ในมุมมองของ….ครูมะเดื่อ….ตอนที่ ๘ "ทฤษฎีบริหารการศึกษา : ตีให้แตกแล้วแยกปกครอง.....".


ในมุมมองของ….ครูมะเดื่อ…. "ทฤษฎีบริหารการศึกษา : ตีให้แตกแล้วแยกปกครอง....."...



หากจะถามท่านผู้นำโรงเรียนว่า " งานใดสำคัญย่ิง และเป็นหัวใจของโรงเรียน"

ก็คงจะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า....งานวิชาการ.... ใช่แล้ว ถูกต้องตรงเผงเลย

งานวิชาการคืองานหลัก และหัวใจของโรงเรียน ส่วนงานอื่น ๆ เป็นงานสนับสนุน

ทั้งสิ้น



หากย้อนไปในอดีตกาลนานมาสมัยคุณทวด คุณปู่ คุณย่า....การจัดการเรียนการสอน

ในยุคนั้น สมัยนั้น ไม่มีอาคารสถานที่ที่เรียกว่า " อาคารเรียน" ไม่มีงบประมาณที่จะ

นำมาใช้จ่ายในกิจกรรมการเรียนต่าง ๆ ไม่มีครู....ที่ต้องตะเกียกตะกายเพื่อความก้าวหน้า

และความอยู่รอด ไม่มี......ฯลฯ สิ่งที่เรียกว่าการเรียน ก็คือ มี " ครู "...ที่อาจจะเป็น

หลวงตา หลวงปู่ หรือ ปู่ ย่า ตา ทวดที่เป็นที่เคารพนับถือ ในวิชาชีพเ่ฉพาะด้าน

เช่น งานศิลปะ งานแพทย์แผนไทย งานหัตถกรรม ตลอดจนเรื่องของศิลธรรม

เรื่องของศาสนา ฯลฯ กับ "นักเรียน" ที่อาจจะเป็น เด็กวัด หรือลูก ๆ หลาน ๆ

หรือใครก็ตามที่สนใจในเรื่องนั้น ๆ



ส่วนห้องเรียน หรือ อาคารเรียน ก็ไม่ต้องจำเพาะเจาะจงว่าจะต้องมีห้อง มีอาคารเฉพาะ

อาจเป็น ศาลาวัด ใต้ถุนกุฏิ หรือแม้แต่ใต้ถุนบ้าน ใต้ร่มไม้บนคันนา ฯลฯ ก็สามารถ

เป็นห้องเรียนได้ ซึี่งเราอาจจะได้ยินคำว่า " ศิษย์ก้นกุฏิ" ก็คงมีที่มาจากเรื่องนี้



การจัดการศึกษายุคสมัยนั้น อยู่ที่ความพอใจของครู กับศิษย์ ไม่จำกัดขอบเขตของ

ความรู้ ไม่ยุ่งยาก สิ่งสำคัญ...ทั้งครูและศิษย์มีความผูกพันกัน ศิษย์ให้ความเคารพ

นับถือ กตัญญูต่อครูอย่างแท้จริง ครูก็ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ศิษย์อย่างชนิดที่เรียกว่า

"หมดไส้หมดพุง" กันเลยทีเดียว จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ครูและศิษย์ยุคนั้นจะต้อง

เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมมากเพียงใด ทั้งครูและศิษย์จึงเป็น " คนดีของสังคม"

เป็นบรรพบุรุษ ให้คนรุ่นหลังได้ระลึกถึงมาจนทุกวันนี้



อยากจะเรียกการศึกษายุคสมัยนั้นว่า " การศึกษาแบบบริสุทธิ์" ไร้สิ่งเจือปน คือ

ไม่มีคำว่า " ผลประโยชน์" หรือระบบ ระเบียบปฏิบัติ และการแข่งขัน

เข้ามาเป็นตัวกำหนด ให้เป็นทางที่ครูจะต้องพาศิษย์

เดินไป อย่างไม่รู้ทิศไม่รู้ทาง เหมือนทุกวันนี้



กลับมาสู่ยุคปัจจุบัน.....งานวิชาการยังคงเป็นงานหลักของสถานศึกษา ไม่เปลี่ยนแปลง

เป็นหน้าที่ของผู้บริหารและบุคลากรทุกคนในโรงเรียน ที่จะต้องสร้างงานวิชาการ

ให้โดดเด่น ครูทุกคนเปรียบเสมือนเป็น " หัวหอก" ที่จะต้องจัดการเรียนการสอน

ให้ไปสู่่เป้าหมาย ผู้ับริหารเป็นที่ปรึกษา เป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน และสร้างขวัญ

สร้างกำลังใจให้กับครู



ผู้บริหารเพียงคนเดียว ไม่มีวันที่จะจัดการศึกษา โดยเฉพาะงานวิชาการได้สำเร็จ

ลุล่วงตามเป็าหมาย ต้องพึ่งพาอาศัยครูและบุคลากรทุกคนในโรงเรียน

ตลอดจนพ่อ แม่ ผู้ปกครอง และชุมชน เป็นส่วนสำคัญที่จะผลักดันให้

งานวิชาการของโรงเรียนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี



ผู้บริหารที่ฉลาด จะต้องรู้จุดเด่น จุดด้อยของงานวิชาการของโรงเรียน

ต้องรู้จริงว่า ปัจจัยใดที่ส่งเสริมสนับสนุนให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ในโรงเรียนของตน สูง หรือ ต่่ำ การจะรู้จริง มิใช่มอง ๆ แล้วสรุปผล

เอาตามอำเภอใจ แต่การ " รู้จริง " จะต้องเกิดจากการ " วิเคราะห์"

แบบ " ร่วมกันวิเคราะห์" ทุกฝ่าย ทั้ง ผู้บริหาร ครู และผู้ปกครอง

อาจจะรวมไปถึงชุมชน จึงจะได้ผลการวิเคราะห์ที่ค่อนข้างชัดเจน

และแน่นอน



โรงเรียนขนาดเล็กมากมายหลายโรง ที่มีเด็กไม่กี่สิบคน แต่ผลการเรียนของเด็ก

กลับลดต่ำลง มิหนำซ้ำยังมีจำนวนเด็กที่อ่าน " ชัด " เขียน " ข้อง" ในแต่ละชั้น

อีกด้วย........เป็นผลให้ ผูั้บริหารก็หันไปโทษครู ส่วนครูก็หันไปโทษครูที่

ส่งเด็กกันขั้นมาในแต่ละชั้น....แล้ว...เด็กจะโทษใครล่ะ...??

ยังคงต้องเล่า ( เรื่องจริง) ของงานวิชาการ เป็นซีรี่ส์ (อย่างที่ท่าน ผอ.คนเก่งว่า)

กันอีกหลายตอนทีเดียว บันทึกนี้ขอเพียงเกริ่นนำไว้ก่อนนะจ๊ะ สำหรับคืนนี้

ห้าทุ่มพอดี.....ต้องขอขยักเวลาไว้ทำงานอื่นก่อนนะจ๊ะ



วิชาการ งานหลัก จักต้องรู้

ทั้งผู้นำ และครู ต้องตระหนัก

งานอื่น เป็นงานเสริม เพิ่มพร้อมพรัก

" เชิงประจักษ์" ต้องรู้ทัน งานที่ทำ


โปรดติดตาม....ตอนต่อไปจ้าา


หมายเลขบันทึก: 590111เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2015 23:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ธันวาคม 2015 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ชอบมาก รูปประกอบน่ารักมากค่ะอาจารย์มะเดื่อ

Yes! We have progressed from 'education for "our" children to money to be made here'. Sad and sigh!

ใช่ค่ะ งานวิชาการเป็นงานหลัก

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท