วัน" ดินแห้งสูงสุด" สำคัญอย่างไร กับการหว่านข้าว "รูระแหง"


เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าดินนาแห้งพอที่จะหว่านข้าว "รูระแหง" ได้แล้ว

*************************
หลังจากผมนำเสนอศัพท์ใหม่สำหรับการทำนาแบบ "ข้าวรูระแหง"
ที่ควรจะหว่านในวันที่ "ดินแห้งสูงสุด"
ก็มีคนสงสัยว่าเราจะรู้ได้อย่างไร สังเกตอย่างไร หรือจะรอให้เป็นวันก่อนฝนตกครั้งแรก ?????

ซึ่งน่าจะเป็นจินตนาการของคนที่ไม่เคยทำนา หรือไม่ค่อยได้ไปนาเสียมากกว่า

เพราะประเด็นสำคัญในการหว่านข้าว "รูระแหง" ก็คือ ขนาดและจำนวนรูระแหงที่มีในนาขณะที่หว่าน ที่ควรจะมากพอ ที่จะหว่านข้าวลงรูระแหงได้โดยสะดวก

ที่น่าจะเป็นวันที่แห้งมากๆนั่นเอง
(คือ ที่ผมใช้ "วันนาแห้งสูงสุด" เพื่อกระตุกความคิด เรื่องการใช้วิกฤติให้เป็นโอกาส)
และระยะของรูระแหง ไม่ควรห่างกันเกินไป ที่อาจจะทำให้กอข้าวห่างกันตามระยะของรูระแหงนั้นๆไปด้วย

เมื่อได้ระยะห่างของรูระแหงพอเหมาะแล้ว ก็หว่านได้เลย
แต่ก็ควรหว่านในช่วงเดือนมีนาคม ก่อนที่ฝนจะตกในเดือนเมษายน ที่เป็นระบบปกติของฤดูฝน

ถ้าดินแตกระแหงพอเหมาะ และหว่านแล้ว ก็ยังแห้งนั้น มิได้มีข้อเสียอะไร เพราะข้าวก็น่าจะยังไม่งอก
แต่ถ้าบางเมล็ดงอก ก็ถือว่า มีความชื้นพออยู่แล้ว
--------------------------------------------------
หลังจากการหว่าน ควรใช้ไม้กวาดให้เมล็ดข้าวร่วงลงรูระแหงให้มากที่สุด (หรือจะใช้รถตัดหญ้าปั่นกระแสลมให้เมล็ดข้าวตกลงไปในร่องรูระแหงก็ได้) ข้าวจะได้งอกได้ง่ายมากขึ้น

แต่ถ้าแปลงนายังมีหญ้างอกอยู่บ้าง ก็ควรตัดในช่วงที่ข้าวกำลังงอก ใบเกือบพ้นระดับดิน
เป็นการกำจัดวัชพืชก่อนข้าวโผล่พ้นระดับดินพอดีๆ

เช่นเดียวกับที่ผมทำในแปลงสองของผมปีนี้ครับ

ใครที่เคยไปนา และสังเกตดินนาบ่อยๆ ก็จะเข้าใจที่ผมอธิบายมา แต่สำหรับท่านที่นั่งคิดตามเฉยๆ น่าจะยังงง นะครับ

อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ

หมายเลขบันทึก: 588345เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2015 23:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2015 23:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท