การศึกษาการพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานโรงเรียน เทศบาล ๓ ท่าแดง


การศึกษาการพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานโรงเรียน เทศบาล ๓ ท่าแดง เทศบาลเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบความรู้ ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานของครู 2) ศึกษาผลการปฏิบัติการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานของครู 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน 4) ศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูที่เข้ารับการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน จำนวน 30 คน นักเรียนสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลากจากนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน ชั้น ป.1 – 3 จำนวน 186 คน และนักเรียน ชั้น ป. 4- 6 จำนวน 140 คน รวม 326 คน ผู้วิจัยดำเนินการพัฒนาโดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการ(Action Research) 2 วงจรคือจัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานและการนิเทศการสอนแบบคลินิก โดยวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานของครู ก่อนและหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (t- Dependent) วิเคราะห์ระดับการปฏิบัติการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานของครูโดยการสังเกตการปฏิบัติการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานของครู นำข้อมูลมาแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ และการประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานของครูนำข้อมูลที่ได้มาหาค่า และค่า วิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานนำข้อมูลที่ได้มาหาค่าและค่า และเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักเรียน ชั้น ป. 1 – 3 และ ชั้น ป. 4 – 6 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานโดยการทดสอบค่าทีแบบอิสระ (t-Independent)

ปรากฏผลการศึกษาวิจัยดังนี้

  • ผลการศึกษาความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานของครู พบว่า ครูที่เข้ารับการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานมีผลสัมฤทธิ์ความรู้
  • ผลการศึกษาการปฏิบัติการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานของครู มีดังนี้
    • การสังเกตการปฏิบัติการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานพบว่าครูได้ปฏิบัติการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานในทุกๆด้านมีระดับการปฏิบัติมากที่สุดค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ร้อยละ 94.30)
    • การประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานของครูในด้าน
      การวางแผนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการวัดผลประเมินผล มีค่าเฉลี่ยรวมของการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ()
  • ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ป.1 - 3 และ ชั้น ป.4-6 ที่มีต่อการจัด

ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน หลังการประชุมเชิงปฏิบัติการสูงกว่าก่อนการประชุมเชิงปฏิบัติการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานพบว่านักเรียนชั้น ป.1 –3 และ ชั้น ป.4-6 มีความพึงพอใจโดยเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก () และเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจระหว่างนักเรียน ป.1-3 และ ชั้น ป.4-6 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานในด้านต่างๆ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

การพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการ(Action Research) การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศการสอนแบบคลินิก สามารถพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานให้กับนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทำให้นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน

หมายเลขบันทึก: 594246เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2015 22:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กันยายน 2015 22:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท