การวิเคราะห์และจัดทำกลยุทธ์ (Strategy Crafting and Analysis) ตอนที่ 1 การทำความเข้าใจความซับซ้อนกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ


การแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบถึงรากเหง้าของปัญหา (root cause) ซึ่งมีความแตกต่างจากที่มาของปัญหาทั่วๆ ที่มาของปัญหาทั่วไป อาจเป็นผลต่อเนื่องมาจากรากเหง้าของปัญหาอีกที่หนึ่ง สะท้อนออกต่อไปเรื่อยๆ เหมือนปฏิกิริยาลูกโซ่ (chain reaction) ที่ต่อเนื่องกันไป จะพบว่า ตรงกับหลักของศาสนาพุทธที่ว่า การมีเหตุปัจจัย นำไปสู่ผลต่างๆ การจะแยกแยะว่า สิ่งนั้นเป็นแนวทาง/การอธิบาย (solution) หรือเป็นสาเหตุ (cause) เป็นประเด็นหนึ่งที่จะต้องแยกให้ออกเสียก่อนที่ไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในบางครั้งการมีเหตและผลของปัญหาที่เกิดอาจจะไม่เป็นไปในทิศทางที่มีเหตุผลอย่างที่ควรจะเป็น หรือเป็นไม่เป็นไปตามการคาดคะเนของแต่ละบุคคล

แนวคิดของการแก้ปัญหาแบบดั้งเดิม (ที่ใช้การไม่ได้แล้ว) ดังรูป
sc_1

เพราะในสถานการณ์จริง ชีวิตจริง มันไม่ง่ายอย่างที่เราคิด ไม่ใช่เพราะความไม่ง่ายที่ตัวปัญหา แต่เป็นที่สภาพแวดล้อมของปัญหาที่เกิดขึ้น ดังรูป
sc_2

โปรดสังเกตทีคำว่า Others ... คนอื่นนี่แหละที่ทำให้ระบบเกิดความซับซ้อนและไม่แน่นอนมากยิ่งขึ้น เพราะไม่ใช่ว่าเราเท่านั้นที่จะเห็นปัญหา มองเห็นถึงที่มาของปัญหา รวมไปถึงรากเหง้าของปัญหา แต่คนอื่นก็มองเห็น ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า เรากับเขามีความเป็นไปได้สูงที่จะมองเห็นไม่เหมือนกัน จึงทำเป็นที่มาให้มีแนวทาง กลยุทธ์ แผนการจัดการที่แตกต่างกันออกไป อีกทั้งยังมีโอกาสเกิดขึ้นในเวลาที่ตรงกันทำให้เกิดความโกลาหลซ้อนทับปัญหามากยิ่งขึ้นไปอีก

ปัญหาของการแก้ไขปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญ คือ เรามักจะรับรู้ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (events) รูปแบบของมัน (pattern) แต่เรายังไม่เข้าใจระบบ (system) ได้ดีพอ บางครั้งเราก็ไม่เข้าใจมัน หรือคิดไม่ถึงว่าต้องทำความเข้าใจกับมันเสียก่อน ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจระบบได้ ซึ่งเป็นภาพใหญ่ที่เห็นปัจจัยกระทบทั้งหมด จึงจะมีโอกาสแก้ปัญหาได้อย่างถาวร ไม่เกิดปัญหาซ้ำแล้วซ้ำเล่า ขึ้นมาอีก

sc_3

จากแนวคิดของการมองปัญหาขยายกว้างไปสู่การทำความเข้าใจระบบข้างต้น จึงอยากนำเสนอเครื่องมือหนึ่งที่เรียกว่า System Dynamics ในตอนต่อไป

อ้างอิง: thanakrit.net

หมายเลขบันทึก: 590424เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2015 11:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มกราคม 2016 07:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท