วิเคราะห์มุมมองผู้เห็นต่าง:ร่างรัฐธรรมนูญฉบับเขียว-เหลืองกัน


ความเห็นส่วนตัว วิเคราะห์...มุมมองของผู้เห็นต่าง ต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับป้าตี๋หน้าหยกกันดีกว่า ได้มีโอกาสอ่านงานเขียนในการวิพากษ์ร่าง รธน.ฉบับใหม่ของยุค คสช. โดยฝีมือของ สนช. อย่างละเอียดแล้ว...ต้องกุมขมับ แทบต้องร้องโอย..ของพี่แจ้ ดนุพลเพราะผิดหวัง เศร้าใจต่อกูรูนักกฎหมาย และนักอะไรต่อมิอะไรท้ายสุดสงสารประเทศชาติ ที่หาคนเป็นดีเป็นกลางและหวังดีต่อประเทศชาติไม่ได้เสียแล้ว ประกอบกับคณะรัฐมนตรีเพิ่งมีมติออกมาให้ทำประชาพิจารณ์ทั้งฉบับตามเสียงเรียกร้องของสาธารณชน ด้วยงบประมาณ 3 พันล้านบาท .....รัฐธรรมนูญถือเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศควรต้องมีบทบัญญัติที่ถูกต้อง เป็นธรรม ต้องไม่เอื้อประโยชน์ หมกเม็ดซ่อนเงื่อนเพื่อประโยชน์ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ ที่ผ่านมาเราประสบปัญหาต่างๆมากมายกับการเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อคนบางกลุ่มใช้อำนาจตัดตอนคนอีกกลุ่มหนึ่ง ...มาแล้วบัดนี้ผู้มีอำนาจก็กำลังจะเจริญรอยตามกันไป แล้วจะเกิดอะไรขึ้น เรื่องของ...การปรองดอง ...การสร้างชาติ ...สร้างเมืองจะเป็นอย่างไรในอนาคต​ ขอฝากให้ทุกท่านได้โปรดใช้วิจารณญาณของตนเองใส่ใจกับการลงประชามติต่อร่าง รธน.นี้ด้วย /เตือนใจ เจริญพงษ์


นำมุมมอง7 เหตุผลที่ประชาชนควรปฏิเสธ "ร่างรัฐธรรมนูญฉบับเขียว-เหลือง"บางตอนมาฝากคะ

.......................................................................................................................................................................................

7 เหตุผลที่ประชาชนควรปฏิเสธ "ร่างรัฐธรรมนูญฉบับเขียว-เหลือง"

ของ ...จิรภัทร ธรรมาวรานุคุปต์ / ปราชญ์ ปัญจคุณาธร

ท่ามกลางเสียงเรียกร้องให้ทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับคณะกรรมาธิการ

ยกร่างฯ ชุด ศ.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ

ผู้เขียนในฐานะประชาชนเจ้าของประเทศคนหนึ่ง เห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญนี้

จะสร้างความเสียหายต่อประเทศไทยร้ายแรงกว่าฉบับใดๆ ที่ผ่านมา

เราทุกคนทราบกันอยู่แล้วว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีปัญหาเรื่องที่มา

ของคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ซึ่งแต่งตั้งโดยตรงจาก สปช. (โดยอ้อมจาก คสช.)

แต่ปัญหาที่ร้ายแรงกว่านั้นคือเรื่องเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ

กล่าวคือเนื้อหาแทบทุกหมวดไม่ได้เป็นไปเพื่อประชาชน

แต่เป็นไปเพื่อการรักษาอำนาจของคนกลุ่มหนึ่ง


ผู้เขียนขอสรุป 7 เหตุผลหลักที่ประชาชนควรปฏิเสธร่างรัฐธรรมนูญฉบับ

"เขียว-เหลือง" ดังนี้

1. ร่างรัฐธรรมนูญนี้พรากอำนาจอธิปไตยไปจากประชาชน

สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ:/ศาลรัฐธรรมนูญ:

2. ร่างรัฐธรรมนูญนี้สืบทอดอำนาจคณะรัฐประหาร และองค์กรที่คณะรัฐประหารแต่งตั้ง

3. ร่างรัฐธรรมนูญนี้สร้าง "อุตสาหกรรมการลากตั้ง"

ให้นักลากตั้งหากินกับเงินภาษีประชาชน

4. ร่างรัฐธรรมนูญนี้มุ่งทำให้ฝ่ายบริหารเป็นอัมพาต บริหารประเทศไม่ได้

5. ร่างรัฐธรรมนูญนี้มุ่งปกป้องทหารและรักษาอภิสิทธิ์ของกองทัพ

สุดท้าย ร่างรัฐธรรมนูญเปิดช่องให้นายทหารที่รับผิดชอบ

ต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรง ไม่ต้องรับโทษ ด้วยการให้อำนาจ

"คณะกรรมการอิสระเสริมสร้างความปรองดองแห่งชาติ"

สามารถอภัยโทษได้ในกรณีที่บุคคลที่กระทำผิด

"แสดงความสำนึกผิดต่อคณะกรรมการฯ"

(แต่ไม่จำเป็นต้องแสดงความสำนึกผิดต่อสาธารณะ) (มาตรา 298 (6))

6. ร่างรัฐธรรมนูญนี้ร่างด้วยเจตนาไม่สุจริต

7. ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้แก้ไขไม่ได้

ที่มาข้อมูล: มติชนรายวัน 20 พค.2558

................................................................................................................................................................................................

ความเห็นส่วนตัว

วิเคราะห์...มุมมองของผู้เห็นต่าง ต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับป้าตี๋หน้าหยกกันดีกว่า

ได้มีโอกาสอ่านงานเขียนในการวิพากษ์ร่าง รธน.ฉบับใหม่ของยุค คสช.

โดยฝีมือของ สนช. อย่างละเอียดแล้ว...ต้องกุมขมับ แทบต้องร้องโอย..ของพี่แจ้ ดนุพลเพราะผิดหวัง

เศร้าใจต่อกูรูนักกฎหมาย และนักอะไรต่อมิอะไรท้ายสุดสงสารประเทศชาติ

ที่หาคนเป็นดีเป็นกลางและหวังดีต่อประเทศชาติไม่ได้เสียแล้ว

ประกอบกับคณะรัฐมนตรีเพิ่งมีมติออกมาให้ทำประชาพิจารณ์ทั้งฉบับตามเสียงเรียกร้องของสาธารณชน

ด้วยงบประมาณ 3 พันล้านบาท

.....รัฐธรรมนูญถือเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศควรต้องมีบทบัญญัติที่ถูกต้อง เป็นธรรม

ต้องไม่เอื้อประโยชน์ หมกเม็ดซ่อนเงื่อนเพื่อประโยชน์ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ

ที่ผ่านมาเราประสบปัญหาต่างๆมากมายกับการเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อคนบางกลุ่มใช้อำนาจตัดตอนคนอีกกลุ่มหนึ่ง

...มาแล้วบัดนี้ผู้มีอำนาจก็กำลังจะเจริญรอยตามกันไป แล้วจะเกิดอะไรขึ้น

เรื่องของ...การปรองดอง ...การสร้างชาติ ...สร้างเมืองจะเป็นอย่างไรในอนาคต

ขอฝากให้ทุกท่านได้โปรดใช้วิจารณญาณของตนเองใส่ใจกับการลงประชามติต่อร่าง รธน.นี้ด้วย /เตือนใจ เจริญพงษ์

.........................................................................................................................................................................................

หมายเลขบันทึก: 590417เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2015 23:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2015 07:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท