ปารินุช
นางสาว ปารินุช บริสุทธิ์ศรี

75 ปี พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าไทย


ตราสินค้า (Brand) เป็นเครื่องมือทางการตลาด เพื่อให้ลูกค้าจดจำได้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น แตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นๆ การออกแบบเครื่องหมายที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ เพื่อให้ลูกค้าจดจำ จึงต้องวิเคราะห์ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศและที่สำคัญอีกประการ คือ ตราสินค้านั้นจะต้องได้รับการจดทะเบียนคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายมิให้ผู้ใดล่วงละเมิดสิทธิได้

เครื่องหมายที่จะเรียกได้ว่าเป็นเครื่องหมายการค้าได้ เครื่องหมายนั้นจะต้องมีลักษณะตามที่กฎหมายกฎหมด เดิมกฎหมายกำหนดไว้มี 2 ประเภท คือ เครื่องหมายรูป คือภาพ และเครื่องหมายคำ คือ ชื่อ คำ ตัวเลข ตัวหนังสือ แต่ปัจจุบันได้รวมถึงกลุ่มของสี รูปร่างรูปทรงของวัตถุ และข้อความตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายตามคำนิยาม ดังนี้

 

            เครื่องหมาย หมายถึง ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำ ข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ กลุ่มของสี รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุหรือสิ่งเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน

 

            แต่อย่างไรก็ตาม การพิจารณาว่าเครื่องหมายใดจะจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าได้หรือไม่ เครื่องหมายนั้นต้องมีลักษณะบ่งเฉพาะ ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย และไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่บุคคลอื่นจดทะเบียนไว้

 

            ตามหลักฐานประวัติของเครื่องหมายการค้าปรากฏว่าได้มีการใช้เครื่องหมายการค้ามาแต่ยุคจีนโบราณ จักรวรรดิโรมันในยุคกลาง และมีการใช้เครื่องหมายการค้าอย่างแพร่หลายในยุคโรปตะวันตก เพื่อใช้พิสูจน์ความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้า

 

            ประเทศไทย ได้มีกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 พิจารณาในเรื่องความผิดเกี่ยวกับการค้า แล้วไทยยังมีกฎหมายเครื่องหมายการค้าฉบับแรกคือ พ.ร.บ. ลักษณะเครื่องหมายการค้าและยี่ห้อการค้าขาย พ.ศ. 2457 (Law on Trade Marks and Trade Name B.E. 2457)  ต่อมาเมื่อปี 2457 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญากรุงเบอร์ว่าด้วยการคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม ( Berne Convention ) ไทยจึงมี พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2447 ใช้บังคับซึ่งเป็นการคุ้มครองเฉพาะเครื่องหมายการค้า ส่วนการล่วงสิทธิประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งบัญญัติความผิดเกี่ยวกับการค้าไว้

 

            ต่อมาได้ออก พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2564 ได้บัญญัติคุ้มครองถึงเครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง เครื่องหมายร่วม สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมาย การล่วงสิทธิเป็นความผิดอาญาไว้ในกฎหมายนี้ด้วย และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายอีกครั้งในปี 2543

             จึงนับได้ว่าประเทศไทยได้ให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้ามาเป็นเวลานานเกือบร้อยปี และได้มีกฎหมายที่ใช้ชื่อเฉพาะว่า กฎหมายเครื่องหมายการค้ามาเป็นเวลา 75 ปี แล้ว ปีนี้ (พ.ศ. 2549) กรมทรัพย์สินทางปัญญา จึงให้ความสำคัญกับการจัดงาน Thailand IP Fair 2006, ( TIPF 2006 ) เป็นเรื่องเครื่องหมายการค้าไทยอีกด้วย  

                                                    ที่มาวารสาร ทรัพย์สินทางปัญญาปีที่1 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนกรกฏาคม - กันยายน 2549

  

หมายเลขบันทึก: 59119เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2006 11:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มาหาความรู้เพิ่มเติมด้านทรัพย์สินทางปัญญาครับ

ซึ่งเป็นประโยชน์มาก

ขอบคุณครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท