ภาวะเลือดออกง่าย (จากการรับยา wafarin)


F : เฝ้าระวังภาวะเลือดออกง่าย

A: - INR = 3.1

- PT = 15.8 sec.

- PTT = 41.6 sec

G: ปลอดภัยจากภาวะเลือดออกง่าย

เกณฑ์การประเมิน

1. มีระดับ INR, PT ปกติ

- ผลการตรวจ Platelet count อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่ต่ำกว่า 150,000/cu.mm.

- Hct ไม่ต่ำกว่า 30 %

2. ไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะเลือดออกทั้งภายในและภายนอกร่างกาย ได้แก่ ไม่มีรอยจ้ำเลือดตามร่างกาย ไม่มีเลือดกำเดาไหล ไม่มีเลือดออกตามไรฟัน

- อุจจาระและปัสสาวะปกติ

- ไม่มีอาการปวดท้อง กระสับกระส่าย

3. สัญญาณชีพปกติ โดยเฉพาะ P = 60-100 ครั้ง/นาที BP ไม่ต่ำกว่า 85/60 mm.Hg.

4. ไม่เกิดอุบัติเหตุ

กิจกรรมการการพยาบาล

1. สังเกตลักษณะ จำนวน และตำแหน่งของเลือดออกภายนอกร่างกาย (External bleeding) เช่น มีจ้ำเลือด pethichiae ตามร่างกาย เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน

2. สังเกตลักษณะ จำนวน และตำแหน่งของเลือดออกภายในร่างกาย (Internal bleeding) เช่น อาการปวดท้อง กระสับกระส่าย ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ (Melena) ปัสสาวะมีเลือดปน (Haematuria) อาเจียนเป็นเลือด

3. หลีกเลี่ยงการฉีดยาเข้าชั้นกล้ามเนื้อ หรือเจาะเลือด ระมัดระวังเรื่องการฉีดยา การเจาะเลือด การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ควรเลือกหัวเข็มขนาดเล็ก ถ้า จำเป็นต้องกดบริเวณที่เจาะเลือดจนแน่ใจว่าเลือดหยุดไหลแล้ว โดยหลังจากฉีดยาหรือเจาะเลือดแล้วควรกดบริเวณที่ฉีดไว้ประมาณ 3-5 นาที

4. สังเกตเลือดออก ซึ่งอาจจะออกจากบาดแผล drain ถ่ายอุจจาระดำ หรือเป็นเลือดสด

5. ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชม.

เอกสารอ้างอิง:

พรศิริ พันธศรี. (2552). พิมพ์ครั้งที่ 3. กระบวนการพยาบาลและแบบแผนสุขภาพ: การประยุกต์ใช้ทางคลินิก. กรุงเทพฯซ บริษัทพิมพ์อักษร จำกัด.

สุระพรรณ พนมฤทธิ์. (บรรณาธิการ). (2543). กระบวนการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. บริษัท ประชุมช่าง จำกัด: กรุงเทพ.

หมายเลขบันทึก: 588663เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2015 08:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 เมษายน 2015 09:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท