ตำนานพระนางพญา (ฉบับสมบูรณ์) 9/12


เนื้อพระนางพญาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

  1. กลุ่มเนื้อละเอียดปนเนื้อหยาบแก่ว่าน
  2. กลุ่มเนื้อหยาบคล้ายพระผุ มองเห็นมวลสารต่างๆได้ชัดเจน
  3. กลุ่มเนื้อแก่แร่ เนื้อพระชนิดนี้จะปรากฏมวลสารเม็ดใหญ่ๆโผล่ขึ้นมาให้เห็นชัดเจน

พระนางพญา สร้างครั้งแรก

พระนางพญาสร้างครั้งแรกจะมีลักษณะแข็งๆ เพราะแกะแม่ พิมพ์โดยช่างฝีมือระดับชาวบ้าน สร้างครั้งที่สองในยุคขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จึงสวยงามมากขึ้น เพราะได้นำช่างหลวงมาช่วยแกะแม่พิมพ์ ดังภาพถ่ายที่นำมาขยายใหญ่ให้ผู้ที่สนใจได้ดูกันเป็นบุญตานี้ ถ้าจะดูกันให้เห็นชัดเจนกว่านี้ ก็นำเอากล้องถ่ายรูปที่มีคุณภาพสูงๆมาถ่าย แล้วนำไปโหลดเข้า เครื่องคอมพิวเตอร์ ( ขยายดู )

วัดนางพญา มีการสร้างพระเครื่องกันมาแล้วกี่ครั้ง

ถ้าใครยังพูดว่าพระที่นำมาให้ดูเป็นตัวอย่างนี้เป็นพระใหม่ พระเก๊ พระปลอม พระผิดพิมพ์ ก็ถามเขาด้วยว่า วัดนางพญามีการสร้างพระเครื่องกันมาแล้วกี่ครั้งกี่หน เปลี่ยนเจ้าอาวาส เปลี่ยนคณะกรรมการ เปลี่ยนพระเกจิอาจารย์มาแล้วกี่รูป

ในปัจจุบันเจ้าอาวาสตลอดทั้งพระเณรและคณะกรรมการล้วนเป็นคนต่างถิ่นมาบวชและมาอาศัยอยู่ด้วยกันทั้งนั้น ข้อมูลที่เกี่ยวกับพระนางพญายุคเก่าๆ สอบถามแล้วไม่มีใครรู้เรื่องกันเลย คนพื้นที่ดั่งเดิมที่อาศัยอยู่ใกล้วัด ก็เหลืออยู่ไม่กี่คนแล้ว บางท่านบอกว่าเกิดมายังไม่เคยเห็นพระนางพญาแท้ๆเลยก็มี

ปัญหาที่พบบ่อย

ปัญหาที่พบบ่อยคือ เวลามีคนหยิบพระเครื่องในชุดเบญจภาคีขึ้นมาดูไม่ว่าจะเป็น พระรอด พระผงสุพรรณ พระซุ้มกอ พระสมเด็จวัดระฆัง พระนางพญา มักจะได้ยินคนความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอดพูดว่า พระใหม่ พระเก๊ พระปลอม พระผิดพิมพ์ อายุการสร้างไม่ถึงตาม มาทุกครั้ง

ไม่มีใครอธิบายให้ชัดเจนว่า พระเก๊ ( เก๊ยุคไหน ) พระปลอม ( ปลอมยุคไหน ) พระผิดพิมพ์ ( ผิดพิมพ์ของใคร ) อายุการสร้างไม่ถึง จะรู้ได้อย่างไรว่าอายุการสร้างถึงหรือไม่ถึง ในเมื่อพระนางพญาไม่มีการจดบันทึก ไม่มีตำราเรียนสืบทอดต่อกันมา ไม่มีตำนานลานทองให้ศึกษาตั้งแต่ต้น เซียนยุคปัจจุบันก็ยังไม่มีใครเกิดทันแม้แต่คนเดียว

ต่อไปนี้หากไปได้ยินใครพูดว่า พระใหม่ พระเก๊ พระปลอม พระผิดพิมพ์ อายุการสร้างไม่ถึงอย่าไปฟังให้เสียเวลาเพราะเขาไม่ใช่เทวดาหรือผู้วิเศษที่จะมายืนยันว่าพระของใครแท้หรือ ไม่แท้ ที่แน่ๆเขาจะไปเอาเหตุผลและหลักฐานอะไรที่ไหนมายืนยัน อย่างดีก็แค่แสดงตัวเป็นผู้ เชี่ยวชาญ สร้างภาพให้คนเคารพนับถือไปวันๆ ไม่เชื่อก็ลองให้คนเหล่านั้นนำพระที่เขายืนยันว่าเป็นพระแท้ของจริงออกมาโชว์ให้ดูกันสักองค์สิครับ จะได้รู้กันไปเลยว่ารู้แท้แน่จริงแค่ไหน ถ้าเขานำตำหนิที่ไม่เป็นมาตรฐานตายตัวมายืนยัน ก็จะได้สรุปกันไปเลยว่าบุคคลผู้นั้นดูพระไม่เป็น

การทำตำหนิ

ในสมัยโบราณการสร้างพระเครื่องยังไม่มีการทำตำหนิหรือเครื่องหมายใดๆที่องค์พระ ตำหนิต่างๆที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นโดยบังเอิญไม่ซ้ำที่กัน การจะนำตำหนิไม่ซ้ำที่กัน มาชี้เป็นมาตร ฐานตายตัวนั้นเชื่อถือไม่ได้

ปกตินักนิยมสะสมของเก่าทั่วไป จะอนุรักษ์ร่องรอยความเก่าแก่ทางธรรมชาติ ไว้ให้อยู่ ในสภาพเดิมๆ จะไม่ไปล้างหรือทำลายหลักฐาน ความเก่าแก่ทางธรรมชาติที่ผ่านกาลเวลา มานานนับร้อยปีพันปีทิ้งไปโดยเด็ดขาด ถ้าเป็นพระเครื่องก็ยิ่งจะต้องรักษาสภาพความเก่าแก่ ไว้เป็นหลักฐานในการสร้าง ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไปล้างหรือทำลายทิ้ง การเชื่อเหตุผลทางธรรม ชาติย่อมดีกว่าเชื่อเหตุผลจากบุคคลที่เกิดในยุคเดียวกัน เพราะธรรมชาติไม่เคยโกหกหลอกลวงใคร

พระเครื่องในชุดเบญจภาคีทุกวัด มีการสร้างกันขึ้นมาเพียงแค่ครั้งเดียวแต่บรรจุไว้ในกรุหลายที่ อย่างเช่นในสถูปเจดีย์ ไต้ฐานพระพุทธรูป ไต้ฐานพัทธสีมารอบพระอุโบสถ หากไปได้ยินใครพูดว่าพระกรุเก่าหรือกรุใหม่ ไม่ต้องไปสนใจ ถึงยังไงก็เป็นพระเครื่องที่สร้างโดยวัดเดียวกัน ยุคสมัยเดียวกัน คราวเดียวกัน แต่บรรจุอยู่ในกรุต่างที่กันเท่านั้น ถึงเวลากรุแตก กรุก็แตกไม่พร้อมกัน จึงเรียกกันว่ากรุเก่าหรือกรุใหม่ ไม่ใช่กรุพระเก่า กรุพระใหม่อะไรดูสภาพของดินและร่องรอยความเก่าแก่ทางธรรมชาติ ก็สามารถบอกได้ว่า พระเก่าหรือพระใหม่ ถ้าเป็นพระเก่าถือว่าเป็นพระแท้ แต่ถ้าเป็นพระสร้างในสมัยกรุงรัตน์โกสิน ถือว่าไม่ใช่พระกรุวัดนางพญาแท้แน่นอน



ไม่ได้ทำความสะอาด

ทุกอย่างยังคงอยู่ในสภาพเดิมๆคือมีสีสันเหมือนจริงทุกมุมมอง คราบขี้กรุ อย่างเช่น ราเขียว ราดำ และขี้ตะใคร่ที่เกิดจากไอน้ำและความชื้น ตกผลึกฝังลึกลงไปในเนื้อพระ บอกถึงกาลเวลาที่ผ่านมานานนับร้อยปีพันปีได้เป็นอย่างดี



พระสีอิฐที่ทำความสะอาดแล้ว

จะเห็นเนื้อพระและมวลสารต่างๆได้ชัดเจนขึ้น ข้อดีคือ เห็นมวลสาร เห็นสีของเนื้อดินว่าใหม่หรือเก่า ข้อเสียไม่ได้เห็นคราบขี้กรุ ราเขียว ราดำ และขี้ตะใคร่ที่เกิดจากไอน้ำและความ ชื้นที่ตกผลึกฝังลึกลงไปในเนื้อพระว่าผ่านกาลเวลามานานแค่ไหน ทั้งสองวิธีถือว่ามีสาระ ควรค่าแก่การนำมาพิจารณา เพราะมีข้อดีด้วยกันทั้งสองวิธี ต่างกันตรงที่ได้อย่างเสียอย่าง กล่าวคือ

อย่างแรก

เห็นความเก่าแก่ทางธรรมชาติว่าผ่านกาลเวลานานแค่ไหน เห็นคราบขี้กรุ เห็นราเขียว หรือราดำ และขี้ตะใคร่ที่เกิดจากไอน้ำและความชื้นที่ตกผลึกฝังลึกลงไปในเนื้อพระครบทุกอย่าง (ยกเว้นสีเนื้อดินขององค์พระ)

อย่างที่สอง

เห็นมวลสารต่างๆได้ชัดเจนขึ้น เห็นสีของเนื้อดินที่เปลี่ยนไป ว่าเก่าหรือใหม่ (ไม่มีคราบขี้กรุ อย่างเช่น, ราเขียว, ราดำ, สนิมแดง, และขี้ตะใคร่, ที่เกิดจากไอน้ำและความชื้น ว่าผ่านกาลเวลามานานแค่ไหน) การทำความสะอาดพระกรุเก่าแก่โบราณ (ไม่ควรล้าง ไม่ควรทำลายความเก่าแก่ทิ้งไปโดยเด็ดขาด ) ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม การเอาพระไปล้างในน้ำอุ่น ขัดถูดูแล้วจืดชืดไม่มีสง่าราศี ถ้าจะดูมวลสาร แค่ใช้กล้องถ่ายรูปคุณภาพดีๆ ถ่ายแล้วเอาไปโหลดลงคอมพิวเตอร์ขยายดู ก็เห็นชัดเจนหมดทุกแง่ ทุกมุม ทุกเม็ด กล้องส่องพระเล็กๆ เด็กๆ เขาใช้กัน

สรุปการดูพระกรุพระเก่าพระเนื้อดินเผาของแท้ ควรให้ความเก่าแก่ทางธรรมชาติที่ผ่านกาลเวลามานานนับร้อยปีพันปี " การันตี" จะเป็นธรรมกว่า ให้คนที่เกิดในยุคเดียวกันการันตีให้

พระของใครแท้ พระของใครไม่แท้ คนจ่ายเงินเท่านั้น ที่จะต้องเป็นคนใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจกันเอง ว่าจะเชื่อบุคคลที่เกิดในยุคเดียวกัน หรือจะเชื่อร่องรอยความเก่าแก่ทางธรรมชาติที่ผ่านกาลเวลามานานนับร้อยปีพันปี

อนุรักษ์ร่องรอยความเก่าแก่

ปกตินักนิยมสะสมของเก่าทั่วไป จะอนุรักษ์ร่องรอยความเก่าแก่ทางธรรมชาติไว้ให้อยู่ในสภาพเดิม ๆ จะไม่ทำลายหลักฐานความเก่าแก่ทางธรรมชาติ ที่ผ่านกาลเวลามานานนับร้อยปี พันปีทิ้งไปโดยเด็ดขาด ถ้าเป็นพระเครื่องก็ยิ่งจะต้องรักษาสภาพความเก่าแก่ทางธรรมชาติที่ผ่านกาลเวลามานานนับร้อยปีพันปีไว้เป็นหลักฐานในการสร้างไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องไปล้างหรือทำลายทิ้ง นอกเสียจากจะพยายามทำพระเก๊ให้เหมือนพระแท้ของจริงแต่ถึงอย่างไรก็ไม่สามารถทำเลียนแบบความเก่าแก่ทางธรรมชาติที่ผ่านกาลเวลามานานนับร้อยปีพันปีได้

ถ้าใช้เหตุผลทางธรรมชาติและประวัติการสร้างเข้ามาพิจารณาร่วมด้วย ก็จะช่วยทำให้การตัดสินใจหาพระนางพญาแท้ไว้ครอบครองง่ายยิ่งขึ้น พระนางพญาของแท้ เปรียบเสมือน ( เพชรแท้ ) พระนางพญาปลอมเปรียบเสมือนเม็ดทราย เมื่อเจอพระเก๊ พระปลอมอย่าเพิ่งท้อ พระแท้ของจริงยังมีอยู่ สมควรยิ่งที่จะหามาเก็บสะ สมไว้เป็นมรดกแก่ลูกหลาน ยิ่งนานวันก็ยิ่งหายากและเป็นที่ต้องการมากขึ้น

หมายเลขบันทึก: 590408เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2015 22:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2015 02:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท