แนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เพื่อต้อนรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) มหาวิทยาลัยศรีปทุม


สวัสดี ลูกศิษย์และชาวblog ทุกท่าน

วันนี้ผมได้รับเกียรติจาก ดร.รัชนีพร พุคยาภรณ์ พุกกะมาน อธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีปทุม มาบรรยายพิเศษหัวข้อ แนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์

เพื่อต้อนรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในการประชุมสัมมนาวิชาการ รุก - รับ นับถอยหลัง 6 เดือน สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ให้นักศึกษ ปริญญาตรี ปริญญาโท และ ปริญญาเอก กว่า 100 คน

ผมขอใช้ Blog นี้ ในการแลกแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ


หมายเลขบันทึก: 592749เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2015 10:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กรกฎาคม 2015 10:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เพื่อต้อนรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

1) การปรับตัวทางทรัพยากรมนุษย์ของไทยเพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียนต้องทำอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่แค่รองรับ 2015 เพราะเป็นเรื่องระยะยาว

-สร้างคนให้มีคุณธรรม

- เป็นคนที่ปรับมาตรฐาน เชี่ยวชาญในสายงานนั้น หาความรู้เพิ่มเติม หาความรู้ทุกๆวัน

- เก่งในอาเซียนไม่พอ ต้องเก่งในโลกด้วย

(2) ในมุมหนึ่งก็เพื่อสร้างศักยภาพทางการแข่งขัน อีกมุมหนึ่งก็เพื่อสร้างความร่วมมือกันและอำนาจต่อรองของอาเซียน และความร่วมมือกับ ASEAN+3 และ +6

- ทำอย่างต่อเนื่อง และต้องมีศักยภาพในการแข่งขัน

(3) โดยภาพทั่ว ๆ ไปมักจะมีคนมองว่า “คุณภาพของคนในประเทศไทย” มีปัญหาอยู่มาก โดยเฉพาะเรื่องการศึกษาซึ่งคุณภาพต่ำ แต่จำเป็นต้องเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ปัญหานี้จะเลวร้ายกว่าเดิมหรือไม่?

-

(4) ในความเห็นของผมอาจจะมองได้ 2 แนว

แนวที่หนึ่ง คือทำให้เกิดการกระตุ้นพลังภายในให้หลุดจาก Comfort Zone คล้าย ๆ ช่วงที่เราถูกกดดันจากฝรั่งเศสและอังกฤษ ทำให้ประเทศไทยต้องค้นหาตัวเองว่าจะต้องปรับตัวในเรื่องคนอย่างไร

แนวที่สอง..ในขณะเดียวกันเราก็จะได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วม ASEAN โดยเฉพาะเรื่องที่ประเทศไทยกำลังขาดแคลนแรงงาน ซึ่งประเทศในอาเซียนหลายประเทศยังมีโครงสร้างประชากรแตกต่างกับไทย เช่น อินโดนีเซีย เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา

การแลกเปลี่ยนทรัพยากรมนุษย์อาจจะช่วยทำให้ความสมดุลทางด้านแรงงานของไทยมีมากขึ้น

- ต้องมีความใฝ่รู้ ทำให้เราค้นหาตัวเอง เราต้องหลุดจาก comfort zone จะได้เกิดพลังขึ้นมา

- ต้องมีความภาคภูมิใจในสิ่งที่เป็นคนไทย

- การมีโครงสร้างที่มีผู้สูงอายุเยอะ เราขาดแรงงาน อดีตเราลดประชากรดีเกินไป ทำให้เราขาดแคลนแรงงาน

(5) ยุทธศาสตร์การปรับตัวเพื่อร่วมมือกับ ASEAN ในเรื่องทรัพยากรมนุษย์จึงเป็นเรื่องสำคัญซึ่งอาจจะยกตัวอย่างเป็นกรณีศึกษาที่ผมทำมาเพื่อพัฒนา

- ยุทธศาสตร์ในการปรับตัว กับอาเซียน เป็นหัวใจของ ม.ศรีปทุม ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

-

(6) ตัวอย่างประเทศเมียนมาร์ น่าจะมีการร่วมมือกันกับเราในเรื่องการช่วยเหลือด้านทรัพยากรมนุษย์ในภาคการท่องเที่ยวซึ่งประเทศไทยมีหลายหลักสูตรระดับปริญญาโทในหลาย ๆ มหาวิทยาลัย เช่น มหิดล ธรรมศาสตร์ ศิลปากร หรือแม้แต่ศรีปทุม ผมได้ต้อนรับคณะผู้เชี่ยวชาญจากเมียนมาร์มาดูงานที่ประเทศไทย โดยทางเมียนมาร์ได้ขอร้องให้ไทยสนับสนุนเรื่องทุนการศึกษาระดับปริญญาโททางด้านการท่องเที่ยว

-ผมเข้าไปที่พม่าตั้งแต่ 25 ปีที่แล้ว เค้าปิดประเทศมานาน ไม่มีการพัฒนาด้านการศึกษา ทำให้ขาดแคลนแรงงาน เค้าอยากส่งอาจารย์มาเรียนปริญญาโทกับไทย รู้เรื่องประวัติศาสตร์ นี่คือตัวอย่างหนึ่งที่เราต้องร่วมมือกัน เขาอยากจะได้โอกาสที่ทำร่วมกับไทย เรื่องการสร้างทรัพยากรมนุษย์

7)ในการช่วยเหลือประเทศเมียนมาร์ในเรื่องดังกล่าว เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศ ทำให้ทรัพยากรมนุษย์ระหว่างไทย – เมียนมาร์มีศักยภาพสูงขึ้น

- ได้ทั้งการทูต การร่วมมือกัน และได้ทั้งเศรษฐกิจ จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่ม โรงแรมเพิ่ม การลงทุนเพิ่มขึ้นได้

(8)การร่วมมือกับประเทศ ที่มีธรรมาภิบาลสูง และโปร่งใสอย่างสิงคโปร์เพื่อแก้ปัญหาคอรัปชั่นก็จะเป็นประโยชน์ ต่อประเทศไทย ผมได้ร่วมกับ ปปช. เพื่อทำโครงการพัฒนาเยาวชนในอาเซียน 10 ประเทศต่อต้านคอรัปชั่น

-ประเทศสิงคโปร์มีข้อดีคือ ไม่มีคอรัปชั่น จึงได้จัดโครงการฯนี้ขึ้นมา ทรัพยากรมนุษย์ต้องเรียนรู้ธรรมาภิบาล ต้องไม่คอรัปชั่น เราได้สร้างเยาวชนในเรื่องธรรมาภิบาลปราศจากคอรัปชั่น ให้เป็นสังคมไม่โกง นี่คือตัวอย่างเล็กๆ ที่มีความสามารถและมีคุณธรรมจริยธรรมด้วย

- ทำให้เรามีค่านิยม เด็กรุ่นใหม่ใช้ social Media ไปมาหาสู่กันต่อไปได้ สร้าง Network ร่วมกัน และ ม.ศรีปทุม น่าจะทำเรื่องแบบนี้ เพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ในอนาคตขึ้นมาด้วย

(9) ASEAN Debsirin Knowledge Camp 2015 โดยการคัดเลือกเด็กนักเรียนโรงเรียนเทพศิรินทร์ที่มีความรู้ภาษาอังกฤษดีกว่า 100 คน เข้า Camp กับนักเรียน ASEAN ทำให้เด็กไทยมีความกล้า ฝึกการพูด และการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษได้อย่างดี ชี้ให้เห็นถึงการสร้างศักยภาพและความพร้อมที่จะเป็นพลเมืองอาเซียน

ASEAN เป็นแรงบันดาลใจที่จะทำให้ประเทศไทยค้นหาจุดอ่อน จุดแข็งเรื่องทุนมนุษย์ของประเทศ ว่าตอนนี้เราอยู่ที่จุดไหน?

- ปัญหาเด็กไทยคือ ภาษาอังกฤษ ยังไม่ต้องพูดถึงภาษาอาเซียน ผมได้ทำ Knowledge camp กับอาเซียน ในโรงเรียนเทพศิรินทร์ ถ้าเราเชิญอาเซียนมา คุณต้องฝึกเด็กเทพศิรินทร์ก่อน 4 เดือน ให้รู้จักฟัง พูด และคิด และเขาก็สามารถทำได้ นี่คือเป็นการเรียนที่ดีที่สุด และควรจะเกิดใน ม.ศรีปทุม และพร้อมที่จะเรียนภาษาอังกฤษ ให้เด็กออกความคิดเห็น และย้ำให้เข้าใจ สามารถแข่งกับคนอื่น สามารถอยู่ในสถานการณ์กดดันได้ เขาก็จะผ่านไปได้

-เราต้องพึ่งตนเอง ผมยินดีที่จะมาช่วยเรื่องนี้ ผมดีใจที่การประชุมวันนี้ เราจะเริ่มที่เล็กๆและมีประโยชน์และเกิดความร่วมมือกัน

การร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยภาครัฐ และภาคประชาชน จะทำให้การเปิดเสรี ASEAN มีการร่วมมือทางด้านทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และไม่ใช่แค่ ASEAN แต่อาจจะหมายถึง ASEAN+3+6

  • China
  • Japan
  • South Korea
  • India
  • Australia
  • New zealand

- อาเซียน เป็นแรงบันดาลใจ ทำให้รู้ว่าเราอยู่ในสภาพที่อ่อนแอ เราต้องรู้สภาพขอตัวเอง พึ่งตัวเอง และให้ ม.ศรีปทุม แลกเปลี่ยนนักศึกษาร่วมกันด้านต่างๆ

- อาเซียนไม่เพียงแต่มีอาเซียนอย่างเดียว ต้องนำประเทศต่างๆเข้ามากขึ้น และร่วมมือกันในด้านต่างๆ

เมื่อเร็ว ๆ นี้ผมได้จัดประชุมสุดยอดเยาวชนด้านการท่องเที่ยวอาเซียน+3 (ASEAN PLUS THREE TOURISM STUDENTS SUMMIT)ร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเชิญเยาวชนจาก ASEAN+3 คือ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นมาร่วมด้วย ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่จะกระตุ้นความร่วมมือทางด้านทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศให้เข้มแข็งต่อไป

-ความสำคัญด้าน +3 เป็นประโยชน์มาก เพราะเขาพร้อมที่จะมาร่วมมือกับเรา ทำให้เรามี Bean marking ร่วมกัน ต้องเป็นสังคมการเรียนรู้ ซึ่งลาวพร้อมกว่าเราในเรื่องนี้ วันนี้สังคมไทย ทุนมนุษย์ต่ำมาก แต่ลาวขอทำเรื่องคนก่อน ผู้ใหญ่ในลาวนั่งฟังจนจบ ไม่เหมือนไทย กล่าวเปิดเสร็จก็กลับ ผมเรียนรู้จากประเทศเหล่านี้มากมาย

การเปิดเสรี ASEAN น่าจะเป็นโอกาสในการสะท้อนจุดอ่อน-จุดแข็งของคนไทย การมี Benchmark เปรียบเทียบกับเพื่อนบ้านใน ASEAN และ ASEAN +3+6 จะทำให้ประเทศไทยปรับตัว และเข้มแข็งขึ้น

มหาวิทยาลัย ศรีปทุมและคณะนิติศาสตร์ก็อาจจะมีโครงการร่วมมือกับประเทศใน ASEAN หรือ ASEAN+3

- ถ้าเราอยากเข้าใจในวัฒนธรรมที่หลากหลาย ต้องมีความเข้าใจเรื่องคน ในทุกๆประเทศ

โดยสรุป Networking + Partnership และความหลากหลายทางทุนมนุษย์ของ ASEAN และมีโครงการร่วมมือแลกเปลี่ยนกันอย่างเป็นรูปธรรมก็จะทำให้คนไทยและคน ASEAN ทั้งภาคประชาชน ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาควิชาการ สามารถร่วมมือกันได้

Connectivity ไม่ใช่แค่ถนน แต่เป็นเรื่องการเชื่อมโยงกันระหว่างทรัพยากรมนุษย์ในอาเซียน ซึ่งจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง โดยเน้น..

  • การนับถือซึ่งกันและกัน
  • Mutual Respect เข้าใจประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของเขา
  • Trust ศรัทธาซึ่งกันและกัน
  • การใช้นโยบาย “WIN/WIN” ชนะร่วมกัน Win Win ทั้งสองฝ่าย
  • และความเสมอภาค (Equality)

พี่จ้า พิชญ์ภูรี : สิ่งที่ อ.จีระมีคือฝึกและให้มีการคิดวิเคราะห์ ม.ศรีปทุมถ้าจะก้าวไปรับความรู้ เราต้องมีการเก็บประเด็นต่างๆให้ได้มากที่สุด

-AEC เศรษฐกิจการค้าเสรี เราศึกษาเยอะแล้ว แต่ได้แคปเจอร์ เพื่อมุ่งสู่ AEC ได้อย่างไร คนไทยปรับตัวเก่ง ต้องมีคุณธรรมจริยธรรม และ Professionals ด้วย การเมือง สังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจการค้า ฝึกใช้ภาษาให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ โดยมีศาสตร์ด้านเทคนิคอยู่ และปรับตัวเองให้เพิ่มขึ้น

-ระยะทาง 6 เดือน คือยังมีเวลาปรับตัวอยู่ เป็นความร่วมมือและแข่งขัน มีอำนาจต่อรองในโลก จะช่วยประเทศชาติและการค้า ความร่วมมือต่างๆได้อย่างไร

-คุณภาพคน จะเลวร้ายกว่าเดิมหรือไม่ ไม่ได้มีการฝึกฝนให้คิดวิเคราะห์ให้เป็นและหาทางลัดไม่ได้ ก็ไม่สามารถสู้กับประเทศต่างๆได้ หาทางที่จะเป็นทางใหญ่ที่ตรงประเทศ

-ทางออก ให้เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส การกระตุ้นภายในและค้นหาตัวเอง เราจะได้รับประโยชน์ด้านทรัพยากรมนุษย์เพิ่มขึ้น อยู่อย่างเท่าเทียมกัน ความร่วมมือและการให้ ภาคประชาชน เหมือนที่เคยได้รับความร่วมมือกับญี่ปุ่น เริ่ม Connect และ network ร่วมกัน

- เริ่มตั้งแต่วันนี้ ต้องรีบ

-Connectivity

-การสร้างเครือข่าย

คำถาม

อ.นิติ

Connectivity เป็นประโยชน์มาก ณ ปัจจุบัน ที่ทำโครงการร่วมกันก็ยังติดร่วมกันอยู่เลย ผมเห็นภาพที่ อ.จีระ บอกในวันนี้

อ.จีระ : การเปิดเสรีการเงิน การลงทุน สินค้าบริการ

คน มีการเคลื่อนย้าย เราสามารถเรียนรู้ได้ ถ้าเราใช้ภาษาได้

นายวัฒนพงศ์ : ความคิดเห็น ทำเกี่ยวกับการช่วยเหลือทรัพยากรมนุษย์ในประเทศเพิ่อนบ้าน คนไทยยังไม่เจริญเท่าที่ควร ทำไมไปช่วยเหลืทอในประเทศเพื่อนบ้านอีก

อ.จีระ : ต้องแชร์ซึ่งกันและกัน และเป็นมิตรร่วม เราต้องมีการแบ่งปัน และตอบแทนในความเป็นมิตรร่วมกัน

นักศึกษา : กฎหมายทำไม่ไม่แชร์ร่วมกันในอาเซียนบ้าง

อ.จีระ : มีความสัมพันธ์ในอาเซียน แต่คงยังไม่มีใครทำหรือเปล่า ไม่ได้ครอบคลุมทุกอย่าง เป็นไปได้ หลังจากวันนี้ เราคิดที่จะทำงานในอาเซียนต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท