฒนาและสามารถเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นได้ในอนาคต ตราบใดที่ ผู้นำทั้งสองประเทศนี้มีการกำหนดทิศทางและวิธีปฏิบัติเพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรม ความเข้าใจในรูปแบบและภาวะผู้นำของผู้นำแต่ละคน และระบบการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ที่สามารถก้าวขึ้นมาแทนได้ ซึ่งนับได้ว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นจะต้องมี แต่ยังไม่เพียงพอสำหรับความสำเร็จอย่างยั่งยืนในด้านเศรษฐกิจยุคใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้น ในอนาคตทิศทางนวัตกรรมของทั้งประเทศไม่ว่าจะเป็นประเทศจีนหรือประเทศอินเดีย ผู้นำจะต้องเผชิญความท้าทายระดับภาวะผู้นำ กล่าวคือการนำรูปแบบภาวะผู้นำที่มีหลากหลาย เช่น ผู้นำแบบฝึกสอน ผู้นำแบบใช้ตนเองเป็นมาตรฐาน ผู้นำแบบสั่งการ ผู้นำแบบเน้นการมีส่วนร่วม ฯลฯ มาประยุกต์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และกลุ่มคน รูปแบบภาวะผู้นำมีอิทธิพลมากต่อบรรยากาศการทำงานขององค์กรและจะส่งผลต่อความรับรู้หรือความรู้สึกของบุคคลภายในองค์กร และส่งผลต่อกับผลการปฏิบัติงาน.

ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช

บทความข้างต้นมีเนื้อหาสรุปได้ว่าทั้งจีนและอินเดียมุ่งพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยี่ จำนวนประชากรมากสามารถคัดสรรคนเก่งเทคโนโลยี่ได้ไม่ยาก ในเมื่อรัฐบาลให้การสนับสนุนเต็มที่ ภาวะผู้นำของประเทศเป็นบทบาทสำคัญต่ออนาคตด้านการพัฒนาเทคโนโลยี่

ขอแสดงความคิดเห็น ขณะที่ความก้าวหน้า

เทคโนโลยี่วิ่งไปเร็วเท่าไร การเข้าถึงเทคฯของประชากรส่วนใหญ่ยิ่งกว้างมากขึ้นเท่านั้น และความเสื่อมด้านคุณธรรมและจริยธรรมยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นไปอีก จึงมีความเห็นว่าทุนมหาศาลในด้านเศรษฐกิจได้พุ่งสูงขึ้นต่อเทคฯ ความไม่เท่าเทียมกัน ความยากจน ระดับการศึกษา กำลังถูกจัดอันดับเป็นทุนต่ำลงและต่ำลง อาจถือได้ภาพเศรษฐกิจโลกที่เป็นสังคมไร้พรมแดน วิสัยทัศน์ของผู้นำโลก มุ่งลงทุนเทคฯอย่างหล่มหลง

ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่เป็นสมบัติของมนุษยชาติโลก ถูกเปลี่ยนแปลงจากอิทธิพลของเทค ฯ เยาวชนผู้เป็นอนาคตของโลกาภิวัฒน์ มีบทบาทและภาระหนัก การปิดช่องว่างหรือลดช่องว่าง เป็นคำถามที่ท้าทาย

Pope Francisในฐานะผู้นำศาสนาคริสต์คาทอลิก กล่าวคำปราศรัยที่แสดงวิสัยทัศน์ ทุนสามาลย์เป็นวัฒนธรรมความเสื่อม Culture Destroy เสนอให้สังคมเอื้อเฟื้อและเยาวชนต้องตื่นและลุกขึ้นทำอนาคตของโลกอยู่ในเมื่อเยาวชนที่ต้องได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน รัฐ เอกชนและระดับโลก

เราภูมิใจ ที่นายกรมต.ประยุทธ์ กล่าวปราศรัยวิสัยทัศน์ ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 9แห่งจักรีวงศ์ ได้ให้แนวทางการดำรงชีวิตอยู่รอดได้ พิสูจน์จริงโดยประชาชนนำไปใช้ประสบความสำเร็จ อยู่รอดได้ด้วยพึ่งตนเอง อยู่กับธรรมชาติเป็นมิตรกับธรรมชาติ

แนวปฏิบัติของPope และพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 9 เป็นทิศทางอนาคตควรปรับใช้เพื่อลดช่องว่างความยากจนและความร่ำรวย สังคมเอื้ออาทรกัน ไม่เบียดเบียน

การจัดสรรทุนของจีนและอินเดีย ไม่ละเลยต่อทุนมนุษย์ 8K5K ทุนมนุษย์ต้องทั้งดี เก่ง มีคุณธรรม

ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช

คำปราศรัยของสองท่านกล่าวในที่ประชุมสหประชาชาติ เมื่อ 25 กันยายน 2015(2558)

ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช
  • เห็นด้วยกับยุทธศาสตร์ 20ปีตามสารของนายก
    เพื่อความมั่นคงและเสถียรภาพของชาติ
    นี่แสดงถึงแนวคิดความยั่งยืน ปัญหาที่ต้องแก้ไขทั้งระบบ การปฏิรูปจำเป็นอย่างยิ่ง

สรุป การเรียนรู้ วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม 2558

  • มี Innovation
  • ต้องเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วม
  • ต้องบริหารการเปลี่ยนแปลง
  • ประเด็นแรกในการเชื่อมโยง K เข้าด้วยกัน เอา 2 K มาจับคู่กัน คือจริยธรรม จับคู่กับ Innovation
  • K มาจากการเสียก่อน ถ้าไม่เสียจะไม่ได้ประโยชน์ คือ เสียเวลากับเสียวิธีการ ต้อง Learning how to learn
  • นวัตกรรม เป็นวิธีการบริหารจัดการเชิงนวัตกรรมเพื่อไปสู่ความสำเร็จ
  • คนไทยมีกับดักทางเศรษฐกิจ เรายังอยู่ที่เฉลี่ยของประเทศอยู่ที่ 6,000 เหรียญต่อคนต่อปี แต่ต้องที่อยู่ที่ประมาณ 10,000 - 15,000 ต่อคนต่อปี
  • โอกาสที่จะวิ่งไปสู่ความสำเร็จ โดยเอาทรัพยากรมนุษย์เป็นตัวขับเคลื่อน ต้องเข้าใจ
  • ที่คณะแพทยศาสตร์ มีวิทยาศาสตร์สอนเรื่อง Bio เรียนเพื่อไปช่วยหมอ
  • Bio คือชีวะ ศึกษาสิ่งมีชีวิต สัตว์ พืช คน แต่ในที่สุดแล้วคนสำคัญที่สุด โลกในอนาคตเป็นโลกของพฤติกรรม เช่น ดื่มเหล้า สูบบุหรี่
  • นวัตกรรมมีทั้งวิธีการไปสู่นวัตกรรม มีหลายรูปแบบ ในธุรกิจคือ Product Innovation นวัตกรรมเกี่ยวกับข้องกับสังคม คือ Social Innovation
  • กฟผ.เขาไม่ต้องการ Engineering ต้องเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ต้องบริหารการเปลี่ยนแปลง
  • หลักสูตรนี้ เน้น Human Resource การบริหารงานบุคคลลงไปที่องค์กร
  • HR architecture ต้องเริ่มตั้งแต่เกิด มนุษย์ต้องมีทั้งดีและเก่ง ต้องมีคุณธรรมจริยธรรม เสาหลักการพัฒนาคน ถ้าการศึกษาเน่า ครอบครัวเน่า สื่อเน่า ศาสนาเน่า เรากำลังปรับปรุง 3 อย่าง ปลูกทุนมนุษย์ให้มีคุณภาพสูงขึ้น ถ้าเป็นไปได้ เราอยากบริหารจัดการทุนมนุษย์เหล่านั้นให้มีความสุข ความพึงพอใจ เพื่อคืนผลประโยชน์คือนายจ้างและสังคม
  • ตรงประเด็นรู้จริง ปฏิรูปโดยการเอาการศึกษาออกจากการเมือง นักการศึกษาเอาใจนักการเมือง โกงและกิน เรื่องการจัดซื้อจัดซื้อ
  • การบริหารการศึกษา Macro ต้องเอาการเมืองมาด้วย ประเทศอื่นๆ เอาจริงเรื่องนี้ ต้องปะทะกันทางปัญญาบ่อยๆ
  • เด็กอายุ 5 ขวบถ้าขาดไอโอดีน ขาดการศึกษาที่ดี จะมีเบสิคที่ดีได้อย่างไร เราต้องมีคุณภาพทางการศึกษา ต้องคิดเรื่อง Macro เราพูดถึงนวัตกรรม ถึงจีนกับอินเดีย
  • หลักสูตรจะมีการสอบครั้งเดียว ที่เหลือจะเป็นการทำ Paper ร่วมกัน ให้ข้อสอบไปดู จะเลือกให้ทำเป็นบางข้อ
  • จะยกตัวอย่างให้ดูบางประเด็น หลักสูตรนี้จะเน้นเรื่อง Macro การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ โลก วัฒนธรรม เทคโนโลยี การขับเคลื่อนการค้าชายแดน SME's ผู้ประกอบการ
  • คิดเรื่อง Macro การศึกษา Social กับ CSR การหาความรู้ของเด็ก การใช้ Social Media เพื่อการบริหารจัดการในการทำงาน เป็นต้น
  • การศึกษาของจีน และโรคภัยไข้เจ็บ หาความร่วมมือร่วมกัน
  • Impact ของทุนมนุษย์ ไปกระทบ ความยากจน การจัดการโลกาภิวัตน์ กระทบกับการแข่งขัน กระทบกับประชาธิปไตย ใน HR architecture ต้องทำเพื่อจิตสาธารณะ จับแนวให้ได้
  • Micro มันกระแทกมาจาก Macro
  • ต้องพัฒนาคนอยู่ตลอดเวลา การพัฒนาคนคือเห็นคุณค่าในการลงทุน ตัวอย่างที่ อ่านไปคือ คุณพารณเห็นคุณค่าของคน มองไกล ลงทุนวันนี้ ผลตอบแทนของคนมันต้องใช้เวลา
  • Investment ในโลก ไม่ได้ Invest แค่หนเดียว ต้อง Invest ตลอด หรือ Invest ยกกำลังสอง ต้องพัฒนาตัวเองให้ทันกับเหตุการณ์ เพราะความรู้ต่างๆ ล้าสมัยอย่างรวดเร็ว เราต้องมี Habit ต้องพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ มีความใฝ่รู้ ตลอดเวลา
  • คุณพารณ พูดว่าเรื่องคนไม่ใช่เทคนิค แต่คือเรื่องความเชื่อของผู้บริหารในสังคม ในการตลาด
  • ต้องสร้างมูลค่า อย่าเป็นมนุษย์เงินเดือน เช้าชามเย็นชาม จะทำให้ไม่เกิดนวัตกรรม ต้องพึ่งตัวเอง
  • 8K's คือคุณสมบัติพื้นฐาน ที่ต้องมีตั้งแต่เด็ก เราต้องเข้าใจ Macro และ Micro ให้ได้
  • ทรัพยากรมนุษย์ เป็นทรัพยากรมนุษย์สิ่งที่สำคัญที่สุดในองค์กร
  • ถ้าเราจะช่วยสังคมไทย ไปดูหน่วยงานไหนในราชการในวันนี้ ที่มีการปลูกทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่องและต่อเนื่อง
  • หาข้อมูล และ Search อ.จีระ คนที่ช่วงทำงานแล้วที่ไหนบ้าง ทำแล้วประสบความสำเร็จจริงหรือไม่?
  • อายุ 25-35 และ 35-45 และ 45 - 60 ต่อไป ลำดับขั้นพิจารณาด้าน Demand side ในช่วงอายุ 25-60 เมื่ออยู่ในวัยทำงาน เราจะต้องสร้างให้เกิดการพัฒนาทุนมนุษย์อย่างต่อเนื่อง
  • เราได้ปลูกแล้ว จาก 8K's คือการปลุก Happiness Capital คือ Happy at work มีทั้งความสุขในการทำงาน
  • ปลูกและเก็บเกี่ยวซ้อนกันอยู่ ได้ทั้งปลุกและเก็บเกี่ยว มีการพัฒนาและบริหาร
  • การเก็บเกี่ยว คือ แบบ Maslow อยากมีความสุข การมอบอำนาจ สร้างแรงบันดาลใจ และ Trend ของโลก ในการเก็บเกี่ยวคือเก็บเกี่ยวสิ่งที่มองไม่เห็น คือ Intangible
  • ต้องเป็นคนคิดเป็น วิเคราะห์เป็น ถ้าการศึกษาเพิ่ม รายได้เพิ่ม ทำไมทฤษฎีนั้นทำไม่ล้มเหลวในปัจจุบัน จำนวนปีที่เรียนเป็นปริมาณอย่างเดียว quality
  • ทฤษฎี ข้อ 2 - 8 คือการวัดคุณภาพทุนมนุษย์ ฝึกให้คนคิด คนที่เรียนเยอะแต่คิดไม่เป็นก็เยอะ
  • เพราะความเป็นเลิศไม่ได้มาจากการเรียนอย่างเดียว แต่คือการปะทะกันทางปัญญา ข้อ 4 ทุนทางความสุข ต้องมีคือทำงานอย่างมีความสุข
  • Happy work place ต่างกับทุนแห่งความสุข ทุนมนุษย์คือตัวเรา Happy work place คือองค์กร
  • คุณสมบัติของมนุษย์ไม่ได้มีแค่การศึกษาแต่เรามีปัญญา เราอ่อนแอที่ครอบครัว วัด โรงเรียน และสื่อ ที่ล้มเหลว จริยธรรม ต้อง Back to basic ต้องเป็นคนดี ก่อนคนเก่ง ต้องมี 8k's ก่อน ไปที่ 5K's 8 ต้องมาก่อน 5 ถึงจะประสบความสำเร็จ วันนี้ Networking เราอยู่คนเดียวไม่ได้ ต้อง capacity building ทำงานร่วมกัน และพัฒนาคน sustainability มองอนาคต รู้วันนี้และต้องอยู่รอดในวันหน้า เราต้องพึ่งตัวเอง
  • ความรู้ต้องทันเหตุการณ์ ทฤษฏีตัว T คือ ลึกและกว้าง แนวกว้างและแนวนอน เหมือน ตัว T คนไทยต้องมีเหตุและผล อะไรไม่เข้าใจต้องบี้ประเด็น อย่ามั่วในการเรียนครั้งนี้
  • ต้องเป็นเบ็ดตกปลา แต่ต้องวิเคราะห์เพื่อให้จับปลาเป็น
  • จากหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ มีพื้นฐานทางครอบครัวมาดี
  • 2 ท่านไม่ยึดติดที่ครอบครัวที่มี มี Intangible
  • ยอมลงทุนกับ Human Resource มีการตั้งสถาบันแรงงาน คือ คุณนิคม จันทรวิทุร เป็นประธานจัดตั้ง เข้า ครม. ของดีเกิดยาก
  • เห็นประเด็นที่ตรงกัน คือมองที่ตัวมนุษย์ พื้นฐานเริ่มแรก ทั้งระยะยาวและมองไกล มองอนาคต
  • ตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์ อยู่ 4 สมัย ช่วงที่มีค่าจ้างขั้นต่ำ เรื่องการเมือง โดดเด่นในเวทีข้างนอก มี brand
  • มองลักษณะความเป็นนายจ้าง ลูกจ้าง มองเจ้านาย กับลูกน้อง ในการพัฒนาทุนมนุษย์ ถ้านายจ้างเอาด้วย เล็งเห็นและพาองค์กรไปสู่ผลผลิตที่ดี
  • อ.จีระ เศรษฐกิจจำเป็นที่จะต้องขยาย แต่แรงงานก็สำคัญ
  • มาจากองค์กร ที่แตกต่างกัน คุณพารณ มาจากหน่วยงานใหญ่ เราต้องมีแก่นและมี Brand อ.จีระ มีความมุ่งมั่น เรื่องคนเช่นกัน มองระยะยาว
  • อ.จีระ ใฝ่รู้ มีวิธีการ ในการแก้ไขความขัดแย้ง หาความรู้ด้วยตนเอง Self Learning
  • อยู่ในทุนมนุษย์ที่มารวมกันในเรื่องทรัพยากรมนุษย์ เอาเรื่องทุนมนุษย์มาเป็นหลัก มุ่งสู่ระดับล่าง พัฒนาระดับล่างไปถึงชั้นสูง คนที่พลิกประเทศได้คือตั้งแต่ระดับล่าง
  • อ.จีระ ที่พูดมาทั้งหมดเป็นการวิเคราะห์ที่ลึกซึ้ง เพราะเป็นอะไรที่จับต้องยาก จับ 2-3 ประเด็น
  • พื้นฐานมาก่อน คิดเป็น และต้องมีคุณธรรมจริยธรรม ใน 8K's , 5K's ต้องอ่านและวิเคราะห์ออกมา
  • ได้เปรียบที่มีการปะทะกับความจริงทุกวัน รู้แก่นและความจริง
ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช

สวัสดีคะทุกท่านและนศ.ปริญญาเอกรุ่น9

8kเป็นทุนพื้นฐานของทุนมนุษย์ 5k เป็นทุนมนุษย์ในยุคโลกาภิวัฒน์

โครงสร้างทุนมนุษย์ Supply sideและDemand side วิเคราะห์ได้ทั้ง Macro และMicro

การลงทุนที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ เป็นทุนที่ต้องเสียไป เช่น เวลา เงินที่จ่ายไป เป็นต้น ผลตอบแทนกลับมาเป็นกำไรหรือขาดทุน ณเวลาใดเวลาหนึ่ง ณวันนี้อาจขาดทุน แต่อนาคตอาจกำไร และมีมูลค่าเพิ่ม

3V V1 มีความรู้เพิ่มขึ้น มีความฉลาดเพิ่มขึ้น

.V2 มีความคิดสร้างสรรค์ ต่อยอดจากความรู้ที่เพิ่มขึ้น

V3 เกืดกระบวนการเป็นนวัตกรรม คิดใหม่ ทำใหม่ ได้ผลผลิตใหม่ จากความหลากหลายความรู้ ผสมผสาน คิดนอกกรอบที่มีความเป็นไปได้จริง เช่น

การใช้ซ้ำถุงขยะย่อยสลายง่าย เพื่อลดขยะ เป็นต้นต้องมีกระบวนการจากความหลากหลาย ผลกระทบเชื่อมโยงMACRO MICRO มีทุนความยั่งยืนระดับใดเป็นต้น

ทฤษฎี 3 v ของ ศจ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ใช้ได้ mean และends ใช้ในการฝึก คิด พูด และกระทำได้จริง เพื่อฝึกดึงความสามารถที่เป็นเลิศของทุนมนุษย์ออกมา ปะทะปัญญาทั้งสดใหม่ หรือต้องแสวงหาจากการอ่าน เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ สกัดความรู้ที่ได้ใหม่คืออะไร ทุกชั่วโมงการเรียนร่วมกันต้องตอบว่าได้อะไรจากการเรียนรู้แต่ละครั้ง

บรรยากาศการเรียนรู้ วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม 2558

สรุปการบรรยาย

วันที่ 18 ตุลาคม 2558

บทความที่อยากให้นักศึกษาเขียน

ปฏิรูปการศึกษาให้หลุดจากการเมือง

สิ่งที่ปัจจุบันต้องเน้นความยากของการพัฒนาทุนมนุษย์ เพราะต้องปลูกชั่วชีวิต

หลักสูตรนี้ต้องการเปลี่ยนพฤติกรรม

ทุนแห่งความยั่งยืน คืออะไร

คุณโอ๊ต: การปลูกมนุษย์ในสังคมและองค์กร เราจะใช้ในระยะยาว

อ.จีระ: สมัยฟองสบู่แตก หากนักธุรกิจคิดว่าวันนั้นดอลล่าร์มีทั้งข้อดีและข้อเสีย

ข้อดี คือ ดอลล่าร์มันลง แต่ลืมว่ามีอัตราแลกเปลี่ยนด้วย ก็จะล้มละลาย

อ.จีระ: ทุนมนุษย์คือคุณสมบัติที่เกิดขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ ดึงศักยภาพของคนที่อยู่ข้างในที่มองไม่เห็นออกมาให้เป็นคุณสมบัติให้สูงขึ้น

ทุนแห่งความยั่งยืน เป็นซับเซตของทุนมนุษย์

คุณโอ๊ต: วิธีการเขียนมีความเข้าใจง่าย ถ้าผู้นำได้อ่านเล่มนี้จะทำให้มีภาวะผู้นำ เพราะเรื่อง 8K และผู้นำเชื่อมโยงกัน

อ.จีระ: เรื่องผู้นำจะมีทั้งหลักการ Principle จะใช้ได้ทุกแห่ง

Leadership Principle

คำจำกัดความ :

ไม่ว่าเรื่องที่จำเป็นและสำคัญที่จะต้องเข้าใจ

และไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ใดๆ Principle ต้องคงอยู่ให้ได้ แต่ Principle คือ เสาเข็มหลัก เป็นพื้นฐาน ในบางสถานการณ์อาจจะต้องเพิ่มประเด็นอื่นๆเข้ามา

แต่ เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ผมจะขอเรียกว่า Chira Principle of Leadership

Chira Leadership

Leadership คือ Trust ไม่ใช่ ตำแหน่ง

Leadership ไม่ใช่ Order สั่งการ แต่เป็นการสร้าง โดยพยายามใช้เป็น Role Model คล้อยตาม พลังทางอิทธิพล (Influence)

Leaders ต้องมีคุณธรรม จริยธรรมก่อน แล้วถึงมีคุณสมบัติอื่นๆตามมา

Leaders ต้องเป็นที่พึ่งของคนในองค์กร เมื่อมี Crisis ต้องแก้หรือทำอะไรต้องให้เกิด Impact ให้ได้

เช่น วันนี้ผมมาที่นี่ ถ้า Dr.chira เป็น Leaders

ต้องทำให้ทุกๆคนเกิดพลังเกิดความอยาก

เรียนและนำไปปฏิบัติไม่ใช่แค่ Lecture ไป

เฉยๆ

5. Leaders น่าจะพูดถึง Vision หรือ Future แต่ไม่ลืมอดีต อย่าพูดแค่ บริษัทจะกำไรเท่าไหร่?

6. Leadership in human Capital คือ ต้องรู้จัก เรื่อง ทุนมนุษย์ หรือทรัพยากรมนุษย์และรู้จักอย่างดี เช่น รู้จักลูกน้องที่ต่ำสุด ไม่ใช่บ้าแต่นาย

7. Leadership คือ สิ่งที่มองไม่เห็น หรือเรียกกันว่า Trend ใหม่ คือ Intangible ดึงเอาความเป็นเลิศข้างในของคนออกมา

8. Leadership คือ ต้องเป็นของแท้ ไม่ใช่สร้างขึ้นมาแบบลอก ภาษาวิชาการเรียกว่า Authenticity

9. Leadership ไม่ใช่แค่สำเร็จหนเดียวจบกันคือ การสร้าง ให้เกิด Energy ในองค์กร แต่ทำ ต่อเนื่อง ต่อเนื่องและต่อเนื่องหรือผมเรียกว่า 3 ต.

คุณสิยาพัฐ : ทุนจริยธรรม คิดว่าตอนเรียนทำไมครูใช้ไม้เรียวตีเด็ก สมัยเราก็กลัวแล้วก็จะไม่มาสาย

อ.จีระ: เราเน้นเรื่องบ้าน วัด โรงเรียน ปัจจุบันเราห่วงว่าเด็กสมัยนี้จะทำอะไรไม่เป็น

ทุนแห่งความสุข คืออะไร

คุณสิยาพัฐ : เมื่อเรามีเป้าหมายที่ชัดเจน

อ.จีระ: ทุนแห่งความสุข และ Happy workplace ต้องแยกกันให้ออก

ทุนแห่งความสุข ถ้าชอบงานนั้นๆ ก็จะมีความสุข ถึงแม้จะไม่มีบรรยากาศในการทำงานก็ตาม

กฎในการสร้างทุนแห่งความสุขของดร.จีระ

Happiness Capital

(Dr. Chira Hongladarom’s Model)

Happiness Capital

(Sharp/Hongladarom’s Model)

1. สุขภาพทางร่างกายและจิตใจพร้อมไม่หักโหม (Healthy)

2. ชอบงานที่ทำ (Passion)

3. รู้เป้าหมายของงาน

(Purpose)

4. รู้ความหมายของงาน

(Meaning)

5. มีความสามารถที่จะทำให้งานสำเร็จ

(Capability)

6. เรียนรู้จากงานและลูกค้าตลอดเวลา

(Learning)

7. เตรียมตัวให้พร้อม (Prepare)

8. ทำงานเป็นทีม อย่าทำงานคนเดียว

(Teamwork)

9. ทำหน้าที่เป็นโค้ชให้แก่ทีมงานและลูกทีม (Coaching)

10. ทำงานที่ท้าทาย (Challenge)

11. ทำงานที่มีคุณค่า (Enrichment)

1.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ (Exercise)

2.อย่าแบกงานที่หนักเกินไป

(Put down your burden)

3. ศักยภาพในการถ่ายทอดในงาน

(Communicate Effectively)

4. ทำงานในจุดแข็งของตัวเอง

(Recognize your strengths)

5. มุ่งมั่นในงาน (Keep Focus)

6. ทำในสิ่งที่อยากทำไม่ใช่เพราะต้องทำ

(Reduce the ‘shoulds’)

7. ทำงานในองค์กรที่มองคุณค่าของคนและงานคล้าย ๆ กัน (Clarify your values)

8. อย่าทำงานเครียดและวิตกกังวล

(Overcome worry and stress)

9. บริหารภาระงานให้เหมาะกับตัวเอง

(Refine your workload)

10.ใช้คำว่าขอบคุณกับลูกน้องและเพื่อนร่วมงาน (Choose your words)

11.สร้างบรรยากาศในการทำงานให้มีความสุขร่วมกัน (Create good environment)

คุณสิยาพัฐ: ภาพรวมของหนังสือ เห็นว่า หากผู้นำได้อ่านและนำไปปฏิบัติก็จะทำให้ใช้ได้ในงานจริง จะทำให้ไมมีคนโกง

พันเอกชยพล: การที่ได้อ่าน8K 5K เห็นว่าเรื่องนี้วิเคราะห์แล้วว่าคนไทยจะต้องมีความเสี่ยงในการเข้าสู่อาเซียน

อ.จีระ: ถ้าเรามี Social capital เราก็จะได้เปรียบในการสร้าง Connectivity ด้าน Human person คนไทยจะต้องมี human relation

ความคิดของผมไม่ได้เริ่มจากศูนย์ มีพื้นฐานอยู่แล้วและรวมให้เป็นระบบ จะเน้นเรื่องความสดและใหม่ของข้อมูล

พันเอกชยพล: ดร.จีระมีความกังวลว่า เมื่อเปิด AEC คนไทยจะคิดแต่เรื่องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแต่คนไทยจะลืมเรื่อง 8K 5K

อ.จีระ: ผมเน้นการทำงานที่เป็น people to people ambassador การเข้าสู่ AEC ต้องเข้าใจซึ่งกันและกัน ทั้งเรื่องศาสนา วัฒนธรรม

พันเอกชยพล: แทนที่เราจะพูดเรื่องโครงสร้างเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว เราต้องดูเรื่องวัฒนธรรมด้วยเป็นคู่มือให้คนไทยเมื่อเข้าสู่อาเซียน

อ.นิยม: รูปเล่มทำให้เข้าใจยากหน่อย เนื่องจากมีการสัมภาษณ์ และเรื่อง Gary Becker เน้นเรื่องทุนมนุษย์ มีทั้งคุณพารณ คุณดนัย การเข้าสู่อาเซียนเราต้องคิดถึงเรื่องการพัฒนาคน ทุนมนุษย์มีเรื่องย่อย 7 ข้อ มองว่านอกจาก 7 ทุน และทุนมนุษย์ ต้องมีเรื่อง 5K ด้วย

อ.จีระ: งานขอคนไทยรีบทำหลายอย่างจนไม่มีพื้นฐาน บางครั้งมีความรู้ไม่พอ

อ.นิยม: เรื่องนี้เป็นโครงสร้างใหญ่ สิ่งที่ไม่มีคือโครงสร้างย่อย

เรื่อง Talented capital และinnovation capital ต้องตามด้วยวิธีการเรียนเรื่อง 4L’s

อ.จีระ: Learning opportunity คิดว่า 8K 5K จะเกิดกับคนอื่นอย่างไร

อ.นิยม: แต่ละทุน ทำให้ได้งานวิจัยเกิดขึ้น

อ.จีระ: หลักสูตรนี้จะได้เรื่องงานวิจัยด้วย เพราะสามารถเชื่อมโยงกันได้

Macro กระเด้งไปสู่ Micro และกระเด้งไปสู่ศักยภาพของคน

อ.นิยม: เรื่อง Competency ของคนก็แตกต่างกันไปในแต่ละชาติ คนไทยต้องคิดว่าเรารองรับแล้วหรือยัง

อ.จีระ: เรื่องแนวคิด Skill knowledge attitude ต้องเน้นเพื่อเป็นพื้นฐานเรื่อง Talent management เรื่อง Fast track ก็ต้องมองเรื่องวัฒนธรรมองค์กร

เรื่อง talent ก็ควรนำไปทำงานวิจัย และเรื่องวัฒนธรรมองค์กรก็เป็นเรื่องสำคัญ

อ.นิยม: ความเป็นมนุษย์ ต้นทุนมนุษย์ประกอบด้วยพื้นฐาน ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความรู้ ทุนทางสังคม

อ.จีระ: คนไทยเป็นประเภท คิดว่าตัวเองยิ่งใหญ่มาก

อ.นิยม: ขงจื๊อพูดไว้เมื่อ 200 ปีว่า การเดินทาง 1 ลี้ ยังได้ความรู้มากกว่าอยู่ในห้องเรียน 1 ปี ถึงมี Silk Road

ดร.นาที: สามารถเป็นคู่มือได้ทั่วโลก เพราะพูดตั้งแต่เกิด สภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร

อ.จีระ: ถ้าเราจะเน้นเรื่อง Social capital ต้องมีความจริงใจ

การไปบรรยายให้ผู้นำท้องถิ่น ก็สามารถนำไปใช้ได้

ต้องคิดที่จะทำงานระดับสากลมากขึ้น

ดร.นาที: อยากให้ปรับปรุงเรื่อง Content ให้คนทั่วไปอ่านให้เข้าใจได้ง่ายๆก็จะดีมาก

อ.จีระ: สิ่งสำคัญ คือ เรื่องการปรับ Emotion พร้อมกับการมีจริยธรรม

อ.สร้อยสุคนธ์: รุ่น 9 เป็นดาวดวงเด่นเป็นความท้าทายและอาจารย์ไม่หยุดนิ่งในการพัฒนา

อาจารย์สามารถทำให้นักศึกษาทุกคนได้ดึงศักยภาพออกมา

Workshop

  • บทความนี้เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมในด้านไหนบ้าง
  • ศักยภาพของทุนมนุษย์ที่มีส่วนทำให้นวัตกรรมเรื่องยางพาราประสบความสำเร็จและมีตัวละครเกี่ยวข้องอย่างไรและบทบาทที่แตกต่างกัน
  • ในขั้นตอนนวัตกรรมของ ดร.จีระ คือความรู้ใหม่สร้างสรรค์ ลงมือทำ และทำให้สำเร็จ

อ.นิยม: เรื่องความร่วมมือ และการสร้างมูลค่า และมีการสร้างกิจกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่า

พันเอกชยพล: นวัตกรรมเรื่องการจัดการทุนมนุษย์ ทำที่ประเทศไทย ใกล้วัตถุดิบ โดยเอาความรู้ของเขามาลง

นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการผลิต จีนเอาวิธีการผลิตยางมาให้เรา

นวัตกรรมด้านความยั่งยืน โดยมีการวิจัยร่วมกันเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

ตัวละคร: มีผู้บริหารของมหาวิทยาลัย ทั้งหมด 11 คน ที่มอ. ประเทศจีน มีมหาวิทยาลัยชิงเตา และ Rubber Valley

อ.จีระ: เรื่องนวัตกรรมเป็นเรื่องใหม่ ต้องให้รายได้ของเกษตรกรที่ทำยางดิบขึ้น เป็นนวัตกรรมทางความคิดที่ดี แต่กระบวนการสดท้ายคือเกษตรกรต้องได้

อ.นิยม: น่าจะเกิดนวัตกรรมทางด้านการศึกษา มี Know how เกิดขึ้น

อ.สร้อยสุคนธ์: เรื่อง 8K 5K จะกระเด้งไปสู่ 3V ทั้งประเทศจีนและไทย

เรื่อง 4L’s และ HR Architecture ก็นำมาใช้ด้วย

(โครงการนี้อยู่ตรงขั้นตอนไหน วิจารณ์)

อ.จีระ: ความสำเร็จของนวัตกรรมไม่ได้อยู่ที่เงินอย่างเดียว นวัตกรรมต้องทำให้เกิดimpact กับลูกค้า

ความคิดสร้างสรรค์ ความรู้ ซึ่งจะมี HR เข้ามาทุกจุด และสิ่งที่สำคัญต้องทำให้สำเร็จ

อ.นิยม: บทความนี้ได้เรื่องความร่วมมือกับต่างประเทศทางด้านวิจัยเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เนื่องจากได้องค์ความรู้ที่ตอบโจทย์ว่าจะแข่งขันกับต่างประเทศอย่างไร

อ.จีระ: คุณภาพของการทำวิจัยสำคัญมาก เทคโนโลยีเรื่องยางดิบของไทย มอ.ต้องสร้างNew culture

อ.จีระ: มีการเซ็นร่วมกัน 3 หน่วยคือ มอ. มหาวิทยาลัยชิงเตา และ Rubber Valley เมื่อเอกชนเข้ามาก็จะมีความรู้สึกว่ามหาวิทยาลัยให้เกียรติ

ถึงเวลาที่มหาวิทยาลัย ราชการ เอกชนจะต้องทำเพื่อประเทศชาติ

อ.สร้อยสุคนธ์: สัญญาไตรภาคีเกิดขึ้น เป็นแรงผลักที่ทำให้สำเร็จไม่ใช่แค่ตอนเซ็นสัญญา มีprocess มาจากหลายกระบวนการ

อ.จีระ: ต้องคิดว่าจีนจะแชร์เทคโนโลยีกับไทยจริงหรือไม่ ทั้งภาษา วิธีการสอน และอาจารย์

จีนมีปัญหาภาพลักษณ์เรื่องคุณภาพ เมื่อมาร่วมกับไทยก็จะทำให้ภาพลักษณ์ดีขึ้นโดยการmix brand ใหม่

เราต้องเพิ่มมูลค่านวัตกรรม เพื่อให้มีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

อ.สร้อยสุคนธ์: เราต้องวัดความพึงพอใจของลูกค้าในอนาคตข้างหน้าด้วย

อ.จีระ: ต้องทำงานอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

บรรยากาศการเรียนรู้ของนศ.รุ่น9 วันที่ 18ตค.2558

ทุกท่านมีความรู้ อยากรู้ ทำให้บรรยากาศการเรียนรู้สนุกมีความสุข 3ชม. ทุนแห่งความสุข คือเวลาที่เสียไปกับมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นในห้องเรียน อจ.และทีมงาน ดอกไม้ กาแฟ อาหารว่าง พนักงานร่วมโครงการฯลฯ

ย้อนกลับไปดูแนวคิดทุนแห่งความสุขของ ศจ. ดร.จิระ ที่ท่านศึกษาและค้นพบด้วยบทเรียนแห่งชีวิตที่ผ่านมาร่วม 70 ปี ชวนให้วิเคราะห์ ร่างกาย จิตวิญญาณ และการทำงาน มีความสัมพันธ์กันอย่างมีอิทธิพลต่อกัน

เช้าวันที่ 18 ตค 2558 ตื่นตี4ครึ่ง ออกกำลังกายด้วยการขี่จักรยานออกจากบ้าน กลับถึง บ้าน7ถึง7.30น. ทานอาหารเช้า ระหว่างออกกำลัง อ่านหนังสือ วางแผนการสอน จะทำอะไร และวันนี้จะได้อะไรจากนศ.

นี้เป็นตัวอย่างเบื้องต้นของการแสวงหาความสุขทุกวัน

ท่านทำได้หรือไม่



  1. ขอแสดงความยินดีกับศจ.Angus Deaton ได้รับรางวัลNoble ปี2015

2. ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน เป็นการวัดค่าการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ใช่ GDP

ทฤษฏี 8k5k และโครงสร้างทรัพยากรมนุษย์ของ ศจ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นทั้ง mean และends

โดยมีเป้าหมายความสมดุลย์ของคุณภาพของทุนมนุษย์ คือ k ตัวที่1 มีkตัวที่ 2 ถึง 7 เป็นปัจจัยแต่งเติมความสมดุลย์อย่างเป็นศาสน์และศิลป์ เพราะมนุษย์เป็นintangible พฤติกรรมและจิตวิญญาณ อารมภ์ ละเอียดอ่อน แต่ทรงพลังที่ให้เกิดได้ทั้งดี เและไม่ดี

5kใหม่จึงเป็นปัจจัยรองรับคุณภาพทุนมนุษย์ในยุคโลกาภิวัฒน์

ทั้งนี้ศาสตร์และศิลป์ในการปรุงแต่งมีทั้งได้ด้วยตนเองสร้างขึ้น และถูกคนอื่นสร้างให้

เช่น ในห้องเรียน รุ่น 9 นศ ท่านสร้างเองและถูกอจ.จีระ สร้างกระตุ้น เป็นบรรยากาศที่ดีมาก และได้รับความร่วมมือ

บรรยากาศในห้องเรียนอจ.สมชายก็เช่นเดียวกัน

ทุกท่านมีความสุขในการเรียนรู้ร่วมกัน แถมมีทายาท 3หน่อของดร.นทีมาร่วมด้วย ดีใจกับบรรยากาศ

การเรียนรู้ 4L


ในที่สุดโลกก็ยอมรับ ความสุขประชาชนสำคัญกว่าจีดีพี เมื่อคณะกรรมการรางวัลโนเบล ไพร์ซ 2015 ตัดสินใจมอบ รางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ให้กับ ศาสตราจารย์ Angus Deaton จากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน สหรัฐฯ ในฐานะผู้ผลักดันให้ใช้ “เศรษฐกิจจุลภาค” เป็นเครื่องวัดการพัฒนาเศรษฐกิจแทน “เศรษฐกิจมหภาค” ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เพื่อใช้ “ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน” มาเป็นเครื่องวัดการพัฒนาเศรษฐกิจ แทนการวัดด้วย “รายได้” อย่างที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

เมื่อฟังแล้วก็รู้สึกว่า ไม่ใช่ทฤษฎีใหม่ แต่เป็นสิ่งที่ คนยากจนอยากได้มานานแล้ว เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ แต่ไม่ได้รับการตอบสนอง รัฐบาลส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับโครงการขนาดใหญ่มากกว่า เพราะมีผลประโยชน์ซ่อนเร้นมากมาย แต่เงินก้อนโตกลับไปไม่ถึงประชาชนระดับล่างที่ต้องดิ้นรนหาเลี้ยงชีพไปวันๆ

แองกัส ดีตัน เน้นการวัดเศรษฐกิจด้วยการบริโภคของปัจเจกชนเป็นหลัก เช่น อาหารการกินของประชาชน สภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัย ไปจนถึง บริการต่างๆที่ประชาชนใช้ ศาสตราจารย์ดีตันเป็นผู้บุกเบิกให้นักเศรษฐศาสตร์หันมาให้ความสนใจวิเคราะห์ในเรื่องการบริโภคของครัวเรือน แทนการวิเคราะห์ด้วยจีดีพี

รางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ที่ แองกัส ดีตัน ได้รับในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกของรางวัลโนเบล ที่ยอมรับการใช้ประสบการณ์ธรรมชาติในเศรษฐกิจยุคใหม่ เชื่อกันว่าจะมีรางวัลโนเบลแบบนี้เพิ่มขึ้นในอนาคต

แองกัส ดีตัน มีอิทธิพลอย่างมากในการเปลี่ยนแปลงการวิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจ จากการใช้ตัวเลขทางสถิติที่นิยมกัน ไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจครัวเรือนอย่างละเอียด เขาเชื่อว่า เมื่อคุณต้องการที่จะรู้ว่าบางสิ่งบางอย่างใช้การได้หรือไม่ คุณต้องทดสอบให้รู้จริงเท่านั้น แทนที่จะใช้การสำรวจที่สามารถควบคุมได้ เขาเคยสังเกตการแทรกแซงนโยบายของรัฐบาลในบางเรื่อง ซึ่งไปได้ด้วยดี แต่ก็ไม่มีใครรับประกันได้ว่า เมื่อเวลาผ่านไป มันจะใช้ได้ดีเหมือนครั้งที่ผ่านมาหรือไม่

แองกัส ดีตัน ใช้ microeconomics หรือ เศรษฐกิจจุลภาค และการสำรวจภาคสนามในแบบดั้งเดิม คือ ไปสำรวจถึงครัวเรือนที่มีประชาชนอาศัยอยู่จริง เพื่อให้ข้อมูลมีความเชื่อมโยงกันมากขึ้น เพื่อให้ประชาชนนับล้านๆคนที่อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงเป็นผู้ตัดสินใจ

แองกัส ดีตัน กล่าวว่า ในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา ความยากจนลดลงมาก เชื่อว่าแนวโน้มนี้จะดำเนินต่อไป แต่วันนี้ก็ยังมีผู้ยากจนอยู่ถึง 700 ล้านคน สิ่งที่เราเห็นคือ ผลลัพธ์จากการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกัน ที่ดำเนินมาหลายร้อยปี ทำให้บางส่วนของโลกถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลัง ที่น่าวิตกก็คือ ความไม่เท่าเทียมกัน ได้เลยจุดที่ช่วยให้เราทุกคนมีฐานะดีขึ้นแล้ว และอาจกลายเป็นภัยคุกคามร้ายแรงได้

แนวทางเศรษฐศาสตร์ของ แองกัส ดีตัน ที่ผมเข้าใจก็คือ ให้ใช้ความเป็นอยู่ที่ดีของครัวเรือน Well–being มาเป็นเครื่องชี้วัดการพัฒนาเศรษฐกิจแทนจีดีพี เป็นการลงลึกไปในเศรษฐกิจจุลภาคหรือครัวเรือน แทนที่จะใช้จีดีพีหรือเศรษฐกิจมหภาค หรือ ใช้ความอยู่ดีกินดี หรือ ความสุขของประชาชน มาเป็น นโยบายเศรษฐกิจ และ ตัวชี้วัดความสำเร็จทางเศรษฐกิจ แทน จีดีพี ที่ใช้กันอยู่นั่นเอง

ตัวอย่างความล้มเหลวที่เห็นก็คือ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ของ ประธานาธิบดีโจโกวี ผู้นำอินโดนีเซีย ระดมมาทั้งชุดตั้งแต่ เพิ่มขีด

ความสามารถในการแข่งขัน โครงการยุทธศาสตร์ชาติ ทุ่มเงินลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อดึงดูดนักลงทุน แต่กลับ ไม่สนใจประชาชนผู้บริโภคในประเทศที่มีสัดส่วนสูงถึง 55% ของจีดีพี ส่งผลให้เศรษฐกิจอินโดนีเซียล้มป่วยและทรุดลงไปเรื่อยๆ เพราะรักษาโรคผิด

ก็ต้องขอบคุณ คณะกรรมการโนเบล ไพร์ซ ที่ตัดสินใจมอบ รางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ให้กับ ศาสตราจารย์แองกัส ดีตัน อย่างน้อยก็ช่วยชี้ให้เห็นถึงความคิดผิดๆในการวางนโยบายเศรษฐกิจของประเทศต่างๆได้บ้าง.

“ลม เปลี่ยนทิศ”

http://www.thairath.co.th/content/532486

  1. รออ่านblogของแต่ละท่านที่ แสดงความคิดเห็นในห้องเรียนเพื่อเสนอประเด็นแนวคิดที่ต่อยอดนศ.ได้อะไรที่เพิ่มขึ้นจากในห้องเรียน

ทีมงาน Chiraacademy

ดร.จีระ : การเรียนต้องมี Impact และฝังเข้าไปในตัว หลักสูตรที่ อ.สอนตอนนี้จะสอนเพื่อให้กระเด้งไปที่การทำวิทยานิพนธ์ มี Impact ในการทำ เอาเรื่องหลักๆ 1 เรื่อง เช่น ทุนแห่งความสุข กับทุนแห่งความยั่งยืน เกี่ยวข้องกันอย่างไร ซึ่งประเด็นนี้เกี่ยวข้องกันแน่นอน

ดร. ณพพลวรรฒ : สิ่งที่ได้เรียนรู้ ดร.ที่ ม.อุบลฯ เราซื้อตั๋วมาเพื่อค้นหาทรัพย์ และได้เข้ามาประมูลทรัพย์ ทรัพย์นี้ก็คือ ปัญญา ซึ่งทรัพย์นี้แล้วแต่ใครที่จะค้นหาออก อ.เป็นผู้จุดเทียน เราไม่ได้แข่งขันกัน เรามาแชร์กัน

อ.นิยม : มีคนถามว่า ไปอยู่ถึงอเมริกา แล้วทำไมกลับมาเรียนที่นี่ แต่ที่นี่มีคนเก่งหลายแบบ เรียนจากหลายๆที่ ผมคิดว่ามาเรียนที่นี่ได้ต่อยอด ได้ประโยชน์มาก จากอ.หลายๆท่าน นั่นคือทรัพย์ที่เกิดขึ้นที่ได้มาอยู่ที่นี่

ดร.จีระ : ปัญญากับเงินไปด้วย แต่ต้องดึงออกให้ได้

ดร. ณพพลวรรฒ : เริ่มเป็นคอมรุ่นเก่าแล้ว เราต้องทำเรื่องยากให้ง่าย ให้ได้

ดร.จีระ : อุริตมี 2 ช่วง ทำ change management ลิ้งกับการเงินการตลาดด้วย มี networking คนที่ทำ HR ทิศทางจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร มี Human capital พูดเพื่อให้คนยอมรับ อยากให้รู้ว่า 8k 5k คือศักยภาพของคน มนุษย์เราล้ำลึกซึ่งมีมาก คนที่เก่งในโลกคิดอย่างไร หรือ Trend เป็นอย่างไร HR คิดอย่างไร สามารถจัดการกับการเปลี่ยนแปลงได้ ทำงานกับ HR ได้

คุณณฐพร : ต้องทำความยากให้เป็นง่ายๆ ค่านิยมของไทยที่จบนอก อาจจะคิดไม่เป็นก็ได้

ดร.จีระ : ช่วงแรกเราจบนอกอาจจะมีอีโก้สูง ผมผ่านอันนี้มาแล้ว ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องรับฟังคนอื่น ความสุขคือ เราสามารถสร้างแรงผลักให้กับนักเรียน ที่มาจากหลายที่ แต่ต้องรู้ว่าจุดอ่อนเราคืออะไร เมื่อเราก็ต้องช่อม เช่น อ่อนภาษาอังกฤษก็ต้องแก้ให้เก่ง อย่าประมาท ทันสมัย ทันเหตุการณ์ อย่าคิดว่าจะทำไม่ได้ อาจจะมีความล้มเหลวก่อนจะมีสำเร็จก็ได้ ผมจะมีวิธีการให้เขาแชร์ และออกความเป็นเลิศ ดึงความเป็นเลิศออกมา มีความพยายามเพราะทุกอย่างอยู่ที่ตัวเรา ต้องมีการต่อยอด ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มได้ อาจจะเขียนออกมาเป็นหลักการแห่งความสำเร็จ

ดร. ณพพลวรรฒ : ยกตัวอย่างการตั้งวิสัยทัศน์จังหวัดก็คือคำขวัญ เป็นการตั้งเพื่อการปรับปรุงสิ่งที่อยู่ในจังหวัดให้ดีขึ้น

ดร.สร้อย : การที่เอาเครื่องมือจากเมืองนอกมาบวกกับวิสัยจังหวัด เพื่อการงอกเงยในเรื่อง Intellectual

คุณณฐพร : การเอาเครื่องมือเมืองนอกมาใช้ ก็ไม่เข้ากับบริบทของไทย ใช้อย่างไม่ถูกต้อง

อ.นิยม : ต้องเอามารวมกันเพื่อปรับปรุงโครงสร้างให้ดีขึ้น คำขวัญประจำจังหวัดเป็นต้นทุนทางปัญญา เป็นภูมิปัญญาของคนไทย

ดร.ณพพลวรรฒ : การที่จบเมืองนอกหรือเมืองไทยก็ดีทั้งหมด มองให้เห็นภาพ เอาแนวคิดต่างๆ มาสู่ระดับปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น สิ่งที่ได้ระหว่างทาง ได้มากกว่าการที่ขึ้นถึงจากการได้รับปริญญา แต่สิ่งที่ได้จริงๆคือการเก็บเกี่ยวระหว่างทางก่อนจะถึงการเป็นดร.มากกว่าและได้รับมากมาย

อ.จีระ : ต้องมีการทำต่อเนื่อง อย่าไฟไหม้ฟาง ถึงโครงการเล็กแต่ถ้าต่อเนื่อง ก็จะได้ผลมากขึ้น เสริมหน่วยราชการ เสริมมาจากข้างล่าง ต้องมีความศรัทธา ในภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นต้น ต้องที่ปรึกษาที่มีบารมี ถ้าทำแล้วต้องทำอย่างต่อเนื่อง ต้องหาโครงการที่ ต่อเนื่อง ต่อเนื่องและต่อเนื่อง และปรับปรุงไปเรื่อยๆเพื่อให้โครงการดีขึ้น จะไปสู่การ Investment สู่โครงการอื่นๆ เรียนรู้ซึ่งกันและกัน

กระบวนการการเรียนและบรรยากาศการเรียนสำคัญที่สุด ต้องจับประเด็นให้ได้ ต้องมีความสุขในการใช้ชีวิต ต้อง back to basic ต้องสู้กับสุขภาพ ออกกำลังกาย และ Happiness ต้องมีบรรยากาศในการเรียนรู้ที่มีความสุข มีการปะทะทางปัญญาให้มากที่สุดเพื่อเกิดความคิดริเริ่ม พอถึงจุดนึงก็เกิดความประเทือง

ดร.สร้อย : ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทฤษฎี ความรู้อยู่บนความเป็นจริง 8k 5k ได้นำไปใช้ สามารถกลั่นกรองให้เข้าใจง่ายและไปใช้กับชุมชนให้เกิดประโยชน์

ดร.ณพพลวรรฒ : สิ่งที่ได้จริงๆ การรักการอ่านมากขึ้น และอ่านได้เร็วขึ้น ทำให้เป็นจิ๊กซอ ให้มีความรู้ไปสู่การทำธุรกิจได้ด้วย มีไฮไลท์ ปากกา สิ่งที่สำคัญในหนังสือแต่ละเล่ม

อ.จีระ : สิ่งที่ให้กับได้ ต้อง Balance กัน ชีวิตต้องมีความสุขและความยั่งยืนไปด้วยกัน

8k 5ks การปลูกและการเก็บเกี่ยว + Execution เกี่ยวอะไร

อ.นิยม : การปลูกต้องมีการปลูกทางทุนจริยธรรม เช่น ธรรมะ การเก็บเกี่ยว ระยะเวลา จากการปลูกมาถึงเก็บเกี่ยว ให้เป็นผลประโยชน์ เน้นสังคม social และ return กลับมาในสังคม execution การนำไปสู่การปฏิบัติ เรามีสิ่งที่ดี แต่เราไม่ได้ขุดและนำออกมาใช้ เช่นธรรมชาติ และคำสั่งสอนต่างๆของพระพุทธเจ้า

อ.จีระ : ผู้นำคือคนที่เป็นผู้นำ ที่บ้าอำนาจ และรับใช้สังคม ผู้นำต้องเอาความเป็นเลิศของแต่ละคนออกมา และบวกธรรมะจะนำสู่ความยั่งยืน จะให้ใครทำงานดีต้องมีพื้นฐานดีก่อน การเก็บเกี่ยวถ้าไม่สำเร็จ ผู้นำต้องเคลียร์ปัญหาต่างๆ ซึ่งผู้นำจะอยู่ในทุกๆที่ ต้อง get thing done

อ.นิยม : ผู้นำต้องมีธรรมะอยู่ในใจ การทำงานเพื่อส่วนรวมในองค์กร จากการอ่านธรรมะกับซีอีโอ ลิงก์กับกับ 8k,5k เป็นบทความที่ดีมาก ต้องเริ่มจากจิตใจ สร้างจากครอบครัวก่อน

คุณณฐพร : คุณธรรมและธรรมะ เป็นเรื่องที่ต้องปลูกฝัง แต่ต้องนำออกมาให้ได้ ผู้นำ และครอบครัวต้องทำเป็นตัวอย่าง มี Role model ตั้งแต่ที่บ้าน ศาสนาเรายังไม่ทำให้ง่ายขึ้น อ่านแล้วให้เข้าใจง่ายๆ

อ.จีระ : เราอ่อนทางด้านศาสนา บางคนไม่ซึ้งเพราะ เป็นภาษาบาลี สันสกฤต ไม่เข้าใจว่าสอนอะไร น่าจะใช้ภาษาง่ายๆ มากกว่าจะได้นำไปสอนสั่งได้

ได้อะไรจากการอ่าน 2 เรื่องที่มี impact ต่อประเทศไทยในอนาคต

บรรยากาศการเรียนรู้ วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน 2558

ภาพบรรยากาศวันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน 2558


สรุปการบรรยาย

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2558

การวัดผลของวิชานี้

  • สอบ 20 คะแนน
  • Blog 20 คะแนน
  • วิจารณ์หนังสือ 15 คะแนน
  • ทำ Essay 5 เรื่อง 15 คะแนน
  • ความมีส่วนร่วมในห้องเรียน 15 คะแนน
  • Public Seminar 15 คะแนน

Essay จะมีเรื่องทิศทางของเศรษฐกิจ รวมกับทรัพยากรมนุษย์

Public Seminar เรื่องตลาดแรงงานไทยอีก 20 ปีข้าหน้าจะมีทิศทางอย่างไรก็น่าสนใจ คิดว่าครั้งนี้ควรนมัสการพระมา

New HR , Ulrich, 8K’s , 5K’s

วัตถุประสงค์คือเปรียบเทียบแนวคิดของ Chira กับ Ulrich

Ulrich เป็นอาจารย์จากมิชิแกน ซึ่งเป็นกูรูระดับโลกคนหนึ่ง

- มีข้อสอบ 1 ข้อ ถือว่าเป็นการติวในตัว คือ การเปรียบเทียบ Ulrich กับจีระ

- ฟังเสร็จ Workshop ต่อ ถามว่า

ทั้ง 3 หัวข้อ มีอะไรแตกต่างกันหรือเหมือนกันอย่างไร

นำไปปฏิบัติจริงได้อย่างไร หัวข้อวิจัยระดับ PhD คืออะไร

เป็น essay 1 เรื่องที่กลุ่ม จะต้องเขียนต่อแนวเป็นอย่างไร

แนวทั้ง 3 ไปสู่ 3 V ได้อย่างไร

  • ต้องดูโอกาสที่จะกระเด้งสู่ระดับโลก
  • สิ่งที่ทำวันนี้เป็น Opportunity cost
  • Strategic partners ต้องทำงานร่วมกับตัวละครอื่นๆในองค์กร เพื่อนำเอา Strategies ไปสู่ 3V หรือมูลค่าเพิ่ม
  • Administrative Expert คือ เน้นไปที่ Process ของงาน HR, เน้น value Creation ,
  • Employee Champion ให้ความสำคัญในตัวคนในองค์กร ความต้องการของพนักงานกับทรัพยากรที่มีอยู่ รวมถึงทางด้านการเงินด้วย
  • HR กับ Change function สำคัญคือเปลี่ยนแปลง พนักงานให้ได้ สำคัญคือต้องรู้ว่าองค์กรต้องเปลี่ยน HR จะต้องช่วย
  • หลังจากหนังสือ HR Champion ออกได้ระยะหนึ่งก็มีหนังสือเล่มใหม่ ชื่อว่า Global HR Competencies ซึ่งคราวนี้ Ulrich และคณะได้ขยายบทบาทของ HR ไปในมุมที่เป็นยุทธศาสตร์และสำคัญมากขึ้นรองรับในโลกไร้พรมแดนมากขึ้น มีศักยภาพของ HR ใหม่คล้ายๆ New HR หรือ 8K’s, 5K’ของผมมาก
  • Credible Activist คือ เป็นผู้ที่ได้รับ Trust จากองค์กรและตัวละครอื่นๆ เช่น CEO / การเงิน/การตลาด
  • Strategic Position
  • ความเปลี่ยนแปลง
  • อ.จีระ พูดถึงเรื่อง 3 วงกลม ปลูก เก็บเกี่ยว และมี แรงจูงใจ
  • อ.จีระ มองภาพรวมทั้งหมด เป็น Macro สู่ Micro เป็นทฤษฎีตัว T

ตารางเปรียบเทียบบทบาทของ HR (เก่า – ใหม่)

Old HR

NewHR

Routine

Strategic

HR Department

CEO + Other Departments

Training

Learning

Expense

Investment

Static

Change Management

Information

Knowledge

Stand alone

Partnership

Efficiency

Effectiveness

Value

Value Added /creation

Command & Control

Respect & Dignity การยกย่องให้เกียรติกัน

Micro

Macro to Micro

Red Ocean

Blue Ocean แสวงหาลูกค้าใหม่

Liability หนี้สิน

Assets ทรัพย์สิน

ทฤษฎี 3 วงกลมเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ

1.Context องค์กรน่าอยู่ คล่องตัว ทันสมัย

2. Competencies เป็นการปลูก บุคลากรมีความรู้ มีสมรรถนความสามารถ / มีคนเก่ง

3. Motivation เป็นการเก็บเกี่ยว แรงจูงใจให้คนอยากทำงานอย่างเต็มที่ เต็มความสามารถ

Ulrich Model , HR Champion

ต้องการสร้างมูลค่าเพิ่ม และ HR

ต้องมีการ Deliver value

เช่น

การสร้าง Trust

สร้างมูลค่า อย่าทำงานประจำ

มี Attitude ที่เน้น Results และรับฟังคนอื่นๆ เป็น Win/Win

มีข้อมูลก็แบ่งปันอย่าเก็บไว้คนเดียว อย่างเช่น โครงสร้างเงินเดือน ต้องให้โปร่งใสในเรื่องข้อมูล

รู้ว่าคู่แข่งคือใคร

ผลประกอบการขององค์กรที่ผ่านมา (การเงิน)

ใครเป็นกรรมการของบริษัท

สัดส่วนการตลาดเป็นอย่างไร

Technology ในอนาคตคืออะไร

กลุ่มลูกค้าที่สำคัญคืออะไร และเขาจะอยู่กับเราต่อไปหรือไม่

ลูกค้าให้คุณค่ากับสินค้าหรือบริการของเราเพราะอะไร

แนวโน้มทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองใน 5 ปี – 10 ปี ข้างหน้าคืออะไร?

-Capacity Builder

เน้นการปรับองค์กรคล้ายๆทฤษฎี 3 วงกลม ของผม

Alignment คือ ให้ทุกภาคส่วนไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ขัดแย้งกัน

เน้นการทำงานที่มีคุณค่าคล้ายๆ happiness Capital หรือ happiness at work เน้น Passion , purpose and meaning

- Change Champion

เน้นมากขึ้นเรื่อง Change แต่ไม่ใช่ Change แบบเดิมคือต้องเป็น Champion ในบทบาทของ HR ที่จะต้องนำการเปลี่ยนแปลงให้ได้

ü ริเริ่ม Change

ü ทำแล้วทำต่อ sustain ให้เกิดขึ้น

ü แน่ใจว่ามีทรัพยากรพอเพียงต่อการ

เปลี่ยนแปลงถ่ายทอดไปสู่กลุ่มใหญ่

ü นำเอาการเรียนรู้ Leaning มาใช้

  • HR Innovation และ Integrator

ü เน้น Talent ว่ามีพอไหม

ü Develop talent

ü ใช้องค์กรเข้มแข็ง

ü เน้นการสื่อสาร

ü เน้นเก็บเกี่ยว ทำแล้วได้อะไร

Workshop กลุ่ม 1

1. ทั้ง 3 หัวข้อ มีอะไรแตกต่างกันหรือเหมือนกันอย่างไร

เหมือน

ต่าง

อ.จีระ: HRDS เป็นการกระตุ้นจากข้างใน

H ย่อจาก Happiness แรงจูงใจที่ทำให้อยากทำงาน

ติดตามการเปลี่ยนแปลงของโลก ต้องติดตามเข้าใจอย่างใกล้ชิด

Global competency เรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี รวมถึงทุกมิติ

ต้องมีความ Curiosity ทุกเรื่อง

โทนี่ ปูซาน ที่ทำเรื่อง Mind map ไม่ได้จบ Ph.D. แต่จบปริญญาตรี 8 สาขา

2. นำไปปฏิบัติจริงได้อย่างไร หัวข้อวิจัยระดับ PhD คืออะไร

- อบต.กับ ชุมชน เพราะอบต.เป็นผู้ทีใกล้ชิดกับชาวบ้านมากที่สุด

3. แนวทั้ง 3 ไปสู่ 3 V ได้อย่างไร

- สามารถนำไปใช้กับอบต.ได้เลย

อบต.มีเรื่องการศึกษาและสุขภาพ

อ.จีระ: การศึกษาต้องลงไปสู้ท้องถิ่น และประเด็นที่พบก็ต้องแก้ไขให้ดี ต้องมีตัวไปกระตุ้น ข้าราชารอ่อนเรื่องความต่อเนื่อง การทำอะไรถึงเป็นกลุ่มเล็กแต่ต้องมีพลัง

Workshop กลุ่ม 2

1. ทั้ง 3 หัวข้อ มีอะไรแตกต่างกันหรือเหมือนกันอย่างไร

ความแตกต่าง

อ.จีระ เป็น Macro50% เริ่มจากโครงสร้าง และ Micro 50%

Ulrich เป็น Micro 70-80% ใช้จิตวิทยา และ management

อ.จีระ: ประเทศไทย มีการลงทุนเรื่องคนน้อย หากไม่มีคุณภาพอย่าทำดีกว่า

อ.จีระ:ควรทำวิจัย ว่าคนที่เรียนด้วย ทำงานไปด้วยประสบความสำเร็จทำอย่างไร

2.นำไปปฏิบัติจริงได้อย่างไร หัวข้อวิจัยระดับ PhD คืออะไร

- ศึกษาปัจจัยความสำคัญของทุนมนุษย์ต่อการพัฒนาในเศรษฐกิจพิเศษ

วันนี้ได้เรียนรู้ความเหมือนความต่างของ New HR, Ulrich,8k's,5k's ซึ่ง Ulrich ได้ให้ความสำคัญ Micro 70-80% Macro 20-30% ส่วนท่านอ. ได้ให้ความสำคัญ Macro และ Micro เท่าๆกัน คือ 50/50 ความรู้ทฤษฎี3วงกลมซึ่งท่านอ.ได้ถ่ายทอดให้เข้าใจง่ายๆคือบ้าน/ปลูกและเก็บเกี่ยว และสิ่งที่ชอบมากที่สุดในการเรียนวันนี้คือการเปลี่ยนแปลงแบบChampionในบทบาทของ HR ซึ่งท่าน อ.ได้ปฏิบัติให้ดูเป็นแบบอย่าง

สิยาพัฐ รักป่า

ดร.ชัชพลวานิช เพชรดง

New HR , Ulrich, 8K’s , 5K’s

วัตถุประสงค์คือเปรียบเทียบแนวคิดของ Chira กับ Ulrich

Ulrich เป็นอาจารย์จากมิชิแกน ซึ่งเป็นได้เขียนหนังสือ Globle HR Competencies Ulrichได้ขยายบทบาทของ HR ไปในมุมที่เป็นยุทธศาสตร์และสำคัญมากขึ้นในยุคศตวรรษที่ 21 กับแนวคิด ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ New HR หรือ 8K’s, 5K’มองภาพรวมทั้งหมด เป็น Macro สู่ Micro เป็นทฤษฎีตัว T

ตารางเปรียบเทียบบทบาทของ HR (เก่า – ใหม่)

Old HR

NewHR

Routine

Strategic

HR Department

CEO + Other Departments

Training

Learning

Expense

Investment

Static

Change Management

Information

Knowledge

Stand alone

Partnership

Efficiency

Effectiveness

Value

Value Added /creation

Command & Control

Respect & Dignity การยกย่องให้เกียรติกัน

Micro

Macro to Micro

Red Ocean

Blue Ocean แสวงหาลูกค้าใหม่

Liability หนี้สิน

Assets ทรัพย์สิน

ทฤษฎี 3 วงกลมเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ

1.Context องค์กรน่าอยู่ คล่องตัว ทันสมัย

2. Competencies เป็นการปลูก บุคลากรมีความรู้ มีสมรรถนความสามารถ / มีคนเก่ง

3. Motivation เป็นการเก็บเกี่ยว แรงจูงใจให้คนอยากทำงานอย่างเต็มที่ เต็มความสามารถ

จากศึกษา New HR หรือ 8K’s, 5K’ ในวันนี้ต้องขอชื่นชมท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ได้ให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิด ทฤษฎี ความรู้บนความเป็นจริง New HR 8K's, 5K' เข้าใจง่ายและเป็นประโยชน์ หากเป็นไปได้อยากให้ท่านทำเป็นหนังสือ New HR 8K’s, 5K’ Chira Hongradarom. ครั

  • ทุนแห่งความสุขในตัวอย่างจริงของSteve Jobสายไปแล้วกับเวลาที่เรียกกลับไม่ได้ ความรักเป็นความจริง ที่เราแสวงหาก่อนหรือหลัง หรือความสมดุลย์มีความรักตนเองแบบ3v
  • ปลูก เก็บเกี่ยว. ชนะอุปสรรคบนความหลากหลาย เพราะทุนมนุษย์เป็นทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้คิดว่าการจัดสรรเวลาเพื่อความสุข บนความสำเร็จ ในการทำงานจะมีใครพบได้ รวยไปแบ่งปันไป การให้เป็นความสุข Steve Job คงขอแก้ตัวใหม่
ดร.นาที รัชกิจประการ

แนวคิดของChiraกับUlrichในเรื่องของNew HR

สิ่งที่เหมือนกันเน้นในเรื่องของทีมและการปรับองค์กรให้ทันสมัย สร้างศักยภาพดึงเอาความเป็นเลิศของคนในองค์กรให้มีความสามารถในการทำงาน มีความต่อเนื่อง เน้นการเก็บเกี่ยวสร้างแรงบันดาลใจทำแล้วได้อะไรและนำเอาการเรียนรู้มาปรับใช้เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ในขณะที่ความต่างของการบริหารของChiraจะเน้นไปที่อัจฉริยะของการสร้างบุคคลมากกว่าวัฒนธรรมองค์และการสร้างสิ่งใหม่ในกระบวนการทำงานที่สำเร็จส่งผลให้เกิดประสิทธิผล ลดต้นทุนเพิ่มลูกค้าบนแนวคิดพื้นฐานของการศึกษาด้านเศรษฐศาสร์ที่ครอบคลุมในขณะที่Ulrichเน้นบริหารจัดการตามที่ตนเองถนัด

ดร.นาที รัชกิจประการ

จากการได้มีโอกาสทำความเข้าใจกับ HR Architecture โดยท่านอาจารย์ ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์

ดิฉันมีความคิดเห็นว่า เรื่องทรัพยาการมนุษย์ในบริบทนี้ เป็นในลักษณะของการบูรณาการของศาสตร์ในแขนงต่างๆ

ที่มีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์ทั้งสิ้น อาทิเช่น เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิชาปรัญชา

เป็นการใช้ความรู้จากหลากหลายสาขาวิชาการมาประกอบกัน เพื่ออธิบายทฤษฎีของทรัพยากรมนุษย์

ในความเห็นน่าจะใกล้เคียงกับการใช้ "Interdisciplinary stadies" ทำให้ได้มุมมองและรายละเอียดทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้าง

ณฐพร พันธุ์อุดม

young leader ที่จะจัดประชุมในกรุงเทพ เป็นภาพการสร้างทุนมนุษย์ 8k5k มุ่งสู่global trend ที่คนรุ่นใหม่มีบทบาทต่อโลกมากขึ้น เวทีนี้น่าสนใจติดตามจะเสนอโครงการที่เป็นรูปธรรม และภาครัฐและเอกชนให้การส่งเสริมให้สำเร็จ การประชาสัมพันธ์ ต้องมีบทบาทให้คนรุ่นใหม่ในไทยตื่นขึ้น สนใจ ทีวีควรเผยแพร่ให้โอกาสแก่เยาวชน

Workshop 15 Nov 2015


ณฐพร พันธุ์อุดม, นาที รัชกิจประการ, ชยพล สุวัฒนฤกษ์, นิยม สุวรรณเดช, สิยาพัฐ รักป่า, ชัชพลวานิช เพชรดง


ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์


1-6 นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา


5 ศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา





วันนี้ท่านอาจารย์ ได้พูดถึงทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง(Change), การเป็นผู้นำ(Leadership), ทรัพยากรมนุษย์(HR) ,ทฤษฎีสามวงกลม, Kotter, 7 C's, Principle และ กฎ 9 ข้อของ Chira Change Theory โดยให้ workshop แก่นักศึกษา ช่วยกันระดมความเห็น เกี่ยวกับเรื่องการเปลี่ยนแปลง มีคำถามอยู่สามข้อ ให้เป็นโจทย์แก่นักศึกษา


หลังจากที่นักศึกษาได้พิจารณาและปรึกษา จนมีความเห็นตรงกันว่า ควรจะเริ่มทำในข้อที่สาม ให้ได้ก่อน แล้วจะได้นำมา apply ใช้กับข้อที่ 1 และ 2 ต่อไป





ข้อ3. คือ แนวคิดของท่านอาจารย์ ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ กับแนวคิดของ John P.Kotter และ 7 Changes และ Principle 5 ข้อของ leader กับ change ว่ามีความเหมือนหรือความต่างอย่างไร และอะไรเป็นตัวกำหนด Chira Change Theory....


หลังจากพวกเราทุกคนศึกษารายละเอียด และ discuss กัน จึงลงความเห็นว่า


ทฤษฎีของ Kotter จะเน้นการเปลี่ยนแปลง ในลักษณะที่เป็น action plan ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแรงกดดัน เพื่อเปลี่ยนแปลงอย่างเร่งด่วน หรือการสร้างวิสัยทัศน์, การกระจายอำนาจ การใช้ระบบประมวลผล ซึ่งเป็นแนวทางปฎิบัติ ที่ทำให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลง โดยเน้นการสร้างแรงผลักจากภายใน (inside-out) เป็นหลัก เห็นได้จาก establishing a sense of urgency ทำให้เกิดการรู้สึกถึงความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะดีกว่าการทำตามคำสั่ง และการสร้าง motivation ให้กับคนในองค์กร โดยการ empowering the other to act on the vision และ Kotter ให้ความสำคัญกับการสื่อสาร ทำให้องค์กรขนาดใหญ่เข้าใจถึงแนวทาง, เป้าหมายของการเปลี่ยนแปลง และทิศทางการขับเคลื่อนไม่ผิดพลาดได้ เพราะถ้าองค์กรขนาดใหญ่เดินผิดทิศทาง จะก่อให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรอย่างน่าเสียดาย นี่คือ Communicating the vision


ส่วนกฎเกณฑ์ 7 C's และ Principle ทั้ง 5 นั้น เป็นสิ่งที่ต้องใช้ ควบคู่กันไป กล่าวคือ ในเรื่อง Principle 5 ข้อ ของ leader และ change เป็นเรื่องของมนุษย์โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นตัว leader หรือ คนในองค์กร เพราะแต่ละคนมีความรู้สึกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง ที่แตกต่างกัน บางคนกลัวการเปลี่ยนแปลง ก็จะมีปฎิกริยาต่อต้านการเปลี่ยนแปลงทุกเรื่อง จะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา จึงจำเป็นต้องบริหารความกลัว (Fear) ให้ได้ เพราะเหตุที่ว่า บางครั้งของการเปลี่ยนแปลง อาจจะเกิด Loss แล้วมีผลกระทบโดยตรงถึง Fear ที่จะเกิดขึ้น ความรุนแรงของความกลัว แปรผันโดยตรงกับ ความคาดหวัง (Expectation) และผลลัพธ์ในทางลบ (Loss) จึงมีความจำเป็นที่จะต้องบริหารจัดการเรื่อง Loss, Expectation และ Fear ด้วยความละเอียดรอบคอบ.......


ด้วยการใช้กฎเกณฑ์ 7 C's เนื่องจาก เป็นการกำหนดลักษณะของการเปลี่ยนแปลง ที่ครอบคลุมและลดทอนผลลัพธ์ทางลบที่จะเกิดขึ้น ได้อย่างมาก เช่น การเปลี่ยนแปลงจะต้องไม่ซับซ้อน เข้าใจง่าย เพราะคนแต่ละคนมีความสามรถในการรับรู้ และเข้าใจในเรื่องต่างๆ แตกต่างกัน (ไม่ได้หมายถึงระดับสติปัญญาอย่างเดียว แต่ครอบคลุมเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม ที่แตกต่างกัน) เพื่อการเข้าใจที่ตรงกัน ผลที่ได้จะเป็นไปตามเป้าหมาย ของการเปลี่ยนแปลงที่กำหนดไว้


...สิ่งจำเป็นที่ leader ต้องมีคือ confidense และ creativity โดยเฉพาะอย่างยิ่ง commitment แต่อยากจะพูดถึงสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ change ซึ่งตรงกับหลักคำสอนในศาสนาพุทธ นั่นคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เทียบกับหัวข้อที่เรากำลัง discuss กันก็คือ ทุกสิ่งย่อมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ต้องเปิดใจไว้รับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าแผนงาน หรือวิธีการของเราจะดีเลิศปานใดก็ตาม





เมื่อพิจารณารายละเอียดของ Chira Change Theory กับ ทฤษฎีของ Kotter, 7 C's and Principle จะเห็นว่า Chira Change Theory จะเป็นการรวบรวมแนวคิดของ Kotter, 7 C's and Principle โดยนำแนวคิดทั้งหมด มาปรับปรุง จัดหมวดหมู่ ลำดับขั้นตอน และทำให้กระชับ ไม่ซับซ้อน ง่ายต่อการทำความเข้าใจ อาทิเช่น


***การสร้าง forming a powerful guiding coalition ของ Kotter เป็นการให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกันเป็นทีมทำให้มีพลังในการที่จะเปลี่ยนแปลง....(ส่วนนี้คล้ายกับของดร.จิระ: Teamwork in diversity)


***ส่วน planing for and creating short-term wins ของ Kotter เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับองค์กร.....(ส่วนนี้คล้ายกับของดร.จิระ: ชนะเล็กๆ)


***การสร้างวิสัยทัศน์ Creating a vision ของ Kotter จะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ต้องมีในการที่จะทำการเปลี่ยนแปลง.....(ส่วนนี้คล้ายกับของกฎเกณฑ์ 7 C's และของ ดร.จิระ: Creativity)


***Confidence ของกฎเกณฑ์ 7 C's นั้น Leader ทุกคนต้องมี ความมั่นใจในความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาองค์กร อย่างแน่นอน ถ้าไม่เช่นนั้นแล้วก็จะไม่ประสบความสำเร็จ ในเป้าหมายที่วางไว้.....(ส่วนนี้คล้ายกับของดร.จิระ: Confidence)





...และจุดที่น่าสนใจที่สุดคือ การเพิ่มเติมส่วนที่สำคัญ (ที่ไม่มีในแนวคิด Kotter, 7 C's and Principle ) ไว้ใน Chira Change Theory ซึ่งทำให้การเปลี่ยนแปลงสมบรูณ์ และทันต่อเหตุการณ์ อาทิเช่น


ต้องทำความเข้าใจใน Future และ Culture ซึ่งเป็นการมองมุมกว้าง สามารถวิเคราะห์และเข้าใจสถานการณ์ ทำให้กำหนดทิศทาง และวิธีการของการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงของดร.จิระยังก่อให้เกิดการขยายผล ในวงกว้าง เนื่องจากมีการใช้ networking และมีการประสานผลประโยชน์กระจายสู่ทุกกลุ่ม อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงนั้นจะเกิดเป็น innovation เนื่องจาก creativitY





ซึ่งถ้านำแนวคิดทั้งหมดมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน จะเกิดผลต่อ การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีและจีรังยั่งยืน เพราะแนวคิดที่กล่าวมาทั้งหมด ต่างก็เป็นเรื่องแนวคิดของ ผู้ที่เป็นผู้นำพึงมี และ สร้างสรรค์วิธีการที่ปฎิบัติแนวใหม่ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง รวมถึงจะทำอย่างไร เพื่อให้ก้าวผ่านเมื่อเกิดอุปสรรค และนำผลการเปลี่ยนแปลง ไปต่อยอดให้เกิดนวตกรรมใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ต่อการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรมนุษย์ ในยุคต่อไป


การวิเคราะห์และเข้าใจสถานะการในอนาคตจะทำให้ สามารถกำหนดทิศทางและวิธีการเปลี่ยนแปลง ที่เหมาะสมได้




Workshop 15 Nov 2015 (2)


ณฐพร พันธุ์อุดม, นาที รัชกิจประการ, ชยพล สุวัฒนฤกษ์, นิยม สุวรรณเดช, สิยาพัฐ รักป่า, ชัชพลวานิช เพชรดง


ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์


1-6 นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา


5 ศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา





ข้อ1.การปฎิรูปการศึกษา ที่จะนำการปรับตัว เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต จะต้องทำอย่างไร สำหรับตัวละคร ดังต่อไปนี้


- ผู้นำทางการเมือง


- ผู้บริหารการศึกษา


- พ่อแม่


- ผู้ปกครอง


- นักธุรกิจ





การปฎิรูปการศึกษา ที่จะนำการปรับตัว เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ในอนาคต


***ภาครัฐ (ผู้นำทางการเมืองและผู้บริหารการศึกษา)***


- จะต้องเข้าใจปัญหาให้ชัด เช่น ทำไมนักเรียนถึงเรียนแล้ว ไม่สามารถวิเคราะห์ได้ (คุณภาพ), การผลิตนักศึกษาไม่สอดคล้องกับ ความต้องการของธุรกิจ (ผู้จ้างงาน)


- จะต้องมีความตั้งใจที่จะแก้ปัญหา


- มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับระบบการศึกษา ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ในแง่ของ การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม


- นโยบายของพรรคการเมืองและนโยบายรัฐบาล จะต้องสอดคล้องกับ สิ่งที่ควรจะปรับเปลี่ยนเพื่อปฎิรูปการศึกษา


- ในแง่ของผู้บริหารการศึกษา เช่น ครูและข้าราชการประจำ ศึกษาเขต จะต้องนำนโยบายมาปฎิบัติให้เกิดผล มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ที่จะทำหน้าที่ของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความรักในงาน ที่จะสร้างคนดีสู่สังคม และจะต้องหาวิธีการใหม่ๆ innovation เพื่อจูงใจให้นักเรียนสามารถพัฒนาศักยภาพของตน อาจต้องใช้ network เข้าช่วย


***ภาคเอกชน (นักธุรกิจ) และภาคประชาชน (พ่อแม่ผู้ปกครอง)***


- จะต้องมีส่วนร่วมมากขึ้นในการปฎิรูปการศึกษา เพราะในปัจจุบัน ภาคเอกชนและภาคประชาชนคือผู้ตามโดยไม่ได้มีส่วนร่วมในการ วางนโยบาย เนื่องจากพรรคการเมืองเป็นผู้กำหนด โดยมีผลประโยชน์ ชี้นำ แทนที่จะเป็นการเอาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก การออกนโยบายจึงเน้นผลระยะสั้นมากกว่า





เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ถ้าจะให้การปฎิรูประบบการศึกษาเกิดผลดี อย่างเป็นรูปธรรม จึงควรมีการเปลี่ยนแปลงโดยให้องค์กรการศึกษา แยกตัวออกมาเป็นองค์กรอิสระ ปลอดจากนักการเมือง





ข้อ2. ถ้ากระทรวงเกษตรจะให้ปรับบทบาทของตัวเอง เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ตัวละครต่อไปนี้ต้องเปลี่ยนอะไร และปรับอย่างไร


- เกษตรกร


- ข้าราชการประจำ


- นักวิจัยและนักวิชาการในกระทรวงเกษตร





ก่อนอื่นต้องกำหนดบทบาทตัวละครให้ชัดเจนก่อน จะทำให้การทำงานง่ายขึ้น โดยเพิ่มตัวละคร นักการเมือง , นักธุรกิจ


***นักการเมือง***


- ต้องไม่ influence นักวิจัยและนักวิชาการในกระทรวงเกษตร เพื่อผลประโยชน์ของพรรคและตนเอง


-ต้องออกนโยบาย โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติ และเกษตรกรเป็นหลัก


***นักธุรกิจ***


- จะเป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างมาก ในการที่จะแนะนำแนวทาง การเปลี่ยนแปลงของผลิตผลการเกษตรให้ตรงตาม ความต้องการของ ตลาด และแนะนำนวตกรรมใหม่ในการแปรรูปผลผลิตแก่นักวิจัย และนักวิชาการเพื่อนำไปหาวิธียกระดับสินค้าต่อไป (value added)


- เจรจาต่อรองราคากับผู้ซื้อต่างประเทศ และเพิ่มราคารับซื้อ ให้กับเกษตรกร


***ข้าราชการประจำและนักวิจัยและนักวิชาการ***


- ต้องหาวิธีการใหม่ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ของการเพิ่มมูลค่า และต้องได้รับการผลักดันจากผู้บริหารให้เกิดผลอย่างต่อเนื่อง


***เกษตรกร**


- ต้องปรับปรุงและหาวิธีแก้ปัญหาในการเพาะปลูกตลอดเวลา เพื่อให้ผลิตผลได้คุณภาพและปริมาณดีที่สุด ถ้าเกิดปัญหาในเชิงมหภาค ที่เกษตรกรไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง เช่น น้ำแล้ง หอยเชอรี่ ตักแตนทำลายผลผลิต ก็ต้องแจ้งหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยเหลือได้ทันท่วงที

(Blog)


Chira Change Theory 9 ข้อ


ถ้าพิจารณาถึงรายละเอียดโดยรวมของกฎทั้ง 9 ข้อ จะเห็นว่า เป็นการมองถึง Leadership ซึ่งเริ่มต้นต้องมี ความมั่นใจ(confidense) ที่จะสร้างความแตกต่างจากการเปลี่ยนแปลง ถ้าไม่มั่นใจแล้วการเปลี่ยนแปลงก็ไม่มีวันสำเร็จ อีกประการหนึ่งคือ ต้องมีความคิดสร้างสรรค(creativity) สองสิ่งนี้เป็นการเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลง จากภายในไปสู่ภายนอก หลังจากนั้นต้องหาข้อมูลเพื่อใช้ในการวางแผน และกำหนดวิธีการ จึงต้องทำความเข้าใจและ วิเคราะห์สถานการณ์ในอนาคต (understanding future) รวมถึงการทำความเข้าใจ ในสังคมและวัฒนธรรม (learning culture) หลังจากนั้นต้องให้ทุกฝ่ายเป็น หนึ่งเดียวเพื่อความแข็งแกร่ง (Teamwork) คนในองค์กรต้องมาสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง ต่อไปต้องสร้างความเชื่อมั่นและกำลังใจ ให้ทุกคนในทีม โดยการกำหนดเป้าหมายที่สามารถบรรลุได้ภายในเวลาสั้นๆ และไม่ใหญ่โตมากนัก (ชัยชนะเล็กๆ)สร้างความฮึกเหิมให้แก่ ตนเองและทีมได้ เป็นการสร้างความเคยชินไม่กลัวอุปสรรคในเป้าหมายที่ใหญ่ขึ้น


การจะบรรลุถึงการเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี ในเป้าหมายที่ใหญ่ขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง ได้รับความร่วมมือจากภายนอกองค์กร อาจจะเป็นพันธมิตรทางการค้า ดังนั้นการหา (network) จะทำให้ง่ายต่อการบรรลุผลสำเร็จ ...คนที่ประสพความสำเร็จในอดีตจนถึงปัจจุบัน ต่างใช้การประสาน (ผลประโยชน์อย่างทั่วถึงทุกกลุ่ม) แม้แต่คู่แข่งทางธุรกิจ ถ้าเราสามารถทำ win-win negotiation ได้ คู่แข่งก็เปลี่ยนเป็นพันธมิตร และให้ความร่วมมือ ไม่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงที่เราวางแผนไว้


Chira Change Theory จะเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้ง micro และ macro และจะก่อให้เกิดผลอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ





ณฐพร พันธุอุดม




(Blog)


แนวคิดของChiraกับUlrichในเรื่องของNew HR

(Blog)


***5 K's (ใหม่) ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุค โลกาภิวัตน์


- Creativity Capìtal ทุนแห่งการสร้างสรรค์ "Imagination is more important than knowledge" การสร้างความคิดสร้างสรรค์ 1.วิธีการเรียนรู้ 2.มีเวลาคิด มีสมาธิ 3.ต้องคิดเป็นระบบ 4.ต้องอยากทำสิ่งใหม่ๆเสมอ


- Knowledge Capital ทุนทางความรู้ "Information Overload Knowledge Overflow" data>information>knowledge>wisdom


- Innovation Capital ทุนทางนวตกรรม... นวตกรรมมีหลายรูปแบบ1.product innovation 2.service innovation 3.management innovation 4.social innovation


- Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ Positive thinking การรู้จักควบคุมอารมณ์และบริหารอารมณ์ รวมถึงภาวะผู้นำในยุคของการเปลี่ยนแปลง


- Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม คือการมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรม ประกอบด้วย ขนบธรรมเนียม ศาสนา ประวัติศาสตร์ ประเพณี วิถีชีวิต เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างคุณค่าและสร้างมูลค่าเพิ่มในสังคม





***8 K's ทฤษฎีทุน 8 ประเภท พื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์


- Human Capital ทุนมนุษย์


- Intellectual Capital ทุนทางปัญญา


- Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม


- Happyness Capital ทุนแห่งความสุข


- Social Capital ทุนทางสังคม


- Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน


- Digital Capital ทุนทาง IT


- Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

Blog


Ulrich model, HR Champion


- Strategic Partners ต้องทำงานร่วมกับตัวละครอื่นๆ ในองค์กร เพื่อนำเอา strategies ไปสู่ 3V หรือมูลค่าเพิ่ม จึงต้องมีการ Deliver value เช่น การสร้าง Trust สร้างมูลค่า


มี Attitude ที่เน้น Results และรับฟังคนอื่นๆ เป็น Win/Win มีข้อมูลก็แบ่งปันอย่าเก็บไว้คนเดียว รู้ว่าคู่แข่งคือใคร ผลประกอบการขององค์กรที่ผ่านมา (การเงิน) ใครเป็นกรรมการของบริษัท สัดส่วนการตลาดเป็นอย่างไร


Technology ในอนาคตคืออะไร


- Administrative Expert คือเน้นไปที่ process ของงาน HR, เน้น value creation


- Employee Champion ให้ความสำคัญในตัวคนในองค์กร ความต้องการของพนักงานกับทรัพยากรที่มีอยู่







(Blog)


ทฤษฎี 3 วงกลมเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ


1.Context องค์กรน่าอยู่ คล่องตัว ทันสมัย


2. Competencies เป็นการปลูก บุคลากรมีความรู้ มีสมรรถนความสามารถ / มีคนเก่ง


3. Motivation เป็นการเก็บเกี่ยว แรงจูงใจให้คนอยากทำงานอย่างเต็มที่ เต็มความสามารถ


ซึ่งพื้นที่จุดตัดของวงกลมทั้งสาม จะเป็น Maximizèd Human Capital หมายถึงเราจะได้ทุนมนุษย์ที่มีความเป็นเลิศ มีพัฒนาการสูงมาก ทรัพยากรมนุษย์มีประสิทธิภาพสูงมากในการทำงาน







(Blog)


3 V หรือหลักการเพิ่มมูลค่า ให้กับทรัพยากรมนุษย์


John Dewey กล่าวถึงแนวทางการศึกษาจะเกิดขึ้นได้จากการปฏิบัติจริงซึ่งการปฏิบัติจริงก็ได้สร้างนักวิทยาศาสตร์ตลอดจนคนที่ประสบความสำเร็จมากมายซึ่งคนที่จะสบความสำเร็จจะต้องนำหลักการเพิ่มมูลค่าหรือ(3V) มาใช้ในกระบวนการทำงาน


V ตัวแรก คือ Value Added แปลว่า มีศักยภาพตัวเอง ใฝ่รู้ คุณค่า ตั้งใจทำให้เกิดผลงานที่ดีมีมูลค่าต่างจากเดิม มูลค่าเพิ่ม (Value Added) สร้างความพอใจให้แก่ลูกค้า ทำให้ขายได้ราคาสูงขึ้น คุ้มค่ากับทรัพยากรที่ได้ใช้ไป ถือได้ว่าเป็นงานที่มีมูลค่าเพิ่ม ในทางกลับกันหากงานเป็นงานที่ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สูญเปล่า ไม่มีคุณค่ามีแต่การเพิ่มต้นทุน ถือได้ว่าเป็นงานที่ไม่มีมูลค่าเพิ่ม คน มีทุนมนุษย์เท่ากันแต่ถ้ามีคุณสมบัติเหล่านั้นทำให้เพิ่มทุนของความเป็นมนุษย์ให้สูงขึ้น ประกอบอาชีพเลี้ยงชีพได้ มีงานที่ดีได้ ร่ำรวยได้ มีเกียรติ เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ


V ตัวที่ 2 คือ Value Creation มาจากการการเป็นคนที่ช่างคิด สร้างขึ้นใหม่ ไอเดียใหม่ๆ ไปสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆก็คือ Value V ตัวที่ 2 จะทำงานดี คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ยิ่งถ้าขยายไปเป็นการทำงานเป็นทีม องค์กรจะเจริญล้ำหน้า กว่าใคร การสร้าง Network ระหว่างคนในองค์กรสำคัญ ผู้บริหารที่เก่งต้อง บริหาร “ทุนมนุษย์” จะเน้นคุณค่าของคน (Value of People) และสิ่งที่คนสร้าง มากกว่าสนใจตัวกระบวนการหรือหน้าที่ด้านบุคคล (HR Function) สนใจความพอใจของลูกค้า


V ตัวที่ 3 คือ Value Diversity


ณฐพร พันธุ์อุดม

ตารางเปรียบเทียบบทบาทของ HR (เก่า – ใหม่)





Old HR NewHR


Routine Strategic


HR Department CEO + Other Departments


Training Learning


Expense Investment


Static Change Management


Information Knowledge


Stand alone Partnership


Efficiency Effectiveness


Value Value Added /creation


Command & Control Respect & Dignity การยกย่องให้เกียรติกัน


Micro Macro to Micro


Red Ocean Blue Ocean แสวงหาลูกค้าใหม่


Liability หนี้สิน Assets ทรัพย์สิน





จะเห็นได้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่าง Old HR กับ New HR ในเรื่องของมุมมอง ที่ขยายทั้งแนวกว้าง และแนวยาวมากขึ้น แต่วัตถุประสงค์ที่แท้จริง ไม่ว่าจะเป็น old or new คือการที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันขององค์กรหรือของประเทศให้สูงขึ้น ในขณะที่เศรษฐกิจโลกมีปัญหา และเศรษฐกิจของไทยก็ต้องเชื่อมโยงกับต่างประเทศมากขึ้นโดยตลอด

มุมมองในเรื่อง Human Resource ของ Lynda Gratton


☆ ให้ความสำคัญในเรื่องความสัมพันธ์ (Relationship)


☆ มีมุมมองในระดับองค์กร เน้นให้ความสำคัญ 3 ด้าน คือ


1. Intellectual capital ทุนทางปัญญา


2. Social capital ทุนทางสังคม


3. Emotional capital ทุนทางอารมณ์







ทฤษฎีทุนมนุษย์ Human Capital ตามความหมายของนักวิชาการบางท่าน


Gary Becker ได้ศึกษาค้นคว้ากำหนดทฤษฎีทุนมนุษย์โดยมุ่งเน้นการลงทุนไปที่ขีดความสามารถและทักษะในการทำงานของบุคลากรในองค์กร


William R.Tracey ได้ให้คำนิยามทุนมนุษย์ไว้ว่า หมายถึงผลตอบแทนที่องค์กรได้รับจากความจงรักภักดี ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความพยายามความมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นของบุคลากรในองค์กร


TheodoreW. Schultz นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลได้ให้ไว้ในปี ค.ศ. 1961 (พ.ศ. 2504) ในบทความชื่อ Investment in Human Capital ในวารสาร American Economic โดย Schultz ให้ความหมายคำว่า “ทุนมนุษย์” ว่าความสามารถหลายๆอย่างที่อยู่ในตัวคนทั้งที่ติดตัวมาแต่กำเนิด (Innate) หรือเกิดจากการสะสมเรียนรู้โดยแต่ละบุคคลที่เกิดมาจะมียีนส์เฉพาะของแต่ละบุคคลซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้ความสามารถคุณลักษณะเหล่านี้เป็นคุณลักษณะที่มีคุณค่า ซึ่งคุณค่านี้จะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการลงทุนที่เหมาะสม...

HRDS การจัดการทรัพยากรมนุษย์


HRDS การจัดการทรัพยากรมนุษย์ หรือ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ การใช้กลยุทธ์เชิงรุกที่มีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดในองค์กร นั่นคือบุคคลที่ทำงานทั้งกรณีที่ทำงานรวมกันและกรณีที่ทำงานคนเดียวเพื่อบรรลุเป้าหมายHRDS เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงกระบวนการพัฒนาและบริหารจัดการในการขับเคลื่อนทุนมนุษย์เพื่อนำเอาทุนที่มีอยู่ออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเป็นเลิศ ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร โดยมุ่งหวังให้เกิดสภาพในการทำงานภายในองค์กร ดังนี้


1 Happiness ทำให้บุคลากรทุกคนในองค์กร ทั้ง CEO HR และ Non HR มีความสุขในการทำงาน แชร์ความสุขให้คนในองค์กร เมื่อเกิดความลำบากหรือมีปัญหา ก็ร่วมกันแก้ไข ร่วมทุกข์ร่วมสุข


2 Respect การยอมรับ การเคารพผู้อื่น มองคนอย่างเท่าเทียม มีประชาธิปไตย และมีความเสมอภาค ไม่มองคนด้วยตำแหน่งหรือ positionในองค์กร ต้องให้เกียรติยกย่องคนให้เสมอภาคกัน อย่าไปติดระบบราชการมากเกินไป


3 Dignity มองความเป็นศักดิ์ศรีของมนุษย์ มีความสง่างาม มีความภูมิฐาน


4 Sustainability ทำให้เกิดผลอย่างยั่งยืน เป็นวัฒนธรรม มองการเก็บเกี่ยวให้สามารถอยู่ในระยะยาวได้ เก็บเกี่ยวตัวเราและผู้ถูกบริหารได้มีประโยชน์ร่วมกัน ให้มี Lifelong learning

ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ (Maslow's Hierarchical Theory of Motivation)


Maslow เชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์เป็นจำนวนมาก สามารถอธิบาย โดยใช้แนวโน้มของบุคคล ในการค้นหาเป้าหมายที่จะทำให้ชีวิตของเขา ได้รับความ ต้องการ ความปรารถนา และได้รับสิ่งที่มีความหมายต่อตนเอง เป็นความจริงที่จะกล่าวว่า กระบวนการของแรงจูงใจเป็นหัวใจของทฤษฎีบุคลิกภาพของ Maslow โดยเขาเชื่อว่ามนุษย์เป็น "สัตว์ที่มีความต้องการ" (wanting animal) และเป็นการยากที่มนุษย์จะไปถึงขั้นของความพึงพอใจอย่างสมบูรณ์ ในทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow เมื่อบุคคลปรารถนาที่จะได้รับความพึงพอใจ และเมื่อบุคคลได้รับความพึงพอใจในสิ่งหนึ่งแล้ว ก็จะยังคง เรียกร้องความพึงพอใจสิ่งอื่นๆ ต่อไป ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะของมนุษย์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความต้องการจะได้รับสิ่งต่างๆ อยู่เสมอ


Maslow กล่าวว่าความปรารถนาของมนุษย์นั้น ติดตัวมาแต่กำเนิด และความปรารถนาเหล่านี้ จะเรียงลำดับขั้นของความปรารถนา ตั้งแต่ขั้นแรกไปสู่ ความปรารถนาขั้นสูงขึ้นไปเป็นลำดับ


ลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ ( The Need –Hierarchy Conception of Human Motivation ) Maslow เรียงลำดับความต้องการของมนุษย์จากขั้นต้นไปสู่ความต้องการขั้นต่อไปไว้เป็นลำดับดังนี้


1. ความต้องการทางด้านร่างกาย ( Physiological needs )


2. ความต้องการความปลอดภัย ( Safety needs )


3. ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ ( Belongingness and love needs )


4. ความต้องการได้รับความนับถือยกย่อง ( Esteem needs )


5. ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ( Self-actualization needs )

***blog นี้ทำขึ้นเพื่อแก้ไข blog ของวันที่18 พย.58 ในหัวข้อเดียวกัน ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการจัดหน้ากระดาษ ต้องรบกวน admin ช่วยลบ blog เดิมที่มีปัญหา ด้วยค่ะ***





ตารางเปรียบเทียบบทบาทของ HR (เก่า – ใหม่)













Old HR
New HR
Routine
HR Department
Training
Static
Information
Stand alone
Efficiency
Value
Command & Control
Micro
Red Ocean
Liability

Strategic
CEO + Other Departments
Learning
Change Management
Knowledge
Partnership
Effectiveness
Value Added /creation
Respect & Dignity
Macro to Micro
Blue Ocean
Assets


จะเห็นได้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่าง Old HR กับ New HR ในเรื่องของมุมมอง ที่ขยายทั้งแนวกว้าง และแนวยาวมากขึ้น แต่วัตถุประสงค์ที่แท้จริง ไม่ว่าจะเป็น old or new คือการที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันขององค์กรหรือของประเทศให้สูงขึ้น ในขณะที่เศรษฐกิจโลกมีปัญหา และเศรษฐกิจของไทยก็ต้องเชื่อมโยงกับต่างประเทศมากขึ้นโดยตลอด

วันนี้ได้มีโอกาสเข้าร่วมงานสัมมนาสาธารณะ เรื่องพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม:Ethical Power ที่ม.ธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ รู้สึกดีและมีประโยชน์ต่อตนเอง สังคมและชาติบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง และหวังว่าจะมีการรณรงค์และขยายพลังแห่งคุณธรรมเพิ่มขึ้นไปในทุกที่ ทุกองค์กอย่างต่อเนื่อง

จากการเข้าฟังการสัมมนา เรื่อง "พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม" วันที่ 13 ธค.58 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) ได้มุมมองเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม ในแง่มุมใหม่ๆ ซึ่งดิฉันได้จดบันทึกไว้บางส่วน คิดว่าคงจะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่ไม่ได้ร่วมฟัง

ท่าน ว.: คนสมัยนี้ไม่ยกย่องคนจริง ไม่ยอมรับความจริง จึงต้องมีตัวอย่างจริยธรรมที่มีชีวิต

ท่านผู้หญิงวิวรรณ กล่าวถึงท่านพ่อจะยิ้มเสมอ ให้ความเมตตาต่อนักศึกษา ยอมรับความต่าง เป็นชาวพุทธที่ดี มีคติธรรม ที่เป็นพลังส่งเสริมจริยาธรรม การดำเนินชีวิตโดยใช้ความรู้วิชาการ แต่ปราศจากคุณธรรม จริยธรรม ย่อมเป็นอันตรายต่อสังคม โลกจะวุ่นวาย เพราะคนประเภทนี้

ศจ นงเยาว์ : โลกวุ่นวายสับสนเปลี่ยนแปลงเยอะมากสังคมวันนี้มีความเจริญมั่งคั่งมากขึ้นแต่คุณธรรม จริยธรรมตกต่ำลง. ไม่มีข่าวดีสำหรับประเทศ การใช้ชีวิตไปตามความเจริญของประเทศอย่างเดียวคงไม่พอ โทษใครไม่ได้ เปลี่ยนสังคมก็ไม่ได้ต้องหาทางอยู่กับสิ่งเหล่านี้ มนุษย์สมัยนี้อยู่แบบผิดธรรมชาติเป็นเผ่าพันธ์ใหม่ เข้าใจความจริงแต่ไม่ยอมรับความจริงกล่าวพรรณนาธรรมะอย่างพหูสูตรแต่ไม่ทำ พูดจาสร้างภาพ เป็นคนที่พูดอย่างทำอย่าง จึงให้ฟังสักครึ่งหู ไว้อีกหูครึ่ง

ทำอย่างไรจึงจะอยู่ในสังคมได้ ต้องเริ่มที่ตัวเอง เริ่มจากลองถามตัวเองในเรื่อง ศีล5เพื่อให้อยู่ได้ในสีงคมอย่าเลียนแบบคนอื่นทุกอย่าง ในหนังสือ พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม ที่เปิดตัววันนี้มีสอดแทรกความรู้ใหม่ๆด้วย อยากให้อาจารย์บอกนักศึกษาให้อ่าน คนต้องมีอุดมการณ์ เช่น อย่าทำตัวให้เป็นมารสังคม และในฐานะที่เป็นปัญญาชนต้องรู้จักวิเคราะห์ อ.ป๋วย "เอาภาษีราษฎรมาใช้ต้องกลับไปทำประโยชน์ให้ประเทศ " ท่านอ.สัญญา "ความกตัญญูรู้คุณและความจงรักภักดี ต่อพระมหากษัตริย์" อ.ปรีดี เป็นผู้เปลี่ยนแปลงแนวคิด เป็นผู้เปิดโลกเปิดโอกาส ให้คนมีสิทธิ์ได้รับการศึกษา พระองค์วรรณ "สิ่งจำเป็นคือเรารู้เรื่องเจ้านายน้อยมาก มีความเป็นครู ขอให้เป็นคนดีทำที่ตัวเอง เน้นที่เรื่องความกตัญญู"

อ.สมชาย : โลกเปลี่ยนแปลวไปแล้ว จริยธรรม คุณธรรมต้องทำอย่างไร Homosapien สัตว์ประเสริฐ ปรัชญาของอริสโตเติ้ล จะลิงค์เข้ากับที่ ผู้นำ 4 ท่านของมธ. กล่าว Perceive the reality สัตว์ไม่มีตรงนี้ มนุษย์มีสองพันธ์ุ 1.มนุษย์ระดับล่างคล้ายสัตว์มองแต่ตัวเองไม่มองคนอื่นเลย 2.มนุษย์จะต้องมองถึงคนอื่น คือ จงทำกับคนอื่นเหมือนที่ต้วเองอยากให้คนอื่นทำกับเรา คนแบบนี้จะรักลูกรักเมีย ทำให้องค์กรมีความสุข จะละอัตตาของตัวเอง มีคุณธรรม คือความพอดี คือ ไม่บ้าระห่ำ ต้องมีหลักธรรม คนที่มีคุณธรรมจะไม่รังแกคนอื่น

อ.สุขุม : อาจารย์ปรีดี ต้องเสียสละอย่างมากที่กล้าทำในสิ่งที่ลำ้หน้ามากๆ ดร.ป๋วย ท่านพิสูจน์ว่าถึงแม้มีโอกาสก้อไม่ทำผิด คนจะดีหรือไม่ ต้องดูตอนที่มีโอกาสแล้วทำมั้ย อ.สัญญา ให้ไปอ่านหนังสือที่ท่านสัญญาเขียนถึงนักศึกษาช่วง6ตุลา คุณธรรมการเมืองสมัยพลเอก เปรมคือนิ่งและไม่โกง สมัยนี้ คนดีต้องดีและเร้าใจ ต้องไม่น่าเบื่อ ต้องสามารถใช้พลัง ทำความดีกับตัวเองด้วยไม่ใช่บอกคนอื่นทำแต่ลูบหน้าปะจมูก

อ.จีระ: คนที่เขียน ท่านเปรม และอธิการบดี 4 ท่าน เป็น role model ที่เหมาะกับคนรุ่นก่อนซึ่งคนรุ่นใหม่อาจไม่เข้าใจลึกซึ้ง

ท่าน ว : พลังจริยาธรรมสำคัญมากสำหรับสังคมไทยที่แตกเป็นเสี่ยงๆในทุกวงการ จริยธรรมคือขอบข่ายของศิล5 ดังนั้นศีลห้าคือต้นทางของจริยธรรม ธรรม กับธรรมาภิบาลเป็นเรื่องเดียวกัน โลกประชาธิปไตย แยกธรรม ออกจากชาวโลก โดยมีสังคมต้นแบบ คืออเมริกา แต่อเมริกาเอง ปีนี้มี gunsyndrome ทั้งหมด 300 กว่าคดี ถ้าติดตามวิชาการระดับโลกจะเห็นว่าเป็นสังคมที่มีปัญหาจริยธรรมอย่างรุนแรง ประชาธิปไตยที่มีสิทธิ เสรีภาพ การค้าเสรี โลกประชาธิปไตน ลืมสอดแทรกพลังจากจริยธรรมไป มีปัญหาการสื่อสาร ทำให้ชาวโลกเข้าใจผิดว่าประชาธิปไตยกับศาสนาเป็นคนละเรื่อง โลกถ้าถูกกระตุ้นให้เป็นโลกาภิวัฒน์ ทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนเป็นเงินหมด ทุนนิยมcrashกับจริยธรรม วิธีแก้ ต้องทำให้โลกตื่นรู้ ว่าจริยธรรมสำคัญและจะอยูร่วมกันอย่างไร การมีจริยธรรมเพียงคนเดียว ฟื้นฟูสังคมไม่ได้ ต้องทำพลังแนวราบให้เยอะที่สุดจนเป็นเครือข่ายและร่วมกันทำงาน เช่น ตอน ร่างรธนปี 40 เป็น collective awareness ต้องทำให้เกิดความตื่นรู้ร่วมกันทางสังคม จนกลายเป็นฉันทามติ จะเกิดเป็นพลังจริยธรรม ทางสังคม สิ่งที่ไทยขาดคือการสื่อสาร มีฉันทามติร่วมกัน เพี่อสถาปนาประชาธิปไตยที่ยั่งยืน การทำให้คนทั้งชาติมีสัมมาฐิฏิต้องทำ จริยธรรมทั้งหมดต้องยืดโยงกับสัจธรรม แลปัญญา เช่นแก้ว สัพสิ่ง(แก้ว) เป็นของใช้แตกได้ จึงต้องใช้อย่างทนุถนอม ของส่วนรวมคนจะไม่รู้สึกว่าเป็นเจ้าของ ความรู้สึกเป็นเจ้าของหายไป จะใช้อย่างไม่บำรุงรักษา ไม่คิดถึงวันข้างหน้า กอบโกยเท่าที่ทำได้ ให้มากที่สุด ของส่วนรวมจึงเสียหาย ถ้าเป็นองค์กรก็ขาดทุนป่นปี้ (การบินไทย) ต้องมีคนที่มีปัญญามีการเรียนรู้ตลอดเวลาและต้องมีความกล้าหาญทางจริยธรรม จึงจะมาแก้ไขได้ สร้างพลังทางปัญญาเป็นอีกเรื่องที่ต้องทำ ต้องรู้ปัญหาจริงๆของเราคืออะไร จับประเด็นปัญหาให้ชัด และแก้ไขอย่างโปร่งใส ทำอย่างที่พูดพูดอย่างที่ทำส่งเสริมให้ประเทศนี้โปร่งใสในทุกมิติ ต้องหาวิธีที่ทำอย่างไรจะส่งเสริมให้คนเห็นแก่ตัวเองน้อยๆทำเพื่อส่วนรวมให้มากขึ้น ลดละเลิกตัวกูของกู

สรุป

คิดถูก ปัญหาจริงๆของเราคืออะไร จับประเด็นปัญหาให้ชัด

โปร่งใส ทำอย่างที่พูดพูดอย่างที่ทำส่งเสริมให้ประเทศนี้โปร่งใสในทุกมิติ

ใจสูง ทำอย่งไรจะส่งเสริมให้คนเห็นแก่ตัวเองน้อยๆทำเพื่อส่วนรวมให้มากขึ้น ลดละเลิกตัวกูของกู



โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่ออ่านข่าวสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง AEC ผลกระทบแรงงานและความมั่นคงของประเทศไทย

http://www.gotoknow.org/posts/603295

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 12-26 มีนาคม 2559

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่ออ่านดูข่าวสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง AEC ผลกระทบแรงงานและความมั่นคงของประเทศไทย

https://www.youtube.com/watch?v=Rf8EqwgftXQ

ที่มา: รายการ สู่..ประชาคมอาเซียน. ตอน : ปัญหาแรงงานไทยกับผลกระทบในอีก 20 ปีข้างหน้า

ออกอากาศเมื่อวันจันทร์ที่ 4 เมษายน 2559 ทาง NBT

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่ออ่านดูข่าวสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง AEC ผลกระทบแรงงานและความมั่นคงของประเทศไทย

https://www.youtube.com/watch?v=MBohIXokcYE

ที่มา: รายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ “ดร.จีระ”. ตอน : AEC การเปิดเสรีการค้ากับปัญหาความมั่นคงของปร­ะเทศไทยในอนาคต

ออกอากาศวันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 2559 ทางสถานีโทรทัศน์ TGN

ดร.นาที รัชกิจประการ

จากการที่ได้รับฟังการสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง AEC ผลกระทบแรงงานและความมั่นคงของประเทศไทย ทำให้มองเห็นว่า ผลกระทบของ AEC จะก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน ที่มีคุณภาพและทักษะของไทยอาจย้ายไปในประเทศที่มีค่าแรงสูงกว่าในประเทศ เช่น สิงคโปร์หรือมาเลเซีย ส่วนแรงงานที่ไม่มีทักษะ จะมีการเคลื่อนย้ายจากประเทศเพื่อนบ้านเช่น พม่า ลาว เขมร เข้ามาในประเทศไทยมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ดร.นาที รัชกิจประการ

ผลกระทบจากการเปิด AEC เนื่องจากจะเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรี ปัญหาที่ตามมาของแรงงานไทย ที่จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ แรงงานต่างด้าวที่มีค่าแรงต่ำกว่า จะมาแทนที่แรงงานที่ไม่มีทักษะของไทย ดังนั้นแรงงานไทยจึงจำเป็นที่จะต้องพัฒนาให้เป็นแรงงาน ที่มีทักษะ หรือ ต้องสร้างมูลค่าเพิ่ม ด้วยการนำความรู้ท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานให้สูงขึ้นและ เป็นแรงงานทักษะเฉพาะด้าน

ดร.นาที รัชกิจประการ

การเปิด AEC ยังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ เรื่องของภาษา ในอดีตที่ผ่านมาประเทศไทยเป็นเอกราช ไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกเหมือนอย่างประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้นภาษาอังกฤษจึงไม่ค่อยมีบทบาทเท่าไร สำหรับคนไทยส่วนใหญ่ แต่เมื่อการเปิด AEC จะทำให้นอกจากแรงงานแล้ว ผู้ประกอบการ คู่ค้าขาย และผู้ว่าจ้าง ก็จะไหลเข้ามาสู่ประเทศไทย ภาษาอังกฤษก็เริ่มมีความสำคัญมากขึ้น เพราะการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจ เป็นส่วนประกอบสำคัญ อย่างยิ่งในการที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ ของการเปิด AEC เราจะช่วงชิงความได้เปรียบหรือไม่ ต้องอาศัยภาษาเป็นหลัก คนไทยจึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาความสามารถ ทางด้านภาษา อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ดร.นาที รัชกิจประการ

เห็นด้วยกับท่านอาจารย์จีระ ที่ว่า การพัฒนาทุนมนษย์ มีความสำคัญต่อการพัฒนาแรงงานประเทศไทย ในอีก 20 ปีข้างหน้า เพราะการพัฒนาทุนมนุษย์จะเป็นการเพิ่มมูลค่า หรือเพิ่มศักยภาพต่อแรงงานไทยได้อย่างแท้จริง และ เป็นการแก้ปัญหาด้านแรงงานของประเทศไทยอย่างถาวร

ดร.นาที รัชกิจประการ

การจัดการทรัพยากรมนุษย์ หรือ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ การใช้กลยุทธ์เชิงรุกที่มีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดในองค์กร ดังนั้นการจัดการทรัพยากรมนุษย์ จึงเป็นสิ่งที่จะกำหนดว่า องค์กรนั้นนั้นจะมีประสิทธิภาพในการทำงานแลัจะประสบความสำเร็จหรือไม่

ดร.นาที รัชกิจประการ

Gary Becker ได้ศึกษาค้นคว้ากำหนดทฤษฎีทุนมนุษย์โดยมุ่งเน้นการลงทุนไปที่ขีดความสามารถและทักษะในการทำงานของบุคลากรในองค์กร

ดร.นาที รัชกิจประการ

แนวคิดหลักของทฤษฎีทุนมนุษย์คือ การมุ่งเน้นเพื่อเพิ่มทุนมนุษย์ที่นำไปสู่ผลผลิตและการบริการที่มีประสิทธิภาพ ส่วนการจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic management) เป็นการตัดสินใจในการวางแผนเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันโดยกำหนดเป้าหมายในอนาคตและใช้เครื่องมือทางการจัดการ ดำเนินกิจกรรมให้บรรลุเป้าหมายที่มุ่งเน้นการบริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาทุนมนุษย์ของแรงงานจะช่วยให้การพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์เกิดประสิทธิผล

ดร.นาที รัชกิจประการ

ทุนมนุษย์เป็นนามธรรม(Abstract) เพราะเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ (Intangible) ไม่เหมือนกับทรัพย์สินทั่วไป เช่นรถยนต์ บ้าน ที่ดิน เป็นต้น แต่ทรัพย์สินอย่างอื่นพอใช้ไปนานๆ มันก็ต้องมีค่าเสื่อม ซึ่งเทียบไม่ได้กับทุนมนุษย์ที่มีแต่มูลค่าเพิ่ม มูลค่าเพิ่มมาจากไหน มูลค่าเพิ่มจากทุนมนุษย์ประกอบไปด้วย ความรู้ (Knowledge) ทักษะหรือความชำนาญ (Skills) ความสามารถ (Abilities) ตลอดจนประสบการณ์ (Experiences) เป็นต้น นอกจากนั้นทุนมนุษย์ต้องสามารถจัดการกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของยุคโลกาภิวัตน์ให้ทัน แต่อย่างไรก็ตามเรื่องคุณภาพของทุนมนุษย์ก็มีปัจจัยเสี่ยงเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการขาดงานที่ไม่ได้แจ้งล่วงหน้า คือไม่มีวินัย,การใช้เวลาที่มากมายในแต่ละกิจกรรมของพนักงาน คือไม่มีความรู้ในเรื่องๆ นั้นมากพอ ,การใช้เทคโนโลยีที่ไม่ถูกกับงาน เป็นต้น การให้ความรู้ ทักษะ การเพิ่มคุณภาพ ต้องมีความต่อเนื่อง การจัดการในทุนมนุษย์ เป็นการลงทุนในตัวบุคคล เพิ่มศักยภาพบุคคล เพื่อไปเพิ่มคุณค่าผลผลิตในรูปของการสร้างคุณค่าและการฝึกอบรม เป็นการลงทุนทรัพย์ที่สำคัญที่สุด (Gary S.Becker) เพื่อจะนำไปสู่การปฏิบัติงานขององค์กรที่ประสบความสำเร็จ แต่อย่างไรก็ดีการลงทุนโดยอาศัยแค่ความรู้ ทักษะ คงจะไม่พอ ควรจะเพิ่มคุณธรรมเข้าไปด้วย นอกจากนั้นการมีบุคลิกภาพและสุขภาพที่ดี ก็ล้วนแล้วแต่เป็นแนวทางการพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ทั้งสิ้น


"Accounting says human capital is an expense, but human capital is also an investment generating predictable top-line growth." ฝ่ายบัญชีมองว่าทุนมนุษย์เป็นค่าใช้จ่าย แต่ทุนมนุษย์ก็เป็นการลงทุนเพื่อสร้างการเติบโตหรือสร้างมูลค่าเพิ่มที่สุดยอดมากด้วยเช่นกัน.: Dr.Jac Fitz-enz (the father of human capital strategic analysis and measurement)

พ.อ.ชยพล สุวัฒนฤกษ์

ท่านอาจารย์จีระ กล่าวว่า"คนเราเกิดมาต้องพัฒนาตัวเองและสร้างสิ่งใหม่ๆตลอดเวลา" ซึ่งเป็นประโยคที่ได้จุดประกายและสร้างแรงบันดาลใจในการริเริ่มงานใหม่เพื่อการพัฒนา"ทรัพยากรมนุษย์" หรือ"ทุนมษุษย์" เป็นจุดเริ่มต้นให้คนไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างแท้จริง

พ.อ.ชยพล สุวัฒนฤกษ์

หนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้” HR CHAMPIONS หนังสือได้บอกเล่าความเป็นมาของอาจารย์ทั้งสองท่าน นับแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน ตลอดจนบอกความมุ่งหวังต่อผลสำเร็จของงานทรัพยากรมนุษย์ที่ตั้งใจไว้ในอนาคตอย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม ได้เห็นความมุ่งมั่นที่จะทำงานเพื่อพัฒนา “คน” ที่ท่านทั้งสองมองเห็นตรงกันว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของโลก และมีผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และต่อระบบเศรษฐกิจโลก มีการนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณที่เป็นทั้งผลจากการวิเคราะห์ และวิจัย รวมทั้งข้อมูลเชิงคุณภาพที่เกี่ยวกับเรื่องของคนไว้อย่างชัดเจน ทำให้น่าติดตาม

พ.อ.ชยพล สุวัฒนฤกษ์

จาก สัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง AEC ผลกระทบแรงงานและความมั่นคงของประเทศไทย ในมุมมองของข้าพเจ้า ผลกระทบที่สำคัญต่อประเทศไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาในประเทศไทยในปัจจุบัน จะมีลูกหลานที่เกิดในประเทศไทย ซึ่งจะได้สัญชาติไทย

ในแง่ของงบประมาณประเทศไทย เราต้องมีภาระค่าใช้จ่ายในเรื่องสวัสดิการของรัฐต่างๆ โดยในแง่ของภาษีเงินได้ของรัฐจากลูกหลานแรงงานเหล่านี้ แทบไม่มีเลย เนื่องจากเป็นแรงงานที่มีเงินได้ต่ำมาก รัฐบาลจะต้องจัดเงินงบประมาณแผ่นดินในส่วนนี้มากมาย

ในแง่ของความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อาจเป็นแหล่งอิทธิพลและมิจฉาชีพ เช่นพวกมาเฟียจีน หรือเขมร

พ.อ.ชยพล สุวัฒนฤกษ์

ทุนมนุษย์ (Human Capital) หมายถึงสมรรถนะ ความรู้ ความสามารถ คุณลักษณะทางสังคมและบุคลิกภาพ รวมถึงความคิดสร้างสรรค์ที่สั่งสมอยู่ในตัวบุคคล โดยสิ่งเหล่านี้สามารถนำมาเพิ่มคุณค่าให้กับองค์กรได้

พ.อ.ชยพล สุวัฒนฤกษ์

แนวคิดทฤษฎี 8K’s หรือทุน 8 ประการนั้น เป็นทฤษฎีพื้นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ ประกอบด้วย

K1 ทุนมนุษย์ Human Capital ซึ่งอาจารย์มองว่าการศึกษา โภชนาการ การฝึกอบรมและการเลี้ยงดูในครอบครัวนั้น เป็นการสร้างทุนมนุษย์ในขั้นแรก

K2 ทุนทางปัญญา Intellectual Capital คือความสามารถของมนุษย์ในการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหาและหาทางออก เป็นการมองยุทธศาสตร์ หรือการมองอนาคต

K3 ทุนทางจริยธรรม Ethical Capital เน้นที่คนต้องมีความดีคู่ความเก่ง เป็นคนดี คิดดี ทำดี คิดเพื่อส่วนรวม และมีจิตสาธารณะ

K4 ทุนทางความสุข Happiness Capital คือ พฤติกรรมที่บุคคลพึงมีเพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ

K5 ทุนทางสังคม Social Capital ทุนทางสังคมหรือเครือข่าย ที่มีคุณค่าต่อการทำงาน โดยเฉพาะในยุคอาเซียนเสรี ต้องมีความพร้อมที่จะมีเครือข่ายที่กว้างขวางมากขึ้น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและศักยภาพในการแข่งขัน และต้องให้ความสำคัญกับ การสร้างเครือข่ายของปัญญา Intellectual Network ที่สำคัญที่สุด คือ ต้องมีความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมที่หลากหลาย และสามารถบริหารความแตกต่างได้

K6 ทุนทางความยั่งยืน Sustainable Capital ได้มาจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และ จากความคิดของท่านอาจารย์ คือ 6 ปัจจัยแห่งความยั่งยืน (Chira’s 6 factors)

K7 ทุนทางเทคโนโลยี Digital Capital ต้องมีความรู้ความสามารถ ที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ให้เกิดการพัฒนาด้านต่างๆได้ มีการแสวงหาข้อมูลที่สดใหม่ ทันสมัย การสื่อสารทำให้เข้าถึงลูกค้าได้มาก และรวดเร็ว รวมถึงการแบ่งปันความรู้สู่สังคมด้วย

K8 ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ Talented Capital ซึ่งต้องมี 3 อย่างพร้อมกัน คือ ทักษะ (Skill) , ความรู้ (Knowledge) , ทัศนคติ (Attitude)

พ.อ.ชยพล สุวัฒนฤกษ์

แนวคิดทฤษฎี 5K’s (ใหม่) ซึ่งเป็นทฤษฎีต่อยอด สร้างคุณภาพทุนมนุษย์ เพื่อศักยภาพการแข่งขันยุคอาเซียนเสรี ประกอบด้วย

Creativity Capital ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ ที่สามารถสร้างได้จากการฝึกคิดนอกกรอบ (Thinking Outside the box)

Knowledge Capital ทุนทางความรู้ โดยทุนความรู้ที่ดี ต้องตั้งอยู่บนหลักทฤษฎี 2 R’s โดย R ตัวแรก Reality หมายถึง ความรู้ที่มาจากความเป็นจริง R ตัวที่สอง Relevance หมายถึง ตรงประเด็น ตรงความต้องการของผู้รับบริการ อาจารย์เชื่อว่า ทุนทางความรู้ จะนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) , มูลค่าร่วม (Value Creation) , มูลค่าเพิ่มจากความหลากหลาย (Value Diversity)และ ความเฉลียวฉลาด (Wisdom) ได้

Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม คือความสามารถทำสิ่งใหม่ๆ ที่มีคุณค่า ซึ่งนวัตกรรมต้องมีองค์ประกอบ 3 เรื่อง คือ 1. มีความคิดใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ และมาผสมผสานกับความรู้ 2. นำความคิดไปปฏิบัติจริง 3. ทำให้สำเร็จ

Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม คือ การมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักในความสำคัญของวัฒนธรรม ซึ่งเป็นรากฐานของการดำรงชีวิตของมนุษย์ นอกจากนี้ยังสามารถบริหารจัดการ ความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมได้อย่างดีด้วย

Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ หมายถึง การรู้จักควบคุมอารมณ์ และบริหารอารมณ์ เช่น ไม่โกรธง่าย ไม่เครียดง่าย ไม่อ่อนไหว หดหู่ ตกใจหรือตื่นกลัว กับสิ่งต่างๆ ที่เข้ามากระทบตัวเรา รู้จักใช้สติ ใช้เหตุผล การมองโลกในแง่ดี คิดบวก รวมไปถึงภาวะผู้นำด้วย

พ.อ.ชยพล สุวัฒนฤกษ์

ประโยชน์ของ 8k และ 5k

1.องค์กรจะได้แนวทางที่ใช้พัฒนาคนในองค์กร จะทำให้เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ได้อย่างยั่งยืน

2.ได้ทรัพยากรมนุษย์ที่มีทุนแห่งความสุข ชอบงานที่ทำ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

3.เมื่อคนในองค์กร มีทุนในด้านต่างๆเพิ่มขึ้น องค์กรก็จะได้รับประโยชน์จากคนเหล่านั้น

4.เปลี่ยนมุมมองให้มองมนุษย์ ว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่า ออกนโยบายได้ตรงจุด เน้นพัฒนาคน เพื่อเพิ่มศักยภาพโดยรวมของคนในประเทศ ด้วยประสบการณ์ทำให้กลั่นกรองออกมาเป็นทุนด้านต่างๆที่เหมาะสมกับประเทศไทย

5.ทำให้ประเทศได้รู้ถึงแนวทางในการพัฒนาประเทศ ว่าจะต้องเริ่มที่คน หันมาให้ความสำคัญและลงทุนในทุนมนุษย์มากขึ้น

6.ให้มองเห็นสิ่งที่ประเทศยังขาดอยู่ โดยเฉพาะเรื่องจริยธรรม ถ้าเน้นที่จะพัฒนาทุนด้านนี้ให้กับประเทศจะทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้าไปได้อีกมาก

พ.อ.ชยพล สุวัฒนฤกษ์

การปฎิรูปการศึกษา ที่จะนำการปรับตัว เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ในอนาคต

***ภาครัฐ (ผู้นำทางการเมืองและผู้บริหารการศึกษา)***

จะต้องเข้าใจปัญหาให้ชัด เช่น ทำไมนักเรียนถึงเรียนแล้ว ไม่สามารถวิเคราะห์ได้ (คุณภาพ), การผลิตนักศึกษาไม่สอดคล้องกับ ความต้องการของธุรกิจ (ผู้จ้างงาน)

จะต้องมีความตั้งใจที่จะแก้ปัญหา

มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับระบบการศึกษา ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ในแง่ ของ การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

นโยบายของพรรคการเมืองและนโยบายรัฐบาล จะต้องสอดคล้องกับ สิ่งที่ควรจะปรับเปลี่ยนเพื่อปฎิรูปการศึกษา

ในแง่ของผู้บริหารการศึกษา เช่น ครูและข้าราชการประจำ ศึกษาเขต จะต้องนำนโยบายมาปฎิบัติให้เกิดผล มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ที่จะทำหน้าที่ของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความรักในงาน ที่จะสร้างคนดีสู่สังคม และจะต้องหาวิธีการใหม่ๆ innovation เพื่อจูงใจให้นักเรียนสามารถพัฒนาศักยภาพของตน อาจต้องใช้ network เข้าช่วย

***ภาคเอกชน (นักธุรกิจ) และภาคประชาชน (พ่อแม่ผู้ปกครอง)***

จะต้องมีส่วนร่วมมากขึ้นในการปฎิรูปการศึกษา เพราะในปัจจุบัน ภาคเอกชนและภาคประชาชนคือผู้ตามโดยไม่ได้มีส่วนร่วมในการ วางนโยบาย เนื่องจากพรรคการเมืองเป็นผู้กำหนด โดยมีผลประโยชน์ ชี้นำ แทนที่จะเป็นการเอาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก การออกนโยบายจึงเน้นผลระยะสั้นมากกว่า

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ถ้าจะให้การปฎิรูประบบการศึกษาเกิดผลดี อย่างเป็นรูปธรรม จึงควรมีการเปลี่ยนแปลงโดยให้องค์กรการศึกษา แยกตัวออกมาเป็นองค์กรอิสระ ปลอดจากนักการเมือง

พ.อ.ชยพล สุวัฒนฤกษ์

ทฤษฎีของ Kotter

จะเน้นการเปลี่ยนแปลง ในลักษณะที่เป็น action plan ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแรงกดดัน เพื่อเปลี่ยนแปลงอย่างเร่งด่วน หรือการสร้างวิสัยทัศน์, การกระจายอำนาจ การใช้ระบบประมวลผล ซึ่งเป็นแนวทางปฎิบัติ ที่ทำให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลง โดยเน้นการสร้างแรงผลักจากภายใน (inside-out) เป็นหลัก เห็นได้จาก establishing a sense of urgency ทำให้เกิดการรู้สึกถึงความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะดีกว่าการทำตามคำสั่ง และการสร้าง motivation ให้กับคนในองค์กร โดยการ empowering the other to act on the vision และ Kotter ให้ความสำคัญกับการสื่อสาร ทำให้องค์กรขนาดใหญ่เข้าใจถึงแนวทาง, เป้าหมายของการเปลี่ยนแปลง และทิศทางการขับเคลื่อนไม่ผิดพลาดได้ เพราะถ้าองค์กรขนาดใหญ่เดินผิดทิศทาง จะก่อให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรอย่างน่าเสียดาย นี่คือ Communicating the vision

อาจารย์นิยม สุวรรณเดช

ทุนทางปัญญา

(IntellectualCapital)

มูลค่าขององค์กรที่ถูกประเมินในลักษณะขององค์กรที่ถูกประเมินในลักษณะของราคาตลาดนั้น หากเป็นองค์กรที่มีผลประกอบการที่อยู่ในแนวหน้าของตลาดหลักทรัพย์ องค์กรจะมีราคามี “คุณค่า” ที่สามารถวัดได้ทางบัญชี (Tangible Asset)เพียง 20 % ของราคาตลาดขององค์กรนั้นๆ

แต่อีก 80 % จะเกิดจาก “คุณค่า” ที่เกิดจากทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตน (IntellectualAsset) ซึ่งเป็นความน่าเชื่อถือ และความเชื่อในความาสามารถขององค์กร (ทั้งปัจจุบันและในอนาคต)หลายๆ ด้าน เช่น ภาวะผู้นำ ความรู้ ความสามารถขององค์กรในการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ สู่ตลาด ความสัมพันธ์กับลูกค้า คู่ค้า ตราสินค้า ฯลฯ

ผู้เชี่ยวชาญ

หัวข้อเรื่อง

ทุนทางปัญญา 3 ด้านหลัก

Dr. K-E Sveiby

Intangible

Assets

External

Structure

Internal

Structure

Individual

Computence

Prof.L.

Edvinsson

Intellectual

Capital

Customer

Capital

Organization

Capital

Human

Capital

Kaplan & Norton

Balanced

Scorecard

Customer

Perspective

Internal

Perpective

Learning &

Growth

Perspective

อาจารย์นิยม สุวรรณเดช

ทุนทางปัญญา มีความหมายรวมถึง ความรู้ความสามารถของคนและองค์กร ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการสร้างหรือก่อให้เกิด “คุณค่าเพิ่ม” และ “มูลค่าเพิ่ม” โดยจะประกอบไปด้วย

1.ทุนด้านลูกค้า (Customer Capital)

เป็นมูลค่าและคุณค่า ที่เกิดขึ้นจากการที่องค์กรได้สร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ซึ่งอาจจะวัดได้จากระดับความพึงพอใจของลูกค้า ความประทับใจ และความจงรักภักดีของลูกค้า

2.ทุนทางด้านองค์กร (Organization Capital)

เป็นมูลค่าและคุณค่า ที่เกิดจากตัวผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีขององค์กร รวมถึงกระบวนการภายในที่ส่งเสริมให้การดำเนินการร่วมกัน ระหว่าง คน เทคโนโลยี และระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล

3.ทุนมนุษย์(Human Capital)

เป็นมูลค่า และคุณค่า ที่สร้างและสะสมเพื่อก่อให้เกิดความรู้ความสามารถ “Know-How” ของพนักงานและองค์กร รวมถึงแรงจูงใจและความจงรักภักดีของพนักงาน

ทุนที่จับต้องไม่ได้อยู่ 3 ด้านคือ

1.ทุนมนุษย์(Humman Capital)

ซึ่งประกอบด้วย ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และค่านิยม (Values) รวมถึงพฤติกรรมที่จำเป็นต่อการปฏิบัติบันภารกิจ ร่วมกันมุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์

2.ทุนทางสารสนเทศ (Information Capital)

ซึ่งประกอบด้วย ระบบโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางด้าน IT รวมถึงระบบสื่อสารข้อมูล (Technology Infrastructure) และระบบแอพพลิเคชั่นทุนสารสนเทศ (Information CapitalApplication) เป็นระบบที่รวมถึงสารสนเทศ (Information) ความรู้ (Knowledge)และเทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนกระบวนการหลักๆ ขององค์กร ซึ่งได้แก่ กระบวนการสร้างนวัตกรรม (Information) การบริหารลูกค้า (Customer Management) การบริหารงานปฏิบัติการ (Operation Management) และการจัดการด้านกฎข้อบังคับและสังคม (Regulation and Social)

ทุนทางสารสนเทศที่เกี่ยวกับแอพพลิเคชั่น มีสามด้านด้วยกัน คือ

  • แอพพลิเคชั่นที่จัดการกระบวนการประมวลผลข้อมูลขององค์กร (Transaction Process Application )
  • แอพพลิเคชั่นที่วิเคราะห์และประเมินผลข้อมูล (Analytic Application)
  • ระบบแอพพลิเคชั่นที่มีการเชื่อมโยงระหว่างระบบข้อมูลร่วมกัน(Transformation Application)3.ทุนด้านองค์กร (Organization Capital)ซึ่งประกอบด้วย วัฒนธรรมองค์กร (Culture) ผู้นำองค์กร (Leader) การดำเนินการที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ (Alignment) และการทำงานเป็นทีม (Teamwork)

Tangible จับต้องได้ แท้จริง

intangibleสัมผัสไม่ได้ จับไม่ได้ เช่น ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์เทคโนโลยี

Visibleและ Invisible

Visible เห็นได้ มองเห็นได้ ชัดเจน

Invisible มองไม่เห็น ไม่ปรากฏซ่อนเร้น

3V

Value Diversityการสร้างคุณค่าจากความหลากหลาย

การมองของทุนมนุษย์มีความสำคัญคือการมองคือการสร้างคุณค่าคือการพัฒนาตนเองคือสร้างความคิดสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมซึ่งนวัตกรรมอาจจะเป็นการคิดใหม่ทำใหม่ก็ได้หรือการเกิดการเรียนรู้ใหม่ๆคือการสร้างสรรค์สังคมหรืออาจจะเป็นการระดมความคิดเพื่อทำให้สังคมมีความสุขอย่างยั่งยืนโดยใช้ทุน8k’s 5k’s เป็นพื้นฐานการทำให้สังคมมีความสุขอย่างยั่งยืนสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ทุกคนต้องมีจริยธรรม คุณธรรมควบคู่กับการมีความรู้ และยอมรับแลกเปลี่ยนความคิดเห็นให้เกียรติซึ่งกันหากทุกคนทำได้จะทำให้เป็นทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ ดังเช่นท่านดร.จีระได้กล่าวไว้ว่าหากเรามีความสุขครอบครัวก็มีความสุขสังคมก็มีความสุขประเทศชาติก็มีความสุขและเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน

ลิ้งค์ข่าวหลักสูตร

https://www.youtube.com/watch?v=aUWuOsa6Pvs&feature=youtu.be

ที่มา: รายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ “ดร.จีระ”. ตอน : นวัตกรรมการจัดการ..นวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อคนยุค 4.0 ออกอากาศวันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม 2559 ระหว่างเวลา 21.00-21.30 น. ทางช่อง TGN

พัสราวลีี อาริยะธนาพร

สรุปประเด็นสิ่งที่ได้รับ หรือความประทับใจในแต่ละครั้งของการเรียน

หลักสูตร Doctor of Philosophy in Innovative Management รุ่นที่ 16 

College of Innovation and Management, Suansunandha Rajabhat University 

ในวิชา PHD 8205 (Development of Human & Social Capital) กับ ศ. ดร จีระ หงส์ลดารมภ์ ทั้งหมดจำนวน 9 ครั้ง

โดย: นส. พัสราวลี อาริยะธนาพร (Em)


ครั้งที่ 1 – วันอาทิตย์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2561  

เรื่อง – วิธีการเรียน และเปิดเทปของ รศ.ธงทอง จันทรางศุ กับดร.จีระ เรื่องการปฏิรูปการศึกษา

โดย: นส. พัสราวลี อาริยะธนาพร (Em)

               วิชาการจัดการของทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญ แต่คนส่วนมากมักละเลยหรือให้ความสำคัญน้อยกว่า คิดว่าการตลาด, การบัญชี, หรือระบบ IT ต่างๆนั้นสำคัญที่สุด หลักสูตรนี้จึงอยากยกระดับความสำคัญเรื่องของคน มองคนให้มีคุณค่า มีศักดิ์ศรี ในส่วนด้านทรัพยาการมนุษย์เรามีการลงทุนกันอยู่แล้วตั้งแต่เราเกิด รวมถึงครอบครัว และการศึกษา ซึ่งการลงทุนเหล่านี้ต้องสามารถสร้างคนดี สามารถสร้างประโยชน์ได้ หรือสามารถทำประโยชน์ที่ต่อยอดจากการที่เราเรียนมาได้ (Value-Added) เพราะฉะนั้น “HR Architecture” คือโครงสร้างรากฐานที่สำคัญ

               โดย “HR Architecture” เป็นเรื่องสำคัญของทุนมนุษย์ ต้องเรียนรู้ที่จะเรียน ใช้ Learn, Share and Care โดยที่ระบบการศึกษาคือหลักต้นทุนที่สำคัญมาก เป็นการสร้างคนเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศ การเรียนด้วย 4L’s (Learning Methodology, Learning Environment, Learning Opportunities, and Learning Communities) คือกระตุ้นให้คิด สร้างบรรยากาศการเรียนสนุก มีโอกาสปะทะกันทางปัญญา ทุกคนออกความเห็นด้วยเหตุผลซึ่งเป็นวิธีการเรียนที่สำคัญ อาจารย์ที่ดีต้องสนใจลูกศิษย์ โดยที่อาจารย์เน้นว่า รุ่นที่ 16 นี้ควรเน้นการศึกษา ซึ่งหลักสูตรนี้เป็น Wisdom เกิดจากการแบ่งปันความรู้ แล้วสร้างความรู้ใหม่ๆ และที่สำคัญคือต้องนำไปประยุกษ์ใช้งานได้จริง  โดยการประทะทางความคิดเกี่ยวกับการศึกษา โดยอาจารย์ได้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม เสนอกลุ่มละ 3 ประเด็น เพื่อนำไปสู่เพื่อการปฎิบัติได้จริง เพราะเมืองไทยไม่ได้ขาดแผนจริง แต่ไม่ได้นำไปปฎิบัติ, ขาดความต่อเนื่อง, และไม่ทำเป็นขั้นเป็นตอน

              ซึ่งการทำ Workshop ครั้งนี้ทุกๆคนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น หลากหลายแนวทาง เช่น วิธีการประเมินครูและนักเรียนต้องปรับเปลี่ยน, การปรับ Mindset ของการศึกษา เรียนเพื่ออะไร, การปฎิรูปการศึกษาตั้งแต่รากฐาน โดยต้องตั้งอยู่บนความเป็นจริง (Reality) และความเกี่ยวข้อง (Relevance) ว่าสังคมในยุคปัจจุบันต้องการอะไร รวมทั้งการให้ความร่วมมือทั้งภาครัฐ และเอกชน ยกตัวอย่างเช่นในส่วนของภาครัฐ ทุกๆ กระทรวงต้องช่วยกันสนับสนุน, ให้ข้อมูล และการร่วมมือกัน ไม่ใช่แต่กระทรวงศึกษาเพียงอย่างเดียว ทุกๆฝ่ายมีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนา และปฏิรูปการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น เพื่อตอบโจทย์การดำรงชีวิตในยุคปัจจุบันที่การเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก


ครั้งที่ 2 – วันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 

เรื่อง – ทฤษฏีการเรียนรู้ของดร.จีระ – เรื่องMacro Micro – การทำหนังสือ Chira Way – การแบ่งกลุ่มวิจารณ์หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

โดย: นส. พัสราวลี อาริยะธนาพร (Em)

               นอกจากการศึกษาที่คือการลงทุนพัฒนาทุนมนุษย์แล้ว ยังมีตัวอย่างอื่นๆอีกที่ลงทุนเรื่องคนด้วย เช่นบทบาทของครอบครัวที่ต้องปลูกฝังเรื่องสุขภาพ ทั้งหมดนี้คือการลงทุนพัฒนาทุนมนุษย์ก่อนเข้าวัยสู่ทำงาน และหลักสูตรแบบนี้ก็ขยายเป็น Macro และ Micro

               อย่าง Macro เรื่อง Social Media ได้มีการวิเคราห์แล้ว มีทั้งข้อดี และข้อเสีย ทำให้เด็กยุคต่อไปครอบงำด้วยอิทธิพลเหล่านี้ ซึ่งประเด็นเหล่านี้ควรนำไปวิเคราะห์ และพิจราณาในการดำเนินการเรื่องการปฎิรูปการศึกษา การพัฒนาทุนมนุษย์ที่ดีต้องมาจากการปลุกฝังที่ดีตั้งแต่วัยเรียน และวัยก่อนทำงาน ต้องคิดและช่วยกันทำ

               ในส่วนที่ประทับใจของคลาสนี้คือ ตอนที่อาจารย์ได้กล่าวถึงความสำคัญของใบปริญญาเพียงอย่างเดียว แต่อยากให้หลักสูตรนี้มีประโยชน์และคุณค่าต่อนักศึกษาที่สุด “อาจารย์จีระจะรับหน้าที่สอนปริญญาเอกให้ดีที่สุด หลักการเรียนคือทำให้เกิดปัญญาแล้วพัฒนาตัวเรา หลักสูตรนี้ไม่ได้มีความหมายเพียงแค่ได้ปริญญาอีกใบ แต่อยากให้เป็นบรรยากาศการเรียนที่ดี มีคุณค่าต่อนักศึกษา แม้เรียนแค่หลักสูตรเดียวก็เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า” รวมทั้งที่กล่าวถึงว่า “Professor ที่ Harvard บอกว่าความสำเร็จที่แท้จริงที่แท้คือ Happiness and Sustainability”

               การนำเสนอ วิจารณ์หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ แนวคิดเดิมของทรัพยากรมนุษย์คิดถึงเรื่องแรงงานสัมพันธ์ มุ่งเน้นแต่แก้ปัญหาความขัดแย้งด้านแรงงาน และยังมองมาคนเป็นต้นทุนของการผลิต แต่ตอนนี้แนวคิดด้านทรัพยากรมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลง มีการมองว่าคนเป็นสิ่งที่มีมูลค่าเพิ่ม คนเป็นผลกำไรขององค์กร จึงต้องดูแลเอาใจใส่ มีการพัฒนาทั้งระบบควบคู่ไปกับเรื่องจิตใจ ต้องมีการกระทำตนเป็นต้นแบบมีอยู่ 4 หัวข้อด้วยกันคือ “แนวคิด 4 เก่ง 4 ดี” (4 เก่งคือ เก่งงาน, เก่งคน, เก่งคิด, เก่งเรียน) และ (4 ดีคือ ประพฤติดี, มีน้ำใจ, ใฝ่ความรู้, คู่คุณธรรม) และต้องตระหนักในคุณค่าของคน มากกว่าทรัพย์สินอื่นใดในองค์กร และการทำงานเป็นทีมแบบ Participative เมื่อองค์กรมีทรัพยากรมนุษย์ที่ดีแล้ว ผู้บริหารระดับสูงต้องเชื่อว่า คนเป็น Asset และหัวใจขององค์กร พร้อมมี 8K’s+5K’s สำหรับพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร


ครั้งที่ 3 – วันอาทิตย์ 11  กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 

เรื่อง – เรียน และ Workshop เรื่อง 8k’s & 5k’s

โดย: นส. พัสราวลี อาริยะธนาพร (Em)

            ทฤษฎี 8K’s & 5K’s หรือรากฐานทุนมนุษย์เกิดมาโดย Prof. Gary Becker ซึ่งได้รับรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาตร์ เมื่อปี 1992 ทุนมนุษย์นั้นเป็น 1 ใน 4 ของทุนที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งในประเทศไทยมีปัญหาอย่างมากในการพัฒนาคนเพราะด้วยปัจจัยต่างๆ เช่นในกรณีตัวอย่าง กระทรวงเกษตรใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างสิ้นเปลือง และมากที่สุด โดยเน้นคำพูดว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” แต่ทำไมเกษตกรชาวไทย ชาวไร่ ชาวสวน ชาวนาถึงยากจน มีหนี้สินล้นตัว สินค้าการเกษตรมักมีปัญหาต่างๆ เช่น Supply Over Demand, คุณภาพของสินค้าไม่ตรงตามความต้องการของตลาด, หรือสินค้าที่ไม่ได้มาตารฐาน เป็นต้น

               ในทฤษฎี 8K’s & 5K’s จะแสดงในเห็นถึงคุณสมบัติของคนในอนาคต โดยการวิเคราะห์ทุนมนุษย์ได้เปลี่ยนไปจากสมัยก่อนมาก เช่น Prof. Gary Becker ได้กล่าวว่าต้นทุนเริ่มต้นของคนเรานั้นเท่ากัน หากได้รับการลงทุนในการศึกษา, โภชนาการ, หรือด้านครอบครัวที่ไม่เท่ากัน เมื่อเข้าสู่วัยทำงานแล้ว ค่าจ้างอาจไม่เท่ากัน คนที่มีการศึกษาสูงก็จะมีรายได้มากขึ้น ซึ่งการวิเคราะห์นี้ทำให้ Prof. Gary Beaker ได้รับรางวับโนเบล แต่ในปัจจุบันการวิเคราะห์ทุนมนุษย์ได้เปลี่ยนไปมาก การมองที่ปริมาณปีที่เรียน และวุฒิการศึกษา ไม่สามารถบอกได้ว่าใครมีรายได้มากกว่า หรือประสบความสำเร็จมากกว่า แล้วก็พบว่า “ปัญญาอาจจะไม่ใช่ปริญญา” ซึ่งหมายความว่าคนเรียนน้อยกว่า อาจจะมีคุณภาพดีมากกว่าคนที่เรียนมากก็เป็นไปได้ ยกตัวอย่างเช่น Bill Gates และ Mark Zuckerberg ในตรงนี้จะหมายถึง “Quality of Human Capital”

               หากเราเน้นคุณภาพทุนมนุษย์ ก็จะมีทุนอื่นๆ หรือทฤษฎีอื่นๆตามมา เพื่อความสำเร็จที่ครบวงจรมากยิ่งขึ้น โดยที่ตรรกะตรงนี้จะเน้นเรื่องความยั่งยืนเป็นหลัก ซึ่งทุนในด้านอื่นๆเช่น ทุนทางปัญญา, ทุนทางสังคม, ทุนทางจริยธรรม เป็นต้น ซึ่งหากมี 8K’s แล้วก็จำเป็นต้องมี 5K’s (ใหม่) เพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในสังคมเราทุกวันนี้ ข้อดีของ “8K’s & 5K’s” ทำให้เกิดการพัฒนาตนเอง แล้วต่อเนื่องไปยังครอบครัว จากครอบครัวกระจายเป็นวงกว้างขึ้นสู่สังคม ประโยชน์ของการพัฒนาจาก Micro ไปยัง Macro เพื่อพัฒนาศักยภาพจนสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้


ครั้งที่ 4 – วันอาทิตย์ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 

เรื่อง – การนำเสนอหนังสือ “8k’s & 5k’s”, ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซี่ยน

โดย: นส. พัสราวลี อาริยะธนาพร (Em)

            เครื่องมือที่นำไปสู่ “8K’s & 5K’s” คือการต้องทำให้คิดเป็น โดยใช้ “4L’s” (Learning Methodology, Learning Environment, Learning Opportunities, Learning Communities) และ “2R’s” (Reality & Relevance) การสร้างทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพในยุคโลกาภิวัฒน์ โดยใช้ “8k’s & 5k’s” บวกกับการประสานของ AEC จะทำให้เรารู้จุดแข็ง หรือจุดอ่อนในด้านต่างๆเช่น AEC ไม่ใช่มุ่งเน้นแต่เรื่องเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่มีแรงงานเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย, การรู้ขีดความสามารถในการแข่งขัน, การรู้ช่องว่างประชาคมอาเซียน, หรือการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก แล้วนำทฤษฎี “8k’s & 5k’s” มาประยุกต์ใช้เพื่อปรับจุดอ่อน และเน้นจุดแข็ง ของทรัพยากรมนุษย์ให้ประเทศอยู่รอดและแข่งขันกับโลกภายนอกได้

               มุมมองของนักคิดเรื่อง AEC + ทุนมนุษย์ ทั้ง 6 ท่าน จะเน้นให้ความสำคัญเรื่อง การยกระดับขีดความสามารถ ความร่วมมือของฝ่ายต่างๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพที่ยั่งยืน การพัฒนา “ทุนมนุษย์” ของคนไทยสามารถทำได้โดย การให้ความรู้ เรียนรู้การเปิดเสรีอาเซียน, การวิเคราะห์ตนเอง องค์กร ชุมชน และสังคมในด้านโอกาสและข้อเสียเปรียบ ร่วมถึงเร่งพัฒนา และให้ความสำคัญกับทุนมนุษย์อย่างจริงจัง โดยผ่านกระบวนการศึกษา สำรวจ การฝึกฝน เอาชนะอุปสรรค วัดผล แล้วกระทำอย่างต่อเนื่อง



ครั้งที่ 5 – วันอาทิตย์ 11 มีนาคม พ.ศ. 2561 

เรื่อง – HR Architecture เชื่อมโยงกับทฤษฎีต่างๆ ของอาจารย์

โดย: นส. พัสราวลี อาริยะธนาพร (Em)

            HR Architecture มีความสำคัญในการพัฒนา-บริหารจัดการทุนมนุษย์ในแนว Chira Way คือการปลูก, การเก็บเกี่ยว, การทำให้สำเร็จ บวกกับการมองจาก Macro สู่ Micro (เรื่องทุนมนุษย์และทุนทางสังคมต้องมองจากภาพใหญ่ ไปสู่ภาพเล็กในระดับองค์กร) และเน้นการทำงานอย่างต่อเนื่อโดยมีเป้าหมายหลักคือ ความยั่งยืน (Sustainability) และความสุข ความสมดุล

           ในยุคปัจจุบันนี้ เรากำลังก้าวสู่ยุคที่ 4 หรือ Forth Wave ซึ่งต่อไปในอนาคตจะเน้นเรื่อง Sustainability, Wisdom, Creativity, Innovation, and Intellectual Capital การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ก็จะต้องเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย เพื่อให้ตอบสนองกับความต้องการ หรือปัญหาที่กำลังจะเผชิญหน้าอยู่ โดยหลักๆคือการการมองให้ออกว่า HR Architecture มันเป็น Life Cycle ตั้งแต่เกิดจนตาย แบ่งเป็น “Demand Side” และ “Supply Side” ซึ่งในแต่ละยุคสมัยก็ไม่เหมือนกัน โครงสร้างหรือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งต่างกันออกไปด้วย เช่นในด้าน Demand Side คือช่วงอายุประมาณ 25-60 ปี คือเมื่อก้าวเข้าสู่วัยทำงาน เราจะต้องสร้าง และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาทุนมนุษย์อย่างต่อเนื่อง ในส่วนของ Supply Side คือการลงทุนตั้งแต่แรกเกิดของทุนมนุษย์ คือ Education, Health, Nutrition, and Family

           การมองภาพเรื่องนี้ควรทำการศึกษาสภาพแวดล้อมทั้งภายใน และภายนอก จากระดับ Macro ไปยัง Micro เพราะมันคือความต่อเนื่อง ซึ่งมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่นการปลูก HRD สามารถทำได้ทุกช่วงเวลาตั้งแต่เกิดจนเกษียณ นั้นคือ “Life Long Learning” การเปิดมุมมองกว้างๆ และคิดถึงผลกระทบในระยะยาวก็มีส่วนสำคัญในการพัฒนาทุนมนุษย์และทุนสังคม โดยหลักการที่ถือว่าสมดุลที่สุดคือจุด Equilibrium ระหว่างฝั่ง Supply & Demand  โดยหาวิธีการแก้ไขปัญหาทั้งปัญหาระยะสั้น และระยะยาว, การคิด วิเคราะห์ อย่างเป็นระบบเพื่อเปลี่ยนแปลง/ปฎิรูป นำมาซึ่งการป้องกันให้เกิดความเสียหายอย่างน้อยที่สุด

          ยกตัวอย่างเช่น การปฎิรูปการศึกษาอย่างเร่งด่วน การเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัย ทันเหตุการณ์ และตรงความต้องการของตลาด เพื่อตอบโจทย์ปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ หรือในอนาคตอันใกล้นี้ ในเมื่อปัญหาที่กำลังจะเกิดมันคือสิ่งที่แน่นอน เช่น การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในประเทศไทย จะมีนโยบายหรือทางแก้ไขอย่างไรบ้างที่จะทำให้การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีความเสี่ยงน้อยที่สุด เราสามารถเตรียมการล่วงหน้าได้อย่างไร? แนวทางแก้ไขคืออย่างไร? เราจะทำให้ Demand side & Supply side เกิดความสมดุลมากที่สุดได้อย่างไร? นิคือสิ่งที่น่าคิดอย่างมากในการสร้าง และพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ เช่นเราทราบกันดีอยู่แล้วว่าในปัจจุบันการแพทย์ไม่เพียงพอต่อความต้องการในประเทศ แล้วในอนาคตอันใกล้ที่จะทำให้เกิดสังคมผู้สูงอายุจะกระทบร้ายแรงขนาดไหน? การแก้ปัญหาในระยะยาวคืออะไร? จะรับนักศึกษาแพทย์จำนวนจำกัดแบบนี้ต่อไป หรือจะปฏิรูประบบ entrance เข้ามหาวิทยาลัย, หรือจะต้องเพิ่มจำนวนนักศึกษาให้มากขึ้น ในขณะที่อาจารย์ผู้สอนก็ปริมาณจำกัด และก็เตรียมเกษียณในอนาคตอันใกล้ เราจะจัดการละพัฒนาการเตรียมตัวล่วงหน้ารองรับกันสถานการณ์วิกฤติสังคมผู้สูงอายุได้อย่างไร?

          การปลูกจิตสำนึก การอบรมสั่งสอน หรือกระทั่ง การปฎิรูปความคิด การปรับ Mindset, Attitude, Habit, Belief ก็เป็นอีกหนึ่งบทบาทที่สำคัญ เราจะสามารถเห็นได้เลยว่า HR Architecture นั้นเป็นโครงสร้างหลักที่ทำให้เราเห็นภาพรวมจาก Macro สู่ Micro ในเชิงลึกที่ดีมาก ซึ่งหากเปรียบแล้วนั้น HR Architecture คือหลักพื้นฐานที่สำคัญอย่างมาก (Fundamentals) หรือโครงสร้างที่จะนำไปสู่การต่อยอดในเรื่องต่างๆเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องประกอบกับกระบวนการเรียนรู้ด้านอื่นๆอีก เช่น ทฤษฎี 3 วงกลม (Contest, Competencies, and Motivation), 8Ks+5Ks, 4Ls, 2Rs, 2Is, 3Vs, HRDS เพื่อจะพัฒนาศักยภาพและพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์อย่างแท้จริง


 ครั้งที่ 6 – วันอาทิตย์ 18 มีนาคม พ.ศ. 2561 

เรื่อง – วิจารณ์หนังสือ พลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม ,เรื่องการสร้างเครือข่าย Networking Capital กรณีศึกษาจากโครงการของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

โดย: นส. พัสราวลี อาริยะธนาพร (Em)

               หนึ่งในการพัฒนาทุนมนุษย์และทุนทางสังคม เพื่อนำไปสู่สังคมที่ดี มีคุณภาพ ก็คือ คุณธรรม และจริยธรรมโดยหนังสือพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรมเกิดขึ้นมาได้โดยท่าน ว.วชิรเมธี กับทฤษฎี “8K’s & 5K’s” ของ Chira Way โดยในหนังสือเล่มนี้มีมีผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ 10 กว่าท่านมาร่วมให้แนวคิด และมุมมองต่างๆ

               ทุนทางจริยธรรมเป็นส่วนประกอบของ “8K’s & 5K’s” หากขาดองค์ประกอบนี้แล้ว (Ethical Capital) ก็จะไม่สามารถที่จะพัฒนาหรือเพิ่มศักยภาพของทุนมนุษย์ในแบบที่ยั่งยืนได้ การริเริ่มทางจริยธรรม ก็มาจากปัญหาทางการเมือง การเข้าใจความหมายในเชิงลึก สามารถนำคุณธรรม จริยธรรม ไปปฎิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างถูกต้อง ส่วนจริยธรรมที่ดี คือการประพฤติดี นำไปสู่สังคมประเทศชาติได้

               การปลูกฝังทุนทางจริยธรรม และทุนทางวัฒนธรรม ต้องมีระบบความเชื่อที่ดี มีภูมิปัญญา ซึ่งทุนทางด้านจริยธรรมควรปลูกฝังตั้งแต่แรกเกิด จนไปตลอดชีวิต เพราะอยากได้ผลผลิตที่ดีงาม ก็ต้องเริ่มจากการหว่านเมล็ดพันธุ์ที่ดี ให้การดูแล อบรมสั่งสอน และกระทำอย่างสม่ำเสมอ ประเทศไทยในวันนี้ต้องการพลังแห่งคุณธรรม จริยธรรม มาช่วยขับเคลื่อนให้พัฒนาไปข้างหน้าอย่างมีความสุข โดยที่เน้นความยั่งยืนและสมดุล โดยเริ่มทุกระดับตั้งแต่ต้นเอง-ครอบครัว-องค์กร-ชุมชน ต่อไปยังระดับประเทศ และระดับโลก การมีต้นทุนที่ดีในทางจริยธรรมจะทำให้เกิดความสงบสุข โดยใช้หลักการเหล่านี้ช่วยขัดเกลา สะสมตั้งแต่วัยเยาว์ เช่นผู้นำที่มีคุณธรรม จริยธรรมที่ดี ก็จะมีธรรมภิบาลที่ดี คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว (Good Governance) เป็นต้น

               ในส่วนการสร้างเครือข่าย Networking Capital จากกรณีศึกษาของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา คือเน้นการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ เชื่อมโยงเครือข่าย เพื่อยกระดับสู่สากล โดยการพัฒนาการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ การใส่ creative idea & innovation เข้าไปเพื่อเพิ่มศักยภาพของการท่องเที่ยว ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐแ’ละเอกชน รวมไปถึงการร่วมมือของคนในชุมชนนั้นๆด้วย ที่สำคัญคือการคิดถึงประโยชน์ของส่วนรวมที่จะได้รับ และผลลัพธ์ในระยะยาวและยั่งยืน ซึ่ง Networking ก็เป็นส่วนหนึ่งของทุนมนุษย์ในด้าน “Social Capital” นั้นเอง


 ครั้งที่ 7 – วันอาทิตย์ 25 มีนาคม พ.ศ. 2561 

เรื่อง – เรื่องสังคมการเรียนรู้ กรณีศึกษา สัมภาษณ์ Peter Senge และ กรณีศึกษาของ กฟภ. และสังคมการเรียนรู้กัทฤษฎี 4L’s

โดย: นส. พัสราวลี อาริยะธนาพร (Em)

            ทฤษฎี “The fifth Discipline” กฎของ Peter Senge คือ รู้อะไร ต้องรู้ให้จริง (Personal Mastery), การมีแบบอย่างทางความคิดที่หลากหลาย (Mental Models), การมีเป้าหมายร่วมกัน (Shared Vision), การเรียนรู้เป็นทีม มีการปะทะกันทางปัญญา จะได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (Team Learning), และการมีระบบความคิดที่มีเหตุผล (System Thinking)

               ประการแรก การเรียนรู้ไม่ใช่ในแค่ห้องเรียน และไม่ใช่แค่การอ่านเท่านั้น แต่คืออะไรก็ได้ที่มีเนื้อหาสาระ โดยเน้นว่าสิ่งนั้นสำคัญอย่างไรต่อตัวเอง ชอบหรือไม่ และคิดว่าความสำคัญอาจจะคล้ายๆกับต้องมี Passion หรือ Happiness และหากมาลิ้งค์กับทฤษฎี 2Rs ก็จะเพิ่มการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น คือรู้อะไรต้องรู้จริง (Reality) และต้องตรงประเด็น (Relevant)  นอกจากนี้ทฤษฎี “The fifth Discipline” ของ Peter Senge และทฤษฎี “4Ls” ของอาจารย์จีระ หรือ Chira Way คือ มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี (Learning Methodology), การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ (Leaning Environments), การสร้างโอกาสปะทะกันทางปัญญา (Learning Opportunities), และการสร้างให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Learning Communities)

               ในกรณีศึกษาของ กฟภ. กับการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้กับทฤษฎี “4Ls” คือการสร้างสังคม/องค์กร ให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีเกิดขึ้น โดยหลักคือต้องมีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ที่ดี, มีการสร้างบรรยากาศในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้, เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมปะทะกันทางปัญญา โดยที่นำหลัก “2Rs” (Reality& Relevant) เข้ามาช่วยส่งเสริม และสร้างในการสังคมแห่งการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ


ครั้งที่ 8 – วันอาทิตย์ 8 มีนาคม พ.ศ. 2561 

เรื่อง – การนำเสนอหนังสือเรื่อง Shift Ahead

โดย: นส. พัสราวลี อาริยะธนาพร (Em)

               หนังสือเรื่อง “Shift Ahead” ได้กล่าวถึงเรื่องการปรับตัวของธุรกิจในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (How the Best Companies Stay Relevant in a Fast-changing World) ไม่มีธุรกิจใดที่ Long Lasting โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง พัฒนา และปรับให้เข้ากับยุคสมัยได้ หากธุรกิจใดไม่มีการปรับตัวหรือพัฒนาในทันโลก สินค้า/ลูกค้า ของ Brand นั้นก็จะหายไป ในมุมกลับกันหากธุรกิจมีการปรับตัวให้เข้าทันกับยุคสมัย มีการเตรียมการล่วงหน้า ก็จะสามารถปรับสินค้าของ Brand ตัวเองให้ได้รับความนิยมต่อไป ซึ่งเรียกธุรกิจแบบนี้ว่า “Relevant” หรือประสบความสำเร็จ

             หนังสือเรื่อง “Shift Ahead” ได้กล่าวถึงทฤษฎี “2Rs” (Reality & Relevant) ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ (Chira Way) ว่า “2Rs” ในที่นี้หมายถึง “Individual & Company” และ “Branding & Marketing” ตราบใดที่ผู้นำองค์กรที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล มองเห็นแก่นของความจริงที่จะเกิดขึ้น ก็สามารถที่จะปรับตัวเอง ให้รองรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆได้ และธุรกิจก็จะอยู่รอดอย่างยั่งยืน ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีการกล่าวถึงสัญญาณที่ทำให้องค์กรต้องมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวองค์กรโดยตรง เช่น Basic Math (Balance Sheet, Profit/Loss), Leadership’s vision (ความคิดของผู้นำองค์กร) และยังมีปัจจัยภายนอกอีก เช่น Life style or Culture เป็นต้น โดยได้มีการยกตัวอย่างองค์กรต่างๆที่สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองจนอยู่รอดได้ และ องค์กรที่ไม่สามารถปรับตัวได้ เช่น Kodak ที่มีความสามารถในเรื่องเทคโนโลยี คิดกล้องดิจิตอลก่อน แต่ผู้นำองค์กรไม่กล้าเสี่ยงที่จะลงทุน จึงทำให้เสียโอกาสทางการตลาดให้กับบริษัทอื่นพัฒนาสินค้าที่ล้ำสมัยกว่าจนทำให้ Kodak film ได้ปิดตัวลง หรือแม้แต่องค์กรอย่าง Nokia, Toy R Us, BlackBerry ก็ไม่สามารถที่จะปรับตัวเองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และการแข่งขันที่สูง

              จากกรณีศึกษาเหล่านี้ได้แสดงให้ตระหนักว่า ผู้นำขององค์กรต้องมีภาวะผู้นำที่สูงมาก ต้องคิดการณ์ไกล ต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างขวาง พร้อมเปิดรับการเปลี่ยนแปลง หรือสิ่งใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา ที่สำคัญผู้นำต้องมีความรู้ลึก รู้จริง ในสถานการณ์แห่งความจริง และพร้อมพัฒนา-ปรับปรุงองค์กรให้เข้ากับสถานะภาพในปัจจุบันของความจริง


 ครั้งที่ 9 – วันอาทิตย์ 29 เมษายน พ.ศ. 2561 

เรื่อง – ไปร้านหนังสือ 2 ร้าน และเยี่ยมบ้านอาจารย์

โดย: นส. พัสราวลี อาริยะธนาพร (Em)

            วันนี้ในช่วงเช้าเป็นการสอบ Final ของวิชา PHD8205 (Development of Human and Social Capital) ที่มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นอะไรที่ตื่นเต้นมากๆ เนื่องจากเวลาสอบมีค่อนข้างจำกัดมาก จากนั้นในช่วงบ่าย ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์และทีมงาน ให้นักศึกษา ป.เอก Ph. D in Innovative Management รุ่นที่ 16 เดินทางไปที่ร้านหนังสือ Asia Book ที่ห้างดิเอ็มโพเรี่ยม และร้านหนังสือ Kinokuniya ที่ห้างเอ็มควอเทียร์ อาจารย์ท่านอยากจะให้นักศึกษารักการอ่าน การเข้าร้านหนังสือบ่อยๆ เป็นสิ่งที่ดี เป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แกตัวเอง เพื่อให้ทันต่อโลกและเหตุการณ์

จากนั้นก็ได้เดินทางไปยังที่บ้านของอาจารย์ เพื่อพบปะพูดคุยกันระหว่างอาจารย์ และเพื่อนๆนักศึกษาที่เรียนด้วยกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้/ข้อคิดเห็น ซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังเป็นการสร้างบรรยากาศระหว่างการเรียนให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต ด้วยการเพิ่มความสนิทสนมกันระหว่างนักศึกษา และลดช่องว่างระหว่างวัย ก่อนกลับออกจากบ้านอาจารย์ นักศึกษารุ่นที่ 16 ได้มอบของที่ระลึก ด้วยความระลึกถึงบุญคุณของอาจารย์ที่ได้มอบความรู้ และการอบรมสั่งสอน และถ่ายรูปร่วมกันเป็นที่ระลึกแห่งความทรงจำ



พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท