๑๑๘. การวัดและประเมินผลการศึกษา ๖ : วิธีการและเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้


บันทึก ๑๑๘ : การวัดและประเมินผลการศึกษา ๖ : วิธีการและเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้

........วิธีการและเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ หมายถึง รูปแบบ ยุทธวิธีและเครื่องมือประเภทต่างๆที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ โดยทั่วไปมีจุดมุ่งหมาย ๓ ประการ คือ

๑. เพื่อรู้จักนักเรียน

๒. เพื่อประเมินวิธีเรียนของผู้เรียน

๓. เพื่อพัฒนาการของผู้เรียน

........ผู้สอนสามารถเลือกใช้หรือคิดค้นวิธีการวัดและประเมินผลให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายของการนำผลการประเมินไปใช้เพื่อตอบสนองความต้องการ

........วิธีการและเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ดังนี้

........๑. วิธีการและเครื่องมือวัดและประเมินผลแบบเป็นทางการ (Formal Assessment) เป็นการได้มาซึ่งข้อมูลผลการเรียนรู้ที่นิยมใช้กันมาแต่ดั้งเดิม เช่น วัดและประเมินโดยการจัดสอบ และใช้แบบสอบหรือแบบวัด(Test) ที่ครูสร้างขึ้น โดยการเก็บข้อมูลดังกล่าวส่วนใหญ่ใช้ในการวัดและประเมินที่ได้ผลเป็นคะแนนและนำไปใช้ในการเปรียบเทียบ เช่น เปรียบเทียบระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน เพื่อดูพัฒนาการหรือใช้เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ เมื่อสิ้นสุดการสอนในแต่ละหน่วยการเรียนรู้หรือรายวิชา

........วิธีนี้เหมาะสำหรับการประเมินเพื่อตัดสินมากกว่าที่จะใช้เพื่อประเมินพัฒนาการผู้เรียน วิธีการและเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลที่ให้ข้อมูลสารสนเทศในเชิงปริมาณ ผู้สอนต้องระมัดระวังในการนำไปใช้ เพื่อให้ได้ผลการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ เป็นตัวแทนของระดับความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน ข้อมูลที่ได้ต้องมาจากวิธีการวัดที่ถูกต้อง เหมาะสมกับลักษณะข้อมูล เครื่องมือวัดและประเมินผลมีความเที่ยงตรง (Validity)ความเชื่อมั่น (Reliability และวิธีการวัดมีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบและเชื่อถือได้ (Acceptable)

........๒. วิธีการและเครื่องมือวัดและประเมินผลแบบไม่เป็นทางการ (Informal Assessment) เป็นการได้มาซึ่งข้อมูลผลการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นรายบุคคล จากแหล่งข้อมูลหลากหลายที่ผู้สอนเก็บรวบรวมตลอดเวลาวิเคราะห์ข้อมูล ศึกษาความพร้อมและพัฒนาการของผู้เรียน ปรับการเรียนการสอนให้เหมาะสม และแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียน ลักษณะของข้อมูลที่ได้ นอกเหนือจากตัวเลขหรือข้อมูลเชิงปริมาณแล้ว อาจเป็นข้อมูลบรรยายลักษณะพฤติกรรมที่ผู้สอนเฝ้าสังเกต หรือผลการเรียนรู้ในลักษณะคำอธิบายระดับพัฒนาการ จุดแข็งจุดอ่อน หรือปัญหาของผู้เรียนที่พบจากการสังเกต สัมภาษณ์ หรือวิธีการอื่น ๆการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา

หลักฐานการเรียนรู้ประเภทต่างๆ

........หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้แสดงความรู้ความสามารถผ่านการปฏิบัติ หลักฐานการเรียนรู้จึงเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงผลการเรียนของผู้เรียนที่เป็นรูปธรรม และมีความสัมพันธ์โดยตรงกับมาตรฐาน/ตัวชี้วัด จำแนกได้เป็น ๒ ประเภทหลัก คือ

๑. ผลผลิต ได้แก่ สิ่งประดิษฐ์ แบบจำลอง แผนภูมิ คำตอบจากการประเมินรายงาน โครงงาน ฯลฯ

๒. ผลการปฏิบัติ ได้แก่ การสาธิต การนำเสนอ การอภิปราย การแสดง ฯลฯ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก...

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน .ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑.กรุงเทพฯ: สพฐ. ,๒๕๕๓)

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน .แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑.พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ : สพฐ. , ๒๕๕๔.

หมายเลขบันทึก: 589388เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2015 05:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2015 05:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณค่ะ อาจารย์ต้น ที่มอบดอกให้กำลังใจค่ะ

ขอบคุณค่ะ อาจารย์นงนาท สนธิสุวรรณ ที่ให้กำลังด้วยดีเสมอมาค่ะ

ขอบคุณค่ะ อาจารย์ Wasawat

ที่มอบดอกไม้ให้กำลังใจค่ะ

ขอบคุณค่ะ คุณศรีกรม ศรีบาล

ที่มอบดอกไม้ให้กำลังใจค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท