วิเคราะห์เศรษฐกิจจีน : ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของจีนในเอเชีย


ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างจีนกับประเทศในเอเชียโดยเฉพาะกับภูมิภาคอาเซียนนั้นได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากปัจจัยด้านที่ตั้งและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาลแล้ว ท่าทีที่เป็นมิตรของจีนในด้านการค้าเศรษฐกิจตลอดจนในความจริงใจที่แสดงออก ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ไม่อาจจะมองข้ามไปได้ในการนำไปสู่ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจอันแน่นแฟ้นระหว่างจีนกับประเทศเหล่านี้ ดังจะสามารถชี้ให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นได้ดังต่อไปนี้

1. ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างจีนกับเกาหลีใต้ ในช่วงแรกนั้นมีความราบรื่น เนื่องมาจากเงื่อนปมที่จีนเคยเป็นพันธมิตรด้านการทหารกับเกาหลีเหนือในช่วงสงครามเกาหลีที่แบ่งแยกออกเป็นสองประเทศเข้าต่อสู้เป็นศัตรูต่อกัน หลังจากสงครามสงบลง เกาหลีเหนือหันไปใช้นโยบายปิดประเทศ ในขณะที่เกาหลีใต้ใช้นโยบายเปิดประเทศ ทำให้จีนซึ่งต้องการจะนำรูปแบบของประเทศทุนนิยมมาใช้ในการพัฒนาประเทศแล้ว ก็จะต้องมีการติดต่อทางการค้าเศรษฐกิจกับเกาหลีใต้ ดังนั้น หลังจากที่ได้ค่อยๆ ขจัดอุปสรรคต่างๆ ให้หมดไปก็สามารถเปิดเส้นทางการค้ากับเกาหลีใต้ได้ในปี 2548 นั้นการค้าระหว่างจีนกับเกาหลีมีมูลค่าเพียง 1,580 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่เกาหลีได้เข้าไปลงทุนในจีนมีมูลค่าสูงถึง 17,900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งถ้าหากว่าแนวโน้มยังคงเป็นไปเช่นนี้แล้ว ในอนาคตจีนก็อาจจะกลายเป็นประเทศที่มีบทบาทในทางเศรษฐกิจของเกาหลีได้มากกว่าสหรัฐก็เป็นได้

2. บทบาทของจีนที่มีต่อประเทศต่างๆ ในเอเชียในช่วงที่ได้เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ นับตั้งแต่ได้เริ่มต้นจากประเทศไทยในปี 2540 และแพร่สะพัดเข้าไปในมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้ ตามลำดับ บางประเทศต้องปรับลดค่าเงินหรือขอความช่วยเหลือจากองค์การการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และรับเอาเงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือที่ทาง IMF เสนอแต่ละประเทศต่างก็พยายามแก้ไขวิกฤตการณ์ของตนเอง ในขณะนั้น จีนและฮ่องกงเองก็ปรากฏมีร่องรอยของผลกระทบที่ได้รับ ดังนั้น ประเทศทั้งหลายในเอเชียต่างก็เฝ้าจับตาดูว่าจีนจะปรับลดค่าเงินของตนด้วยหรือไม่ เนื่องจากว่าถ้าหากจีนก็ใช้มาตรการเช่นเดียวกัน เศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียก็ไม่อาจจะฟื้นตัวได้โดยง่าย แต่จีนนั้นกลับดำเนินนโยบายให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ประเทศไทยโดยผ่านองค์การ IMF เป็นจำนวนถึง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และให้ความช่วยเหลืออินโดนีเซีย 500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อีกด้วย

กล่าวโดยสรุปก็คือว่า วิกฤตการณ์ด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยในเอเชียก็สามารถจะกลับคืนสู่สภาพปกติได้ภายในระยะเวลาอันสั้นเพียง 2-3 ปีเท่านั้น และท่าทีที่จีนได้ใช้กับประเทศในเอเชียซึ่งตกอยู่ในสภาพยากลำบากนี้ ทำให้ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นมานั้นก็ได้สนองตอบให้กับจีนเองด้วยในที่สุด

3. ในช่วงระหว่างปี 2523 – 2543 เศรษฐกิจของจีนได้เติบโตอย่างก้าวกระโดดรวดเร็ว ทำให้มีการกล่าวขวัญในระหว่างประเทศว่าสาเหตุเศรษฐกิจของจีนสามารถพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็วเช่นนี้ ก็เนื่องมาจากการที่จีนได้ฉวยโอกาสเก็บเกี่ยวเอาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมาจากประเทศที่กำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์เหล่านี้ ซึ่งรวมถึงตลาดการค้าและการลงทุน ทำให้เกิดคำพูดถึง "การคุกคามจากจีน" ขึ้นมา

เหตุการณ์ครั้งนี้ ผู้นำของจีนมิได้เฟิกเฉยสบายใจ โดยในช่วงระหว่างปี 2541-2542 จีนได้เพิ่มขยายบทบาทในทางการทูตและการต่างประเทศออกไปรวบรวมข้อมูลข่าวสาร จนมีผลให้จีนต้องขยับก้าวเปิดตลาดการค้าและการลงทุนให้กว้างขึ้น และเพิ่มการค้าการลงทุนในประเทศต่างๆ ของเอเชีย ในขณะเดียวกันก็ใช้แนวนโยบายทางการทูตที่ชาญฉลาด ขจัดความหวั่นเกรงว่าจีนจะเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวให้ลดลงไป

4. จีนได้กระชับความสัมพันธ์กับอาเซียนอย่างจริงจัง โดยในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 7 ซึ่งได้มีขึ้นที่บรูไนเมื่อปี 2544 นายกรัฐมนตรีจูหรงจีได้เสนอต่อที่ประชุมว่า ภายใต้หลักการผลประโยชน์ร่วมกันในการพัฒนาประเทศ จีนและอาเซียนจะเปิดตลาดการค้าที่เสรีข้อเสนอดังกล่าวของจีนเป็นการแสดงให้เห็นถึงความร่วมมืออย่างแน่นแฟ้น และการที่จีนพร้อมที่จะเปิดตลาดภายในของจีนซึ่งมีขนาดใหญ่อย่างไม่อาจจะหาประเทศใดมาเทียบได้ให้กับอาเซียน

แต่ไม่ว่าอย่างใดก็ตาม การเปิดตลาดของจีนก็ยังผลประโยชน์ให้กับจีนได้ไม่น้อยไปกว่าประเทศในอาเซียน โดยตามเงื่อนไขที่จีนได้มีกับอาเซียนในการเปิดตลาดเสรีนั้น ทั้งสองฝ่ายพร้อมจะเปิดตลาดเสรีให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ภายใน 10 ปี คือ ปี 2553 ในช่วงเวลาดังกล่าว ประเทศที่ลงนามในข้อตกลงจะค่อยๆ ลดอัตราภาษีศุลกากรได้ตามสภาพความเป็นจริงในระหว่างประเทศ

ตามที่ปรากฏในเอกสารข้อมูล ปริมาณการค้าระหว่างจีนกับอาเซียนในปี 2534 ซึ่งมีมูลค่าเท่ากับ 8,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้นเป็น 130.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นกว่า 15 เท่า กลุ่มประเทศอาเซียนได้กลายเป็นประเทศคู่ค้าอันดับที่ 4 ของจีนในขณะที่จีนเองก็ได้กลายเป็นประเทศคู่ค้าอันดับที่ 4 ของอาเซียนเช่นกัน

5. ขณะนี้ยังไม่อาจจะมองเห็นได้ชัดเจนว่า จีนได้แย่งชิงเอาเงินลงทุนจากต่างประเทศไปจากกลุ่มประเทศอาเซียนไปเป็นมูลค่าเท่าใด และก็ไม่มีเอกสารข้อมูลที่นำมาใช้ตรวจสอบยืนยันได้ว่า ถ้าหากเงินทุนเหล่านี้ไม่ได้ถูกนำมาลงทุนในจีนแล้ว จะเข้ามาลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียนหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ในปี 2505 มีเงินทุนเข้าไปลงทุนโดยตรงในจีนเป็นมูลค่าสูงถึง 72,400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นอันดับหนึ่งในโลก

ในส่วนของฝ่ายจีนนั้น ได้รับว่าจะกระตุ้นให้บรรดารัฐวิสาหกิจของจีนและบริษัทเอกชนเข้ามาลงทุนในกลุ่มประเทศให้มากขึ้น ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จนถึงปี 2548 บริษัทธุรกิจของจีนได้ออกมาลงทุนในต่างประเทศเป็นมูลค่ารวมได้ประมาณ 61,920 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

6. เกี่ยวกับการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างจีนกับกลุ่มประเทศอาเซียน การขนส่งทางน้ำก็นับว่าเป็นช่องทางในการติดต่อแลกเปลี่ยนทางการค้า เมื่อสามารถบรรลุเป้าหมายในการติดต่อค้าขายระหว่างภูมิภาคแม่น้ำโขงด้วยเส้นทางน้ำ ทางบก และทางอากาศได้แล้ว ก็จะทำให้ประเทศที่ค่อนข้างล้าหลังในลุ่มแม่น้ำโขงได้รับผลประโยชน์ และก็เป็นผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจของยูนนานและกวางสีเป็นไปได้โดยรวดเร็วยิ่งขึ้น

การที่จีนได้เข้ามาช่วยเหลือในการพัฒนาความรุ่งเรืองของกลุ่มประเทศอาเซียนนั้น ก็เป็นการรักษาผลประโยชน์ของจีนด้วยเช่นกันนั้น อาจจะกล่าวสรุปได้คือ "การทยานขึ้น" ของจีนในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นในด้านสังคมที่มีเสถียรภาพ ความเจริญมั่นคงทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ เงินสำรองต่างประเทศที่มีปริมาณล้นเหลือ ต่างก็ได้ก้าวมาถึงจุดสูงสุดอย่างที่ไม่ปรากฏมาก่อน ทำให้จีนกลายเป็น "พี่ใหญ่" ที่ประเทศต่างๆ ในเอเชียสามารถจะพึ่งพาได้ การที่จีนสามารถจะก้าวขึ้นมาถึงจุดนี้ได้ก็เนื่องมาจากปัจจัยต่างๆ ที่มีอยู่ โดยเฉพาะแนวความคิดเฉพาะที่มีอยู่ในนโยบายต่างประเทศ รวมทั้งทฤษฎีทางการเมืองที่ปฏิบัติจริงซึ่งเป็นที่ควรจะต้องจับตามองนั้น ได้แก่

1) ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับประเทศในเอเชีย จีนมิได้นำเอาเศรษฐกิจ การเมือง และความมั่นคงแห่งชาติมาแบ่งออกจากกัน แต่ได้ถือว่าควรจะผูกโยงเป็นเอกภาพเดียวกัน เป็นปัจจัยที่พึ่งพาต่อกัน แม้ว่าความมั่นคงแห่งชาติจะเป็นเงื่อนไขประการแรก แต่พลังของประเทศก็จะต้องสอดคล้องกับนโยบายการต่างประเทศ แม้ว่าการพัฒนาของเศรษฐกิจจะมีความผูกพันอย่างแน่นแฟ้นกับสภาพความเป็นอยู่ของประชากร แต่ระบบเศรษฐกิจที่ดีก็จะสร้างขึ้นมาได้บนสภาวะการเมืองที่มีเสถียรภาพและการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นสำคัญ

2) จีนนั้นมีความตระหนักดีถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของตนเอง และแยกแยะได้ว่าใครเป็นประโยชน์ต่อจีน และใครที่มีผลประโยชน์ร่วมกันกับประเทศคู่ค้าของจีน ซึ่งจีนสามารถจะใช้งานได้มากขึ้นเพื่อรักษาผลประโยชน์ของจีนได้มากที่สุด จีนนั้นมีองค์กรทางการทูตที่มีคุณภาพสูงซึ่งสามารถจะระงับข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้น มีแนวนโยบายทางการทูตที่เป็นอิสระและฉับไวยิ่ง ผลก็คือทำให้ได้รับการยกย่องจากนานาประเทศ โดยเฉพาะความไว้วางใจจากกลุ่มประเทศอาเซียน

3) จีนได้สะสมรักษาความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างจีนกับกลุ่มประเทศอาเซียน รวมทั้งหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชนและทำการติดต่อแลกเปลี่ยนด้วยวิธีการรูปแบบต่างๆ มีผลให้ความสัมพันธ์ใกล้ชิดยิ่งขึ้น โดยเฉพาะคือโครงการร่วมมือต่างๆ สามารถจะบรรลุเป้าหมายได้โดยสะดวกราบรื่น

4) จีนได้ใช้เงินทุนสำรองต่างประเทศที่มีอยู่มากเกินความต้องการ มาเสริมรับกับแนวนโยบายด้านการต่างประเทศแสวงหาผลประโยชน์อันสูงสุดให้กับประเทศ โดยการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแบบให้เปล่าหรือเงินกู้ที่ปลอดดอกเบี้ยแก่ประเทศที่กำลังพัฒนา และสนับสนุนให้เงินกู้แก่รัฐวิสาหกิจของจีนออกไปลงทุนในต่างประเทศ รวมทั้งการเข้าซื้อหุ้นของบริษัทด้านพลังงานที่มีเทคโนโลยีสูง เป็นต้น แนวนโยบายของจีนที่ออกไปใช้เงินต่อเงินในต่างประเทศเช่นนี้ ยังสามารถจะใช้ต่อไปได้อีกในระยะยาว เนื่องจากการให้ความช่วยเหลือโดยให้เปล่าหรือเงินกู้ดังกล่าว ก็ไม่มีผลกระทบให้เงินทุนสำรองต่างประเทศของจีนลดน้อยลงแต่อย่างใด ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้เงินทุนสำรองต่างประเทศของจีนได้เพิ่มขึ้นด้วยความเร็วโดยเฉลี่ยเดือนละ 18,800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

5) ในด้านความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจกับประเทศต่างๆ นั้น จีนได้ส่งสัญญาณว่า จีนเป็นมิตรแท้ เป็นสหายความร่วมมือที่ดียิ่งที่จะร่วมมือกันได้ เน้นถึงการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันโดยสันติกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ร่วมกันโดยไม่มุ่งหาผลประโยชน์ส่วนตัว เข้ามีส่วนช่วยเหลือในการพัฒนาประเทศของประเทศในเอเชีย เข้าร่วมทุกข์ร่วมสุขกับประเทศที่ยังอยู่ในสภาพยากจน และเข้าร่วมเผชิญกับสภาพยากลำบากทั้งหลาย

ดังเช่นคำพูดของประธานาธิบดีหูจิ่นเทาที่ได้กล่าวไว้ในระหว่างการเยือนมาเลเซียเมื่อปี 2545 ว่า "การพัฒนาประเทศของจีนนั้นจะปราศจากเอเชียไม่ได้ และการพัฒนาของเอเชียก็ขาดจีนไม่ได้....จีนเป็นแรงกระตุ้นในการพัฒนาสู่ความรุ่งเรืองของเอเชีย"

………………………………….

6) คนจีนมีแนวความคิดหนึ่ง ก็คือว่า มีการขัดแย้งจึงจะมีการก้าวหน้า ดังนั้นไม่ว่าจีนจะมีความร่วมมือกับต่างประเทศในด้านใดก็ตาม ก็ย่อมอาจจะมีความไม่ลงรอยอยู่บ้าง ก็คือว่า แม้ว่าจะมีข้อแตกต่างในประเด็นเล็กๆ จึงจะมีความรับรู้ร่วมกัน และถ้าหากจะมีการขัดแย้งเรื่องใดเกิดขึ้นก็ตาม ก็สามารถจะหาทางแก้ไขได้โดยผ่านช่องทางการทูต

คำสำคัญ (Tags): #จีน
หมายเลขบันทึก: 589197เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2015 07:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 เมษายน 2015 07:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท