วัฒนธรรมสังคมทาส และ การเลิกทาส เนื่องในวันเลิกทาส


สังคมมนุษย์มีพลวัตร การอยู่ร่วมกันจึงมีพัฒนาการไปสู่ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ อยู่เรื่อย ๆ
เมื่อกล่าวถึงสังคมทาส หรือยุคทาส ก็คือยุคที่สังคมสร้างประดิษฐกรรมแห่งความสัมพันธ์ระหว่าง
นายทาส กับ ทาส จุดแบ่งแห่งยุคสมัยแห่งทาสจึงไม่แน่นอน ทาสยุคแรกสุดคือ ทาสที่เกิดจาก
การแพ้สงคราม ทหารหรือพลเรือนจะถูกกวาดต้อนเอาไปเชลย หรือ เป็นทาส ทาสแบบนี้แม้กระทั่ง
สงครามโลกครั้งที่สองก็ยังปรากฎมีอยู่ นิยามของทาส[1] คือ บุคคลที่ถูกนับสิทธิเหมือนสิ่งของของ
ผู้อื่น โดยมิได้รับการตอบแทนจากเจ้าของ หรือนายทาส เช่นการรับใช้ด้านแรงงาน ถ้าไม่เชื่อฟังอาจ
ถูกลงโทษ อยู่ภายใต้ความต้องการของนายทาส

จากงานทางมานุษยวิทยา สังคมเริ่มเป็นทาสมาจากยุคที่แบ่งแยกงานกันทำ ทำให้เกิดช่างฝีมือ พ่อค้า
เกษตรกร และเริ่มมีการแลกเปลี่ยนสินค้า เมื่อได้ผลผลิตส่วนเกินและมีการขยายอาณาเขตทำให้เกิด
สงครามเพื่อแย่งชิงอาณาเขต ผู้แพ้จะเป็นเชลย และทาส ซึ่งต้องใช้แรงงานอย่างหนัก การผลิตทางการ
เกษตรซึ่งมีความจำเป็นในการใช้แรงงานจึงเริ่มมีการใช้แรงงานทาส และในยุคนี้เองจึงทำให้มนุษย์กลาย
เป็นสินค้าด้วยวิธีการต่าง ๆ คือ คนที่ติดหนี้ นักโทษ เชลยสงคราม เด็กที่เป็นลูกทาส หลาย ๆ อารยธรรม
ที่รุ่งเรืองใช้ทาสผลิตอารยธรรมทั้งสิ้น ทั้งกรีก โรมัน อียิปต์ เมโสโปเตเมีย จีน แม้สังคมจะเปลี่ยนไปเป็นยุค
ฟิวดัลแล้วก็ตาม วิถีการผลิตนั้นมีความสัมพันธ์กับแรงงานทาส การค้าทาสทำอย่างเปิดเผยในยุโรป และมี
ความคิดความเชื่อว่า ทาสไม่ใช่มนุษย์ การขยายการค้าทาสเริ่มจากวัฒนธรรมอาหรับ ที่นำทาสผิวดำจาก
แอฟริกามาเป็นแรงงาน และค้าขายกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน

เมื่อสังคมเริ่มเป็นอารยะที่เห็นว่าสังคมมนุษย์ควรเป็นสังคมที่คำนึงถึงศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ภายหลังจาก
เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม และ ศาสนาคริสต์แบบโปรแตสแตนท์ ได้แยกออกจากคริสต์กระแสหลักแล้ว มีการ
เรียกร้องให้เกิดการปลดปล่อยทาส ในอังกฤษและยุโรป ส่วนในอเมริกาถึงกับเกิดสงครามกลางเมืองอันเนื่องจาก
เรื่องการเลิกทาส และใน 1863 ประธานาธิบดีลินคอร์น ประกาศเลิกทาสอย่างเป็นทางการ หลังจากสามารถยุติ
สงครามกลางเมืองในอเมริกาได้สำเร็จ และให้ทาสผิวดำ เป็นพลเมืองของสหรัฐอเมริกา ผลสุดท้ายจากการเลิกทาส
ทำให้ประธานาธิบดีลินคอร์น ถูกลอบสังหาร

สำหรับในดินแดนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในไทยมีทาสกันตั้งแต่สมัยสุโขทัย[2] โดยเฉพาะทาสที่เกิดจากการแพ้สงคราม
เรื่อย ๆ ลงมาจนถึงอยุธยา ซึ่งกำหนดทาสเจ็ดประเภท[3]คือ ทาสสินไถ่ ทาสในเรือนเบี้ย ทาสที่ได้มาแต่บิดามารดา ทาสท่านให้
ทาสอันได้ช่วยเหลือในยามโทษทัณฑ์ ทาสอันได้เลี้ยงมาเมื่อเกิดทุพภิกขภัย ทาสเชลย จนกระทั่งรัตนโกสินธ์ตอนต้นก็ยัง
มีระบบทาส ที่รับใช้มูลนายอยู่ ต่อมาพระพุทธเจ้าหลวงปฏิรูปบ้านเมืองให้รวมศูนย์อำนาจแบบตะวันตก จึงได้เกิดพระราชดำริ
ที่จะเลิกระบบทาส ดังเช่น นานาอารยประเทศ แต่วัฒนธรรมหลักและวิถีการผลิตยังมีความจำเป็นที่จะมีทาสอยู่ พระพุทธเจ้่า
หลวงต้องใช้เวลานานมากพอสมควรจึงปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบการเลิกทาสได้สำเร็จ เนื่องมาจากการเลิกทาสไปขัดผลประโยชน์
ในโครงสร้างเศรษฐกิจสังคม ซึ่งหยั่งรากแก้วมานาน และในวันที่ 1 เมษายน เป็นวันประกาศเลิกทาสของไทยจึงเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อประชาชนชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง

ปัจจุบันระบบทุนนิยมเป็นกระแสหลัก การทำมนุษย์ให้เป็นสินค้า ก็ปรับเปลี่ยนรูปแบบไป มีอยู่หลายมิติ ซึ่งจะนำเสนอถ้ามีเวลาค้นคว้าพอ ทาสยุคใหม่จึงถูกทำให้รู้สึกว่ามีเสรี แต่ในแก่นแท้ก็คือยังคงความเป็นทาสอยู่ ไม่ว่าจะเป็นทาสบริโภคนิยม การค้าประเวณี การค้าแรงงานเถื่อนในระดับต่าง ๆ ความสำคัญของยุคหลังอยู่ที่การกล่อมเกลาให้ยินยอมเป็นทาส ด้วยรูปแบบที่เป็นไท


[1] ชุติกานต์ ฉลองวงศ์ (2555) ประวัติศาสตร์การค้าทาส ย้อนตำนานเมื่อมนุษย์กลายเป็นสินค้าที่ซื้อขายได้ ,กรุงเทพฯ,ก้าวแรก
[2] ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดย์ ได้ให้ความเห็นไว้ ดูในการถกเถียง http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply...
[3] เรื่องเดียวกัน (2555)





คำสำคัญ (Tags): #วัฒนธรรมทาส
หมายเลขบันทึก: 588343เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2015 22:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2015 22:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สังคมทาส..ปัจจุบัน..ต้องปลดปล่อย..ตัวเอง..(คงจะเป็นผลในยุค..พระศรีอารยะ..)..ถ้าจะมีและเป็นได้..ต้องเริ่มแต่บัดนี้ไป..มั้ง..ที่เลิกยาก..เพราะเป็นทาสความอยากตัวเอง..

แต่ในความคิดของผม เห็นว่าทาส ถึงแม้จะมีนายทาส แต่ก็ยังสบายกว่าพวกไพร่ ตอนที่มีการเลิกทาสขึ้นมา พวกทาสส่วนหนึ่งกลับไม่ยอม พอเลิกทาสเสร็จ พวกทาส รวมทั้งไพร่ด้วยก็กลายมาเป็นข้าราษฎร ที่ต้องเกณฑ์ทหารเหมือนๆกันครับ

ทาสในยุคสมัยปัจจุบันถูกฝังจิตไว้ด้วยคำว่า "ความมั่นคงปลอดภัย" ซึ่งเป็น ซึ่งเป็นบันไดขั้นที่สองของ มาสโลว์ การจะหลุดพ้นผมคิดว่าทางที่ใกล้ที่สุดน่าจะเป็นการหลุดพ้นความกลัว แต่ผมลองแล้วยิ่งพยายามเอาชนะความกลัวมากเท่าไร ความกลัวในจิตใจยิ่งแข็งแกร่งมากขึ้นเท่านั้น ตอนนี้ผมจึงเริ่มเปลี่ยนมาเป็นการปีนบันไดของมาสโลว์ ให้ก้าวล้ำจุดสิ้นสุด แต่พอเริ่มพิจารณาตนเองที่ผ่านมาทั้งชีวิตจิตใจเบื้องลึกเราก็ปีนบันไดของ มาสโลว์ มาโดยตลอดอยู่แล้ว พอเริ่มพิจารณาระดับที่เพิ่มสูงขึ้นไปก็พบว่ามนุษย์เรามีความต้องการอย่างที่มาสโลว์ ว่ามาจริงๆ แต่แตกต่างกันที่วิธีการและ ปรัชญาการยอมรับตนเองของแต่ละคน ผมจึงแสวงหาคำตอบทางปรัชญาอีก จึงใด้ความหมายว่า แต่ละคนมีการให้ความหมาายของชีวิตแตกต่างกันตามประสบการณ์และการปลูกฝังของแต่ละคน
และแล้วก็สรุปได้ว่าตอนนี้ปณิธานแห่งยุคถูกสร้างขึ้นมาให้คนรับรู้ว่าการ ใช้ร่างกายและเวลาแลกเงิน คือความมั่นคง ในทัศนคติของแต่ละคนในยุค ถ้าอยากหลุดพ้นต้องเปลี่ยนความเชื่อ ซึ่งยากมากสำหรับคนยุคก่อน แต่กลับเป็นเรื่องที่คนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบันกำลังค้นหาวิธีหลุดพ้น และเริ่มมีคนทำได้มากมายขึ้นเรื่อยๆจนอาจเกิดปัญหาขาดแคลนแรงงาน รัฐบาลจึงเร่งปลูกฝังทัศนคติแห่งการใช้แรงงานให้กับเด็กรุ่นใหม่มากมายโดยเฉพาะในโรงเรียน และการจัดนิทรรศกาารต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาแรงงาน

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท