๑๓ พ.ย. ๔๙
ในชั่วโมงแรกของการเรียนการสอนนั้นนั้นอ.แหววสอนว่า"กฎหมายคืออะไร"
โดยให้การบ้านในทุกท่านไปทำคือ ถามว่าคุณอยากเรียนอะไรในวิชานี้
ซึ่งผ่านไป ๑ อาทิตย์นักศึกษาก็เสนอว่าอยากเรียนอะไรบ้าง
หัวข้อ ที่ ๑ การรู้ข้อดีข้อเสียของกฎหมายและเทคโนโลยี
๑. ต้องเริ่มต้นจาการไปดูว่ามีกฎหมายว่าด้วยโทรคมนาคม หรือรวมตลอดถึงอิเล็กทรอนิกส์ต่างต่าง ๆ มีทั้งหมดกี่ฉบับ
หน่วยงานที่รวบรวมกฎหมายของประเทศไทย คือ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผ่านทางเวปไซต์ www.krisdika.go.th ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลกฎหมายลายลักษณ์อักษรของประเทศไทยทั้งกฎหมายในระดับ พระราชบัญญัติ จนถึงกฎหมายลูกทั้งหมด
อ.เสนอให้เข้าไปหาว่ามีกฎหมายทั้งหมดกี่ฉบับที่เข้ามาจัดการเทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสาร และในกฎหมายฉบับนั้นมีส่วนใดที่
๑. รัฐเข้ามารับรอง Recognition
๒.รัฐเข้ามาควบคุม Control
๓.รัฐเข้ามาส่งเสริม สนับสนุน Promote ให้สิทธิพิเศษ
แล้วอ.จะค่อย ๆ แนะนำว่า แต่ละคนขาด อะไร
หัวข้อที่ ๒ รัฐเข้ามาเกี่ยวข้องในกรณีใดบ้าง โดยกฎหมายและนโยบาย -- กฎหมายมหาชน เช่น
การแข่งขัน ของ operator ในตลาด Telecom
การแข่งขันของแต่ละบริษัทซึ่งมีทุนซึ่งเป็นต่างด้าวเป็น องค์ประกอบไม่มากก็น้อยแต่ละบริษัทถึงขั้นที่การแข่งขันไม่เป็นธรรมหรือไม่
การใช้กฎหมายนโยบายในลักษณะนี้ รัฐเข้ามามีส่วนโดยเข้ามา ควบคุม หรือสนับสนุน อย่างไรหรือไม่
หัวข้อที่ ๓ การที่เอกชนทำสัญญากัน -- กฎหมายเอกชน
๑. การจัดการตัวบุคคล --เข้าไปจัดการตัวตนของบริษัทว่าใครถือหุ้นเท่าใด
สถานการณ์ตามสัญญาหากต้องการถอนหุ้น หรือขายหุ้นให้กับผู้อื่นสามารถขายให้ใครได้บ้าง
๒.การจัดการนิติสัมพันธ์ -- franchise การร่วมทุน การซื้อสินค้า
๓. การจัดการทรัพย์สิน -- สังหาริมทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ ทรัพย์สินทางปัญญา
รัฐจะไม่เข้ามาเกี่ยวข้องในกรณีเดียวคือ unfair contract terms
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย น.ส. รุ่งรัตน์ ธนบดีธาดา ใน RUT-TA for Telecom Law
คำสำคัญ (Tags)#it-law#telecom-law
หมายเลขบันทึก: 59414, เขียน: 13 Nov 2006 @ 20:29 (), แก้ไข: 25 Mar 2012 @ 19:19 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, อ่าน: คลิก
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก