การอ่าน...มรณสติ


จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ ประเทศเนปาล และเมืองกาฐมาณฑุ (Kathmandu) ช่วงเวลา 11.52 น. ของวันที่ 25 เมษายน หรือ ตรงกับช่วง 13.12 น. ตามเวลาประเทศไทย และเพียงไม่ถึง 20 วินาทีหลังจากแผ่นดินเขย่า เสาซุ้มประตูขนาดใหญ่ ... ได้ล้มลงมาบนถนน ทับยานพาหนะ และประชาชนที่กำลังหลบหนี มีผู้เสียชีวิตในเนปาลจำนวนมากมาย....

ทำให้ผู้เขียนนึกถึงเรื่อง... "มรณสติ" .... ของ พระอาจารย์ ไพศาล วิสาโล ... ท่านได้อธิบายว่า (นำมาเพียงบางงส่วน)

มรณสติหรือมรณานุสติ จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับชาวพุทธ มรณสติหรือมรณานุสติ จัดว่าเป็นกรรมฐานหนึ่งในสี่สิบ ... ที่พระอรรถกถาจารย์ได้รวบรวมเอาไว้ และเป็นสิ่งที่เราทุกคนควรจะน้อมนำมาประพฤติมาปฏิบัติ .... ถ้าหากว่าเราละเลยมรณสติ พยายามหนีความตาย พยายามปฏิเสธความตาย เราก็จะต้องถูกความตายนั้นคุกคาม ไม่ใช่แค่คุกคามชีวิตแต่คุกคามถึงจิตใจ ความตายก็เลยกลายเป็นศัตรู แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าเราระลึกถึงความตายอยู่เสมอ เจริญมรณสติอยู่เป็นประจำ จนกระทั่งคุ้นชินกับความตายที่จะเกิดขึ้นกับเราหรือกับคนที่เรารัก ... ความตายก็จะกลายเป็นมิตร กลายเป็นครู กลายเป็นอาจารย์ ที่จะเคี่ยวเข็ญเราให้ใช้เวลาทุกนาทีอย่างมีคุณค่า ซึ่งจะช่วยทำให้เราเข้าใกล้ธรรมะ หรือเข้าใกล้จุดหมายสูงสุดในฐานะชาวพุทธที่แท้

มรณสติ ไม่ใช่ เป็นเพียงแค่... การนึกถึงความตายที่เกิดขึ้นกับตัวเราเท่านั้น นั่นเป็นส่วนแรกของมรณสติ มรณสติมีสองส่วน

ส่วนแรก คือ การระลึกถึงความจริงว่า เราต้องตายอย่างแน่นอน แต่เท่านั้นยังไม่พอ ต้องระลึกต่อไปด้วยว่า เราสามารถจะตายได้ทุกโอกาส สามารถจะตายได้ทุกเมื่อ แม้ยังเป็นหนุ่มเป็นสาวอยู่ก็ตาม สำหรับคนส่วนใหญ่ความตายเป็นสิ่งที่แย่ แต่ที่แย่กว่านั้นก็คือ เราไม่รู้ว่าเราจะตายเมื่อไร อาจจะคืนนี้ อาจจะพรุ่งนี้ก็ได้...มีภาษิตทิเบตบทหนึ่งกล่าวไว้อย่างน่าฟังว่า "ระหว่างวันพรุ่งนี้กับชาติหน้า ... ไม่มีใครรู้หรอกว่าอะไรจะมาถึงก่อน"

เราอย่าไปคิดว่าพรุ่งนี้จะมาก่อนชาติหน้า ... อันนั้นไม่จริงเสมอไป ... เราไม่มีทางรู้เลย เพราะบางคนอาจไม่มีวันพรุ่งนี้เลยก็ได้ .... พ้นจากวันนี้ไปก็อาจจะกลายเป็นชาติหน้าเลยก็ได้ ...นี้คือความจริงที่ต้องตระหนัก คือ ... เราต้องตายอย่างแน่นอน ....แต่ไม่แน่ว่าจะตายเมื่อไร เราอาจจะตายวันนี้ หรือคืนนี้ก็ได้

ทีนี้ก็ต้องพิจารณาต่อไปว่า ถ้าเราตายในวันนี้หรือวันพรุ่งนี้จริงๆ เราเตรียมใจพร้อมหรือยัง นี้คือ ส่วนที่สองของมรณสติ คือการถามใจตัวเองว่า ถ้าจะต้องตายในวันนี้หรือวันพรุ่งนี้ เราทำความดีมาพอหรือยัง สิ่งสำคัญที่ควรทำ เราได้ทำหรือยัง รวมไปถึงว่า .... เราพร้อมที่จะปล่อยวางสิ่งที่เรามีเราเป็นหรือเปล่า




สรุปว่า .... มรณสติ มีสองส่วน ... ส่วนที่หนึ่ง คือ การระลึกถึงความจริงว่าเราจะต้องตายอย่างแน่นอน และอาจจะตายในวันนี้พรุ่งนี้ก็ได้ ส่วนที่สอง การถามตัวเองว่าเราพร้อมตายหรือยัง เราทำความดีมาพอหรือยัง ส่วนที่สอง.... นี้จะโยงสู่การปฏิบัติ คือ ทบทวน ว่าเราได้ทำสิ่งที่ควรทำแล้วหรือยัง .... ส่วนนี้หากพิจารณาถูกต้องจะกระตุ้นให้เราขวนขวายทำความดี ... ไม่ผัดผ่อนในการทำหน้าที่ที่สำคัญ ... ไม่ว่า...กับตัวเอง... กับครอบครัว ...กับพ่อแม่... ลูกหลาน หรือกับส่วนรวมด้วย ...หากเราทำหน้าที่เหล่านี้ครบถ้วน คือ ทำทั้ง งานภายนอก และ งานภายใน ... เราก็พร้อมสำหรับการพลัดพราก นั้นคือ... พร้อมจะไปอย่างสงบได้ ค่ะ


ขอบคุณค่ะ

1 พ.ค. 2558

หมายเลขบันทึก: 589638เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2015 16:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2015 14:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สาธุเจ้าค่ะ..ที่มาเตือนสติ..กันและกัน..อยู่ด้วยความไม่ประมาท..ค่ะ

ขอบคุณค่ะที่แนะนำธรรมะดีดีค่ะ

ชอบอ่านหนังสือของพระอาจารย์ค่ะ

ขอบคุณพี่เปิ้นมากครับ

ได้เรียนรู้ไปด้วย

ผมพบพระไพศาลมาทำเรื่องการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่มหาวิทยาลัยที่แสนปาร์มครับ

มากับทีมคุณหมอเต็มศักดิ์

ขอบคุณที่แจ้งเรื่องงานพี่ครูมะเดือ

เอาไว้โอกาสหน้าก็ได้ครับ


Sadhu.

May I offer a food for thought. If we live in virtue (doing only good) for a short while then we die, would we not move quicker ahead in our next live? In comparison, people who live long and have more time to do good and evil, would they not repay slowly their kamma?

For me I live and learn. Each moment as it comes is another chances to change for another better non-self. ;-)

สาธุ ๆ ๆ ขอบคุณครับ อ.

ขอให้การหมั่นพิจารณาแบบโยนิโสมนสิการนี้พาให้เกิดให้มี ปัญญาทางธรรม ในหมู่เราด้วยเทอญ

...ไปแบบพร้อมที่จะไปนะคะ

น่าอ่านมากครับ และเป็นเรื่องที่เราต้องระลึกถึงทุกๆวันครับ

สติ..ทำให้ไม่ประมาทจ้ะ ขอบคุณจ้ะ

ขอบคุณข้อคิดดีๆนี้...เห็นทุกข์ เห็นธรรม...สาธุ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท