สวัสดีครับชาว Blog
วันนี้ผมได้รับเกียรติจากมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ร่วมกับ โครงการสร้างความยั่งยืนอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย และสมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย เชิญให้มาบรรยาย เรื่อง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย สำหรับเจ้าของกิจการ และผู้บริหารองค์กรสมาชิกของสมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย ประมาณ 22 คน ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม หลักสูตร “การบริหารจัดการธุรกิจแม่พิมพ์สมัยใหม่”ที่สํานักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน วันนี้ผมมีมุมมองที่เป็นแนวทางของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ไปสู่การปฎิบัติให้เกิดความสำเร็จ 4 แนวทางสำคัญ คือ
(1) จีระ – ปีเตอร์ ดรักเกอร์
+ แนวคิดของดรักเกอร์เรื่องการสร้างความผูกพันในองค์กร
(2) TEAMWORK
(3) Pay for Intensive or Pay for Performance ซึ่งต้องระวังจุดอ่อนของ KPIs
(4) HR+CEO+Non HR+Stakeholders
(5) Mindset ของคนในธุรกิจแม่พิมพ์
หวังอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์กับท่านครับ
...........................................................................................................
.........................................................................................................
WORKSHOP
- ปัจจัยท้าทายในอีก 10 ปีข้างหน้าของธุรกิจท่านคืออะไร? อธิบาย
- การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนจะเป็นโอกาสและการคุกคามอย่างไร และจะปรับตัวอย่างไร?
- ในทฤษฎีการปลูก เก็บเกี่ยว และ Execution เพื่อจะเพิ่ม Productivity ในองค์กรของท่านอย่างไร อธิบายยุทธวิธีที่เหมาะสม และทำอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จที่เป็นรูปธรรม
(1) ปัจจัยท้าทายในอีก 10 ปีข้างหน้าของธุรกิจท่านคืออะไร? อธิบาย
กลุ่มที่ 1
- การแข่งขันสูงขึ้น
- เทคโนโลยีใหม่ ๆ มีมากมาย และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
- ควรสร้างคลัสเตอร์ของแม่พิมพ์ใหญ่ ๆ แล้วร่วมมือกันเพื่อการลงทุนและพัฒนา ใช้จุดแข็งของแต่ละที่มาสร้างให้เกิดคุณค่า ช่วยลดต้นทุน ฯลฯ
- เทคโนโลยีการผลิตเปลี่ยน และในอนาคตอาจจะไม่ต้องพึ่งเครื่องจักร ทำให้เราต้องปรับตัว โดยเฉพาะการดีไซน์ การออกแบบแม่พิมพ์ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า
- แรงงานในอนาคตหายากขึ้น อาจจะต้องคิดเรื่องหา ROBOT มาทดแทน
อ.จีระ แนะนำว่า ตัวละครในแต่ละคลัสเตอร์ไม่ใช่เฉพาะนักธุรกิจ แต่ยังมีนักวิชาการ ข้าราชการ และผู้นำชุมชนซึ่งมีบทบาทต่อเรา โดยเฉพาะเรื่อง R&D และน่าจะให้ความสำคัญในเรื่องของการจัดคลัสเตอร์ตามภูมิศาสตร์ด้วย ปัญหาการทำงานแบบคลัสเตอร์ที่ไม่สำเร็จ คือ ความไม่ต่อเนื่อง และไม่มีคนที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานงานและขับเคลื่อนการทำงานของคลัสเตอร์อย่างแท้จริง
กลุ่มที่ 2
- เทคโนโลยีการผลิตเปลี่ยน และในอนาคตอาจจะไม่ต้องพึ่งเครื่องจักร ทำให้เราต้องปรับตัว โดยเฉพาะการดีไซน์ การออกแบบแม่พิมพ์ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า
- แรงงานในอนาคตหายากขึ้น อาจจะต้องคิดเรื่องหา ROBOT มาทดแทน
กลุ่มที่ 3
- เรื่องการแข่งขัน
- เรื่องเงินลงทุน
- เรื่องการบริหาร
- การสร้างแบรนด์ไทยให้เข้มแข็ง ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ
- การขยายตลาด
- การพัฒนานวัตกรรม
- นโยบายของภาครัฐที่ส่งผลมากต่อการประกอบธุรกิจ
(2) การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนจะเป็นโอกาสและการคุกคามอย่างไร และจะปรับตัวอย่างไร?
กลุ่มที่ 1
- อินโดฯ เป็นตลาดที่น่าสนใจ
กลุ่มที่ 2
- โอกาสในการขยายตลาดและการส่งออก มีแรงงานไร้ฝีมือจากประเทศเพื่อนบ้านมาทดแทน
- ภัยคุกคาม คือ คู่แข่งก็มากขึ้นด้วย ปัญหาเรื่องภาษาเป็นข้อจำกัดของคนไทย
- การปรับตัว คือ ตอนนี้เรามีสมาคมแม่พิมพ์อาเซียน+ การเรียนรู้วัฒนธรรมของอาเซียน+การเพิ่มศักยภาพของเครื่องจักรแม่พิมพ์ และควรนำเอา ROBOT จากญี่ปุ่นเข้ามาช่วย และในเรื่องนี้อยากให้ผู้เกี่ยวข้องระดับนโยบายและการบริหารช่วยให้เกิด ROBOT ดี ๆ ในประเทศไทยด้วย
อ.จีระ เสริมว่า..
- นอกจากอาเซียน+ และเราน่าจะทำ GMS ด้วยโดยประเทศไทยเป็นผู้ริเริ่ม เราอาจจะตั้ง Informal Network ขึ้นมา อาจจะมีการจัดประชุมร่วมกันแถว ๆ หนองคาย เป็นต้น
กลุ่มที่ 3
- โอกาส คือ การขยายตลาดสู่อาเซียน การนำผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ไปขายในอาเซียน เช่น Cooling
- ภัยคุกคามเรื่องข้อจำกัดทางการค้าที่อาจจะสูงขึ้น เรื่องการไหลออกของแรงงานโดยเฉพาะระดับเทคนิค
- การปรับตัว ศึกษาความต้องการและความเป็นไปได้ในการขยายตลาดสู่อาเซียน
- โครงการที่น่าสนใจ คือ การจัดตั้งสถาบันสอนวิชาชีพแม่พิมพ์ของอาเซียน
(3) ในทฤษฎีการปลูก เก็บเกี่ยว และ Execution เพื่อจะเพิ่ม Productivity ในองค์กรของท่านอย่างไร อธิบายยุทธวิธีที่เหมาะสม และทำอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จที่เป็นรูปธรรม
กลุ่มที่ 1
ปลูก - เก็บเกี่ยว
ขั้นที่ 1. On the Job Training
ขั้นที่ 2 Multi – Function Skill
ขั้นที่ 3 KSS
กลุ่ม 2
ในการปลูกเราจะนำแนวคิด 8K’s+5K’s มาใช้ในการสำรวจคนในองค์กรว่ามีศักยภาพเพียงพอรึยัง
และเมื่อปลูกแล้วก็จะเก็บเกี่ยวโดยนำทฤษฏี HRDS มาใช้ร่วมกับทฤษฎี 3 วงกลม และที่สำคัญ คือ การลงมือทำให้สำเร็จ
กลุ่ม 3
- เพื่อแก้ปัญหาที่ส่วนใหญ่มีอยู่ คือ การบริหารคนในระดับการให้ทำงานให้แก่องค์กรอย่างเต็มที่ คือ การให้ความรู้กับระดับหัวหน้างาน ให้มีความรู้ในเรื่องของการบริหารจัดการคน ลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน
- การเก็บเกี่ยวสนใจเรื่องการสร้างทุนแห่งความสุขในองค์กร การสำรวจความคิดเห็นคนในองค์กรเพื่อสร้างทุนแห่งความสุขในองค์กร
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ใน Chira Academy
ความเห็นจาก ผู้เข้ารับการอบรม
สิ่งที่ส่งผลกระทบกับอุตสาหกรรม ณ ขณะนี้
1 การแข่งขันกันเองในอุตสหาหกรรม เดียวกัน ในเรื่องราคาและต้นทุนการผลิต ทำให้ในอุตสาหกรรมต้องเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้ได้ ซึ่งต้องหาทุกวิธีและกลยุทธ์ต่างมาใช้เพื่อให้สามารถแข่งขันได้
2 การย้ายฐานการผลิตของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ไปต่างประเทศซึ่งจะส่งผลให้การผลิตแม่พิมพ์ลดลง