พระผงในตำนาน พระผงพิมพ์หลวงพ่อโต หลวงปู่ม่น วัดเนินตามาก ตอนที่ 2


‪#‎ตามกันต่อกับตำนานพระผงหลวงพ่อโตภาคที่๒‬ หลวงปู่ม่น วัดเนิตามาก ในคราวก่อนได้กล่าวถึงพระผงหลวงพ่อโต พิมพ์มารวิชัยที่สร้างในช่วงปี 2498-2500 โดยมีพระอาจารย์สมุท์บุญยิ่ง แห่งวัดเขาบางพระเป็นผู้เป็นอาจารย์ของท่านร่วมสร้าง จึงทำให้พุทธคุณของพระผงรุ่นนี้เต็มไปด้วย พุทธวิเศษ กฤษดาวิเศษ และพุทธาคมในองค์พระ แต่ใช่ว่าจะมีแต่เพียงพระผงหลวงพ่อโต พิมพ์เดียวเท่านั้น...แต่ยังมีพิมพ์อื่นๆ อีกเช่น พิมพ์พระรอด พิมพ์สมเด็จ พิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์ ซึ่งก็ล้วนแต่หายากด้วยกันทุกพิมพ์ (ถ้าใครพอจะมีเอามาโชว์กันหน่อยนะครับ บางพิมพ์ก็ได้ยินแต่คนเถ้าคนแก่เล่าให้ฟังว่ามีแต่ยังไม่เคยเจอครับ)

หลังจากงานผูกพัทธสีมาในปี 2500 หลวงปู่ก็ยังสร้างวัตถุมงคลมาเพื่อแจกพอสมควรแต่จะเน้นไปที่พระพุทธจะไม่สร้างรูปเคารพเป็นรูปเหมือนท่านเอง (โดยวัตถุมงคลเหล่านี้จะนำข้อมูลมาเผยแพร่ในภายหลังนะครับ วันนี้เน้นหลวงพ่อโตก่อน) จนกระทั่งปี 2515 ทางวัดจะต้องทำการบูรณหลังคาพระอุโบสถ จึงจำเป็นต้องหาปัจจัยสำหรับการบูรณในครั้งนี้ ท่านจึงเริ่มสร้างพระผงหลวงพ่อโต พิมพ์สมาธิ โดยบล็อกทำพระนั้นพระปลัดผัน วัดโบถส์เป็นผู้สร้างถวายหลวงปู่ม่น โดยแกะจากหินมีดโกนซึ่งเป็นเครื่องสังฆาฐิพระสงฆ์

โดยแบ่งออกเป็น 2 บล็อค คือ ‪#‎พิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่‬ โดยแต่ละพิมพ์จะมีหลังยันต์ กับ สองหน้า และมีสิ่งมงคลเพิ่มเติมคือ มีกริ่ง/ไม่มีกริ่ง และเส้นเกศาของหลวงปู่

โดยพระในช่วงแรก คือ 2515 จะเป็นเนื้อที่แก่ชานหมาก ผสมผงพุทธคุณผงดินสอพองสำหรับเขียนในวิหารหลวงพ่อโต ตามแบบโบราณที่พระคณาจารย์ท่านได้ปฏิบัติกันมา โดยในช่วงแรกจะกดพิมพ์สองหน้าก่อน และใช้เป็นพระคะแนนเพื่อกำกับยอด 100 ต่อ 1 โดยจะอุดเม็ดกริ่ง และอุดตระกรุดฝังในองค์พระด้วยไว้สำหรับนำฤกษ์(สร้างไม่มากนัก) บางองค์หลวงปู่ก็เอาหมากที่เคี้ยวมากดก็มี(แต่น้อยมาก) โดยการกดแต่ละองค์นั้นหลวงปู่จะปั้นผงเป็นก้อนๆก่อน แล้วปริกรรมพระคาถา เป่าทุกเม็ดก่อนจะนำไปก่อนแล้วกดเองทุกก้อน..... โดยองค์รวมองค์พระจะมีสีน้ำตาลแก่ บางก็น้ำตาลอมแดง เนื้อหยาบไม่ค่อยละเอียด


เมื่อสร้างได้สักพักหนึ่งมวลสารที่เคยสะสมไว้นั้นเริ่มลดน้อยลงไป เกรงว่าจะหมดไม่พอที่จะสร้างให้เพียงพอต่อลูกศิษย์ลูกหาที่มาร่วมทำบุญบูรณะพระอุโบสถ จึงได้นำเนื้อกระเบื้องพระอุโบสถที่รื้อลงมากองที่ข้างพระอุโบสถนั้นมาตำให้ละเอียดแล้วผสมเนื้อว่านหลายชนิด ซึ่งหาได้จากบริเวณวัด และลูกศิษย์วัดนำมาถวาย อันได้แก่ ว่านมหาเศรษฐี ว่านไก่กุก ว่านกำแพงเจ็ดชั้น ว่านเครือสาวหลง ว่านธรรมรักษา ว่านสบู่เลือด ว่านขมิ้นขาวเสน่ห์ ว่านมหาเสน่ห์ ว่าน 8 ทิศ เป็นต้น (ซึ่งต้องขอบอกเลยว่าผู้เขียนจดไม่ทันจริงๆครับ และผู้สัมภาษณ์ก็จำได้ไม่หมด) ผสมกับผงพุทธคุณนะปัดตลอดลบรอดใต้กระดาน โดยรวมองค์พระจะออกสีด่างๆ เมื่อสังเกตุจะเห็นว่ามีเนื้อกระเบื้องพระอุโบสถชิ้นใหญ่ๆกว่าเนื้อผงพุทธคุณกับผงว่าน สังเกตุจากเนื้อพระจะออกสีแดงส้ม เมื่อผ่านกาลเวลา การเก็บรักษา สีจะซีดลงออกเป็นสีขาวอมน้ำตาล เนื้อจะละเอียดกว่าชุดแรก

เมื่อหาปัจจัยเพื่อบูรณะหลังคาพระอุโบสถแล้วเสร็จนั้นก็ยังสร้างพระพิมพ์หลวงพ่อโต ออกมาอีกชุดหนึ่งซึ่งเนื้อจะเน้นไปที่ผงพุทธคุณจากคณาจารย์ต่างๆ ที่ลูกศิษย์ลูกหานำมาถวาย อาทิเช่น ผงวิเศษของหลวงปู่เฮี้ยง วัดป่าอรัญญิกาวาส (มีพระลูกวัดอยู่รูปหนึ่งมีศักดิ์เป็นหลานหลวงพ่อแฟ้ม วัดป่าฯ ได้นำลูกอมผงมาถวายหลวงปู่หลายก้อน) ผงพุทธคุณที่หลวงปู่ทำมาจากเกสรดอกไม้และแผ่เมตตาภาวนาจิต เป็นต้น พระชุดนี้จึงออกเป็นเนื้อสีขาวอมเหลือง โดยชุดหลังนี้พระในวัดจะเป็นคนกดพระผงโดยที่หลวงปู่เป็นผู้กำกับในการกดและปริกรรมพระคาถา เป่าก้อนผงทุกก้อน......

บทสรุปของตำนานภาคที่ 2 พระผงชุดหลวงพ่อโต พิมพ์สมาธินี้จึงมีความน่าสนใจในการเล่นหา เนื่องจากเจตนาในการจัดสร้างโดยมิได้หวังผลกำไรเชิงพานิชย์แต่เป็นการตอบแทนลูกศิษย์ลูกหาที่มาถวายปัจจัยเข้าสู่วัดเพื่อบูรณะปฏิสังขรพุทธสถาน อีกทั้งยังสร้างและกดพิมพ์โดยมือของหลวงปู่ท่านเอง.......

เรียบเรียง โดย กรณ์ จันทบุรี

หมายเลขบันทึก: 590565เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2015 23:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2015 23:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท