สัมภาษณ์ ดร เกษม เพ็ญพินันท์ :: The moment of modernity


(1) ใน arrangement ใหญ่อันนี้ ไม่ได้หมายความว่าพอคุณอยู่ใน globalization แล้ว modern project มันจะสมบูรณ์ เพราะ modern project มัน unfinished ที่ unfinished เพราะสปิริตของตัวโมเดิร์นเอง เพราะ horizon ของมันเปิด แล้วในความเป็นปลายเปิดของมันนั้นเราไม่รู้ เมื่อเราไม่รู้เราจึงไม่สามารถบอกได้ว่ามันสมบูรณ์ มันจะ finished ได้อย่างไร มันไม่มีวัน finished ; it’s always unfinished. (2) รัฐไทยประสบความสำเร็จ กับ raison d'être แต่ล้มเหลวในการ connect กับ modernity

หมายเหตุ: การถอดเทปในช่วงท้ายยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์โปรดอย่าใช้อ้างอิง, ลิงก์สำหรับดาวน์โหลดเทปบันทึกการบรรยายปรัชญาของ ค้านท์, เฮเกล และ ไฮเด็กเกอร์ อยู่ตอนท้ายของบทความ


เกษม: เวลาเราพูดถึง modernity (to be modern) เรากำลังพูดถึงยุคสมัยที่ตัวโมเดิร์น หรือ modernity (ได้) justify (ให้คำอธิบาย) ตัวเอง in principle (ในทางหลักการ)

หมายความว่าถ้าเราอยู่ในโลก pre-modern เพราะคน pre-modern จะไม่เรียกตัวเองว่า pre-modern และไม่รู้จัก modern เพราะว่าสำหรับเขาไม่มีสิ่งที่เรียกว่ายุคสมัยในแบบที่โมเดิร์นมี แต่โมเดิร์นมันเกิดขึ้นก็คือความพยายามที่จะ isolate หรือแยกตัวเองออกจาก เพื่อที่จะ idenity (กำหนด) ความเป็นยุคสมัย ซึ่งตรงนี้มันเริ่มต้นเป็นรูปธรรมให้เห็น เราอาจจะพูดถึงศตวรรษที่ 16, ศตวรรษที่ 17 ซึ่งอันนี้เป็นรูปธรรมในอนุกรมเวลาตามปฏิทิน แต่อะไรบ้างที่ไม่ใช่อนุกรมเวลาตามปฏิทิน? ก็จะมีเรื่องอย่างเช่น “การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ”, “การพยายามจะ rejustify (ให้คำอธิบาย) สถานะขององค์ความรู้ พยายามจะ absorb (เก็บ) สิ่งที่เรียกว่าความเข้าใจ nature (ธรรมชาติ) ออกจากตัวเทววิทยา


Caspar David Friedrich -- Wanderer above the sea of fog


ไอเดียที่เป็น decisive turn (จุดเปลี่ยนชี้ขาด) ที่สำคัญตอนนี้ก็คือเรื่อง secularization (การทำให้เป็นศีลธรรมแบบทางโลก) เรื่อง secularization นี้ คนมักจะแปลคร่าว ๆ ว่าเป็นการแยก church กับ state, การแยกระหว่างเรื่องทางโลกกับทางธรรม ซึ่งการแปลอย่างนี้ไม่ได้ผิด แต่ว่าหยาบเกินไป เวลาพูดถึงในทางเทววิทยา secularized แปลว่าการเข้าไป “ทำลาย” หรือ “breaking through” เทววิทยาทางศาสนา ที่เชื่อว่า ชีวิตทั้งหมด นั้นอยู่ใน circle (วัฐจักร) คือชีวิตมันเวียนว่ายตายเกิด สิ่งที่ secularization ทำคือการทำลาย circle อันนี้ ด้วยการเปิดมิติของเวลาสู่อนาคต พูดอีกอย่างคืออิทธิพลของ secularization คือการทำให้อนาคต หรือพรุ่งนี้เนี่ยอยู่ใน horizon (ขอบฟ้า) ที่สัมพันธ์กับปัจจุบันและอดีต

ตรงนี้สำคัญเพราะว่า เวลาโมเดิร์น ในแง่ของ time consciousness หรือสำนึกเรื่องของเวลา โมเดิร์นเองมันก่อตัวขึ้น และ take spirit (รับเอาจิตวิญญาณ/ความเชื่อ) นั้น

[เวลาเราพูดถึงเรื่องโมเดิร์น term (คำที่ว่า) ของมันเริ่มใช้ในคริสตศตวรรษที่ 4 เพื่อที่แยกสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ ออกจากเมื่อวานนี้ สำนึกเรื่องของเวลาเกิดขึ้นในคริสตศตวรรษที่ 12 สำนึกเรื่องของเวลาคือ “ความเป็นวันนี้” ที่คนสามารถนำมา justify ว่า “อะไรมันเกิดขึ้นวันนี้” นั่นคือ sense ของ to be modern คือ today]

เวลาที่ secularization มันมาเนี่ย สิ่งที่ secular หรือสิ่งที่ปรากฎอยู่เนี่ยมันโมเดิร์น คือมันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ เวลาเกิดขึ้นในวันนี้คือการแยกตัวเองออกจากสิ่งที่ไม่ใช่ คืออดีต (หรือ so called pre-modern) และในขณะเดียวกันนั้นเอง เมื่อ horizon มันเปิดขึ้นมาสู่อนาคต นั่นคือสิ่งที่มันกำลังจะเดินไปข้างหน้า คือการมีชีวิตอยู่ในวันนี้ คือการที่ชีวิตเดินไปข้างหน้า ไม่ได้เดินในวัฐจักรของการเวียนว่ายตายเกิด ผมถึงบอกว่า horizon ของเวลานั้นจึงสำคัญ เพราะเมื่อเวลาที่มันออกจากเทววิทยา มันทำให้อนาคตเป็นเรื่องของ “ปลายเปิด”


ถาม: โลกทัศน์ของการเวียนว่ายตายเกิดนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะความคิดแบบพุทธเท่านั้นหรือ? คริสเตียน หรือ อิสลาม ก็มองแบบนี้?

เกษม: คือเวลาเราพูดถึงการเวียนว่ายตายเกิด ในทางพุทธ ในทางศาสนาจำนวนหนึ่งใช่ แต่เวลาเราพูดถึงศาสนาทั้งหมด monotheism อนาคตมันถูกวางเอาไว้แล้ว


ถาม: ก็คือ judgement day (วันพิพากษา) ?

เกษม: ใช่ คือพูดง่าย ๆ ว่า อนาคตมันถูกปิดด้วยเทววิทยาชุดนี้ไง ชีวิตของคุณเกิดมาเพื่อกลับไปสู่อาณาจักรของพระเจ้า เพื่อรอ judgement day เพราะฉะนั้น ชีวิตในอนาคตมันถูก gaurantee (รับรอง) เอาไว้แล้ว

ทีนี้ พอ horizon ของเวลามันเปิดขึ้นมา มันจึงทะลายวิธีคิดชุดนี้ไง แต่การทะลายวิธีคิดชุดนี้ไม่ได้หมายความว่าศรัทธาในพระเจ้าจะหายไป แต่หมายความว่ากรอบความคิดต่อเรื่องอนาคตมันเปิด ดังนั้นไอเดียที่มันมาพร้อมกันก็คือ ทุกอย่างมันอยู่ในมือมนุษย์ เพราะอนาคตเป็นเรื่องปลายเปิด คุณไม่รู้ว่ามันจะเกิดเรื่องอะไร ทุกอย่างเป็นเรื่องของมือมนุษย์ เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในมือมนุษย์ สิ่งที่มนุษย์ทำได้คือ การทำความรู้จักตัวเอง เพราะฉะนั้นสิ่งที่มันมากับคนอย่าง เดคาตส์ หรือใครต่อใครในศตรวรรษที่ 17 การพยายามทำความเข้าใจธรรมชาติ การพยายามที่จะสร้าง self knowledge (ความรู้เกี่ยวกับตัวตน) ขึ้นมา ถ้าคุณดูในแง่ปรัชญา คำถามในศตวรรษที่ 17 จะเป็นคำถามในแง่ที่ว่า “เรื่องของความรู้” , “การหา paradigm (โลกทัศน์) ของความรู้” การพยายามสร้างองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ ออกมาเป็น มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ฯลฯ เหล่านี้มันคือสิ่งที่โมเดิร์นมันเริ่ม establish (สถาปนา) ตัวมันเองขึ้นมา


ถาม: แต่ในสมัยก่อนหน้านั้น เช่นสมัยกรีกมันก็มีดีเบตในเรื่องความรู้เหมือนกัน?

เกษม: มันมีดีเบตในเรื่องความรู้ แต่มันไม่ได้ reappropriate (6:16) ความรู้อันนั้นมาสู่ความเข้าใจธรรมชาติ ในกรีกนั้นความเข้าใจธรรมชาติ คือความเข้าใจ “คุณลักษณะ” ของธรรมชาติ ที่อยู่ใน component ของ contemplation คือกระบวนการคิด แต่ในแง่ของโมเดิร์นนั้น การเข้าใจธรรมชาติ คือการที่มนุษย์เรียนรู้ ไม่ใช่เพียงการพยายามทำความเข้าใจ แต่พยายามเข้าไป determine (ควบคุม) และไปกำกับธรรมชาติ เพื่อ serve (รับใช้) มนุษย์ เพราะฉะนั้นจุดหนึ่งที่เป็นข้อต่อสำคัญในแง่วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ คือตัวเทคโนโลยี ดังนั้นความเข้าใจในแง่สมัยใหม่ตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมาคือ “มนุษย์ control ธรรมชาติ” อันนี้เป็นหนึ่งในปัจจัยที่โมเดิร์นทำ คือการเข้ามาควบคุมธรรมชาติ


ถาม: หมายความว่า ในตอนนั้นกรีกก็ยังไม่ได้คิดในแง่การควบคุม?

เกษม: กรีกก็ไม่ได้คิดในแง่การควบคุม กรีกคิดในแง่การ contemplate กับธรรมชาติ เพื่อทำความเข้าใจ order ของ cosmos เพื่อทำความเข้าใจการคลี่คลายของธรรมชาติ


ถาม: มันถึงได้ไปกับเทววิทยาแบบเก่าได้?

เกษม: คือเมื่อเทววิทยามาสวมทับความรู้ของกรีก ความรู้ของกรีกเป็นฐานในเรื่องของศิลปะวิทยาการ แต่ว่ามันไม่ได้พัฒนาตัว so called เทคโนโลยี เอาง่าย ๆ อย่างเราอยู่ในห้องแอร์เนี่ย ถ้าไม่มีแอร์ เปิดหน้าต่างบางทีร้อน แล้วเราจะรู้สึกอึดอัด เพราะอุณหภูมิความร้อนอันนี้ไม่ใช่อุณหภูมิที่เหมาะสมที่เราจะอยู่ เพราะฉะนั้น การมีแอร์คอนดิชั่นมันทำให้เรามีชีวิตที่สบายขึ้น นั่นคือมัน serve purpose ของมนุษย์ หรือถ้าคุณอยู่ในเมืองหนาว ฮีตเตอร์ทำให้อุ่นขึ้น คุณไม่ต้องสวมเสื้อโค้ตในห้องทำงาน แต่ฮีตเตอร์ทำให้ environment ในห้องทำงานให้คุณทำงานได้คล่องตัวขึ้น อันนี้คือสิ่งที่มนุษย์เข้าไปควบคุมธรรมชาติ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีมันมาตรงส่วนนี้

ความรู้มัน serve ตัวมนุษย์เอง ทั้งในแง่การเข้าใจตัวเอง และการอยู่ต่อ

ประเด็นของ horizon มีประเด็นสำคัญอยู่สองประเด็น และเป็นสปิริตของโมเดิร์น อันแรกที่พัฒนาให้เป็นรูปธรรมในคริสตศตวรรษที่ 18 คือไอเดียเรื่องของความก้าวหน้า หรือ “พรุ่งนี้ต้องดีขึ้นกว่าวันนี้” นี่คือไอเดียในศตวรรษที่ 18 เรื่อง “progress”


Map showing Amundsen's route to the pole, Oct–Dec 1911. The depots marked at 80, 81 and 82° were laid in the first season, Feb–March 1911. Shackleton's 1908–09 route, as followed by Scott, is to the right. A competition between Norwegian explorer Roald Amundsen and British party led by Robert Falcon Scott. Amundsen could reach to the South Pole five weeks before Scott. At a distance of 150 miles from their base camp and 11 miles from the next depot, Scott and his companions died from a combination of exhaustion, starvation and extreme cold. His death later became a celebrated as British hero.


อันที่สอง คือไอเดียเรื่อง “pioneer" เพราะทุกอย่างมัน “endless" ทุกอย่างมัน "open-end" (ปลายเปิด) และภายใต้ open-end มันมีสิ่งที่เรียกว่า “unknown” เพราะคุณไม่รู้ว่าพรุ่งนี้คืออะไร คุณจึงต้องแสวงหา ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นคือเรื่องของ pioneer เซ็ตของไอเดียเรื่อง pioneer นี่แหละที่ทำให้มนุษย์เริ่มบ่มเพาะกระบวนการค้นหาสิ่งต่าง ๆ เช่น การเกิดขึ้นมาของการแสวงหาดินแดนใหม่ การเกิดขึ้นมาของไอเดียเรื่องของ colony (อาณานิคม) การเกิดขึ้นมาของการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพราะคุณจะต้องไปถึงที่นั่นคนแรกในเรื่องต่าง ๆ นี่คือสปิริตของโมเดิร์น มันไม่ใช่สิ่งที่เรียกว่า “God's chosen” มันไม่ได้เป็นสิ่งที่ God เป็นคนเลือก แต่คุณเลือกตัวเองที่จะเป็นผู้บุกเบิกในเรื่องพวกนี้ นี่คือ spirit of the age ที่มนุษย์ในโลกสมัยใหม่พยายามทำ

ตัวอย่างเช่น เวลาคุณจะทำวิทยานิพนธ์ อาจารย์จะถามคุณว่า “โจทย์วิจัย” คืออะไร คำถามคลาสสิกอันหนึ่งก็คือว่า “ของคุณมีอะไรใหม่กว่าของคนอื่น?” นี่คือสปิริตของโมเดิร์น -- “อะไรใหม่” เพราะคุณต้องเป็น pioneer คุณไม่มีทางจะทำซ้ำกับคนอื่น เพราะคุณไม่มีทางที่จะสามารถ identify ตัวตนของคุณ หรือ authority ในตัวคุณขึ้นมาได้


ถาม: ก่อนจะมีแนวคิดเรื่องโมเดิร์น การค้นพบนวัตกรรมใหม่ หรือการค้นพบดินแดนใหม่ ไม่ได้อยู่ในสปิริตของโมเดิร์น?

เกษม: ไม่ได้อยู่ในสปิริตของ pioneer [Q: เพราะสวรรค์สั่งมา?] อือ พบได้เพราะพระเจ้าให้มา คือมันไม่ได้ take spirit นั้น authorship อยู่ที่ตัวมนุษย์ไง [Q; มันไม่ได้ย้ายศูนย์กลางจากพระเจ้ามาอยู่ที่มนุษย์?] ที่มันเป็นเช่นนี้เพราะมันย้ายศูนย์กลางมาไง จากพระเจ้ามาสู่มนุษย์ แล้วมันจึงเกิดไอเดียเรื่องของ “subject” คือทั้งหมดมันเคลื่อนไปเป็น movement เดียวกัน มันไม่สามารถที่จะบอก element ต่าง ๆ แยกออกจากกันได้ แต่สามารถที่จะ highlight ว่ามันมีอะไรเกิดขึ้นได้ แต่ท้งหมดมันมีข้อต่อมันไง คุณเป็น pioneer เพราะคุณ subject กับตัวคุณ คุณคือผู้บุกเบิก คุณคือคนแรก ความเป็น authorship ไอเดียเรื่องของ subject สิ่งต่าง ๆ นี้มันมาด้วยกันหมดไง ชุดความรู้ [Q: เป็นองค์ประธาน?] เป็นองค์ประธาน ซึ่งองค์ประธานเนี่ย สถานะขององค์ประธานมีสิ่งที่เรียกว่า self affirmation คือการยืนยันในสิ่งที่ตัวเองรู้ การยืนยันในสิ่งที่ตัวเองเป็น และ Self-assurance ในแง่ของตัวเองการันตีบทบาทและสถานะของตัวเอง ซึ่ง extend ผ่านในการจัดระเบียบหรือรูปแบบของสังคมการเมืองตามมา

Self-assurance หมายความว่า concept ของการมีชีวิตอยู่ในโลก มัน identify กลับมาที่สถานะ self เพราะฉะนั้นตัวอย่างง่าย ๆ ในเรื่องของสัญญาประชาคม ที่พยายามจะมองธรรมชาติของมนุษย์ และลักษณะของมนุษย์ extend มาสู่รูปแบบของรัฐ มัน assure การมีชีวิตอยู่ในโลก ที่เป้าประสงค์ของการอยู่ร่วมกันตรงนั้นมัน serve ความเป็นตัวตนที่ self กับ body กำลัง deal กับเรื่องนี้ และที่สำคัญ สิ่งที่โมเดิร์นทำคือการทำให้สังคม วัฒนธรรม หรือ so called “the social” เป็นธรรมชาติที่สองของมนุษย์


Theodore Gericault -- Raft of the Medusa


ธรรมชาติที่สองของมนุษย์หมายความว่า “human existence” กับ “social existence” ไม่ได้แยกออกจากกัน หมายความว่าคุณไม่สามารถแยก “ความเป็นคน” ออกจาก “สังคมที่คุณอยู่” เพราะคุณ embody ในสังคมนั้น แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือคุณทำให้สังคมเป็นราวกับ “ธรรมชาติ” ที่ serve การมีชีวิตของคุณ; Self-affirmation คือการที่เข้าใจธรรมชาติเพื่อตอบโจทย์มนุษย์ว่าตัวเองเป็นใคร แต่ Self-affirmation คือการที่ modernity จัดการกับธรรมชาติที่สอง ให้มี function ไม่ต่างอะไรกับธรรมชาติแรก ดังนั้นการเกิดขึ้นมาของสังคม การที่คนต้องอยู่รวมตัวกัน การที่มีสิ่งที่เรียกว่ารัฐ political communities และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่เรียกว่า “สถาบันทางสังคม” ต่าง ๆ เหล่านี้ มัน serve purpose ของการมีชีวิตอยู่ในโลกโมเดิร์น และนี่คือธรรมชาติที่สอง ซึ่งแยกไม่ขาดจากธรรมชาติแรก

คำว่า “บ้าน” คือ “House” กับ “Home” คำว่า “House” หมายถึงธรรมชาติในเชิงกายภาพ แต่คำว่า “Home” เราพูดถึงธรรมชาติในความหมายที่สอง คือเวลาพูดว่าคุณมีบ้าน ในภาษาอังกฤษจะไม่ใช่ sense ของการมี House มันต้องมี Home เพราะนี่คือสิ่งที่คุณ dwell สิ่งที่คุณพำนักพักอาศัย สิ่งที่เป็น comfort zone ของคุณ ดังนั้นแม้ว่า house ของคุณจะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร “รูหนู" หรือ "ใหญ่เท่าปราสาท" นั่นคือในทางกายภาพ นี่คือ sense ของธรรมชาติในความหมายที่สอง และตรงนี้มันทำให้การทำ social arrangement ในโมเดิร์นมันเกิดขึ้น ทีนี้ขึ้นกับทฤษฎีต่าง ๆ ที่คุณใช้ในการ arrangement เหล่านี้ ; ถ้าคุณเชื่อใน marxist ก็ปีกหนึ่งในเรื่องของ conflict , ถ้าคุณเชื่อในพวก functionalism คุณก็เชื่อในเรื่องของ causation (ความสัมพันธ์ซึ่งเป็นเหตุเป็นผลระหว่างกัน; ประเด็นที่น่าสนใจคือ "ข้อมูลสองชนิดมีความสัมพันธ์กันไม่ได้จำเป็นว่าข้อมูลจำเป็นต้องเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน (Correlation does not imply causation)"; ดูเพิ่มเติม คำอธิบาย correlation-causation) ระหว่างกัน ซึ่ง arrangement ตัวนี้มันตอบโจทย์สิ่งที่เป็น assuarance คือสิ่งที่ยืนยันการมีอยู่ และสภาวะของรูปแบบของสังคม รูปแบบของชุมชน รูปแบบของรัฐ ที่มันมีอยู่ อันนี้คือภาพใหญ่ของโมเดิร์น

เพราะฉะนั้นการเกิดขึ้นมาของรัฐประชาชาติใน คริสตศตวรรษที่ 17 การเกิดขึ้นมาของไอเดียเรื่องของ imperialism มันคือปรากฏการณ์ของ arrangement อันนี้ใน modernity อันนี้คือภาพใหญ่ที่ปูให้เห็นว่าเรามี perception อะไรกับมันบ้าง

จะยกตัวอย่างอีกคำหนึ่งคือ คำว่า “political economy” อันนี้ก็คือ modern product ซึ่ง arrangement ตัวนี้น่าสนใจ เพราะเวลาเราพูดถึงคำว่า “economy” รากของคำนี้ คือ “οἶκος" (โอคอส; oíkos) ในกรีก กับ "νέμω" (เนโม; némo̱) (see Etymology of the word "Economy")

[Q: การจัดการครัวเรือน?] การจัดการครัวเรือน แต่ว่าโมเดิร์นนี่ take “การจัดการครัวเรือน” เป็นเรื่องของ public ไง; "political economy” คือเรื่องของการจัดการชีวิตความเป็นอยู่ของคน มันคือเรื่องทางสังคม ที่หน่วยงานหรือสถาบันทางสังคมต้องเป็นตัวจัดการ อันนี้คุณจะเห็นทันทีมิติที่ต่างกันระหว่าง โมเดิร์น กับ pre-modern แล้วเราอยู่ใน horizon นี้เพราะเราถูก lockup ด้วย time consciousness ที่ความเป็นโมเดิร์นก็คือความเป็นปัจจุบัน เราไม่สามารถออกจากปัจจุบัน เพราะเมื่อพรุ่งนี้มาถึง มันคือวันนี้ อันนี้คือสิ่งที่มัน lockup คุณเข้ากับสภาวะโมเดิร์น ซึ่งมันทำให้ตัวโมเดิร์นมัน justify ตัวมันเอง ในสถานะยุคสมัยที่แยกออกจาก pre-modern

และไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “beyond” สิ่งนี้ ซึ่ง “post modern” ไม่ใช่ “post modern” ไม่ใช่ another epoch แต่ว่าเป็นสิ่งที่อยู่ในตัวโมเดิร์น ที่มา critical ตัว “modern project” เอง [Q: คือพูดง่าย ๆ ว่าเรายังไม่พ้นโมเดิร์น?] คือเรายังอยู่ในโมเดิร์น -- “We're still in Modern.” [Q: คือไม่ว่า modern หรือ post modern ก็อยู่ใน scheme ของ modern?] ใช่

ในภาพรวมนั้น สิ่งที่มันเคลื่อนอยู่ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง หลังสงครามเย็น ก็คือการพยายามที่จะ setting assurance อันนี้ assurance อันนี้คืออะไร ก็คือไอเดียเรื่อง globalization สำหรับผม globalization มันคือปรากฎการณ์อันหนึ่งในโลกโมเดิร์น มันคือ socio-political arrangement อันหนึ่งในโลกโมเดิร์น ที่มี preassumption บางอย่างโยงกลับไปในเรื่อง cosmopolitanism หรืออะไรก็ตาม ซึ่งมีรายละเอียด แต่อันนี้นี่คือ arrangement ใหญ่ แล้วใน arrangement ใหญ่อันนี้ ไม่ได้หมายความว่าพอคุณอยู่ใน globalization แล้ว modern project มันจะสมบูรณ์ เพราะ modern project มัน unfinished ที่ unfinished เพราะสปิริตของตัวโมเดิร์นเอง เพราะ horizon ของมันเปิด แล้วในความเป็นปลายเปิดของมันนั้นเราไม่รู้ เมื่อเราไม่รู้เราจึงไม่สามารถบอกได้ว่ามันสมบูรณ์ มันจะ finished ได้อย่างไร มันไม่มีวัน finished ; it’s always unfinished.


ถาม: มันพูดถึงเรื่องการ standardization ด้วยไหม? แล้วจึงทำให้มันขัดแย้งกัน เพราะมันใช้คนละ arrangement กัน

เกษม: ใช่ การที่เราพูดถึง standardize ให้อยู่ในมาตรฐานหรือเกณฑ์เดียวกัน ในนามของ universality นี่คือ paramiter ของ modern เวลามันเข้าไป accumulate สิ่งต่าง ๆ เข้ามาให้สามารถอยู่ในมาตรวัดอันเดียวกัน

เพราะวิธีคิดอันนี้มันก็กลับมาสู่ฐานของวิทยาศาสตร์ ที่คุณควบคุม control ได้ และภายใต้การควบคุม คุณสามารถอธิบายหรือจัดการได้ให้เป็นแบบเดียวกัน เหมือนการที่ทำไมคุณต้องมีห้องแล็บ การทดลองในห้องแล็บคือการควบคุม object ให้มันอยู่ในสภาพเดียวกับที่ธรรมชาติเป็น และเมื่อนั้นคุณรู้ คุณจึงสร้าง parameter ขึ้นมา คุณจึงสร้าง standardization ขึ้นมา คุณจึงสร้างค่า assessment ต่าง ๆ ขึ้นมาได้ นั่นคือจัดการได้ ว่าเมื่อคุณไปอยู่ที่ใดคุณก็จัดการได้ มันคือวิธีคิดชุดเดียวกัน ที่เคลื่อนไปในมุมมองตัวนี้



ถาม: อย่างการสร้างระบบกฎหมาย การสร้างระบบการปกครอง ก็คือการสร้าง standardization?

เกษม: ใช่ แล้วตรงนี้มันน่าสนใจ ถ้าคุณลงไปในฟิลด์ย่อยอย่างมานุษยวิทยา มานุษยวิทยาเป็นฟิลด์ที่น่าสนใจ ก่อนมานุษยวิทยาน่าสนใจกว่านั้น คือสิ่งที่เรียกว่า ethnology (ชาติพันธุ์วิทยา) คุณรู้ไหมว่านักชาติพันธุ์วิทยารุ่นแรก ๆ มี background เป็นคนที่เรียนในเรื่องกฎหมาย เป็นคนที่เรียนในเรื่อง government (การปกครอง) ทำไมรู้ไหม [Q: คนมาสำรวจรถไฟในประเทศไทยก็เป็นนักมานุษยวิทยาของเยอรมัน?] ใช่ เพราะเขามีไอเดียหรือโมเดลเรื่องของสังคมการเมืองไง เวลาเข้าไปอยู่ในสังคม so called ที่เรียกว่า non-western หรืออะไรก็ตาม เขาพยายามทำความเข้าใจ เพราะเขามีกรอบพวกนี้อยู่ไง แล้วถ้าคุณอยู่ในโลกของดัชท์ พวกนี้จะทำลายโครงสร้างเดิมแล้ว rearrange โครงสร้างใหม่ขึ้นมา [Q: หมายถึงอาณานิคม?] ใช่ ถ้าคุณดูความแตกต่างระหว่างปีก continental (ภาคพื้นทวีป) ไม่ว่าจะเป็นฝรั่งเศส ดัชต์ พวกนี้พอเข้าไป จะ rearrange มันใหม่ ด้วยการรื้อออกหมด ไม่เหมือนอังกฤษ อังกฤษจะทำตรงกันข้าม อังกฤษพยายามจะทำให้ทุกอย่างมัน applicable

ยกตัวอย่างเรื่อง colonization ของอังกฤษ เวลามันเข้าไป colonize ประเทศที่เป็นกษัตริย์ (ยกเว้นประเทศเดียวคือพม่า) โดยส่วนใหญ่พวกนี้จะเข้าไป rearrange ความสัมพันธ์ภายใต้โครงสร้างอำนาจเดิมภายใต้แนวคิด constitution monarchy ของอังกฤษ

ธรรมเนียมปฏิบัติจำนวนหนึ่ง อย่างเช่น ตำแหน่งเจ้าฟ้าที่ทรงกรม ทำไมเป็นชื่อเมือง? [Q: มาจากอังกฤษ?] ใช่ Prince of Cambridge อย่าง กรมหลวงนครสวรรค์ ... กำแพงเพชร เนี่ย คือมันไม่ใช่ของไทยล้วน ๆ น่ะ คือเราถูก arrangement ด้วยแบบนี้ ประเด็นที่ผมจะพูดก็คือ เวลาโมเดิร์น มันเข้าไปในสังคมที่เป็น primitive หรือ pre-modern หรือ outside โลก The West เนี่ย มันใส่ arrangement อันนี้เข้าไปไง อย่างที่ผมบอกวิธีการ arrangement พวกนี้มันไม่ได้มาโดยตรง โดยการใช้ force ในหลาย ๆ ที่ทำงานผ่าน soft power ผ่านพวก ethnology คือใช้ ethonology เข้ามาเก็บข้อมูลมนุษย์ ข้อมูลหมู่บ้าน มานุษยวิทยาอันที่จริงแล้วไม่ได้ศึกษาชุมชน ไม่ได้ศึกษาวัฒนธรรมในกรอบใหม่อย่างทุกวันนี้ เทอมมานุษยวิทยาแรก ๆ ที่กำเนิดขึ้นในต้นคริสตศตวรรษที่ 20 เนี่ย คือการพยายามจะศึกษาสภาพสังคม อะไรต่าง ๆ ของชุมชนที่เรียกว่า Non-west คือการไปสู่ primitive อะไรพวกนี้ ถ้าคุณอ่านงานวิทยานิพนธ์ของมานุษยวิทยาในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 20 เขาไม่ได้ศึกษาว่าคน ๆ นี้มีชีวิตอย่างไร แต่ศึกษาว่ามันมีการ arrange รูปแบบ มี pattern ในการดำรงอยู่อย่างไร แล้วพวกนี้สุดท้ายก็เข้าไป ถ้าเป็นพวกอังกฤษ ก็คือ adjust มัน ในขณะที่อาณานิคมฝรั่งเศสเข้ามาเปลี่ยน


ถาม: Post-colonial คือการ adjust หรือว่า การเปลี่ยนได้จบลงแล้ว? การปะทะอะไรพวกนี้?

เกษม: ใช่ มันจะพูดถึง depressive hypothesis พวกนี้คืออะไร พวก constraint ซึ่งวิธีคิดพวกนี้ถูกทำให้หายไป เพราะคุณถูกครอบ ถูกมองอย่างที่ The West มอง


ถาม: อันนี้เลยปัญหาใช่ไหมว่า การประกาศอิสรภาพของอาณานิคมภายใต้ฝรั่งเศส หรือดัตช์ จึงค่อนข้างรุนแรงกว่า

เกษม: ใช่ เพราะมันไปทำลายพื้นฐาน แต่ irony ก็คือ เมื่อมันประกาศเสร็จ มัน take สิ่งเหล่านี้เป็น foundation ของมัน ไม่ว่าจะเป็นอินโดนีเซีย [Q: หรือว่าเวียดนาม?] ใช่ เวียดนาม คุณเห็นภาพนี้ นี่คือ arrangement ที่เป็นข้อต่อสำคัญ ที่จะนำมาใช้ใน project อาเซียนของคุณ เพื่อให้ภาพนี้มันเกิดขึ้น

ทีนี้ เวลาเราพูดถึง unfinished project เนี่ย เวลาเราพูดถึงสภาวะโมเดิร์น มันจึงไมสมบูรณ์ไง ไม่มีที่ไหนสมบูรณ์ และในมุมกลับ มันเป็น burden (ภาระ) ของ modern society ทุกสังคม เพียงแต่ว่า burden หรือ “แอก” ตรงนี้ในแต่ละสังคมมันต่างกันเท่านั้นเอง ในโลก non-west แล้ว import ลักษณะ arrangement แบบ The West แล้ว take มันเข้ากับลักษณะองค์กรทางสังคมหรือว่าการจัดระเบียบสถาบันทางสังคมต่าง ๆ เหล่านี้เนี่ย มันมีแอกที่ต่างกันนะ

ในสังคมจำนวนมาก ซึ่งสังคมไทยเป็นหนึ่งในนั้น ไม่ใช่ exception แอกใหญ่อันหนึ่งคือการลักลั่นระหว่างการยอมรับ universal values ที่มาพร้อมกับโมเดิร์น ซึ่งสร้างโดย The West กับสิ่งที่คุณพยายามที่จะ invent local values ตั้งแต่ไอเดียเรื่องของ ความเป็น Asians มาจนถึง ความเป็นไทย คือคนที่เป็นเอเชีย ย่อมต้องมี Asia values อย่างลีกวนยูในช่วงบั้นปลายชีวิตก็พูดเรื่อง Asian values นี่คือ burden ซึ่งมันเป็น reaction แต่ reaction นี้ก็คือเหรียญคนละด้านของสิ่งที่เป็น arrangement อันนี้

ในขณะที่ The West พยายามจะ Universalize values พวกนั้นให้เป็น standardize หรือให้เป็นค่ากลางเนี่ย ในขณะที่ local ก็พยายามเอา Local values นั้นเป็น counterpart แต่ทั้งคู่อันที่จริงแล้วอยู่ใน track เดียวกัน คือการพยายาม identify สิ่งที่เป็นค่ากลางของชุมชนนั้น ๆ [Q: คือพยายามจะดัน value ของตนเองออกมาสู่สากลเหมือนกัน ถ้ามองในอีกแง่หนึ่ง?] ใช่ มันคือคนละด้านของเหรียญเดียวกัน ด้านหนึ่งมันจึงไมใช่ paradox มันไม่ใช่สิ่งที่ย้อนแย้งกัน แต่มันสามารถเป็น tension (ความตึงเครียด) แต่ tension นี้มันอยู่ด้วยกันได้ แล้วหลายครั้งมัน absorb กัน เพราะมันถูก apply ใน sphere ในพื้นที่ ใน event ที่ต่างกัน




มันเป็นแอก เพราะมันไม่สมบูรณ์ (unfinished project) จึงยังต้องเป็น pioneer อยู่ เพราะมีบางสิ่งบางอย่างที่จะต้องค้นพบ ตัวอย่างเช่น ประเพณี 12 เดือน ซึ่งมันมีอยู่แล้ว แต่วิธีคิดเรื่องประเพณี 12 เดือนนี่ไม่ใช่ ลอยกระทง สงกรานต์ มันมีอยู่แล้ว แต่การคิดในภาพใหญ่ ใน cycle ของปีเนี่ย มันคือการ import มาจากตะวันตก เพราะในโลกของ Non West ไม่มีไอเดียของ seasoning ไม่มี season change ไม่มี cycle พวกนี้ ก็กลับไปไอเดียเรื่องของแฟชั่น ไอเดียเรื่องของแฟชั่นก็มาจาก seasoning คุณต้องแต่งตัวเพื่อ adjust สภาพชีวิต ให้สอดคล้องกับสภาพในแต่ละฤดูกาล แฟชั่นในเรื่องของการออกแบบดีไซน์มันมาทีหลัง แต่มันมากับการใช้ชีวิตใน season change อย่างไอเดียเรื่องชุดไทย หรือชุดราชปะแตน เป็นการ import ล้วน ๆ แต่คุณ blend มันในฐานะที่เป็น traditional value อย่างนี้เป็นต้น

ทำไมรัฐบาลชุดนี้ถึงต้องกลับมาใส่ชุดพระราชทานแบบสมัย พลเอก เปรม (ติณสูลานนท์) ก็เพราะคุณกำลังคิดในเรื่อง tradional value ซึ่ง counter กับ universal value แม้ว่านายกรัฐมนตรีจะแต่งชุดสูทในบางวัน ซึ่งมีพิธีการที่คุณไม่ต้องดีลกับ... แต่บางวันก็จะ preserve ในชุดไทย นี่คือสิ่งที่เป็น counterpart แต่มันคือ burden เพราะคนส่วนหนึ่งไม่ยอมรับใน universal value แล้วคุณประกาศให้เขารู้ว่านี่คือ value ของกู แต่อันที่จริง ทั้งคู่อยู่ใน track เดียวกันทั้งคู่ ไม่ว่าคุณจะเคลม universal value หรือจะ claim value ความเป็นไทย แต่มันคือการ establish สิ่งเหล่านี้ให้เป็น core value คือการ establish สิ่งเหล่านี้ให้เป็น standard ทำให้สิ่งเหล่านี้เป็น “มาตรวัด” ของสังคมนี้ แต่นี่คือปรากฏการณ์แบบโมเดิร์น


ถาม: คือจะใช้ชุดไทย หรือใช้ local value แต่ก็เป็น concept ของโมเดิร์น?

เกษม: ใช่ คุณอยู่ในโมเดิร์นด้วยกันตั้งแต่ต้น เพียงแต่คุณจะสร้าง self animity ผ่านอะไร ผ่านการยอมรับ universal norms หรือผ่านการยอมรับ local value สำหรับผมถ้าพูดว่า locality ปะทะกับ universality อันที่จริงมันคือวิธีคิดชุดเดียวกันแต่คนละด้านของเหรียญเดียวกัน คือการเคลม locality คือการเคลมสถานะของคุณผ่านพื้นที่ที่คุณอยู่ แต่สปิริตคือการ identify หรือการ address ในภาพใหญ่ มันคือสปิริตเดียวกันในเรื่องของ arrangement ชุดเดียวกัน เพื่อจะ assure การมีชีวิตอยู่ในโลกนี้


ถาม: คือเป็นวิธีคิดแบบโมเดิร์นนั่นเอง?

เกษม: ใช่ คือเราเข้ามาอยู่ในโมเดิร์น ก่อนที่เราจะรู้ตัวว่าเราเป็นโมเดิร์น และทุกครั้งที่เราพยายามจะ identify โมเดิร์น หรือสร้างโมเดิร์น เราสร้าง tension ซึ่ง tension นี้ผมเรียกมันว่า “แอก” มันคือ burden ที่เราแบก


ถาม: ถ้าเป็นรูปธรรมคือ อย่าง ร. 6 ในด้านหนึ่งก็เป็นฝรั่ง แต่ในด้านหนึ่งก็เป็นไทย

เกษม: ใช่ สำหรับผมมันคือ no big deal แต่นัยยะแบบนี้คือการ identify แอก ของการอยู่ในโมเดิร์น เพราะคุณไม่สามารถไปข้างหนึ่งข้างใดได้ เพราะในที่สุดมัน unfinished เพราะในขณะที่คุณ pioneer โดยการประกาศความเป็นไทย แต่สิ่งที่ ironic มันคือเป็น part ของการเป็น universal value

คุณไปที่ป้ายของ ททท. ซึ่งผมชอบมาก โดยที่คนทำหรือคนคิดโดยไม่เข้าใจ ที่ว่า “Thai culture is a part of global culture” คือคุณพยายามจะปักหมุดว่าของคุณเนี่ยเป็นไทยนะ ซึ่งแตกต่างจากคนอื่น แต่ในการปักหมุดของคุณน่ะ คุณอยู่ท่ามกลางหมุดอันอื่น ๆ ไง โดยที่ไม่รู้ตัวว่า การที่คุณทำน่ะเป็น part หนึ่งของ globalization


ถาม: สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นกระบวนการหนึ่งของ modernity หรือเป็นการ clash กันระหว่าง pre-modern กับ modern?

เกษม: คือมันไม่ได้ clash กับ pre-modern แต่มันคือการที่เราพยายามจะ apply แต่ applicability ตรงนี้เป็นวิธีของโมเดิร์น แต่ position ที่อยู่ คุณพยายามจะ isolate จาก so called global value หรือ universal value เพื่อที่จะ identify หรือสร้าง identity ให้กับ value ของคุณ นี่คือเรื่องปกติในโมเดิร์น [Q: คือไม่ใช่เฉพาะไทย ตะวันตกกับตะวันตกก็มีปัญหา?] ทุกที่ในโลก ความเป็นจีน, ทำไมฝรั่งเศสต้องสร้างอาหารฝรั่งเศส, ญี่ปุ่นต้องโฆษณาซูชิ, เกาหลีต้องขายวัฒนธรรมการกินผ่านแดจังกึม ถ้า beyond แดจังกึม ก็คือการพยายามให้คนเรียนรู้ว่าอาหารเกาหลี รับประทานอย่างไร ทั้งหมดมันคือ process อันเดียวกันที่โลกเคลื่อนตัวเอง ที่โมเดิร์นเคลื่อนตัวเอง


ถาม: อาจารย์กำลังบอกว่าโลกไม่มีโมเดิร์น

เกษม: ผมไม่ได้บอกว่ามันไม่มีโมเดิร์น แต่ผมกำลังบอกว่ามันไม่สมบูรณ์ เพราะมันไม่สามารถเป็นโมเดิร์นที่สมบูรณ์ ด้านหนึ่งคุณไม่สามารถเป็นโมเดิร์นที่สมบูรณ์ และอีกด้านหนึ่งคุณไม่สามารถทิ้งสิ่งที่เป็น tradition หรือสิ่งที่เป็น pre-modern เพราะอะไร? เพราะโดยโมเดิร์นเองสถานะของมันคือเป็น succession มันคือสิ่งที่มันต่อมาจาก pre-modern เมื่อมันต่อมาจาก pre-modern มันจึงไม่สามารถทิ้งของเดิม คือมันมีชุดของคุณค่า ชุดของการปฏิบัติ อะไรจำนวนมากที่มันเกิดก่อนโมเดิร์น และมันยังฝังอยู่ ถ้าโมเดิร์นสมบูรณ์ อย่างที่คานท์ปรารถนา so called ใน enligthenment คุณจะไม่มีวิธีคิดหรือสิ่งต่าง ๆ ที่เป็น pre-modern เลยนะ เพราะคุณสามารถชนะอย่างสมบูรณ์ แต่ในโลกความเป็นจริงที่มันไม่สมบูรณ์ เพราะคุณไม่สามารถทิ้งสิ่งเหล่านี้ได้ ดังนั้นความหวังหรือยูโธเปียของโมเดิร์นคืออะไร? Enlightenment ไง

The Enlightenment Project ถ้าเราไม่พูดถึง Enlightenment ในฐานะ period ทางประวัติศาสตร์ กับไปในคริสตศตวรรษที่ 18 มันคือยูโธเปีย สภาวะ Enlightenment คือสภาวะ maturity ของมนุษย์ไง นี่คือความฝันอันสูงสุดของโมเดิร์น ในความหมายขอคานท์ การที่มนุษย์ mature นี่คือสิ่งที่โมเดิร์นปรารถนา แต่ไปไม่ถึงและไม่มีทางไปถึง แต่มันมีประโยชน์ในแง่การเป็นเป้าหมาย อันนี้คือกลับมาที่ไอเดียเรื่องของ progress ในขณะที่คุณเป็น pioneer คุณรู้เป้าหมายที่คุณจะบรรลุคืออะไร

กลับมาในแง่ของ tradition ทั้งหมด pre-modern ยังอยู่ แต่การอยู่ ไม่ได้หมายความว่ามันอยู่แล้ว ต้องอยู่อย่างนั้น มันก็ adjust ตัวมันเอง เพราะมันไม่มีสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ที่มันอยู่อย่างนิ่งแล้วคงอยู่ได้ หลายส่วน adjust ตัวมันเอง โดยเฉพาะสถาบันเชิงประเพณีทั้งหลายที่มีมาก่อนโมเดิร์น adjust ตัวเองมาโดยตลอด รวมทั้งคุณค่าต่าง ๆ ด้วย ถ้าคุณไปมองคุณค่าที่เป็น tradional value ต่าง ๆ ก่อนโมเดิร์น หลายอย่างก็ adjust ตัวมันเอง


ถาม: ศาสนาเป็น pre-modern หรือเป็นโมเดิร์น?

เกษม: ศาสนาโดยตัวของมัน เป็น pre-modern แต่มันเป็นโมเดิร์น เพราะมัน adjust วิถีในการเข้ามาอยู่ ทั้ง serve ในแง่ของ social heirachy เช่นตัวอย่างง่าย ๆ ในแง่ของ hinduism ในอินเดีย มันคือ socio-political heircachy ของสังคมอินเดีย พุทธศาสนาในสังคมไทยก็ชัดเจน มันคือ socio-political heirachy หรือ hierachical arrangement ในสังคมไทย

ประเด็นเรื่องการแบ่งยุคสมัยคือผลผลิตของโมเดิร์น แต่สิ่งที่เป็น traditional value ทั้งหมดมันได้ adjust ตัวมันเอง มันไม่ได้อยู่อย่างนิ่ง ๆ ผมไม่แปลกใจที่มันมีไอเดียเรื่องสแกนกรรม ตัดกรรม บางคนอาจจะบอกว่ามันทำให้ศาสนาเสื่อม แต่ผมไม่สนใจ มันคือวิธีที่ modify ไป คือมันเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในโลก เพื่อทำให้คนเข้าใจ เพื่อจะวางสถานะของตัวความรู้หรือคุณค่าอันนั้น และตัวผู้สร้างหรือผู้ให้คุณค่าอันนั้นด้วย ดังนั้นนี่จึงเป็นเรื่องปกติในสังคมสมัยใหม่ แล้วอย่าลืมว่าสิ่งเหล่านี้ก็กลายเป็น counterpart ของ modern value หรือ universal value ที่อยู่ในโลกของโมเดิร์น มันถูกใช้ แต่ในขณะที่มันถูกใช้มันก็สามารถ adjust ได้ ผมแนะนำหนังสือเล่มหนึ่งให้คุณคือ The Inventional of Tradition ของ Eric Hobsbawm เป็นบรรณาธิการ ไม่ใช่บทของ Hobsbawm แต่เป็นบทอื่น ๆ ที่เป็น case study ซึ่งน่าสนใจ สิ่งที่เป็น case study ทั้งหมด ชี้ให้เห็นว่า สถาบันทางประเพณีทั้งหมดมัน adjust ตัวมันเอง และภายใต้การ adjust ตัวมันเองเพื่อให้มันได้อยู่ ได้ survive ในโมเดิร์น [Q: คือมันถูก modernize ไปแล้ว?] ใช่ [Q: ถึงแม้ว่า essense ของมัน จิตวิญญาณของมันยังเป็น pre-modern อยู่?] ถูกต้อง

คือ lag ของโมเดิร์นที่ไม่เคลียร์ในเรื่องนี้ คือการตอบโจทย์ของ spirit กับ soul อันนี้ยังเป็น lag ที่ใหญ่ที่สุดของโมเดิร์น และ turn ที่ยังมีพลังอยู่คือการที่คุณผลักมันเข้าไปอยู่ในโลกของ mechanism [Q: มันไร้จิดใจ ถ้าใช้คำวิจารณ์แบบนี้?] ใช่เพราะ soul กับ spirit มันหายไป แต่ traditional value ทั้งหมดมันไปช่วยอุดตรงนี้ไง มันทำให้ fulfill balance ตรงนี้ สำหรับคนในโมเดิร์น ซึ่งด้านหนึ่งมันเหมือนกับทำให้คนในโลกนี้มัน lagged ตัวอย่างเช่น มีนักวิทยาศาสตร์อยู่คนหนึ่ง very scientific แต่สิ่งที่เขาชอบทำคือ การชอบซื้อ lotto [Q: เสี่ยงโชค?] ใช่ เสี่ยงโชคไม่ใช่บนพื้นฐานของ probability แต่เสี่ยงโชคบนพื้นฐานของ miracle นึกออกไหม คนที่มี scientific mind ขนาดนั้นกลับมาคิดเรื่อง miracle น่ะ [Q: เหมือนคานท์ที่มีวิธีคิดที่แห้งแล้งมาก เป็นตรรกะมาก?] ค้านท์ก็ไม่ได้แห้งแล้งขนาดนั้น แต่ค้านท์อยู่บนพื้นฐานของเหตุผล ยกตัวอย่างเวลาค้านท์พูดถึงเรื่อง ศรัทธา พูดถึง god พูดถึง faith ค้านท์อธิบายใน realm ของเหตุผล แต่ preserve ไว้บนพื้นฐานของศรัทธา ไม่ใช่บน rational account [Q: เหมือนสุดท้ายเขาต้องมา reconcile กับ God?] ใช่ ในความเป็นมนุษย์มันมี hope ซึ่งไม่ได้หมายความว่า hoping แต่ตอบโจทย์ในเรื่องศรัทธา [Q: คือถ้ามัน rational มาก ๆ จัด ๆ มันจะ pain มาก สุดท้ายจึงต้องไปโยงหา God?] ใช่ มันคือ modernity นั่นแหละ แต่ในแง่ของ social arrangement part ที่มัน lagged ทั้งหมดของ modernity ส่วนใหญ่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมหรือกำกับสังคมเอง อย่างในสังคมไทย ศาสนาพุทธ มันถูกใช้ควบคุมผ่านในแง่การสร้าง heirachy การตอบโจทย์ในเรื่องของบุญธรรมกรรมแต่ง ซึ่งมัน rational มาก คุณอยากได้อะไรในชาติหน้า คุณใส่บาตรชาตินี้ นึกออกไหม มัน เดบิต เครดิต มาก ๆ เลย มันถูกเอามาใช้โดยโมเดิร์น ด้วย pattern ของโมเดิร์น เช่นการทำบุญ ก็มองว่าทำมากได้มาก


ถาม: social order อยู่ด้วย modernity ล้วน ๆ ได้ไหม หรือว่าต้องใช้ faith ปิดจุดอ่อนตรงนี้ของมัน?

เกษม: ไม่ ไม่ คือในแง่ social order มันใช้ตัวนี้ในการ rearrange ของมัน เพื่อ serve การเป็นสภาวะของ second nature ที่กำกับและตอบโจทย์มนุษย์ แต่ใน mechanism ที่มันจัดการนั้น หลายครั้งมันใช้ traditional value ส่วนนี้มาเป็นองค์ประกอบในการทำให้ social arrangement อยู่ด้วยกันได้ การเกิดขึ้นมาของ Religion state (State religion?), Islamic state จนกระทั่ง Buddhist state มันคืออันเดียวกัน ในวิธีคิดแบบนี้ เพราะคุณกำลังใช้ traditional หรือ pre-modern value มาเป็นเครื่องมือในโมเดิร์น ถูกทำให้ modernize


ถาม: modernity หรือกระบวนที่เราแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ หรือการควบคุมธรรมชาติ ในด้านหนึ่งมันตอบโจทย์ด้าน physical แต่ไม่ตอบโจทย์ในแง่จิตใจ?

เกษม: มันตอบโจทย์ในแง่จิตใจคือการที่มี secure หรือมี comfort zone แต่ว่ามันไม่สามารถตอบโจทย์ในเรื่อง soul หรือ spirit ปัญหาที่ผม address อันนี้ก็คือ นี่คือ lagged ของโมเดิร์น และใน lagged ของโมเดิร์น มันเปิดช่องว่างอันใหญ่ที่ทำให้ pre-modern value หรือ pre-modern อะไรก็ตาม ของมันมีที่ยืน แต่ที่ยืนของมันถูก modify ด้านหนึ่ง modification ของมัน serve ตัวโมเดิร์นเอง อย่างเช่น Islamic state นี่ชัดเจน ศาสนามา serve องค์กรทางการเมือง โดย serve ในแง่ของ political arrangement ในแบบโมเดิร์น [Q: ศาสนาเป็นโมเดิร์น?] โดยวิธี social arrangement เป็นสมัยใหม่ แต่โดยรากฐานของจุดกำเนิด ศรัทธา หรือความเชื่อ spirit อยู่กับความเป็น pre-modern


ถาม: ถ้ามองว่า ระบอบ fascist, marxist หรือ liberal democrat ต่างก็เป็นผลผลิตของโมเดิร์น แล้วมันไม่ไปย่อยสลาย state แบบที่เป็นความเชื่อแบบเก่า?

เกษม: ผมว่าที่ชัดเจนคือสิ่งที่นาซีทำ มันโคตร ratioanal เลย คือการคัดเลือกสายพันธุ์อะไรพวกเนี้ย แต่สุดท้ายแล้วมันไปทำลายตัว core value ของตัวมันเอง ก็คือตัวมนุษย์ [Q: เพราะการเกิดขึ้นมาของโมเดิร์น มันเปลี่ยนองค์ประธานมาที่มนุษย์?] ใช่ [Q: แต่การไป purge กลับเป็นการ devalue คุณค่าอันนี้?] ใช่ ปรากฎการณ์นาซีจึงเป็นสิ่งที่ unacceptable เพราะสุดท้ายมนุษย์ต้องกลับมา preserve คุณค่าของการเป็นมนุษย์เองอีกครั้งหนึ่ง [Q: ทั้งที่ไอเดียของนาซีคือเพื่อทำให้ strenghten สิ่งที่เป็นจุดแข็งที่สุดของโมเดิร์น -- aka การคัดเลือกสายพันธุ์?] ใช่ mechanism ของนาซีมัน strengthen modern paradigm แต่เมื่อมันเคลื่อนไป มันชี้ให้เห็นว่ามันคือด้านลบ และทำลายตัวมันเอง หรือ self destruction ไง ดังนั้น frankfurt school จึงเรียกว่าเป็นด้านมืดของ enlightenment ไง ที่ชี้ให้เห็นด้านมืด ว่าสุดท้ายมนุษย์นั้น barbaric (ป่าเถื่อน) ในขณะที่คุณพยายามจะ rational มันเต็ม ๆ แต่สิ่งสุดท้ายที่ได้คือ barbaric



สิ่งที่นาซีทำ คือทำให้เห็นด้านมืด สิ่งที่มันไม่ได้ aware คือมันไม่ได้ aware lagged ของมันเอง สิ่งที่มันทำคือ rapture รอยปริแยกของทุกสิ่งทุกอย่างที่มันโผล่ออกมาหมดไง รอยปริแยกตรงนี้จึงทำให้คุณค่าของโมเดิร์น หรือ modernity ปริด้วย ไอเดียเรื่องมนุษยชาติปริด้วยไง ดังนั้นผมจึงบอกว่าหลังจากนาซี มันกลับมาคิดเรื่องความเป็นมนุษยชาติ [Q: modernity เลยถูก ciriticize จากกระแส postmodern?] ใช่ เพราะสุดท้ายแล้วคุณทำให้ด้านมืดมากัดกินตัวคุณเอง [Q: มันเลยถูกตั้งคำถามเรื่อง grand narrative?] ใช่ เพราะคุณถูก governed ด้วย grand narrative ที่ force ให้คุณเป็น และ grand narrative หรือ metanarrative ที่ใหญ่ที่สุดคือ self มันบ่มเพาะความเป็นตัวตนของคุณ หรือ self โดยที่คุณแยกไม่ออก แล้วมันไปผูกกับคุณค่าอื่น ๆ เอาง่าย ๆ ว่าคุณกำลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียน แต่คุณยังมองพม่าเป็นศัตรู เพราะ narrative หรือ metanarrative ของการที่คุณมองพม่าเป็นข้าศึก เอาบอลนัดชิงซีเกมส์ของไทยกับพม่า ว่าเราจะบุกหงสา อย่างเนี้ย มันคือ metanarrative ที่มันทำงานอยู่บน bodiliyself ของความเป็นไทย โดยที่คุณไม่รู้ว่านี่คือเพื่อนบ้าน นี่คนบ้านเดียวกันที่คุณจะนับเป็นประชาคมอาเซียน คุณไม่ได้คิดเรื่องพวกนี้เลย แต่มันทำงานไง แล้ว function อยู่ใน unconscious (จิตใต้สำนึก)

colonial - post colonial มันคือ subset ของโมเดิร์น


ถาม: ทำไมจีนถึงไม่เกิด enlightenment เหมือนอย่างในยุโรป ฟูกูยาม่าก็พูดถึงว่า ทั้งที่ระบบหลายอย่างของจีนก็ก้าวหน้ามาก่อนยุโรป เช่นระบบราชการของจีน มันทิ้งการคัดเลือกโดยการผูกพันทางเครือญาติ มาเป็นการสอบคัดเลือกแทนซึ่งมันก้าวหน้ามาก (การสอบจอหงวน?) ใช่ การสอบจอหงวน ซึ่งกว่าตะวันตกมันจะคิดเรื่องพวกนี้ได้มันก็ใช้เวลาพอสมควร

58:47

เกษม: ประเด็นคือ มันมีดีเบตที่ว่า การที่คุณจะเป็นโมเดิร์นได้ คือคุณจะต้องผ่านประวัติศาสตร์แบบตะวันตกหรือไม่ หรือต้องมีชุดประวัติศาสตร์เดียวแบบตะวันตก [Q: ซึ่งตะวันตกเองก็มีห้องทดลองทางสังคมหลายแบบ?] ใช่ ทีนี้ที่จะสรุปคือ ในท้ายที่สุดแล้วคุณไม่จำเป็นต้องมีประวัติศาสตร์ชุดเดียวกัน แต่สิ่งที่สำคัญคือคุณสามารถที่จะ rearrange ใน universal value หรือ core value ที่ต่างฝ่ายต่างยอมรับกันได้ด้วยความเป็นโมเดิร์น

กลับมาในประเด็นของฟูกูยาม่าที่พูดถึง ในเคสแบบนี้ ที่จีน หรือที่ต่าง ๆ ในโลก ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมี Subsystem แบบนั้น คุณอาจจะมีระบบ bureaucratic ก่อนที่ Max Weber จะคิด Bureaucracy คุณอาจจะมีอะไรบางอย่างที่มาก่อน คือใน Subsystem นั่น yes แต่ในแง่ whole system ในแง่การ rearrangement มันไม่มีไง [Q: กลับมาเรื่องเดิมที่ว่าเรื่องพวกนี้ เราค้นพบภายใต้สปิริตที่พระเจ้าเป็นผู้ประทานมาให้ ไม่ใช่เราเป็นผู้ค้นพบเอง? หรือเราเข้าใจศักยภาพของตัวเราเอง?] ใช่ ก็เหมือนกับการวิจัย ที่พระก็มี แต่เป็น Subsystem เป็นเรื่องของพระสงฆ์มันไม่ใช่วัฒนธรรมหรือ value ใหญ่ของสังคมนั้น ๆ แต่วัฒนธรรมการวิจารณ์ถูกผลักให้เป็น core value หรือ social value หรือ universal value ของสังคมนั้น ๆ ในระดับ social arrangement มันจึงไม่แปลกที่จะเห็นอะไรที่มีมาก่อน The West หรือในสังคมต่าง ๆ เพราะในแต่ละสังคมก็มีองค์ประกอบและ development ของแต่ละสังคมที่ไม่เหมือนกันอยู่แล้ว แต่การที่ไม่เหมือนนั้นไม่ได้หมายความว่า คือมันเป็นแค่ Subsystem ของมัน แต่คุณไม่สามารถผลักมันให้เป็น whole social arrangement ได้


ถาม: เพราะแบบนี้ ฟูกูยาม่าจึงบอกว่า เพราะ character แบบนี้จึงทำให้จีนมีลักษณะเป็น strong state แต่ไม่สามารถสร้าง checks and balances

เกษม: ใช่ เพราะคุณไม่ได้ทำในภาพรวม และถ้าคุณไม่ได้ทำในภาพรวมสิ่งที่ได้ก็คือ totalianism แบบหนึ่ง และความสำเร็จของระบอบคอมมิวนิสต์ของจีน ด้านหนึ่งก็คือการ reappropriate กับเรื่องพวกนี้ด้วย [Q: หรือแม้แต่โซเวียตก็ใช่?] ใช่ (โซเวียตก็ถือว่าเป็นตะวันออกในยุโรป) ใช่ เว้นแต่อีลีต มีความเป็นวัฒนธรรมฝรั่งเศสมากกว่า พวกชนชั้น noble society คุณรู้ไหมว่า คุณอยากจะเรียนภาษาฝรั่งเศส ตำราไวยากรณ์ที่ดีที่สุดไม่ได้อยู่ในฝรั่งเศส ตำราที่ดีที่สุดอยู่ในรัสเซีย ถ้าคุณจะเรียนภาษาฝรั่งเศสคุณต้องใช้ตำรารัสเซีย แต่เขียนเป็นฝรั่งเศส คือก่อนคอมมิวนิสต์ ราชสำนักของรัสเซียพูดภาษาฝรั่งเศส ไม่ได้พูดภาษารัสเซีย


ถาม: ทำไม The West ถึงดูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมากกว่า?

เกษม: The West ก็มีปัญหา มันไม่ลงรอยกัน อย่างรูปแบบการปกครอง อังกฤษ ฝรั่งเศสก็ไม่เหมือนกัน แต่ arrangement ใหญ่มัน settle การเกิดขึ้นมาของ modern state มันเป็นข้อสรุปอย่างชัดเจน


ถาม: อย่างที่ฟูกูยาม่าสรุปว่า การเกิดขึ้นของ nation-state ซึ่งมี standard อยู่ 3 ข้อใหญ่ (สมดุลระหว่าง strong state, rule of law และ responsive governance) ก็ถือเป็นข้อสรุปว่า History นั้นสิ้นสุดลงแล้ว

เกษม: ผมไม่แปลกใจที่ฟูกูยาม่าจะมีข้อสรุปแบบนั้น ถ้าคุณพูดถึง objective spirit แบบ Hegelian : YES, แต่ถ้าคุณคิดในภาพใหญ่ของ modernity ไม่มีทาง

เพราะว่าในโลกทัศน์ของเฮเกล, universal history ที่เป็น objective spirit ของ state และ world history คือ world history ของ state ไม่ใช่ world history ของ the globe แต่สิ่งที่ modernity คิดและพยายามจะทำคือ the globe ในที่สุดแล้วมันโยงมาที่ the globe ด้านหนึ่งคนจึงพยายามจะโยง globalization กับ post-colonialism การที่คุณเป็น citizen ของ the world [Q: คือหมายถึงบรรลุ end of history เฉพาะใน system ย่อย แต่ไม่ใช่ทั้งโลก?] ไม่ใช่ทั้งโลก [Q: ดังนั้นจึงเจอ clash ของแต่ละ civilization ดังที่ฮันติงตันเสนอมา?] ใช่ แล้วสิ่งที่ซ่อนอยู่ในงานของเฮเกลเองก็คือว่า คุณไม่สามารถ determine system ใหญ่ได้ และ once ที่คุณ determine system ใหญ่ได้ คุณพังทั้งระบบ

mechanism ของเฮเกล อยู่ตรงนี้ ใน Subsystem ทั้งหมด ซึ่งตรงนี้ Habermas take มาเต็ม ๆ ในเรื่อง life of subsystem (unaudible 1:06:55) ใน Subsystem จะต้อง determine เพื่อให้ mechanism ของ system ใหญ่ ทำงาน

เอาง่าย ๆ ยกตัวอย่าง คุณจะได้ยิ่งลักษณ์ หรือใครมา ระบบราชการไทยจะเปลี่ยนหรือเปล่า? เพราะสายบังคับบัญชามันกำกับกันอยู่ นั่นหมายความว่า Subsystem มัน determine ตัวมันเองไง หรือคณะผมหรือต่างคณะจะเปลี่ยนคณบดีเนี่ย อาจารย์ก็ยังทำงานเหมือนเดิม ผมก็ต้องสอนหนังสือแบบเดิม สิ่งที่ determine สำหรับผม คือคุณต้องสอนอย่างน้อย 4 course ต่อ 1 ปี นึกออกไหม อันนี้ Subsystem มัน determine ไง

ทีนี้ หัวนี่ มัน determine ไม่ได้ ที่หัวมัน determine ไม่ได้ก็เพราะว่าหัวเนี่ย มันไม่สามารถมา interrupt ทุกอย่างได้ คือทุกอย่างต้อง follow ห้วไม่ได้


ถาม: ฟังแล้วนึกถึงระบบทุนนิยมที่มันกำหนดตัวมันเอง เทียบกับระบบอย่างของโซเวียตที่ collapse ลง

เกษม: ใช่ ที่มัน collapse ก็เพราะว่า ระบบใหญ่ถูก determine โดยตัวมันเอง ให้ไปในทิศทางนั้นทิศทางเดียว โดยที่มันไปขัดกับข้างล่างไง [Q: เพราะข้างล่างเขาอาจไม่ได้คิดแบบเดียวกับข้างบน ซึ่งมันไปขึ้นกับการรวมศูนย์สูง?] ถูกต้อง [Q: ก็เหมือนกับระบบโลก ที่ในที่สุดก็ต้องต่างกัน เพราะถ้ามันไม่ต่างมันก็อาจจะล่มเหมือนกับระบบของโซเวียต?] ใช่ ซึ่งตรงนี้เฮเกลถูกไง ในสิ่งที่ hint อยู่ในตอนท้าย [Q: การที่ culture แต่ละ culture ทำให้ลักษณะแต่ละรัฐต่างกัน กลับทำให้ระบบทั้งระบบอยู่ได้?] อยู่ได้ และหัวมันก็ไม่สามารถคุมได้ทั้งหมด และหัวมันไม่ต้องคุมทั้งหมดด้วย [Q: คือถ้าคุมก็พัง?] ใช่ แล้วนี่คือเสน่ห์ของ modernity ไง ที่ mechanism แต่ละส่วนมันทำงานของมันเอง เช่นเดียวกับกลไกของทุนนิยม ที่กลไกย่อยของทุนนิยมทำงาน แต่ once ที่คุณบอกว่าจะต้องดำเนินไปอย่างนี้เท่านั้น Subsystem มันมีสิทธิ clash กันข้างในแต่มันไม่ทำให้ระบบใหญ่มันพัง [Q: ถ้าระบบที่ weak ทำให้มันไม่มีความหลากหลาย มันก็อาจจะทำให้ระบบพังลงได้?] ใช่ [Q: แสดงว่าปัญหาอาจจะไม่ใช่อยู่ที่ modernity กับ premodernity แต่อยู่ที่ว่าเราจะ rearrange ความสัมพันธ์ใน modernity อย่างไร?] ใช่ ที่สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่หลากหลาย เพราะด้านหนึ่งมันคือธรรมชาติของสังคมการเมือง มันคือธรรมชาติของ modernity ซึ่งมัน ไม่ได้มองสิ่งที่ว่าเป็น tension สิ่งที่เป็น paradox หรือปัญหา แต่มันเป็น phenomenon ภายในตัว modernity เอง

ผมคิดว่าความพยายามที่จะให้มีการ determine สิ่งต่าง ๆ ให้เป็นไปตามเป้าประสงค์ใหญ่เนี่ย นั่นแหละคือสิ่งที่ทำให้ระบบสังคมพัง เพราะในสังคมทหารเนี่ยคุณทำได้ คุณทำได้เพราะคุณเล็ก มันเป็น Subsystem น่ะ คือทหารพยายามจะคิดว่า ใน mechanism แบบทหาร กับประเทศมันจะมีส่วนในชุดเดียวกัน ทำไมคุณสั่งคนซ้ายหันขวาหันคนในกองทัพได้ แต่คุณสั่งซ้ายหันขวาหันคนในกองทัพไม่ได้ คุณสั่งคนซ้ายหันขวาหันได้ เพราะคุณ train คนเหล่านี้ให้อยู่ในวินัยชุดเดียวกัน แต่ในสังคมการเมืองจริง ในประเทศหนึ่งประเทศ คนไม่ได้อยู่ในวินัยอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่สิ่งที่มันพยายามจะ determine จากหัวลงมามันเลยพังไง

เมื่อทหารขึ้นไปอยู่บน top ของ system แล้วมันใช้วิธีคิดของตัวมันเองใน Subsystem มา จาก part มาสู่ whole มันจะพังไง expectation ของคนชั้นกลางอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องชั่วคราว แต่ทหารมันคิดว่ามันจะอยู่ตลอดไปไง มันก็กลับมาความผิดพลาดของเยอรมัน ที่ให้ฮิตเลอร์มาเป็นนายกรัฐมนตรี

ทีนี้ปัญหาคือ autonomy มันอยู่กับ authority ของตำแหน่ง แต่ rational หรือวิธีคิด เมื่อข้างมากมีปัญหา ก็เอาข้างน้อยมาเป็นสิ คุณสลับข้างน่ะ คือสลับขั้วสมการน่ะ แต่ปัญหาที่คุณไม่เห็นคือ authority ของตำแหน่งที่เมื่อคุณมี autonomy ที่จะ exercise authorithy อันนั้นไง ดังนั้นสิ่งที่ฮิตเลอร์ทำคือการเข้ามาจัดการกับฝ่ายตรงข้าม ฮิตเลอร์ต้องเอาอีกข้างมาเป็นรัฐบาลผสม (คือฮิตเลอร์เป็นเสียงข้างน้อย) เพื่อแก้ปัญหาตรงนี้

ตัว ritualized ทำให้อำนาจมันชัดขึ้น

ความขัดแย้งกระจายตัวจากคนชั้นสูงมาเป็นความขัดแย้งระดับล่าง?

คือถ้ามองความขัดแย้งในแง่เศรษฐกิจ มันชัดเจน เศรษฐกิจต้องขยายตัว ไม่ต่างอะไรกับโซเวียต ก็กลับมาที่ bretton wood คุณไม่สามารถมีสองขั้วที่ confront กัน การ empower ให้มา confront กัน ทำให้มันเสียหายหนักกว่า clash กันจริง แต่ของจริงไม่มีทาง ลด tension เพื่อไม่ให้พังทั้งคู่ bretton wood เป็นตัวกำหนดทำให้ไม่เกิดสภาวะพวกนี้ โซเวียตอยู่ไม่ได้เมื่อ free market เข้ามา ตัวศูนย์กลางไม่สามารถ totally determine ทุกอย่างได้

เช่นเดียวกับสังคมไทย ไม่สามารถมีความเหลื่อมล้ำระหว่างชนบทกับเมืองได้ มันถูก challenge มาจนกระทั่งอยู่ไม่ได้

ปัญหาของทุนนิยมคือเมื่อคุณไม่สามารถขยายตัวหรือ progress มันคือ self destruction ถ้าคุณเป็นบริษัทคุณต้องขยายตัว เพราะค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทุกวัน เงินเดือน ต้นทุน เพิ่ม

ทุนส่วนกลางไม่สามารถกระจุกตัวในกรุงเทพได้ สุดท้ายคุณขยายตัวมากกว่านี้ไม่ได้ ที่รากหญ้ามันโต decisive turn มีสองเรื่องคือ การปกครองส่วนท้องถิ่น อบต อบจ เป็น politico-socio dimension แต่ในด้านเศรษฐกิจ decisive คือ microfinance เป็นข้อต่อทางเศรษฐกิจ การมาของกองทุนหมู่บ้านในรัฐบาลทักษิณ มันลด clash จำนวนหนึ่ง ในระยะยาวได้ ด้วยนโยบายนี้ คือคุณต้องมองกองทุนหมู่บ้านว่าเป็น microfinance อย่ามองว่าเป็นนโยบายประชานิยม มันคือ microfinance ที่ประสบผลที่สุดโปรเจ็กต์หนึ่ง ซึ่งพอเป็นยิ่งลักษณ์ถึงเป็นกองทุนสตรีไง เพราะผู้หญิงคือ คนที่ถูก left out จากระบบเศรษฐกิจ

ต่อให้คุณ set strong state ได้คุณจะพังอยู่ดี เหมือนพม่า เพราะคุณไม่สามารถ hold ปัญหาของการปะทะของชนกลุ่มน้อยได้ [Q: การคลี่ของมันตอนนี้คือการ adjust ของระบบ?] ใช่

คุณไม่สามารถเอา mechanism หรือ formula ในอดีตมาครอบในปัจจุบัน แล้วคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันไม่ต่างอะไรไปจากอดีต ปัญหาของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ก็คือว่าคุณคิดว่าจะกลับไปเป็นแบบเดิมด้วยการที่ install ค่านิยมเดิม ๆ ในสังคมที่มันเปลี่ยนไปแล้ว แต่ธรรมชาติของสังคม คุณค่าของการเปิดรับโลกทัศน์ใหม่ ๆ มันเปลี่ยนไปแล้ว ตัวอย่างดีเบต (บังเอิญสังคมไทยไม่มี tension มากขนาดนั้น) ประเด็นเรื่อง transgender เวลาคุณแปลงเพศไปแล้ว แต่คำนำหน้ายังใช้นาย หรือนางสาว ในแง่กฎหมายไม่เท่าไหร่ แต่อย่างการเข้าห้องน้ำคุณจะปฏิบัติอย่างไร พังเลยนะ อย่างกรณีของนิชชาตกลงเขาจะคุมขังที่ไหน ที่ทัณฑสถานหญิง หรือเรือนจำกลาง? คือในทางกฎหมายยังเป็นนายอยู่ แต่ในทาง body มันไม่ใช่

ในเคสของเกาหลีเหนือที่ freeze ระบบได้ เพราะ Subsystem ยังรองรับได้อยู่ เช่นพม่ายังมี natural resource ที่ยังสนับสนุนได้อยู่ ในไทยไม่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์อย่างเกาหลีเหนือ หรือพม่า และในทางกลับกัน geopolitics คุณไม่ได้อยู่ในจุดอับหรือรอยต่อ เหมือนเกาหลีเหนือหรือพม่า เอาง่าย ๆ เวียดนามพยายามจะเป็น center point ในภูมิภาคแต่เป็นไปไม่ได้

สุดท้ายก็อยู่ที่ resource กับ geopolitics ปัญหาเรื่องน้ำมันสะท้อนที่ขาดทรัพยากรที่สมบูรณ์ โยงกับเรื่องน้ำเรื่องป่า ถ้าคุณมีทรัพยากรสมบูรณ์คุณก็ freeze ตัวเองได้

เหมือน modernity พยายามจะควบคุมสภาพแวดล้อมแต่ถึงที่สุดก็ควบคุมไม่ได้อยู่ดี มันเป็น chance ที่อาจมีโอกาสเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ นี่คือสิ่งที่เฮเกลพยายามจะพูด คือในตัวใหญ่ System มัน indeterminable

ต้องมาดูว่าในทุกที่มันจะ absorb ตัวเองเข้าสู่ modernity อย่างไร เพื่อที่จะมีที่ยืนใน modernity เช่นการจดทะเบียนมรดกโลก

ที่ปัญหามันต้องมาคลี่คลายช่วงนี้เพราะปัญหาดุลยภาพพลังสิ่งต่าง ๆ มันเริ่มไม่ได้ดุลย์ คือ political order ซึ่งมันมาจากข้างใน ซึ่งมันกระทบองค์รวม อย่างปัญหาของการเมืองไทยอยู่ที่ปัญหาการเปลี่ยนผ่าน ถามว่านี่คือปัญหาภายในหรือปัญหาระดับ global มันคือปัญหาภายใน แต่เป็นปัญหาภายในล้วน ๆ ไหม ไม่เลย เพราะมันไป disturb กับ global order ที่มันไป disturb กับ global order เพราะว่ามี standard ของมันอยู่ มันมีผลต่อ global order ผลของมันทำให้ดุลยภาพ ในภาพใหญ่รวน มันไม่ใช่เฉพาะเรื่องเศรษฐกิจที่มหาอำนาจได้ แต่มีผลต่อการจัดความสัมพันธ์ในทุกด้าน ผลประโยชน์ก็เรื่องหนึ่ง

เช่นเดียวกับอาหรับสปริง นักวิชาการไทยจะมองอยู่เฉพาะผลประโยชน์ แต่มัน beyond ผลประโยชน์ อียิปต์ tension อยู่ที่ท่าทีที่สนับสนุนคุณ

เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับเรื่ององค์กรลับอย่าง illuminati เพราะในที่สุดก็ไม่มีใครมาจัดระเบียบได้ทั้งหมด หรือเข้ามายุ่งเกี่ยวกับ Subsystem ทั้งหมด

ผมคิดว่า smooth ที่สุดคือสิงคโปร์ ในขณะที่ทุกอย่างมันเคลื่อน rerrange มิติอื่น ผ่าน legal practice , political & economic arrangement ไม่ได้แยกขาดจากการ สิ่งที่ทำให้สมบูรณ์ขึ้นคือการทำผ่าน legal practice

ตอนนี้สังคมไทยกำลัง sacrifice social arrangement ตัวใหญ่ เพื่อตอบโจทย์ political order ที่สิงคโปร์ทำได้ง่ายกว่าเพราะ indentity ไม่ strong เท่าเมืองไทย ในขณะที่มาเลเซียอยู่ตรงกลาง ที่ทำเช่นนี้ได้เพราะมันเคลื่อนเข้าสู่ cosmopolitan และการสร้าง citizen

ที่ญี่ปุ่นมี strong identity แต่ adjust ตัวเองได้ เพราะมีลักษณะของ secular state อยู่

รัฐไทยประสบความสำเร็จ กับ raison d'être [-- ภาษาฝรั่งเศสแปลว่า เหตุผลแห่งรัฐ อาจารย์เกษมออกเสียงเป็น เรซองต๊าส; ฟังเทียบกับ การออกเสียงจากพจนานุกรม] แต่ล้มเหลวในการ connect กับ modernity


(จบ)



เทปบรรยายเรื่องปรัชญา ค้านท์, เฮเกล และ ไฮเด็กเกอร์ ของ เกษม เพ็ญพินันท์


การบรรยายของอ.เกษมจัดโดยห้องสมุดวิลเลียม วอร์เรน ที่หอศิลป์จิม ทอมป์สัน ในโครงการบรรยายความรู้ชุดประวัติศาสตร์ความคิด


(I) เทปบรรยายเรื่อง "Being and Time" ของ Martin Heidegger










(II) เทปการบรรยายเรื่องสุนทรียศาสตร์ของค้านท์และเฮเกล

คำสำคัญ (Tags): #modernity
หมายเลขบันทึก: 592980เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2015 16:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กันยายน 2015 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณครับ จะแจ้งอาจารย์ให้ทราบนะครับ

กำลังสนใจเรื่องนี้อยู้พอดีครับ บทสัมภาษณ์นี้ให้ประโยชน์มากๆ ขอบคุณที่นำมาลงครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท