"พี่หนาน"
นาย พรพจน์ พี่หนาน เรียงประพัฒน์

ศาสนพิธีที่สำคัญ..การจัดโต๊ะหมู่


ศาสนพิธีที่สำคัญ..การจัดโต๊ะหมู่

...

........พิธีกรรมทางศาสนาพุทธที่เราๆ ท่านๆ สามารถมองเห็นได้อย่างโดดเด่นชัดเจนในสังคม คือ

๑.การบวช ๒.การตาย ๓.การแต่งงาน ๔.การขึ้นบ้านใหม่ ๕.การถวายทานต่าง ๆ

...พิธีกรรมต่างๆ เหล่านี้ คงไม่ต้องอธิบายกันมาก เพราะเป็นวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวพุทธเราอยู่แล้ว แต่สิ่งที่อยากเจาะลึกลงไปอีกนิดหนึ่งคือ “รูปแบบของพิธีกรรม” ด้านการจัดสถานที่

........การจัดโต๊ะหมู่.....

“โต๊ะหมู่” มีหลายชุด มีระดับชั้น สูงต่ำไม่เท่ากัน บ่งบอกและหมายถึง คนเรานั้นมีฐานะความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพ ความรวย ความจน แตกต่างกัน การบอกว่า คนเราเท่าเทียมกันนั้น จึงไม่ถูกต้อง ผู้หญิง กับผู้ชายก็มีความแตกต่างกันอยู่แล้ว โต๊ะหมู่จึงบ่งบอกว่า “คนเรามีความแตกต่างกัน”

“แจกันดอกไม้” แจกันบ่งบอกถึงความสวยงาม หน้าตา การแต่งเนื้อแต่งตัว เป็นอาภรณ์เครื่องประดับ ของมนุษย์ ไม่ว่าคนเชื้อชาติใด ศาสนาใด ก็ต้องมีการประดับ ตกแต่งด้วยกันทั้งสิ้น

“ดอกไม้ใส่แจกัน” ดอกไม้หลากสี บ่งบอกถึงพระสงฆ์และศาสนิกชนที่มีความสวยงาม ความขี้เหร่แตกต่างกัน มีชั้นชน เชื้อชาติ หรือวัฒนธรรม แตกต่างกัน แต่พอมารวมกันแล้ว ก่อให้เกิด “มุมมองใหม่” “ความสวยงามกลมกลืน” “ความคิดสร้างสรรค์” “ความเป็นสังฆะหรือสังคม” ขึ้นได้

“เทียน” เทียนให้แสงสว่าง ส่องประกายให้เกิดความคิด จินตนาการ เห็นภาพได้ทั้งยามนั่งยามนอน หลายท่านคงเลยทำมือเป็นรูปสัตว์สะท้อนภาพใส่ฝาบ้านในอดีต พ่อแม่ผูกพัน หยอกเล่นกันใกล้แสงเทียน ...แสงเทียนเปรียบเหมือน “แสงธรรม” แสงสว่างที่ทำให้ดวงตาที่มืดบอดมองเห็นธรรมได้...

เทียน ๒ เล่ม หมายถึง “พระธรรม” กับ “พระวินัย” ของพระพุทธเจ้าที่ได้ตรัสสอนไว้(อธิบายในหัวข้อ “ศาสนธรรม”อีกครั้ง)

“พระพุทธรูป” ประธานสงฆ์ เวลาพระสงฆ์ประกอบพิธี ต้องมีประธานคือ ตัวแทนของพระพุทธเจ้าทุกครั้ง ถือเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทความดีงาม ความเป็นมงคลต่างๆ ให้กับศิษย์ ถือเป็น “ครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”

อีกนัยยะหนึ่ง หมายถึง “ประธาน” “ผู้นำ” “ผู้เป็นใหญ่” ในแผ่นดิน ในที่แห่งนั้น ไม่ว่าจะเป็น “หมู่บ้าน” “ตำบล” “อำเภอ” “จังหวัด” “ประเทศ” “องค์กรต่างประเทศ” ล้วนย่อมต้องมี “ประธาน” หรือ “ผู้เป็นใหญ่” ทั้งนั้น บ่งบอกให้เราได้รู้และได้ทราบว่า เราต้อง “ให้เกียรติ” เขา ไว้วางใจเขา ยกย่องเขา ชื่นชม และบูชาเขา ในกิจกรรมต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมายไว้

“ธูป ๓ ดอก” ดัดแปลงหรือประยุกต์แบบของลัทธิการบูชาไฟมาจากชฏิล ๓ พี่น้อง(ความเห็นส่วนตัว) เพื่อเชิดชู บูชาคุณของพระพุทธเจ้า ๓ ประการ คือ พระบริสุทธิคุณ พระปัญญาคุณและพระมหากรุณาธิคุณ ที่ยากหาบุคคลใดเทียบเทียมได้

“กระถางธูป” เป็นวัตถุรองรับทราย รองรับผงธูปและเศษธูป บ่งบอกหรือแสดงให้เห็นถึง การยอมรับเอาสิ่งที่ดีและไม่ดีไว้อย่างอดทน อดกลั้น เหมือนคนเราที่แต่ละวันได้รับสิ่งกระทบจิตใจทั้งดีและไม่ดีมากมายหลายประการ และเราก็ต้องทำตนเหมือนกระถางธูปคือ ใช้ปัญญาคือทรายเย็น ที่มีอยู่จำนวนมาก ดับความร้อนของไฟของผงธูปที่มากระทบ ไม่ให้ตกถึงพื้นและไหม้พื้นได้ อีกทั้งยังต้องเป็นหลักคุ้มครองป้องภัยให้กับพระศาสดาด้วย

.......ศาสนพิธี เพียงการจัดโต๊ะหมู่บูชา ก่อนประกอบพิธีกรรมจริง ก็สะท้อนและสอนปรัชญา หลายสิ่งหลายอย่างให้แก่เราไม่น้อยเลย.......

........

“พี่หนาน”

18/8/2558

..........................

ขอบคุณทุกท่านที่สนใจ ขอบคุณโกทูโนว์

.........................................................

หมายเลขบันทึก: 593642เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2015 19:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 สิงหาคม 2015 11:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท