พระในพุทธศาสนาใช้อคติเชิงเชื้อชาติ และเรื่องซุบซิบเพื่อการขยายความเกลียดชังในประเทศพม่า


ชื่อของเขาคือ วีราธุ เขาเรียนตนเองว่าเป็นบินลาดินแห่งชาวพม่า และเขาเป็นพระในพุทธศาสนา ซึ่งก่อให้เกิดความเกลียดชังทางศาสนาทั่วไปในพม่า

ท่านอายุประมาณ 45 ปี และได้อวดอ้างการคุยโวโอ้อวดในเรื่องความเกลียดชังผ่าน DVD และสื่อสังคมออนไลน์ ท่านมีจุดเน้นในเรื่องการต่อต้านมุสลิม ซึ่งเป็นคนที่มุ่งหมายเด็กหญิงชาวพุทธที่ไม่รู้ประสีประสา และข่มขืนเด็กหญิงเหล่านั้น รวมทั้งยังหมกมุ่นอยู่กับการเล่นพรรคเล่นพวก

ด้วยความที่ไม่รู้จักภาษาพม่า แต่คำสอนของเขายังคงมั่นคงและเยือกเย็น ดูเหมือนจะอยู่ในสมาธิ พระวีราธุจะเอนตัวไปมา และสายตาลดลงต่ำ อย่างไรก็ตาม จากคำพูดของเขาโดยรวมก็จะเป็นเรื่องความหวาดระแวงและความกลัว เต็มไปด้วยการเหมารวมทางเชื้อชาติ และเป็นข่าวลือที่ไม่ได้รับการพิสูจน์ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดการแพร่กระจายของข้อมูลผิดๆ และเป็นการยุยงให้เกิดความรุนแรง

"พวกเราถูกข่มขืนในทุกๆ เมือง ถูกล่วงละเมิดทางเพศในทุกๆ เมือง ถูกรุมรังแกในทุกๆ เมือง" พระวีราธุกล่าวให้สัมภาษณ์กับ The Guardian ขณะอยู่ที่วัด Masoeyein ในเมืองมัณฑะเลย์ "ในทุกๆ เมืองจะมีกลุ่มชาวมุสลิมส่วนมากที่ป่าเถื่อนและหยาบคาย"

เป็นเรื่องง่ายที่จะมองว่าพระวีราธุเป็นแค่พระหัวรุนแรงที่ได้รับข้อมูลผิดๆ แต่ว่าพระวีราธุเป็นคนที่มีความนิยมสูงมาก นอกเหนือจากพระในวัดเดียวกันซึ่งเป็นที่เคารพศรัทธาแล้ว พระวีราธุมีผู้ติดตามจำนวนหลายพันคนในเฟซบุ๊คและวีดิโอของเขาในยูทูปก็มีผู้ชมมากกว่าหมื่นครั้ง

The Guardian ระบุว่า ท่ามกลางการเปิดเสรี (the increasing openness)มากขึ้นในพม่า กระแสแนวคิดต่อต้านมุสลิม (a wave of anti-muslim)ของชาวพุทธในพม่าซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ 60 ล้านคน ก็แพร่ไปทั่ว และพระวีราธุก็เป็นคนที่มีส่วนในการเผยแพร่แนวคิดนี้อย่างมาก

พระวีราธุเริ่มเป็นที่รู้จักตั้งแต่ปี 2001 เมื่อเขาเป็นผู้รณรงค์ในระดับชาติให้มีการไม่ซื้อ หรือไม่ทำอะไรร่วมกัน (boycott) กับธุรกิจของชาวมุสลิม เขาถูกสั่งจำคุก 25 ปี ในปี 2003 ข้อหายุยงให้เกิดความรุนแรงต่อชาวมุสลิม แต่ถูกปล่อยตัวในช่วงที่มีการนิรโทษกรรมทั่วไป (general amnesty)ในปี 2010

หลังจากเขาถูกปล่อยตัวแล้วก็ยังทำการเทศนาเผยแพร่ความเกลียดชังต่อไป คนจำนวนมากเชื่อว่าคำพูดของเขาเป็นสิ่งปลุกระดมให้เกิดการปะทะกันระหว่างชาวพุทธและชาวมุสลิมชาติพันธุ์โรฮิงยาในรัฐอาระกัน หรือเมืองยะไข่ (Rakhine) เมื่อเดือน มิ.ย.2012 ซึ่งทำให้ประชาชนราว 200 รายถูกสังหาร และมากกว่า 100,000 คนไม่มีที่อยู่อาศัย

ในเดือน ก.ย.2012 พระวีราธุเป็นคนที่นำพระสงฆ์ออกมาเดินขบวนในมัณฑะเลย์เพื่อปกป้องแผนการส่งตัวชาวโรฮิงยาไปยังประเทศที่ 3 ของประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ในอีกเดือนหนึ่งต่อมา ก็มีการปะทะกันรัฐอาระกัน หรือยะไข่ด้วย เขายังเป็นคนสนับสนุนโครงการ "969" ซึ่งเป็นโครงการสนับสนุนให้ชาวพุทธซื้อของจากร้านค้าชาวพุทธด้วยกันด้วย ซึ่งมีนัยยะถึงการแบ่งแยกผิวพรรณระหว่างชาวพุทธ กับชาวมุสลิม

พระวีราธุกล่าวว่าเหตุรุนแรงในรัฐอาระกันเป็นตัวจุดชนวนให้เกิดการให้เกิดความรุนแรงล่าสุดในเมืองมิตติลา ซึ่งข้อพิพาทในร้านทองกลายเป็นการจลาจลทำลายข้าวของ จนทำให้มีคนถูกสังหาร 40 คน อีก 13,000 คนถูกบังคับให้ต้องหลบหนี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม หลังจากที่มัสยิด ร้านค้า และบ้านเรือนถูกเผาทำลายทั่วเมือง

พระวีราธุกล่าวอีกว่าสิ่งที่เขาเป็นห่วงคือการใช้กำลังบังคับหญิงชาวพุทธให้นับถือศาสนาอิสลาม หลังจากนั้นก็สังหารเมื่อไม่ปฏิบัติตามศาสนาอิสลาม พระวีราธุเชื่ออีกว่าการสังหารวัวด้วยวิธีการฮาลาลทำให้เกิดความคุ้นชินกับเลือด และอาจขยายไปสู่ความรุนแรงที่เป็นภัยคุกคามความสงบสุขของโลก พระวีราธุยังกล่าวหาอีกว่าประชากรชาวมุสลิมซึ่งมีอยู่ร้อยละ 5 ของประเทศพม่าเป็นคนที่ได้รับการสนับสนุนและถูกชักใยจากกลุ่มอำนาจในตะวันออกกลาง

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่เห็นด้วยกับคำสอนของพระวีราธุ แม้กระทั่งชาวพุทธด้วยกัน ดังเช่นเจ้าอาวาส Arriya Wuttha Bewuntha จากวัด Myawaddy Sayadaw ในมัณฑะเลย์ กล่าวว่า คำสอนของวีระธุโน้มเอียงไปในเรื่องความเกลียดชัด "นี่ไม่ใช่สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนคือความเกลียดเป็นสิ่งไม่ดี เพราะว่าพระพุทธเจ้ามองว่าคนทุกคนเท่าเทียมกัน พระองค์ไม่ได้ตัดสินคนผ่านศาสนาที่นับถือ"

มีนักวิจารณ์บางคนชี้ว่า พระวีราธุขาดการศึกษาทำให้เขากลายเป็นคนสุดโต่งและไม่มีความรู้ แต่ความเห็นของเขากลับมีอิทธิพลในประเทศที่ชาวมุสลิมประสบความสำเร็จด้านการค้าขาย

พระวีราธุเกิดเมื่อปี 1968 ในเมืองใกล้กับมัณฑะเลย์ เขาออกจากโรงเรียนเมื่ออายุ 14 ปี แล้วมาเป็นพระ เขาบอกว่าที่มาบวชเป็นพระเพราะต้องการออกจากชีวิตแบบฆราวาสที่มีแต่ความโลภและความมุ่งร้าย และบอกว่าเขาไม่อยากแต่งงานเพราะไม่อยากอยู่กับผู้หญิง เขาอ้างว่าเคยอ่านคัมภีร์อัลกุรอานและมีเพื่อนเป็นชาวมุสลิม แต่ก็บอกว่าไม่ได้สนิทสนมด้วยเพราะเพื่อนชาวมุสลิมของเขาไม่รู้จักวิธีพูดกับพระ "ผมจะยอมรับพวกเขาเป็นเพื่อนได้ถ้าหากพวกเขาเห็นว่าผมเป็นบุคคลทางศาสนาที่เป็นที่เคารพและมีความสำคัญ"

แม้ว่าเขาจะเคยติดคุก 7 ปี จากข้อหายุยงให้เกิดความรุนแรงทางศาสนา แต่เมื่อเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา พระวีราธุก็เพิ่งได้รับรางวัล "เสรีภาพในการนับถือศาสนา" จากวัด Sasana Ramsi ซึ่งเป็นวัดพม่าชั้นนำตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในสัปดาห์เดียวกับที่เขาแพร่ข่าวลือเรื่องโรงเรียนย่างกุ้งกำลังถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นมัสยิด

นักวิเคราะห์เตือนว่า สิ่งที่ดูเหมือนเป็นเสรีภาพในการเทศนาตามใจชอบของพระวีราธุ นอกจากจะสร้างอิทธิพลให้พระรายอื่นๆ เริ่มเทศนาให้เกิดความเกลียดชังอิสลามในลักษณะเดียวกันแล้ว ยังเป็นเรื่องที่น่าจะต้องมีการจัดการอะไรบางอย่าง

"ถ้าหากการเคลื่อนไหวสร้างความเกลียดชังอย่างแนวทาง '969' ที่เป็นคำพูดที่ก่อให้เกิดความเกลียดชัง (hate speech) และเป็นสัญลักษณ์แสดงความเกลียดชัง (hate symbol) เกิดขึ้นกับกลุ่มคนชาวยิวในยุโรป รัฐบาลของยุโรปในประเทศใดก็ตามคงไม่ยอมทนกับมัน" Maung Zarni นักกิจกรรมชาวพม่าผู้ได้รับทุนศึกษาต่อที่วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์ลอนดอนกล่าว เขาตั้งคำถามอีกว่าเหตุใดสหภาพยุโรปถึงไม่จริงจังกับเรื่องนี้ ทั้งที่พม่าเป็นประเทศรับความช่วยเหลือจากอียู

ทั้งประธานาธิบดีเต็ง เส่ง และอองซาน ซูจี ต่างก็ถูกวิจารณ์ว่าไม่ได้ออกมาแสดงการต่อต้านความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพม่าเมื่อช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ขณะที่บางคนชี้ให้เห็นว่าการโจมตีในช่วงที่ผ่านมามีการวางแผนไว้ก่อน

Vijay Nambiar ผู้แทนพิเศษของสหประชาชาติกล่าวว่าเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นสร้างความเสียหายอย่าง 'มีประสิทธิภาพ' และอ้างว่าการโฆษณาชวนเชื่อที่ลามไปทั่วเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดปัญหา

เมื่อไม่นานมานี้ นักกิจกรรมหลากศาสนาในพม่าออกมาตามท้องถนนเพื่อประท้วงต่อต้านความรุนแรง มีการแจกจ่างเสื้อยืดและสติกเกอร์ที่มีข้อความว่า "ฉันจะไม่เป็นต้นเหตุของความขัดแย้งทางเชื้อชาติและศาสนา" แต่ดูเหมือนว่าความขัดแย้งระหว่างชาวพุทธกับชาวมุสลิมในพม่าจะแพร่ไปทั่วแล้ว

The Guardian เปิดเผยว่าในกรุงย่างกุ้งเมื่อไม่นานมานี้มีเหตุไฟไหม้มัสยิดจนทำให้มีเด็กเสียชีวิต 13 คน เชื่อว่าเป็นเหตุการวางเพลิง ขณะที่ในอินโดนีเซียมีชาวพุทธสามคนถูกทุบตีจนเสียชีวิตโดยชาวมุสลิมโรฮิงยาที่ทัณฑสถาน ซึ่งดูเหมือนเป็นการตอบโต้เหตุการณ์ที่ชาวพุทธรายหนึ่งในทัณฑสถานกระทำอนาจารต่อผู้หญิงชาวโรฮิงยา

ขณะเดียวกันก็มีข่าวลือว่า คนที่ยุยงให้เกิดการต่อสู้กันเช่นคนอย่างพระวีราธุเป็นเพียงแค่ตัวเบี้ยหมากของทหารพม่าระดับสูง ในการสร้างปัญหาให้กับประชาธิปไตยในพม่าที่เพิ่งจะเกิดขึ้น แต่พระวีราธุยืนยันว่าเขาไม่ได้ทำงานให้ใคร เขามีความเชื่อของตัวเองและต้องการให้โลกรับรู้เรื่องนี้

ในการเทศนาเมื่อเดือนที่แล้ว พระวีราธุยังได้เตือนเกี่ยวกับเรื่องการขยายตัวของประชากรมุสลิมในพม่า ซึ่งมีนัยยะว่า "พวกเขา (มุสลิม)จะเข้ามาแทนที่หรือยึดประเทศของเราในที่สุด"

และเช่นเดียวกับชื่อที่เขาตั้งให้ตัวเองว่า 'บิน ลาเดน แห่งพม่า' เขาก็มักจะเรียกร้องให้เกิดการต่อสู้รุนแรง

Kate Hodal. Buddhist monk uses racism and rumours to spread hatred in Burma. http://www.theguardian.com/world/2013/apr/18/buddhist-monk-spreads-hatred-burma

หมายเลขบันทึก: 590492เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2015 16:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2015 19:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จะให้ยุติธรรม เกี่ยวกับ "การยุยงให้เกิดความเกลียดชัง" ระหว่าง 2 ศาสนานี้ ต้องตีแผ่ทั้ง 2 ฝ่ายครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท