กิจกรรมการเรียนรู้ตนเอง


...............บันทึกนี้ เป็นเพียงทรรศนะหนึ่งที่ว่าด้วยกระบวนการหรือกิจกรรม การรู้จักตนเอง เเละเรียนรู้ตนเองได้ด้าน ความรู้สึก ความคิด ความต้องการ และการกระทำ ของตนเอง

……………กระบวนการเรียนรู้เเละรู้จักตนเอง นั้น มีความสำคัญกับทุกๆคนไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ที่ควรเฝ้ามองตนเองเเละพัฒนาตนเองขึ้น โดยไม่เชื่อเเต่ขาดปัญญา ไม่มีเเต่ปัญญาแต่ขาดความเชือ ไม่ยึดศีลเกินไปจนขาดปัญญา เเต่ 3 สิ่งนี้จะต้องเคลื่อนไปด้วยกัน ได้เเก่ ความเชื่อ ปัญญา เเละกายหรือการกระทำ การรู้จักตนเองในทรรศนะในที่นี้ เป็นมุมมองเพียงเบื้องต้น ในการเรียนรู้ เเละเฝ้ามอง โทสะหรือความโกรธ(เป็นมิติอารมณ์) โมหะหรือความหลง(เป็นมิติของความคิด) เเละโลภะหนือความโลภ(เป็นมิติของความต้องการ) เพื่อที่จะรู้เท่าทันตนเองมากยิ่งขึ้น ซึ่งกิจกรรมในมุมมองนี้ ได้เเก่

๑.Telling stories ควรเป็นกิจกรรมเเรกๆ ที่เน้นการเล่าเรื่องราวของตนเอง ในมิติที่ยังไม่ได้ใคร่ครวญ หรือเล่ากันมากนัก
จุดประสงค์ คือ การสะท้อนตนเอง เเละเป็นการเตรียมความพร้อม ด้วย "สัญญา" หรือ การจำได้หมายรู้ ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการ
กระบวนการ ดังนี้

  • ตั้งวงนั่งคุยกัน เห็นทุกๆคนอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา (วงละประมาณ 15 คน)
  • โจทย์เเรกในการคุยกัน คือ ให้เล่าเรื่องชื่อจริงหรือชื่อเล่นของตนเอง ชื่อมีความเป็นมาอย่างไร ใครตั้งให้ เเละหมายความว่าอย่างไร
  • โจทย์สอง คือ ให้เล่าเรื่องสิ่งที่ตนเองทำ เเล้วมีความสุข / งานอดิเรก

ให้เล่าทีละคน จนครบวง กิจกรรมกิจกรรมอาจใช้เป็นกิจกรรม Check in ก่อนเข้ากระบวนการ

๒.กระจกเงา เป็นกิจกรรมสะท้อนเรื่องราวของตนเองให้กันเเละกันฟัง โดยจับคู่หนหน้าเข้าหากัน เเล้วพูดเเละฟังกันเเละกัน
จุดประสงค์ คือ การทบทวนการจำได้หมายรู้ เรื่องราวของตนเอง เพื่อนำไปสู่การมองตนเอง ในด้านความคิด จิตใจ เเละการกระทำที่เคยทำผ่านมาเเล้ว
กระบวนการ ดังนี้

  • จับคู่ 2 คนหันหน้าเข้าหากัน
  • โจทย์ คือ ให้เล่าความสุขหรือสิ่งที่ทำดีเเล้ว(พฤติกรรมเเง่บวก) ให้กันเเละกันฟัง เเละเล่าสิ่งที่ทำยังไม่ดี(พฤติกรรมเเง่ลบ) ให้กันเเละกันฟัง
  • โจทย์ที่สอง คือ ให้เล่าถึงว่าตนเองมีนิสัยใจคออย่างไร เป็นคนชอบอะไร ชอบคิด ชอบทำเรื่องอะไรบ้าง

ให้เล่าทีละคน จนครบทั้งคู่ "สำคัญ คือ การเล่านี้ไม่มีผิดไม่มีถูก เเต่ละคนต่างมีทั้งความสุขเเละความทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น" การเล่าให้กันเเละกันฟังนี้ จึงเป็นกิจกรรมที่เตรียมพร้อมเข้าสู่กิจกรรม

๓.สัตว์ 4 ทิศ กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่เรียนรู้นิสัยของตนเองตามหลักธรรมจริต 6 ที่เทียบเคียงกับสัตว์ 4 ชนิดที่ละม้ายกับนิสิยใจคอของมนุษย์ ได้เเก่ อินทรีย์(วิตกจริต) กระทิง(โทสะจริต) หมี(โมหะจริต) เเละหนู(ราคะจริต) ซึ่งท่านสามารถอ่านกระบวนการเหล่านี้ ได้ที่ ผู้นำ 4 ทิศ ของอาจารย์ฤทธิไกร ไชยงาม
จุดประสงค์ คือ การเสริมความเข้าใจในนิสัย เเละข้อดี ข้อเสียของตนเอง เพื่อพร้อมปรับเเละเปลี่ยนแปลงไปสู่ ความยืดหยุ่นในตนเอง เพื่อพร้อมรับกับภาวะทั้งภายนอกเเละภายในที่มีการเปลี่ยนแปลง
กระบวนการ ดังนี้

  • จากกระบวนการสะท้อนนิสัย เเละมองพฤติกรรมของตนเองในขั้นต้น เเล้วกระบวนกรจึงนำเสนอสัตว์ 4 ทิศ ให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรุ้ร่วมกัน ว่าสัตว์อะไร มีนิสัยอย่างไร
  • ใช้กระบวนการเดินเเล้วอ่าน อย่างใคร่ครวญ ทำความเข้าใจในตัวสัตว์เเละสะท้อนเข้าในความคิดเเละใจของตนเองอย่างลึกซึ้ง ว่าสัตว์ตัวไหนที่เป็นตัวเรามากที่สุด
  • หลังจากการเดินมองเเล้ว ให้ตัดสินใจเลือกสัตว์ตัวที่เราเป็นมากที่สุด เเล้วจับกลุ่มกันอีกครั้งหนึ่ง
  • กลุ่มสัตว์เเต่ละกลุ่ม ร่วมสะท้อนเรื่องสัตว์ที่ตนเองเป็นสู่ตนเองที่เป็นอยู่ ว่ามีความเหมือน หรือต่างกันอย่างไร ตนเองมีข้อเด่น เเละจุดด้อยอย่างไร เมื่ออยู่คนเดียว เเละอยู่ในสังคม

กระบวนกร อาจสรุปบทเรียนนี้ คือ ความเป็นตัวเองของเเต่ละคนนั้น ย่อมมีเอกลักษณ์ของเเต่ละคนที่ต่างกันออกไป บางคนเป็นหมี เป็นกระทิง เป็นอินทรีย์ หรือหนู ซึ่งสัตว์เเต่ละตัวก็มีข้อดี ที่ทำให้งานเคลื่อนไป หรืออยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข ส่วนข้อเสีย เช่น การมีหนูมากเกินไป หรือเป็นหมีมากเกินไป เราก็อาจเห็นชัดเจนอีกมุมมองหนึ่งเเล้วว่าเราเองก็มีจุดด้อยที่ควรปรับปรุงเพื่อให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้มีความสุข

๔.เฝ้ามองตนเอง เป็นกิจกรรมที่ให้ลองเเยกความต้องการ ความรู้สึก ความคิด เเละการกระทำออกจากกัน เพื่อให้รู้เท่าทันตนเองมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถอ่านได้ที่นี่ การใคร่ครวญตนเอง
จุดประสงค์ คือ การเเยกเเยะความต้องการ ความรู้สึก ความคิด เเละการกระทำ ออกจากกัน โดยการหวนมองตนเอง เพื่อที่จะเฝ้ามองเเละเฝ้ายับยั้ง ความคุมภาวะทางอารมณ์ที่เป็นลบ ให้ออกมาสู่การกระทำน้อยที่สุด
กระบวนการ ได้เเก่

  • การให้ทุกๆคนหันหน้าเข้าหากัน หรืออาจจัดเวทีในรูปตัวยู
  • ให้โจทย์ทุกๆคน ไปว่า "ในเเต่ละวันเราชอบทำอะไร หรือชอบพูดอะไรมากที่สุด 10 ลำดับ"
  • เเต่ละคนร่วมสะท้อน พฤติกรรมหรือการกระทำของตนเอง ที่ชอบทำมากที่สุด ซึ่งเป็นการเริ่มต้นจากการมองรูปธรรมที่ชัดเจน หรือการกระทำของตนเองก่อน
  • โจทย์ ต่อมา คือ ย้อนกลับมามองตนเองว่าในเเต่ละวันเราคิดเรื่องอะไร มากที่สุด
  • เเต่ละคนร่วมสะท้อนความคิดเห็น ในความคิดของตนเอง
  • เเจกข้อมูลตัวอย่างของ ความต้องการ ความรู้สึก เเละความคิด เเล้วให้ทุกๆคนอ่านทำความเข้าใจ
  • ให้เเต่ละคนลองเขียนความรู้สึกของตนเองในเเต่ละวัน ว่ารู้สึกอะไรบ้าง
  • เเต่ละคนร่วมสะท้อนความคิดเห็น ในความรู้สึกของตนเอง
  • ให้เเต่ละคนเขียนเเละสะท้อนความต้องการในชีวิตเเต่ละวัน

กระบวนกร อาจให้ลองจับความต้องการ-การกระทำ โดยผ่านกระบวนการสมมติหรือยกตัวอย่าง ให้ชัดเจน เเล้วสรุปโดยวิธีการใช้คำถามกับผู้เข้าร่วม เเล้วร้อยเรียงเข้าสู่ การสะท้อนบทเรียนของกิจกรรมทั้งหมด

ขอบคุณภาพสวยๆจาก
horoscope.thaiza.com
wallpaper.dmc.tv
writer.dek-d.com

หมายเลขบันทึก: 591471เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2015 22:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2015 22:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท