ตำนานพระนางพญา (ฉบับสมบูรณ์) 8/12


รูปทรงโครงสร้างพระพักตร์ ( ใบหน้า )


พระนางพญา กรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก สร้างในยุคของ องค์พระวิสุทธิกษัตรีย์ แต่ละพิมพ์มีมาตรฐานตายตัวดังนี้




พระพักตร์ ( ใบหน้า ) รูปกลม


พระพักตร์ ( ใบหน้า ) รูปไข่


พระพักตร์ ( ใบหน้า ) สามเหลี่ยมแก้มตอบ ดูช่องว่างข้างใบหูซ้ายมือ


พระพักตร์ ( ใบหน้า ) สามเหลี่ยมคางหมู ดูที่คางไม่เลียวแหลมมากนัก


พระพักตร์ ( ใบหน้า ) สามเหลี่ยมฤาษี ดูที่คางเรียวแหลมเล็กลง


พระพักตร์ ( ใบหน้า ) พิมพ์เข่าโค้ง ยุคขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ( ยุคอินโดจีน ) สังเกตให้ดีมีดวงตาโปนออกมา


พระพักตร์ ( ใบหน้า ) พิมพ์สังฆาฏิ ยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์


พระพักตร์ ( ใบหน้า ) สังฆาฏิ ยุคขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช


ประสบการณ์

มีประสบการณ์เล่าต่อๆกันมาว่า ทหารขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหา ราชไปรบที่ไหน ก็ประสบชัยชนะที่นั่น เป็นที่หวั่นเกรงแก่พม่าในขณะนั้น ประสบการณ์ต่อมาคือ เมื่อครั้งที่ ทหารไทยไปรบในสงครามอินโดจีน มีชัยชนะครั้งแล้วครั้งเล่า และอีกประสบการณ์หนึ่งคือ ทำให้บรรดาพ่อค้าและนักธุรกิจทำมาหากินเจริญรุ่งเรืองร่ำรวยเร็วมาถึงทุกวันนี้

มวลสารที่ผสมอยู่ในองค์พระนางพญา มีดังนี้

นักสะสมพระเครื่อง นำพระนางพญามาจัดเข้าชุดเบญจภาคี (พุทธศิลป์ ) ศิลปะอยุธยาประเภทเนื้อดินเผาผสมมวลสาร พระธาตุเหล็กไหล เหล็กน้ำพี้ โพรงเหล็กไหล พระธาตุสี ขาวขุ่น พระธาตุสีชมพู ผงถ่านใบลาน เกสรดอก ไม้ 108 ว่าน 108 น้ำมนต์ทิพย์ ดินมงคลตามสถานที่ต่างๆ ทรายเงินทรายทองและ ( ขี้เหล็ก ) ศาสตราวุธอย่างเช่น มีด หอก ดาบที่ลงเลขยันต์แล้วเป็นต้น

ความหมายของมวลสารที่นำมาผสมในองค์พระนางพญามีดังนี้

  1. พระธาตุเหล็กไหล มีความสำคัญทางด้านแคล้วคลาด ชนะอุปสรรค์ ชนะศัตรู
  2. เหล็กน้ำพี้ มีความสำคัญด้านแก้เคล็ดและความแข็งแกร่ง
  3. โพรงเหล็กไหล มีความสำคัญทางด้านแคล้วคลาด ปลอดภัย
  4. พระธาตุสีขาวขุ่นและพระธาตุสีชมพู มีความสำคัญด้านสิริมงคลและแก้อาถรรพ์
  5. ผงถ่านใบลาน มีความสำคัญด้านแคล้วคลาด ปลอดภัย
  6. เกสรดอกไม้ 108 มีความสำคัญด้านเมตตามหานิยม
  7. ว่าน 108 มีความสำคัญทางด้านแคล้วคลาด ปลอดภัย ชนะอุปสรรค์ ชนะศัตรู
  8. น้ำมนต์ทิพย์ และศาสตราวุธ มีความสำคัญทางด้านแก้เคล็ด และแก้อาถรรพ์ต่างๆ
  9. ดินมงคลตามที่ต่างๆ มีความสำคัญทางด้านสิริมงคล โชคลาภต่างๆ
  10. ทรายเงินทรายทอง มีความสำคัญทางด้านโชคลาภและเงินทอง

ลักษณะพระนางพญาสร้างในยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์ มีดังนี้


ดูด้านข้างทั้งสามด้านจะต้องมีรอยตอกตัดแยกองค์พระออกจากกัน จนสามารถมองเห็นมวลสารประเภทเหล็กไหล เหล็กน้ำพี้ พระธาตุสีขาวขุ่น ทรายเงิน ทรายทอง และร่องลอยของเกสรดอกไม้ 108 ว่าน 108 ที่ถูกเผาเป็นเถ้าถ่านไปแล้ว เหลือไว้แต่รูพรุนๆคล้ายพระผุ ด้านหลังขององค์พระบางองค์ จะมีรอยนิ้วมือของพระหรือครูบาอาจารย์ปรากฏอยู่

หากท่านใดพูดว่าพระนาง พญาที่นำมาให้ชมนี้ เป็นพระใหม่ พระเก๊ พระปลอม พระผิดพิมพ์ อายุการสร้างไม่ถึง ช่วยอธิบายให้เป็นวิทยาทานแก่ผู้สนใจด้วยว่า ร่องรอยขรุขระยุบ ตัวด้านข้างนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ?



ลักษณะการตัดด้านข้าง

พระนางพญายุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์ จะมีรอยขรุขระยุบตัวด้านข้างในลักษณะนี้ ฝีมือมนุษย์ไม่สามารถ ทำเทียมเลียนแบบความเก่าแก่ทางธรรมชาติที่ผ่านกาลเวลามานานนับร้อยปีได้



ลักษณะการตัดด้านข้าง

พระนางพญายุคขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตอนขึ้นครองราชย์สมัยแรกเรียกกัน ว่า ยุคอินโดจีน สภาพการตัดด้านข้างดูธรรมดาๆ "ตาโปน" มีราเขียว ราดำ ตลอดทั้งขี้ตะใคร่ที่เกิดจากไอน้ำและความชื้นเกาะกันเป็นแผ่นหนา บอกถึงกาลเวลาว่าสร้างต่อจากยุคของ องค์พระวิสุทธิ์กษัตรีย์ มาถึงยุคสงครามใกล้สงบได้มีการสร้างพระนางพญาขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง จึงไม่ปรากฏร่องรอยความเก่าแก่ทางธรรมชาติและมวลสารใดๆมากนัก สรุปว่าพระนางพญายุคขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชมีการสร้างกันถึงสองครั้ง เนื้อดินที่นำมาสร้างก็แตกต่างกันมาก


มีคนตั้งข้อสงสัยกันมาก

มีคนตั้งข้อสงสัยกันมากว่า พระนางพญาที่สร้างในยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์ เกิดรอยขรุขระยุบตัวด้านข้างได้อย่างไร พระและคนเฒ่าคนแก่ท่านอธิบายบอกไว้ว่า ร่องรอยขรุขระยุบตัวด้าน ข้างขององค์พระนางพญานั้น เกิดจากมวลสารประเภทดอกไม้ 108 ว่าน 108 เหล็กไหล เหล็กน้ำพี้ และศาสตราวุธ ที่ถูกไฟเผาหลอมละลายหลุดออกไป เหลือไว้แต่รอยขรุขระยุบตัวดังที่ปรากฏ ร่องรอยดังกล่าวจะไม่มีซ้ำกันเลยแม้แต่องค์เดียว


หมายเลขบันทึก: 590410เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2015 22:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2015 02:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท