เทคนิคการทำงาน


ทุกครั้งที่มีโอกาสได้อบรมพนักงานใหม่มักจะสอนอยู่ไม่กี่เรื่องเรื่องหนึ่งคือ.

เทคนิคการผ่านทดลองงาน (During Probation Period)

การทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่ การของานเพิ่ม การอาสาช่วยเหลือ การไม่คำนึงถึงเวลาเลิกงาน ไม่หวังโอที เนื่องจากสิ่งเหล่านี้จะถูกประเมินไม่ว่าในเอกสารหรือความเห็นของคนในองค์กร หัวใจของการผ่านทดลองงาน ซึ่งมีเวลาเพียงสามเดือน หากไม่โดนขยายระยะเวลาทดลองงาน สามเดือนนี้เราควรทำงานให้คนที่เป็นหัวหน้าหรือใครก็ตามแต่คิดว่านี้แค่เวลาสามเดือนยังรู้งานขนาดนี้ ขยันขนาดนี้ ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานขนาดนี้ ถ้าให้ผ่านทดลองงาน บรรจุแล้วจะเต็มที่อีกแค่ไหน แต่ทุกอย่างก็มีมุมบวกและลบเสมอ สุภาษิตอันหนึ่งสอนว่า "จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย" ก็เป็นสิ่งที่ควรระวัง เพราะคนเรา จะมี "คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ" เอแล้วเราจะเลือกทำตามสุภาษิตไหนดี ก็ได้แต่แนะนำคำพระพุทธเจ้าสอน "ปัจฉิมมาปฏิปทา คือการเดินสายกลาง อย่างให้มากจนสุดโต่ง หรือน้อยจนไม่เหลือดีเลย" มากจนสุดโต่งคือการเลียแข้งเลียขานาย หรืออีกข้างคือเป็นคนไม่เอาใครเลย เลิกงานปุ๊บเก็บของกลับบ้านปั๊บ ไม่มีน้ำใจถามเพื่อนร่วมงาน หรือการเข้าไปถามนายว่ามีอะไรให้ทำอีกไม้เพราะจะกลับบ้านแล้ว ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงทดลองงานหรือบรรจุแล้วก็ตาม การมาก่อนและกลับหลังนาย ดูจะเป็นคนที่น่าเอ็นดูเสมอ

องค์กรที่ดีจะต้องมีการประเมินผลงานในช่วงทดลองทุก 30 วัน หรือเร็วกว่านั้น เพื่อให้พนักงานรู้ตัวว่ามีอะไรที่ยังต้องปรับปรุง ในขณะเดียวกันองค์กรเองก็สามารถเตรียมหาผู้สมัครรายใหม่ได้ก่อน 90 วันหากพนักงานที่รับมาผลงานหรือความประพฤติยังรับไม่ได้ จะดีกว่าที่ครบ 90 วันแล้วค่อยบอกพนักงานให้ออกไป มันทำให้คนๆนั้นเสียความเชื่อมั่นในตัวเอง และโอกาสที่จะได้งานที่สองที่สมัครไว้พร้อมกันก็จะหมดลงด้วย สิ่งที่คู่กันมากับใบประเมินผลงาน (Evaluation Form) ก็คือ JD (Job Description) หรือ Job Scope เพื่อให้ทั้งนายจ้างและลูกจ้างรู้ว่างานในหน้าที่รับผิดชอบคืออะไร และองค์กรที่ดีที่สุดคือการที่มี Job Manual ให้สำหรับพนักงานแต่ละตำแหน่งเรียนรู้แถมมีรุ่นพี่หรือหัวหน้าคอยชี้แนะหรือตรวจสอบความคืบหน้าการเรียนรู้ manual นั้นๆ จะยิ่งสร้างความเชื่อมั่นให้พนักงานได้อีกมากทีเดียว แต่จะมีสักกี่องค์กรที่เตรียมความพร้อมขนาดนี้ ไม่นับการเตรียมอุปกรณ์Stationary

หัวใจงานบริการ (Service Minded)


การดับความโกรธของลูกค้าหรือเพื่อนร่วมงาน (HEAT)

H Hear them out

E Empathy

A Apologize

T Take Responsibility


การแก้ปัญหาเบื่องาน


การคิดบวก การสร้างทัศนคติทางบวก (Positive Attitude) : ที่ต้องเริ่มตั้งแต่ตื่นนอนลืมตามาก็ต้องคิดว่าเอานะวันนี้ต้องดีกว่าเมื่อวาน คงมีปัญหาเข้ามาน้อยกว่า ก่อนออกจากบ้านดูกระจกแล้วก็ซ้อมยิ้มทุกวัน เพื่อให้คนอื่นเห็น คนอื่นรู้สึกดี แล้วตัวเราก็จะรู้สึกดี ในทางกลับกัน ถ้าตื่นมาด้วยความคิดที่ว่า ฮื่มวันนี้ต้องไปด่าลูกน้องทุุกตัว ต้องไปทะเลาะกับทุกแผนก หน้านิ่วคิ้วขมวดตั้งแต่ออกจากบ้าน อย่างนี้ก็คงนึกออกว่าวันนี้จะจบลงที่อารมณ์ไหน สุขทุกข์เริ่มได้ด้วยตัวเอง "ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ - เราจักเป็นผู้รับผลของสิ่งที่เราทำ"

แต่สิ่งหนึ่งที่สอนกันไม่ได้ คือการมีจิตใจที่ดีงามพร้อมที่จะช่วยเหลือคนอื่น

แล้วทั้งหมดทั้งปวงก็อยู่กับคำว่า มนุษย์สัมพันธ์ คุณดีกับคนอื่นแค่ไหน หัวใจของการเป็นพนักงานหรือลูกจ้าง คือการอยู่ให้เขารัก จากไปให้เค้าคิดถึง เมื่อกลับไปที่องค์กรนั้นๆ ก็จะได้รับการต้อนรับ เหมือนเดิมทุกครั้ง

สุดท้ายกับ การขับรถแบบป้องกัน Defensive Driving Course

ด้วยความที่เป็น Professional trainer อบรมการขับรถให้พนักงานมานานกว่า 10 ปีสิ่งที่เคยอบรมเคยสอนพนักงานก็ยังไม่เคยลืม และอยากสอนทุกคนเสมอ ด้วยสโลแกนสั้นๆ All Good Kid Like Milk (A-G-K-L-M)

A - Aim high in steering

G - Get the big picture

K - Keep your eyes moving

L - Leave yourself an out

M - Make sure they see you

กับประโยคสิบบรรทัด เท่านี้ก็เป็นนักขับรถมือโปรจากอุบัติเหตุได้แล้ว แต่ที่สำคัญ Practice makes perfect!!!!

คำสำคัญ (Tags): #ประสบการณ์
หมายเลขบันทึก: 591690เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2015 17:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กรกฎาคม 2015 00:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท