การข่มขืนในประเทศไทย: จงหยุดกล่าวโทษเหยื่อ


เทศกาลวันปีใหม่ของไทยมาถึงที่สุดแล้ว ถนนมีแต่ความเงียบ และสื่อข่าวที่เป็นแบบออนไลน์กำลังพูดว่าหลังจากเทศกาลก็มีแต่ผลกระทบโดยลบต่อสังคม ปีนี้เป็นปีที่ราชการมีความเข้มงวดเรื่องความปลอดภัย ที่อาจก่อให้เกิดอันตราย เช่น การห้ามใช้ปืนฉีดน้ำที่มีแรงดันสูง, การดื่มเหล้า, การขับรถที่เกิดอันตราย, และการเต้นแบบยั่วยวน หรือการแสดงที่ไม่สะท้อนวัฒนธรรมไทย

เมื่อพูดถึงเรื่องความปลอดภัย ก็มีเหตุผลที่เราจะปลื้มปิติ เช่น การใช้ปืนฉีดน้ำที่ทำให้ผู้รับเคราะห์รู้สึกเป็นอันตรายก็ลดลง อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ไม่น่าแปลกประหลาดใจใดๆก็คือ จะมีอุบัติเหตุทางถนน และความตายมากมายเหมือนเดิม (เมื่อพูดถึงสถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนน เราพบว่าปีนี้เป็นปีที่เลวร้ายที่สุด)

เมื่อพูดถึงความไม่เหมาะสมทางวัฒนธรรม ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการนุ่งหรือเต้นของผู้หญิง เรายังไม่มั่นใจในเรื่องความสำเร็จ ก่อนหน้าจะมีเทศกาล Sin Suesuan ซึ่งเป็นผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมแห่งประเทศไทยได้บอกกับ the Thai public ว่า ผู้หญิงควรจะแต่งการให้เหมาะสมกับวันสงกรานต์ เพราะการแต่งกายไม่เหมาะสมอาจก่อให้เกิดการข่มขืนทางเพศได้ สิ่งนี้ก็หมือนกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่กล่าวว่า การฆาตกรรม David Miller และ Hannah Witheridge ในเกาะเต่า ก็เพราะว่า Hannah Witheridge สวมใส่บีกีนี ซึ่งไม่ปลอดภัยในชายหาดของไทย

เราไม่รู้จำนวนของการข่มขืนในช่วงสงกรานต์ พวกเราก็ไม่รู้ว่า Samorn Khlangdet ซึ่งมีอายุ 33 ปี ถูกทารุณกรรม และถูกฆ่า โดยใครบางคน ซึ่งตำรวจเชื่อว่าเป็นผู้ข่มขืนหลายรายแล้ว การอธิบายความรุนแรงที่น่าสังเวชในกรณีนี้ ก็มักจะอธิบายว่าผู้หญิงใส่เสื้อผ้าที่ไม่เรียบร้อย หรือดูลามกนั่นเอง แต่หากใครจะคิดได้ว่า เหยื่อยโดยส่วนหนึ่งจะถูกกล่าวโทษ

กระทรวงวัฒนธรรม บัญญัติว่าการถ่ายแบบตนเองที่ดูลามกหน่อยๆ (underboob selfies)เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย ในเดือนมีนาคม มีเนื้อหาโดยรวมว่าจะต้องติดคุกถึง 5 ปี หากมีการฝ่าฝืน การประพฤติแบบนี้ถูกถือว่าไม่ใช่ไทย (อย่าลืมว่าประเทศเราได้รับฉายาจากโลกว่าเป็นประเทศที่มีกิจกรรมทางเพศที่ผิดกฎหมาย และอันนี้เป็นจุดขายสำหรับชาวต่างชาติของประเทศเราด้วย, แม้กระทั่งหนังสือพิมพ์และนิตยสารต่างๆก็มักจะมีภาพผู้หญิงที่นุ่งน้อยห่มน้อยอยู่กับฉบับนั้นเสมอ) เพศสถานะ (sexuality) คือเป็นผู้หญิงไทยที่เกือบจะเปลือย จริงๆแล้ว การเปลือยท่อนบนของผู้หญิงในจังหวัดของไทยเป็นบรรทัดฐาน จนกระทั่งรัฐบาลประกาศให้สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายในตอนต้นของศตวรรษที่ 20 ดังนั้นการกล่าวว่า การเปลือย หรือเกือบเปลือยไม่เข้ากันได้ประเพณีไทยจึงเป็นสิ่งที่โกหก

เมื่ออาจารย์ Vithi Phanichphant พูดถึงเรื่องการเปลือยกับบรรทัดฐานของไทย ก็กล่าวว่า "คณะรัฐมนตรีพยายามที่จะสร้างวัฒนธรรมใหม่ๆ เพื่อความมีอารยะธรรมมากขึ้น แทนที่วัฒนธรรมเก่าที่ต้องถูกลบล้างออกไป" ถ้าเราจะถามว่าผู้หญิงในอดีตถูกข่มขืนมากกว่านี้ หรือถ้าความสงบเสงี่ยมก่อให้เกิดความรุนแรงทางเพศ หรือถ้าการข่มขืนเป็นปัญหาของผู้ชาย เป็นพฤติกรรมที่ไม่ถูกจริยธรรมของผู้ชาย แต่ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุใดก็ตาม สุดท้ายแล้ว ผู้ที่เป็นเหยื่อต้องถูกกล่าวหาอยู่นั่นเอง

นักวิจารณ์วัฒนธรรม และเป็นพวกเรียกร้องสิทธิสตรีที่ชื่อ Kaewmala สัมภาษณ์กับ Asian Correspondent ว่า "วลีที่สั้นๆว่า การกระทำรุนแรงทางเพศเนื่องมาจากการแต่งกายไม่ถูกต้องเข้ากันได้กับเหตุผลที่ว่าความรุนแรงทางเพศจึงยังคงอยู่ในสังคมไทย วลีนั้นแสดงให้เห็นถึงเจตคติที่เหยียด หยามเหยื่อ, ยังคงอยู่ต่อไป และฝังร่างลึกลงไปในสังคมไทย โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ ถึงแม้ว่าจะอยู่ในยุคทันสมัย (ในบางครั้งจะอยู่ในการแต่งกายแบบอนาจาร) คุณจะเห็นสาวไทยนุ่งห่มแบบกระแสหลัก หรือไม่ก็อนุรักษ์นิยม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมกำลังมีข่าวเรื่องนี้อยู่) จริงๆแล้ว หญิงไทยก็ยังมีความรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของตนเอง ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม" .

เธอถามต่อว่า จะเป็นได้หรือนี่ที่อย่างน้อยจะทำให้ผู้ข่มขืนไม่ใช่สัญชาตญาณดิบๆ เธอยังกล่าวต่ออีกว่า "การบอกให้ผู้หญิงแต่งตัวให้เรียบร้อยอาจมีผลลัพธ์ที่คาดไม่ถึง การบอกสิ่งนี้กับผู้หญิงคือการบอกผู้รุกรานหรือพวกชอบข่มขืนว่าสิ่งนี้ไม่ใช่ความผิดของเขา หากเขาทำร้ายหรือข่มขืนผู้หญิงนั้น"

ผู้ข่มขืนจะอ่อนโยนมากขึ้น เพราะได้หลักการทางจริยธรรม ในเรื่องการกระทำที่ไม่เหมาะสมของผู้หญิงหรือ? หญิงไทยจะรู้สึกว่าตนเองอยู่ในกับดัก กับดักที่การยินยอมขัดแย้งกัน เมื่อพวกเขาสามารถทำตัวให้มีเสน่ห์ หรือน่าดึงดูดทางเพศ ในขณะเดียวกัน ก็ถูกกล่าวหาว่าไม่เป็นไทย และมีโอกาสเสี่ยงที่จะถูกทารุณกรรมทางเพศ หรือแม้แต่ถูกฆ่าก็ได้

พวกผู้ชายย่อมดึงดูดกับผู้หญิง และโดยพื้นฐานแล้ว ผู้ชายที่มีความสามารถให้กำเนิดลูกได้ย่อมเห็นใครบางคน ที่พวกเขาสามารถมีประสบการณ์ทางเพศด้วยได้ บางครั้งก็ได้แก่ผู้หญิงที่มีการดึงดูดทางเพศ เช่นรูปร่างลักษณะ หรือการแต่งกายของหล่อนก็ตาม แต่พวกเราคาดหมายในสิ่งเหล่านี้ สิ่งนั้นก็จะเป็นสภาวะปกติและมีสุขภาพดี แต่ถ้าคนทั้งสองจะมีอะไรกันแบบไม่ลืมหูลืมตา เป็นสิ่งชั่วคราว ไม่มีภาวะผูกพันทางจิตใจ จนก่อให้เกิดการกระทำที่เลวร้ายรุนแรง ริบเอาเสรีภาพ และสิทธิของผู้หญิงจะให้ความปลอดภัยแก่ตัวเขาจะถูกพิจารณาว่ามีผลเสียของระบบสังคม (พูดง่ายก็คือมีการข่มขืน) ในประเทศไทย ผู้หญิงมักถูกมองว่าเป็นปัญหากับผู้ชายในเรื่องการพลาดจะเป็นภรรยาที่ดี และประพฤติตัวมีศีลธรรม ถึงแม้ว่าในบางครั้งผู้ชายจะมีความต้องการทางเพศสูงเพียงใดก็ตาม โฆษณาในเรื่องการข่มขืนต้องพูดถึงผู้ชาย และสำหรับการพลาดต่อการเป็นภรรยาที่ดีนั้นจะต้องปฏิบัติในแนวมนุษยธรรม

การประณามเหยื่อนั้นมิใช่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในเมือไทยเท่านั้น ถึงแม้ว่าในประเทศไทย ผู้รุกราน ดูเหมือนว่าไม่รู้สึกรู้สาอะไรกับการกระทำของพวกเขา พวกเรารู้สิ่งนี้ เพราะมีการวิพากษ์เกี่ยวกับเรืองการประณามเหยื่อครั้งแล้วครั้งเล่า เจ้าหน้าที่ไทยก็ดูเหมือนจะจับเรื่องนี้ให้กับธรรมชาติของผู้ล่า ซึ่งเป็นแนวคิดแบบยุคโบราณ

อย่างไรก็ตาม การประณามเหยื่ออาจเห็นได้ชัดเจนที่เราคิด, มีการวิจารณ์ และกิจกรรมต่างๆกระตุ้นให้ประชาชนในประเทศอื่นๆพิจารณาถึงสิ่งที่พวกเขาพูดไป อย่างไรก็ตาม เพลง (ที่เป็นคำวิพากษ์และกิจกรรม) ก็ยังคงอยู่นอกประเทศไทย

สำหรับเรื่องการข่มขืนนี้ในต่างประเทศ ก็มี 2 ลักษณะ กล่าวคือ 1. ประณามเหยื่อ และ 2. ไม่ประณามเหยื่อ เรามาดูประณามเหยื่อก่อน เดือนนี้มีตำรวจจาก Sussex ประเทศอังกฤษได้สร้าง "การขอโทษที่เป็นสาธารณะขึ้น" หลังจากที่ได้เปิดโฆษณาเกี่ยวกับการต่อต้านการข่มขืนขึ้น ในนั้นมีข้อความว่า ผู้หญิงที่อยู่ดึกมากๆ สมควรเป็นผู้รับผิดชอบ มากกว่าผู้ชายที่ไม่ยอมจะปฏิบัติความรุนแรงทางเพศที่ไม่มีมนุษยธรรม ตอนนี้มาดูไม่ประณามเหยื่อยกันบ้าง ในสัปดาห์เดียวกับก็มีการโฆษณาเกี่ยวกับการต่อต้านการข่มขืน แต่ต่อต้านการประณามเหยื่อ ในบทความ ที่มี Dr Fiona Vera Gray ซึ่งเป็นศูนย์วิกฤติการณ์ในเรื่องการข่มขืน และการกุศล และสนับสนุนการโฆษณาอันนี้กล่าวว่า "พวกเราต้องการที่อยู่ในโลกที่ผู้ข่มขืน และผู้กระทำรุนแรงทางเพศจะต้องมีความรับผิดชอบต่อการกระทำของพวกเขา และผู้รอดชีวิตต้องได้รับช่วยเหลือ โลกที่ทุกๆคนต้องการที่จะค้นหาการยินยอมที่กระตือรือร้น, เป็นรูปธรรม และน่าเห็นใจเป็นอย่างน้อย และเคารพในสิทธิของผู้หญิงตลอดจนความมีตัวตนและเสรีภาพของหล่อนด้วย"

ประโยคนี้ ถ้าข้อความนี้ปรากฏขึ้นในเจ้าหน้าที่ของประเทศไทย หรือคณะกรรมการจริยธรรม จะต้องยอมรับว่า การข่มขืนถูกประเมินค่าต่ำในประเทศไทยเสมอมา ในบางครั้งมันอาจเป็นการป้องกันละครน้ำเน่า ที่แพร่กระจายในประเทศไทย เพื่อการตระหนักรู้ว่า เหยื่อในการข่มขืนในชีวิตจริง ไม่ได้ตกหลุมรักคนที่เขาข่มขืนเธอ เมื่อมีการข่มขืนเกิดขึ้น ประเทศไทยต้องมีการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่

บางส่วนมาจาก

Saksith Saiyasombut & Siam Voices. Rape in Thailand: Stop blaming the victims

http://asiancorrespondent.com/132217/rape-in-thailand-stop-blaming-the-victims/

หมายเลขบันทึก: 590871เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2015 19:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2015 19:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Next time we see "raping scenes" on TV, we are going to ban (stop viewing the channels) and "do a name and shame (the channels) on social media, right?

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท