วัดผลงานผ่านสังคมปรนัย


วัดผลงานผ่านสังคมปรนัย


วัดผลงานผ่านสังคมปรนัย

เคยอ่านหนังสือสังคมปรนัยของ คุณหมอโกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ แล้วรู้ว่า โห อาจารย์คิดได้ไงมันใช่ อ่ะเป๊ะ เป็นหนังสือที่รักเล่มหนึ่งอาจารย์ตีแผ่แนวคิดในสังคมนี้ไว้อย่างถึงกึ๋น จริงเห็นด้วยกับแนวคิดของอาจารย์มาก ในปัจจุบันเรามักชอบหาเกณฑ์อะไรก็ตามมาวัดสิ่งที่มันวัดไม่ได้ แล้วมาตัดสินว่าสิ่งนี้ดี สิ่งนี้ไม่ดี ถูกผิดวัดกันแบบปรนัย ก็แน่ล่ะก็เราฝึกให้คิดแบบปรนัยมาตั้งแต่เล็ก เริ่มตั้งแต่การวัดว่าเด็กคนนี้เรียนเก่งก็ต้อมาวัดกันที่การสอบ การสอบนั้นไม่พ้นมีเฉลยเป็นข้อๆ กำหนดจำนวนข้อด้วยนะ ตอบได้เพียงข้อเดียว ผิดจากนั้นถือว่าผิด ตรงนี้ชลัญมองว่ามันเป็นการปิดกั้นจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ ของคนเลยทีเดียว อย่างตัวอย่างที่เคยเขียน เกี่ยวกับการทำข้อสอบของลูกสาวนั้น ไม่เคยจะได้คะแนนดีเท่าไหร่ที่เทื่อไหร่ก็ตามที่เธอต้องเลือกคำตอบให้ถูกเพียงข้อเดียว เพราะเธอบอกว่ามันไม่มีข้อที่ถูกเลย เป็นต้น เช่น มีคำถามว่า

  • -หากเพื่อนในห้องลืมเอาสีมาในวิชาศิลปะ นักเรียนจทำอย่างไร
  • ก.ให้เพื่อยืม ข. ไม่ให้เพื่อนยืม ค. บอกคุณครู

คำตอบที่ถูกต้องของข้อนี้คือ ข้อ ก.

แต่หมวยน้อยบอกมันไม่มีข้อถูกมันต้องทำได้มากกว่านี้ หรือมันถูกมากกว่า 1 ข้อ

แม่ถามยังไง หมวยน้อยบอก ก็ถูกทั้ง ก และ ค แม่ถามเอาหากให้เลือกข้อเดียว หมวยน้อยจะตอบข้อไหน หมวยน้อยบอกหากบังคับตอบก็ต้อง ตอบ ค. แม่คิดในใจว่าแล้ว ผิดวุ้ย รู้ล่ะว่าทำไมคะแนนสอบหมวยน้อยได้คะแนนไม่สูง งที่เวลาเราถามหรือทดสอบเรื่องต่างๆนี่เธอก็ทำได้เข้าเกณฑ์อยู่นะ ก็เลยถามต่อว่า เอ้า แล้วหนูไม่ให้เพื่อยืมเหรอ หมวยน้อยบอกให้ยืม แต่ต้องบอกคุณครูก่อนเพราะคุณครูมีสีสำรองไว้ หากใครลืมก็ยืมได้ แต่หากสีไหนไม่มีก็ให้ยืม เพราะบางทีหากอยากได้สีเดียวกันก็ต้องรอเสียเวลาทำงานส่งครูไม่ทันซิ แล้วทำไมให้ตอบแค่นี้ อย่างอื่นก็ได้ ดู๊ดูมันคิด

แม่ถามต่อแล้วทำไง หมวน้อยบอก ก็ลองโทรหา แม่ ดู ก็ได้ ว่าลืมให้เอามาให้หน่อย ก็ได้นี่แม่

( เออจริงของมัน ) มีต่ออ้าวแล้วหนูเลือกบอกครูนี่มันไม่กลายเป็นคนขี้ฟ้องเหรอ หมวยน้อยบอก ไม่ขี้ฟ้อง เพราะเราลืม ไม่เห็นต้องปิดบัง ครูจะได้ช่วย แล้วทำไมต้องให้หนูบอก เพื่อนก็น่าจะบอกเอง แต่ถ้าเพื่อไม่กล้าหนูบอกให้ ก็ช่วยกันไงแม่

เอ่อ .... ชลัญธรพูดไม่ออก เด็ก 7 ขวบ หรือนี่ แล้วงี้ หมวน้อยโตขึ้นมันจะสอบอะไรติดมั๊นี่ เธอเล่นเหตุผลมาก คำตอบปรนัยทำไรเธอไม่ได้ เลย ง่ะ

ให้กลับมาคิดถึงสังคมปัจจุบันที่มัก พยายามหาคำจำกัดความหรือคำตอบแบบปรนัยกันมาก จนอาจลืมนึกถึงรายละเอียดปลีกย่อย อีกมากมายที่ ไม่ได้นำมาเป็นคำตอบให้เลือกนี่ อันตรายเหมือนกัน เช่น ดีชั่วแบบปรนัย ยกตัวอย่าง โรบิ้นฯ ปล้นคนรวยที่โกง เอาเงินมาให้คนจนที่ถูกเอาเปรียบ จะบอกว่า โรบิ้นฯ ดีได้ใจ หรือ โคตรชั่ว มันตอบยากนะ

ที่เขียนเรื่องนี้น่ะเพราะช่วงนี้ เขามีการประเมิน competency กัน คำตอบมันก็เห็นๆ ปรนัยเป็นข้อๆ งานนี้ชลัญธร ตกหลายข้อ แน่ แสดงว่าชลัญธร ทำงานไม่ผ่าน competency ถึงขั้นตองกลับไป refresh ใหม่ ประมาณนั้นหรือเปล่า อิ อิ อิ

ชลรรธร

หมายเลขบันทึก: 589186เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2015 05:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 เมษายน 2015 05:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับคุณ ชลัญ

หมวยน้อย เป็นเด็กที่มีเหตุผลมากเลยนะครับ น่าสนใจมากเลยนะครับกับ..สังคมปรนัย...

ชอบความคิดของหลานไจไจ๋มากค่ะ...ฝากกอดมาด้วย..

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท