การพยาบาลผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจ


F : เฝ้าระวังภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง/ระดับความรู้สึกตัวลดลง

A: ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเป็น Severe Head injury with Intracerebral Hemorrhage Right frontal parietal with Multiple pneumocephalus On ET- Tube Ventilator mode TV 500 RR18 PEEP 5 FiO2 0.8 O2 sat 99-100% มีแผลบริเวณมุมปากด้านขวา เสมหะปริมาณมาก เหนียวข้นไม่สามารถขับออกได้เอง เสียงปอดเป็นเสียง crepitation

G: ผู้ป่วยหายใจมีประสิทธิภาพในขณะใช้เครื่องช่วยหายใจและไม่มีภาวะพร่องออกซิเจน

เกณฑ์การประเมิน

1.ไม่มีอาการพร่องออกซิเจน เช่น หายใจเร็ว ชีพจรเต้นเร็ว ปริมาณออกซิเจนในร่างกายลดลง ปลายมือปลายเท้าเขียว ซีด เหนื่อยอ่อนเพลีย เป็นต้น

2.สัญญาณชีพปกติ คือ BT=36.5-37.5 ºC, PR=60-100 ครั้ง/นาที, RR = 16-24 ครั้ง/นาที, BP = 90/60-130/90 mmHg.

3.ค่า Hematocrit อยู่ในช่วงปกติหรือไม่ลดลงจากเดิม และค่า Hemoglobin อยู่ในช่วงปกติหรือไม่ลดลงจากเดิม (ค่าปกติ 12-13 %)

4.ออกซิเจนในร่างกายเท่ากับ 95-100 %

กิจกรรมการการพยาบาล

1.ดูแลท่อช่วยหายใจ ET – tube/tracheostomy tube ให้คงอยู่ โดยการผูกท่อด้วยเทปผ้าหรือติดพลาสเตอร์ไว้ ตลอดจนการอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงเหตุผลในการใส่ท่อช่วยหายใจ ถ้าจำเป็นอาจต้องพิจารณาผูกข้อมือผู้ป่วยไว้

2.ประเมินสภาพการหายใจทุก 4 ชั่วโมง เช่น การฟังเสียงการหายใจ สังเกตการณ์ขยายของทรวงอก สังเกตความสามารถในการหายใจเองของผู้ป่วย สังเกตภาวะพร่องออกซิเจน

3.ดูดเสมหะทุกครั้งที่ได้ยินเสียงเสมหะ โดยใช้เทคนิคปราศจากเชื้อ ในการดูดเสมหะ จะต้องเพิ่มออกซิเจนก่อนและหลังดูดเสมหะทุกครั้ง

4.สังเกตการทำงานของ ventilator เช่น VT FiO 2 อัตราการหายใจ mode ของ ventilation การใช้ PEEP CPAP หรือ PSV peak inspiration pressure และตั้งสัญญาณเตือน

5.วัดความดันของกระเปาะ ( cuff ) ET – tube หรือท่อเจาะคอ โดยจะต้องใส่ลมในกระเปาะ (inflate cuff) ในอัตราที่พอเหมาะ เพื่อป้องกันการรั่วของอากาศออกรอบๆกระเปาะ

6.สังเกตภาวการผันแปรของออกซิเจนและเครื่องช่วยหายใจ เช่น pulse oximetry , ABG

7.ติดตามผลเอกเซเรย์ปอด เพื่อติดตามการบวมของปอด หรือตำแหน่งของท่อหายใจ

8. กระตุ้นและช่วยเหลือผู้ป่วยเปลี่ยนท่านอนทุก 1-2 ชม. จัดให้นอนศีรษะสูง 30 องศา เพื่อให้ปอดขยายตัวได้ดี

9. ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ก่อนและหลังให้การพยาบาล

10. แยกของใช้ เช่น Ambu bag, ขวดน้ำเครื่องดูดเสมหะ ในผู้ป่วยแต่ละคน

11. ทำความสะอาดปากฟันทุก 4 ชม.

12. ดูดเสมหะในปากก่อนดูดเสมหะในท่อหลอดลมคอ

13. สังเกตลักษณะ จำนวน สีและกลิ่นของเสมหะ

14. ติดตามผลการเพาะเชื้อ และการย้อมสีเสมหะ

15. ให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา ได้แก่........................... และสังเกตภาวะแทรกซ้อนจากการให้ยา

16. สังเกตภาวะแทรกซ้อนของการใช้เครื่องช่วยหายใจ เช่น barotrama เช่น ฟังเสียงหายใจไม่ได้ยิน หลอดลมเอียงไปด้านข้าง

เอกสารอ้างอิง:

พรศิริ พันธศรี. (2552). พิมพ์ครั้งที่ 3. กระบวนการพยาบาลและแบบแผนสุขภาพ: การประยุกต์ใช้ทางคลินิก. กรุงเทพฯซ บริษัทพิมพ์อักษร จำกัด.

สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ, การญจนา สิมาจารึก & เพลินตา ศิริปการ. (บรรณาธิการ). (2556). การพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่ในระยะวิกฤต. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.

หมายเลขบันทึก: 588665เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2015 09:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 เมษายน 2015 09:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท