การทำนายอนาคต ในหลายรูปแบบ


การทำนายอนาคต

สมัยโบราณ เด็กเกาหลีจะได้เข้าพิธีเสี่ยงทาย โดยให้เด็กจับสิ่งของต่างๆ เช่นถ้าหยิบด้าย ก็หมายถึงเด็กคนนี้จะโตมาเป็นช่างเย็บผ้าตัดผ้าที่ดี ถ้าหยิบจานก็หมายถึงจะเป็นพ่อครัวแม่ครัว เพื่อที่พ่อแม่จะได้พัฒนาเด็กไปทางที่ฟ้าลิขิต ซึ่งน่าจะดีกว่า ไม่รู้อะไรเลย แล้วก็พัฒนากันไปแบบเหมาโหล ซึ่งเป็นเรื่องเสียเวลาอนาคต เป็นเรื่องที่ท้าทายมนุษย์ จึงใช้ความพยายามในการทำนายอนาคต มาตั้งแต่โบราณเช่นการให้ พระโค ทำนายดินฟ้าอากาศในพิธีแรกนาขวัญการดูลายมือ ดูลายเท้า การดูดวงชะตาแบบโหราศาสตร์การดูคุณลักษณะแบบจีน ที่เรียกว่า โหงวเฮ๊ง ดูไฝ ดูคิ้ว และดูอะไรก็ได้ ที่เชื่อว่าจะทำนายอนาคตได้แม่นยำศาสตร์ในเรื่องการทำนายต่างๆ มีการใช้ และพัฒนา มาจนทุกวันนี้

ที่ไต้หวัน ได้มีการวิเคราะห์ลายเส้นนิ้วมือ (DermatoglyphicsAnalysis) คือ การศึกษาลายนิ้วมือ ลายฝ่ามือ และลายฝ่าเท้าลายเส้นนิ้วมือ เริ่มปรากฏตั้งแต่อายุ 13 สัปดาห์ในครรภ์ และจะสมบูรณ์ประมาณสัปดาห์ที่ 21 จากนั้นจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกเลยเส้นลายนิ้วมือของแต่ละบุคคล จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
จึงมีคนไต้หวัน ทำการศึกษาเรื่องนี้โดยการใช้คอมพิวเตอร์ และการวิเคราะห์ทางสถิติ เพื่อทำนายอนาคต ซึ่งตอนนี้ก็มีการนำมาเผยแพร่ในบ้านเราแล้วการทำนาย จะมีความแม่นยำเพียงใดนั้น ขึ้นกับแนวคิด ทฤษฎีทางวิชาการที่นำมาใช้ และสถิติความแม่นยำของผลการทำนายที่ผ่านมา
การทำนายอนาคต
ศาตราจารย์ ด้านจิตวิทยา ทางฝั่งยุโรป และอเมริกา หลายท่านได้ทำการศึกษาวิจัย และพัฒนาเป็นทฤษฎีต่างๆหลายทฤษฎี เพื่อช่วยให้ เด็กรู้จักตนเอง และวางเป้าหมาย อนาคต ซึ่งก็น่าจะดีกว่าวิธีการทำนายอนาคตแบบต่างๆที่ผ่านมาแต่ละทฤษฎีทางจิตวิทยาก็มีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับวิธีการนำไปใช้เช่น ทฤษฎีบุคคลิกภาพ 6ด้าน ของ จอห์น ฮอลแลนด์ (John L.Holland) และ ดัชนีวัดบุคลิกภาพ ตามทฤษฎี ของนักจิตเเพทย์ Carl GustavJung MBTI (Myers-Briggs Type Indicator) ทั้งสองทฤษฎี เป็นการค้นหาตนเองที่ได้รับการยอมรับสูง ในวงการการศึกษาทั่วโลก มีการนำไปใช้เพื่อค้นหาตัวตนของเด็กและนำผลที่ได้ไปวางแผนอนาคตให้เด็กแต่ละคน เพราะถ้าเด็กเรียนต่อหรือทำงานในลักษณะที่ตรงกับบุคคลิกภาพของตนเอง ก็จะประสบ ความสำเร็จได้ง่าย ไม่ต้องไปเสียเวลาในการเรียนแบบเหมาโหล และจะได้ใช้เวลาอย่างมีค่าเพื่อเรียนรู้และฝึกฝนเรื่องที่เป็นอนาคตของตนเอง
การค้นหาตนเองของเด็กด้วยทฤษฎีทั้งสองแบบนี้ ทั่วโลกต่างนำไปใช้ รวมทั้งในงานแนะแนวของบ้านเราแต่ในเรื่องของความแม่นยำในการค้นหาบุคคลิกภาพนั้น ขึ้นอยู่กับคุณภาพของการวิจัยต่อยอดเพื่อนำไปใช้ ซึ่งต้องต้องมีการปรับใช้ในแต่ละประเทศที่มีบริบทแตกต่างกันหรือจะพูดง่ายๆก็คือ ไปเอาของเขามาใช้บ้านเราไม่ได้ผลเพราะความแตกต่างเยอะมาก ถ้าจะให้ได้ผลนั้นเราต้องมาทำวิจัยเอง และพัฒนามาเป็น รูปแบบ และเครื่องมือ วัดของเราเอง
การมีทฤษฎีที่มีความแม่นยำในการค้นหาบุคลิกภาพในประเทศนั้นเป็นเรื่องที่ดี ที่จะทำให้การวางแผนการเรียนต่อหรือการใช้ชีวิตเป็นไปอย่างมีเป้าหมายค่ะ



ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก PocketBook เส้นทางสู่อนาคต โดยอาจารย์วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ และคุณปรัชญาพร วรนันท์


หมายเลขบันทึก: 592978เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2015 15:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กรกฎาคม 2015 15:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท