แรงงานนักโทษในประเทศจีน
วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ นบ.นม.
แรงงานนักโทษในประเทศจีน ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.snipview .com/q/Penal_labor_in _China พบว่า แรงงานนักโทษในประเทศจีน (Penal labor in China) ดำเนินงานภายใต้แนวคิดที่สำคัญ 2 ประการ คือแนวคิดการศึกษาผ่านแรงงาน และ แนวคิดการปฏิรูปผ่านแรงงาน สำหรับบทความเรื่อง แรงงานนักโทษในประเทศจีน ที่นำเสนอในวันนี้ จักได้กล่าวถึง ระบบการศึกษาผ่านแรงงาน และ ระบบการปฏิรูปผ่านแรงงาน โดยสังเขป ดังนี้
เรือนจำค่ายการศึกษาผ่านแรงงาน เสิ่นหยาง มณฑลเหลียวหนิง ประเทศจีน
การศึกษาผ่านแรงงาน (Re-education through labor) เป็นระบบ ค่ายแรงงานคุกขนาดเล็ก ได้เปิดดำเนินการตั้งแต่ปี 1957 โดยใช้วิธีการ กักบริเวณในค่ายแรงงาน จากการบริหารการลงโทษโดยตำรวจมากกว่า ผ่านระบบการพิจารณาคดี ซึ่งในจีนโดยทั่วไปจะใช้การกักตัวคนในข้อหา ก่ออาชญากรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น การลักเล็ก ขโมยน้อย โสเภณี การค้า ยาเสพติด การต่อต้านศาสนาหรือการเมือง คริสเตียนไม่จดทะเบียน และ พวกส่งเสียงดังรำคาญ เป็นต้น ประมาณการเกี่ยวกับจำนวนนักโทษแรงงาน ในระบบการศึกษาผ่านแรงงาน จากปี 1957 ถึงปี 2007 คาดว่ามีแรงงานนักโทษประมาณ 190,000 – 2,000,000 คน มีศูนย์การศึกษา ทั้งหมดประมาณ 310 ศูนย์การศึกษา ในประเทศจีนในเวลา ดังกล่าว เป็นระบบที่แยกต่างหากจากระบบระบบการปฏิรูปผ่านแรงงาน Laogai ที่มีขนาดใหญ่กว่าของค่ายแรงงานคุก
แรงงานนักโทษในค่ายแรงงานประเทศจีน
การปฏิรูปผ่านแรงงาน (reform through labor) เป็นระบบค่ายแรงงานคุกขนาดใหญ่ในประเทศจีน ดำเนินงานภายใต้แนวคิดการปฏิรูปผ่านแรงงาน หรือที่เรียกกันว่า Laogai เป็นสโลแกนของระบบยุติธรรมทางอาญาของจีน ที่มีนำมาใช้การอ้างถึงในการใช้แรงงานนักโทษในค่ายแรงงานจีน (Labour camps in China) โดยในช่วงระยะเวลา 50 ปี ประเทศจีนมีค่ายบังคับแรงงาน หรือค่ายกักกันแรงงาน เรียกว่า Laogai อย่างน้อย 1,000 ค่าย มีแรงงานนักโทษกว่า 50 ล้านคน ได้รับการส่งไปยังค่ายกักกัน Laogai ต่อมาในปี 1990 รัฐบาลจีนได้ประกาศยกเลิก Laogai อย่างเป็นทางการ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น คุก (Jianyu) แต่การบริหารคุกไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงโทษกว่า 6 - 8000000 นักโทษยังคงทำงานในค่ายกักกันดังกล่าว ในปี 1997 รัฐบาลจีนได้มีการแก้ไขกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีการดำเนินงานของเครือข่ายค่ายแรงงานบังคับในการผลิตสินค้าอุปโภค บริโภค ผลิตภัณฑ์ เพื่อการส่งออกไปยังยุโรปและสหรัฐอเมริกา ภายหลังจากที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับระบบคุกของจีนโดยสำนักข่าวอัลจาซีราของอังกฤษส่งผลให้มีการต่อต้านและขับไล่ผลิตภัณฑ์ สินค้า อุปโภคบริโภค จากประเทศจีน ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2012 ต่อมา เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2013 รัฐบาลจีนตัดสินใจประกาศการที่จะยกเลิกระบบการศึกษาผ่านแรงงาน และการปฏิรูปผ่านแรงงาน แต่ยังไม่มีกำหนดเวลาการสลายตัวของระบบแรงงาน ดังกล่าว
แรงงานนักโทษในค่ายแรงงานประเทศจีน
โดยสรุป
การใช้แรงงานนักโทษในประเทศจีน ได้มีการดำเนินการมาเป็นเวลานาน จนได้ชื่อว่าเป็นระบบเรือนจำแรงงาน ระยะหลังได้มีการใช้แรงงานนักโทษผ่านระบบการศึกษาผ่านแรงงาน ตั้งแต่ปี 1957 ถึงปัจจุบัน อันเป็นการเน้นให้เห็นภาพอย่างชัดเจนว่านักโทษของจีนทุกคนต้องทำงาน มีการทำงาน เป็นครู มีการศึกษาเรียนรู้ ทักษะ อาชีพ จากการทำงาน และ การปฏิรูป ผ่านแรงงาน โดยการให้นักโทษทำงาน ผลิตสินค้า อุปโภค บริโภค เพื่อเลี้ยงตนเอง ที่เหลือจำหน่ายแก่ประชาชน รวมตลอดถึงเพื่อการส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ ทำให้นักโทษ และ คุกมีรายได้สามารถนำรายได้ มาใช้จ่ายในการพัฒนาคุก เป็นการช่วยประหยัดงบประมาณคุกซึ่งมาจากภาษีอากรของประชาชนได้เป็นจำนวนมาก ถึงแม้ว่ารัฐบาลจีนตัดสินใจประกาศ การที่จะยกเลิกระบบการศึกษาผ่านแรงงาน และ การปฏิรูปผ่านแรงงาน ในปี 2013 เพราะจีนได้ส่งสินค้าและผลิตภัณฑ์จากฝีมือนักโทษไปจำหน่ายในยุโรปและสหรัฐอเมริกา แต่ถูกสำนักข่าวอัลจาซีราของอังกฤษเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับระบบการใช้แรงงานในคุก แต่ยังไม่ได้มีกำหนดเวลาการสลายตัวของระบบ การศึกษาผ่านแรงงาน และ การปฏิรูปผ่านแรงงาน ดังกล่าว ทำให้นักโทษในประเทศจีนยังคงต้องทำงานเพื่อหารายได้ และ เพื่อช่วยประหยัด งบประมาณคุกซึ่งมาจากภาษีอากรของประชาชนอันเป็นนโยบายดั้งเดิมของประเทศจีนต่อไป
.........................
เอกสารอ้างอิง
ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://laogai.org/news/what-s-wrong-prison-labor เว็บไซต์ http://www. theatlantic.com /international/archive/2013/02/chinas-re-education-through-labor-system-the-view-from-within/272913/ และ เว็บไซต์ https://en.wikipedia.org/wiki/Re-education_through...
ระบบเรือนจำไทยเรามีอะไรที่ดีกว่าของฝรั่งเยอะเหมือนกัน เอาไว้วันหลังผมจะเล่าให้ฟังน่ะครับ ขอบคุณมากครับพี่นุ้ย