Active Citizen_ฮักนะ โมเดล ตอนที่1


การเรียนรู้บนฐานของปัญหา (PBL)ด้วยโครงงาน พบว่านักเรียนนอกจากจะมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น สิ่งที่ตามมาอย่างชัดเจนคือความเป็นผลเมืองดีมีจิตสาธารณะ พวกเขาจะทบทวน ตัวเองการควบคุมตนเอง พึ่งตนเอง รู้จักการก้าวถอยหลัง ความมุ่งมั่นคิดอะไรไม่ล้มเลิกความคิดง่ายๆ เป็นบุคคลที่ลงมือทำมากกว่าพูด คิดแล้วทำเลย (ททท.) เสียสละเวลาให้ส่วนร่วมข้าพเจ้าขอเสนอรูปแบบที่ใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้นี้ว่า Active Citizen_ฮักนะ โมเดล

Active Citizen_ฮักนะ โมเดล

กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะศตวรรษที่ 21 คือ3R 7Cที่ส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณธรรม ที่ดีงาม เป็นพลเมืองดีที่มีจิตอาสาเกิดขึ้นในตัวผู้เรียนด้วยโครงงาน ข้าพเจ้ามีกระบวนการ ดังต่อไปนี้

ขั้นที่1 ขั้นเปิดใจ,สร้างเสริมคุณค่าของตนเองมสร้างแรงบันดาลใจ

นักเรียนเดินเข้ามาในห้องเรียนวิชาIS บางคนยืนหันซ้าย หันขวา เมื่อครูบอกว่าเข้ามาในห้องแล้วหาที่นั่งตามสบายนะค่ะ เด็กนักเรียนแสดงสีหน้างงมีบางคนที่กล้า เขาถามว่า แล้วจะให้นั่งตรงไหนค่ะคุณครู

ห้องเรียนวิชาIS เป็นห้องที่ตรงกลางโล่ง โต๊ะเรียนชิดมุมห้องมีตู้หนังสือ มีทีวี ที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ได้เลย

ก่อนนี้ห้องเรียนนี้ว่างเปล่า แต่ในปีนี้ (2557) ด้วยความอนุเคราะห์จากบริษัทซัมซุงทำให้โรงเรียนได้ห้องที่มีอุปกรณ์ในการเรียนรู้ครบวงจร ขอขอบพระคุณ ณที่นี้ด้วย
ครูกับนักเรียนทำความตกลงร่วมกันว่า
1.ทุกคนต้องมีกลุ่มตามความสมัครใจกลุ่มละ4-5 คน พร้อมทั้งตั้งกลุ่มและสัญญาลักษณ์กลุ่ม ถ้าเป็นไปได้อยู่บ้านเดียวกันยิ่งดี
2.แบ่งหน้าที่ในกลุ่มกันชัดเจน ในการนำเสนองานกลุ่มต้องแสดงสัญญาลักษณ์กลุ่มด้วย
3.ทุกครั้งที่เข้ากลุ่มทุกคนต้องเปลี่ยนหน้าที่
4.สมาชิกในกลุ่มห้ามหญิงล้วนหรือชายล้วน
5.คะแนนจะเก็บไปเรื่อยๆทุกชั่วโมงคะแนนงานจะเต็มเสมอ แต่จะหักลงตามคุณภาพของงาน
6.ทุกครั้งที่เข้ามาเรียนที่นี้เราต้องอยู่กับตัวเองก่อนด้วยการนั่งสมาธิ
ประมาณ 5 นาที(ในการนั่งสมาธิแต่ละครั้งครูจะมีคำถามไม่ซ้ำกันเช่นวันแรกให้พวกเราคิดสิว่ามาโรงเรียนทำไม)

ครูจะใช้การนั่งสมาธิให้นักเรียนทบทวนสิ่งที่เรียนในชั่วโมงก่อนหน้านี้ และสุ่มถามเมื่อออกจากสมาธิว่า นั่งสมาธิเมื่อกี้ นักเรียนเห็นอะไร

กิจกรรมเปิดใจ

"สวัสดีค่ะนักเรียนเจอกันชั่วโมงแรกนะคะ ครูยังไม่รู้จักนักเรียนแม้แต่คนเดียวเลย รามาแนะนำตัวกันดีไหมค่ะ ด้วยการให้นักเรียนแนะนำตัวเองด้วยท่าพิสดารที่สุด ท่าที่ไม่เคยมีในโลก

ท่าไม่ซ้ำกันนะคะ"เท่านั้นแหละค่ะ เสียงฮือ..ฮาๆ ดังท่วมห้องเลย

"บอกแต่ชื่อไม่ทำท่าประกอบได้ไหมค่ะ"

"หนูไม่มีท่าค่ะ หนูทำไม่เป็น"

เป็นเสียงต่อรองกับคุณครู แต่การต่อรองไม่ได้ผลค่ะ เมื่อเสียงต่อรองเงียบลง เสียงครูดังต่อไป "ยัง ยังไม่พอ เมื่อนักเรียนแนะนำตัวเสร็จให้บอกชื่อเพื่อนที่ตนเองชื่นชมด้วยนะคะ และบอกด้วยว่าชอบเพราะเหตุใด" อีกนั้นแหละค่ะ เขาจะรีบคว้าแขนคนที่อยู่ใกล้ทันที เลยมีกติกาตามมาว่า ไม่ให้ชอบคนที่อยู่ด้านข้างนะคะ เท่านั้นแหละค่ะ การใช้พลังจิตด้วยสายตาบังเกิดขึ้น

แนะนำตัวด้วยท่าที่ไม่เคยมีในโลก(ทักษะละคร)

เมื่อแนะนำตัวเสร็จ ครูสุ่มถามนักเรียนว่า จากกิจกรรมนักเรียนคิดว่าเกิดอะไรขึ้นกับนักเรียน นักเรียนสะท้อนความคิดเห็นว่า

ได้คิดค้นท่าแปลกๆกล้าแสดงออก สนุก

ไม่คิดว่าตัวเองจะทำได้รู้ว่าเพื่อนรัก ได้ฝึกความคิด

ไม่ยากเหมือนที่คิด ได้เฮฮา ได้หัวเราะ

เห็นหน้าเพื่อนทุกคน เห็นเพื่อนยิ้มได้แอป

กิจกรรมที่ข้าพเจ้านิยมต่อจากแนะนำตนเองคือกิจกรรมดอกไม้ 5 กลีบ มีวิธีการดังนี้

1.ให้นักเรียนวาดภาพดอกไม้ ดอกอะไรก็ได้ขอให้มี5 กลีบ

ผล : เกิดคำถามจากเด็กๆ มากเช่นดอกเข็มได้ไหมครับ ดอกบัวได้ไหมค่ะ ดอกมะเขือได้ไหม แต่ดอกที่เห็นมากคือดอกชบา ข้าพเจ้าเห็นดอกไม้ที่ไม่เคยมีในโลก ภาพวาดดอกไม้สามารถบอกคุณลักษณะเด็กได้

2.ให้นักเรียนเขียนหมายเลข 1-5 ลงในดอกไม้แต่ละกลีบ โดยมีกติกาว่า หมายเลข1ให้มองไปที่เพื่อนใครก็ได้ มองเขาให้นานที่สุด จากนั้นให้เขียนชื่อเพื่อนคนนั้นลงไปในกลีบที่1 กลีบที่2,3,4,5 เหมือนกัน

3.จากนั้นให้นักเรียนมองเพื่อนหมายเลข1 แล้วรีบไปถามรายละเอียดของเพื่อนให้ได้มากที่สุดว่าบ้านเขาอยู่ไหน จบป6.จากโรงเรียนอะไร พ่อแม่ชื่ออะไร มีพี่น้องกี่คน มาโรงเรียนอย่างไร เมื่อ ถามเสร็จแล้วให้รีบกลับมานั่งที่เดิม

ผลก็คือพอสิ้นเสียงครู เสียงดังเจี้ยวจ้าว เกิดการแย่ง ตัวกันแบ่งเพศกันชัดเจน หญิงถามหญิง ชายถามชาย แต่สิ่งที่พบคือทุกคนต่างวิ่งไปหาเป้าหมายอย่างสนุกสนาน

4.จากนั้นให้นักเรียนมองเพื่อนหมายเลข2 แล้วรีบไปถามเวลาว่างเขาชอบทำอะไร

5.จากนั้นให้นักเรียนมองเพื่อนหมายเลข3 แล้วรีบไปถามว่าเราเหมือนดาราคนไหน

6.จากนั้นให้นักเรียนมองเพื่อนหมายเลข 4 แล้วรีบไปถามรIdolของเพื่อนคือใคร ทำไมจึงเอามาเป็นIdol

7.จากนั้นให้นักเรียนมองเพื่อนหมายเลข5 แล้วรีบไปถามว่าความฝันเขาอยากเป็นอะไร เพราะอะไร

8. เมื่อจบกิจกรรมข้าพเจ้าให้นักเรียนช่วยกันตั้งชื่อกิจกรรมว่าอะไร และให้ทุกคนสรุปสิ่งตัวเองได้เรียนรู้ด้วยภาพหรือMind

mapping หรืออะไรก็ได้ที่นักเรียนถนัดมากที่สุด

กิจกรรมสร้างคุณค่าของตนเอง

ในชั่วโมงต่อมาข้าพเจ้าได้ให้นักเรียนรู้จักตัวตนของตนเองจากเกม How are you หรือสัตว์สี่ทิศ ดังนี้

1.ครูเตรียมกระดาษกรุ๊ฟ จำนวน 4 แผ่นติดรูปสัตว์ได้แก่ หมี,กระทิง,หนู และอินทรีย์ พร้อมเขียนอธิบายลักษณะของหมี,กระทิง,หนู และอินทรีย์

2.นักเรียนช่วยกันติดกระดาษกรุ๊ฟตามทิศคือ

ทิศเหนือ : กระทิง : ธาตุไฟ : นักปฏิบัติ นักต่อสู้กับอุปสรรค ชอบลุย

ทิศใต้ : หนู : ธาตุน้ำ:นักประสาน อ่อนโยน ปรับตัวง่าย

เน้นเรื่องใจ คุยเก่ง ชอบประสาน ไปไหนไปด้วย

ทิศตะวันตก : หมี : ธาตุดิน:นักคิด รอบคอบ ตรวจสอบมีกฏเกณฑ์ มีขั้นตอน ชอบควบคุม ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

ทิศตะวันออก : นกอินทรีย์ : ธาตุลม:นักวางแผน คิดนอกกรอบ เชื่อมโยง อิสระเสรี ชอบเรื่องแปลกใหม่

3.ให้ทุกคนได้อ่าน และคิดว่าตนเองตรงกับแผ่นใดมากที่สุด แล้วก็เดินไปยังมุม 4 มุมที่เรากำหนดไว้

4. ให้ทุกคนทบทวนบุคลิก ลักษณะตัวเองอีกครั้งตามกลุ่มทิศ ว่า "ใช่" จริงๆหรือไม่ หากไม่ใช่ อนุญาตให้ย้ายกลุ่มได้ เมื่อย้ายกลุ่ม ได้

5. ครูให้นักเรียนแต่ละคนเล่าเรื่องราวของตนที่แสดงว่าเป็นบุคลิกของตัวเอง

6. ทุกกลุ่มส่งตัวแทนนำเสนอเรื่องราวของเพื่อนที่กลุ่มประทับใจ

7.ครูป้อนคำถามว่า "เราจะนำคุณลักษณะที่เป็นไปปรับใช้ในการทำงานอย่างไร" แต่ละกลุ่มช่วยกันคิด ครูสุ่มตัวแทน แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ

และต่อด้วยกิจกรรมแปลงร่างเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ดังนี้

1.นักเรียนจับกลุ่มกลุ่มละ 4-6 คน

2.ครูให้นักเรียนประกอบร่างเป็น.................(อะไรก็ได้ตามคำสั่ง เช่น ดอกไม้ เครื่องใช้ไฟฟ้า สัตว์ ฯลฯ)

3. บอกให้ร่างนั้นเคลื่อนไหว เช่น ดอกไม้บาน ดอกไม้หุบ ดอกไม้เปียกฝน ดอกไม้ถูกพายุ

4.เมื่อจบกิจกรรมนักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันสรุป สิ่งตัวเองได้เรียนรู้ด้วยภาพหรือMind mapping หรืออะไรก็ได้ที่นักเรียนถนัดมากที่สุด

การสร้างแรงบันดาลใจ

เมื่อนักเรียนรู้จักตัวตนของตนเองแล้วสิ่งที่ต่อไปคือการสร้างแรงบันดาลใจ โดยใช้คลิปวีดีโอ เรื่องหิ่งห้อยของริซาโกะ

เรื่องย่อ "ฮาจิเมะ" เป็นครูที่โรงเรียนประถม ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่ร่มรื่น ในแถบย่านยามะกุชิ ประเทศญี่ปุ่น เขาพาเด็กๆ ออกไปเรียนรู้นอกโรงเรียน เด็กๆ ได้พบกับปลาที่ตายอยู่ในลำธาร และเกิดเป็นคำถามต่อสิ่งที่เห็น

"มันอาจจะมีหิ่งห้อยก็ได้" คำพูดของฮาจิเมะที่พึมพำออกมาแทนคำตอบอย่างไม่ได้ตั้งใจ และประโยคนั้นเอง ได้กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของภารกิจเรียกคืน "แสงสว่าง" จากหิ่งห้อย ซึ่งนับว่าเป็นบทเรียนทาง "ธรรมชาติ" ที่สำคัญ

ฮาจิเมะ และเด็กๆ ใช้ "ศรัทธา" ที่มีต่อทั้งสายน้ำ และแสงสว่างจากหิ่งห้อยเป็นการเริ่มต้น เรียนรู้ร่วมมือกันเริ่มต้นโครงงานประจำห้องว่าด้วยการเลี้ยงและเพาะพันธุ์หิ่งห้อยรวมทั้งการพัฒนาลำธารข้างๆ โรงเรียนให้อยู่ในสถานะใช้การได้ สำหรับหิ่งห้อยภารกิจที่ยากลำบากอยู่แล้วเป็นทุนเดิม กลับยังต้องเจอกับอุปสรรคจากคนรอบข้างจำนวนมากที่ไม่เห็นด้วย ดูจะ "ไร้สาระ" ในสายตาของพวกเขา แม้อุปสรรคเหล่านั้น จะทำให้เด็กๆ ถอดใจไปหลายครั้ง แต่ครูฮาจิเมะ ก็ใช้ "ศรัทธา" ที่เขาเองมีต่อเด็กๆ และมีต่อธรรมชาติ มาจัดการกับอุปสรรคนั้น ฮาจิเมะ เด็กๆ และผู้ชมจะได้พบกับแสงสว่างจากหิ่งห้อย"



ความเห็น (2)

If this is what the children are thinking in the caption of the last picture, just imagine what the fish are experiencing every moment of their life from birth to death!

Let us open our minds to what animals may be thinking and living!

เด็กๆๆ คิดได้ ทำได้ดี นะคะ


อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท