ตำนานพระนางพญา (ฉบับสมบูรณ์) 10/12


พระนางพญากรุมี ๓ กลุ่มดังนี้

กลุ่มที่ ๑ กลุ่มพระที่ถูกบรรจุไว้ในไห ฝังอยู่เหนือพื้นดิน เนื้อพระจะแห้ง

กลุ่มที่ ๒ กลุ่มพระที่ถูกบรรจุไว้ในไห ฝังอยู่ต่ำกว่าพื้นดิน เนื้อพระจะมีรา เขียว ราดำ และขี้ตะใคร่ที่เกิดจากไอน้ำและความชื้นตกผลึกฝังลึกลงไปในเนื้อพระ

กลุ่มที่ ๓ กลุ่มพระที่อยู่นอกไห ( ไหแตก ) จะมีเศษอิฐหินดินทรายเกาะแน่น

การดูพระกรุและพระเก่าโดยเฉพาะพระนางพญา

1. พระนางพญาแท้รุ่นที่พระวิสุทธิกษัตริย์สร้าง รูปทรงขององค์พระจะมีลักษณะแข็งๆดูแล้วไม่สวยงามอ่อนช้อย เพราะพิมพ์จากแม่พิมพ์ที่แกะโดยช่างฝีมือระดับชาวบ้าน แต่ก็ยึดรูปแบบหลวงพ่อพระพุทธชินราชเป็นหลัก

2. พระนางพญาที่บรรจุอยู่ในกรุหรือไหดินเผา ถึงจะมีอายุเก่าแก่เป็นร้อยปีพันปี ควรมีสภาพสมบูรณ์และ คมชัดทั้งด้านหน้าด้านหลัง ไม่ควรสึกกร่อนใดๆ ปรากฏ เพราะไม่เคยถูกใช้งานมาก่อน

3. หากพบพระกรุหรือพระเก่า อยู่ในสภาพสมบูรณ์ แต่ไม่มีคราบขี้กรุตลอดทั้งราดำหรือราเขียวๆปรากฏ ก็ลองเอาแปลงสีฟันขัดถูเอาเศษดินทรายที่องค์พระออก ถ้ามองดูแล้วเหมือนอิฐที่ผ่านการเผามาใหม่ๆ ก็ให้สงสัยไว้ก่อนว่า เป็นพระใหม่ เป็นไปไม่ได้ที่พระกรุพระเก่าแก่มีอายุเป็นร้อยปีพันปี จะไม่มีร่องรอยของการผุกร่อนตลอดทั้งคราบขี้ตะใคร่หรือราเขียวราดำปรากฎให้เห็นตามธรรมชาติ

4. พระนางพญาที่ผ่านการใช้งานมาแล้วควรมีสภาพการสึกกร่อนด้านหลังมาก กว่าด้านหน้า เพราะในระหว่างการใช้งานด้านหลังจะถูไถไปมากับหน้าอกมากกว่าด้านหน้า เนื่องจากสมัย โบราญ การแขวนสร้อยห้อยพระเครื่องจะนิยมถักด้วยลวดทองแดงเป็นตาข่ายไขว้ไปไขว้มายังไม่มีการใส่กรอบมิดชิดเหมือนสมัยปัจจุบัน

5. ดูความหนาแน่นของเนื้อพระ ถ้าเป็นพระเก่ามีอายุเป็นร้อยๆปี ไม่ว่าจะเป็นเนื้อดินหรือเนื้อปูนจะมีสภาพแน่นและแข็งแกร่งมากๆ เมื่อขัดถูเอาเศษอิฐหินดินทรายออกจากเนื้อพระดินเผาของแท้ ควรขึ้นเงาคล้ายเอาน้ำมันไปทา หากมีมวลสารและส่วนผสมของผงใบลานและดอกไม้ มากๆ เนื้อพระควรจะมีสภาพเป็นรูพรุนเหมือนดินผุๆ มองเห็นมวลสารและแร่ธาตุต่างๆได้ชัดเจน


พระที่อยู่ในกรุ บรรจุอยู่ต่ำกว่าพื้นดิน


จะมีราเขียวหรือราดำและคราบขี้ตะใคร่ ที่เกิดจากไอน้ำหรือความชื้นปรากฏ สีสันของเนื้อพระจะแตกต่างจากพระที่บรรจุอยู่ในกรุเหนือกว่าพื้นดินเห็นได้ชัด สภาพของดินและร่อง รอยความเก่าแก่ทางธรรมชาติสามารถบอกได้ว่า พระเก่าหรือพระใหม่ ( พระที่สร้างก่อนสมัยกรุงรัตน์โกสินทร์ ถือว่าเป็นพระแท้ ) แต่ถ้าสร้างในสมัยกรุงรัตน์โกสินทร์ถึงยุคปัจจุบัน ถือว่าไม่ใช่พระนางพญา กรุวัดนางพญาแท้แน่นอน



ขอย้ำ การดูพระกรุพระเก่าแก่ อายุเป็นร้อยๆปี ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตาม ปรากฎ การทางธรรมชาติ องค์ไหนถูกบรรจุอยู่ในกรุฝังต่ำกว่าพื้นดินจะมีความอับชื้นมาก ย่อมมีคราบขี้ตะใคร่ที่เกิดจากไอน้ำหรือความชื้นตกผลึกฝังลึกลงไปในเนื้อพระ บางองค์จะเห็นเกาะกันเป็นแผ่นเลยก็มี


พระที่บรรจุอยู่ในกรุ ฝังอยู่เหนือพื้นดิน

จะไม่มีความอับชื้น ทำให้เกิดขี้ตะใคร่หรือราเขียวราดำแต่อย่างไร การดูพระเครื่องไม่ว่าจะเป็นพระใหม่หรือพระเก่า จะไปดูรูปทรงขององค์พระและตำหนิต่างๆเป็นเกณฑ์ตายตัวไม่ได้ เพราะรูปทรงขององค์พระทำปลอมกันได้ง่ายมาก

คำตอบสุดท้ายคือ พระนางพญา เป็นพระหลักในชุดเบญจภาคี ที่บอกถึงฐานะและรสนิ ยม ในการเป็นผู้นำของคนระดับเศรษฐีมีเงินจริงๆ ดูง่าย แต่หายาก ไม่ต้องประกวด ไม่ต้องมีใบการันตี ก็มีเสน่ห์ชวนหลงใหล มีคนอยากได้ตลอดเวลา เพราะมั่นใจในการปลุกเสกเดี่ยวโดยพระเกจิอาจารย์สมัยโบราณ ที่มีความขลังและความศักดิ์สิทธิ์จริงๆมาแล้ว การได้แขวนสร้อยห้อยพระแท้ ย่อมภูมิใจกว่า ห้อยพระเก๊ คำกล่าวที่ว่า พระใหม่ พระเก๊ พระปลอม พระผิดพิมพ์ อายุการสร้างไม่ถึง ลืมไปได้เลย

พิสูจน์แล้ว

พระนางพญา พระเครื่องในชุดเบญจภาคี ที่บุคคลชั้นผู้นำระดับเศรษฐี ยอมรับกันทั่วไป ว่าช่วยให้มีเสน่ห์แรง ธุรกิจรุ่งเรือง ร่ำรวยไว มีเงินใช้ไม่ขาดมือ อีกทั้งยังแคล้วคลาดปลอดภัยจากอุบัติเหตุและอันตรายต่างๆได้จริง

หมายเลขบันทึก: 590407เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2015 21:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2015 02:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท