เมื่อคนไข้...กินข้าวกับเกลือทะเล?


เมื่อสองวันที่แล้วไข้หญิงอายุ 46 ปี มาพบ นพ.สมพนธ์ นวรัตน์ ด้วยเรื่อง ปวดหัว .... คุณหมอ ได้วัดความดันโลหิต.... พบว่าสูง 170/100 มิลิเมตรปรอท ได้คุยกับญาติคนไข้ประมาณ 10 กว่านาที... จึงรู้ว่าปัจจัยส่วนหนึ่งมาจาก คนไข้ชอบทานเค็มจัด .. ที่พบและมีแปลกคือ สามีของผู้ป่วยเล่าว่า ผู้ป่วยชอบทานข้าวกับเกลือ(เกลือทะเล) ที่เป็นเม็ดๆ นะคะ ชอบทานข้าวกับเกลือเปล่าๆ ค่ะ .... ให้ความรู้กับผู้ป่วย ญาติ แล้วนัดอีก 1 สัปดาห์มาวัดความดันโลหิตใหม่มา ความดันลดลง เหลือ 150 มิลิเมตรปรอท แต่ยังปวดหัวอยู่ค่ะ .... จึงนัดคนไข้มาตรวจเลือดเพื่อดูไขมันในเลือด 4 ตัวค่ะ

1. Total cholesterol (TC)

2. LDL (low-density lipoprotein)

3. HDL (สูง-density lipoprotein)

4. Triglycerides

ผลการตรวจพบว่า มีไขมัน cholesterol และ LDL มีค่าสูงกว่าเกณฑ์ ค่ะ สรุป ต้องให้ผู้ป่วยทานยาลดไขมันต่อ นะคะ


เนื่องจากความดันโลหิตมีปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องมาก การจะบอกใครเป็นความดันโลหิตสูง จะต้องมีการวัดความดันหลายครั้ง และต้องพิจารณาว่ามีโรคประจำตัวหรือไม่ คนปรกติจะมีความดันโลหิตไม่เกิน 120/80 มิลิเมตร.... ความดันโลหิตที่สูงกว่า 140/90 มิลิเมตรปรอทจะเรียกว่าความดันโลหิตสูง นอกจากนั้นยังมีภาวะอื่นๆ อีกค่ะ

สิ่งที่สำคัญของการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง คือต้องบอกให้ได้ว่าเป็นโรคหรือไม่ ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตเป็นอย่างไร นอกจากนั้นจะต้องตรวจหาสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง ตรวจอวัยวะต่างๆว่าได้ผลกระทบจากโรคความดันโลหิต และตรวจว่ามีโรคแทรกซ้อนจากความดัน

ประโยชน์ของการรักษาความดันโลหิต

การลดความดันโลหิตนอกจากจะลดอาการปวดศีรษะ เนื่องจากความดันสูง แต่การลดความดันโลหิตยังลดโรคแทรกซ้อน ที่เกิดจากความดันโลหิตสูง เช่นหัวใจ จะลดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจโต โรคไต ลดการเกิดโปรตีนในปัสสาวะ

การจะเริ่มต้นรักษาความดันโลหิตจะต้องพิจารณาถึง ระดับความดันโลหิต โรคหรือภาวะที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด อวัยวะเสียหายจากความดันโลหิต โรคแทรกซ้อนจากความดันโลหิต

การรักษาโรคความดันโลหิตสูงแบ่งได้เป็น การรักษาที่ไม่ใช้ยาได้แก่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการรักษาด้วยยา นอกจากนั้นจะต้องรักษาโรคแทรกซ้อน และการป้องกันโรคแทรกซ้อนที่จะเกิด





สรุปได้ว่า .... นพ.สมพนธ์ ... ต้องให้งดกินเกลือทะเลกับข้าว ให้การรักษาด้วยยา ทั้งยาลดความดันโลหิตและยาลดไขมันในหลอดเลือด พร้อมกับแนะนำเรื่องพฤติกรรมการปฎิบัติตนในเรื่อง

3อ.&2ส.คือ

1. อาหาร ต้องเป็น ผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นครึ่งหนึ่ง ไม่เค็มจัด ไม่เปรี้ยวจัด ้ไม่เผ็ดจัดเกลือทะเล

2. ออกกำลังกาย อย่างน้อย สับดาห์ละ 3 วัน ทำเป็นประจำ สม่ำเสมอ ทำต่อเนื่อง

3. อารมณ์ ไม่เครียด ไม่อดนอน ...ถ้านอนไม่หลับ ต้องบอกคุณหมอ

4. ไม่ดื่มสุรา เหล่า ยาดอง

5. ไม่สูบบุหรี่ ยาสูบ ยาเส้น

เรื่อง 3 ค. ได้แก่

1. ค.ที่1 คือ คุมความดันโลหิต โดยทานยาคุมความดันเป็นประจำและวัดความดันโลหิตเสมอๆ

2. ค.ที่ 2 คือ ไม่เครียด ไม่อดนอน ไม่นอนดึก และนอนอย่างน้อยวันละ 6 ชม.

3. ค.ที่ 3 คือ ไม่กินเค็มจัด .... เช่น ทานก๋วยเตียว ไม่เติมน้ำปลา ทานข้าวไม่ต้องเติมน้ำปลา ทานยำไม่เค็มมาก เพราะทุกอย่างมีความเค็มอยู่แล้วนะคะ



ขอบคุณค่ะ

17 กันยายน 2558

หมายเลขบันทึก: 594978เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2015 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กันยายน 2015 16:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ชอบกินปลาทู..แม่เลี้ยงด้วยปลาทู..เสียดาย..ว่าปลาทูแพงมาก และจะไม่มีให้กิน..กันต่อๆไป..เกลือก็จะไม่มี..เพราะนาเกลือ..ถูกแย่งที่..ราคาแพงกว่าเกลือที่ให้คุณค่าแก่ร่างกาย..ถ้ามีความพอดีๆ..

สวัสดีค่ะ..คุณหมอเปิ้ล..สบายดีนะเจ้าคะ..ยายธีกลับเมืองไทยตุลที่จะถึงค่ะ..คงได้มีโอกาศไปกินไข่มดแดง..อ้ะะ

น้ำพริกปลาทูน่ากินมากครับ

เค็มนอกจากความดันจะสุงแล้ว ยังมีโอกาสเป็นไตด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท