บทบาทหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย และ ข้อเสนอแนะป้องกันเกิดวิกฤตซ้ำ


ธนาคารแห่งประเทศไทย

Image result for ธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เป็นธนาคารกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2485 เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 มีหน้าที่หลักในการดูแลกำกับเรื่องการเงินของชาติ ทั้งออกกฎเกณฑ์และควบคุมสถาบันการเงิน นำออกหมุนเวียนซึ่งธนบัตรไทยรวมถึงการควบคุมการถ่ายโอนเงินตราระหว่างประเทศ และเฝ้าระวังอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับสกุลเงินตราอื่น ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นหลังจากประเทศไทยได้มีธนาคารพาณิชย์ทั้งของรัฐและเอกชนเริ่มดำเนินการไปก่อนหน้านั้นแล้ว ภารกิจและหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยเดิมซ้อนเหลื่อมอยู่กับกระทรวงการคลังและได้มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับหลังจากที่ระบบการเงินของโลกพัฒนาไปและมีวิกฤตเศรษฐกิจครั้งสำคัญต่างๆ

ประวัติ

ในปี พ.ศ. 2482 เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง สงครามและเหตุการณ์ที่เกิดจากสงครามได้เร่งรัดความจำเป็นต้องจัดตั้งธนาคารกลางขึ้นในประเทศไทย ปรีดี พนมยงค์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ร่วมมือกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยเริ่มจัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติขึ้นในปี พ.ศ. 2482 อันเป็นแนวทางไปสู่การตราพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทยในปีพ.ศ. 2485ในสมัยที่ พลเอกเภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (2484 - 2487) ได้มีการตราพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 จัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทย ขึ้นเป็นองค์กรอิสระและ จากพระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเริ่มประกอบธุรกิจได้ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2485 เป็นต้นไป พร้อมกันนี้ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย เป็นผู้ว่าการธนาคารพระองค์แรก (พ.ศ. 2485 - 2489) พระองค์ได้ทรงวางระเบียบแบบแผนและดำเนินการจนธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำรงอยู่เป็นปึกแผ่นมั่นคงตลอดมาจนปัจจุบัน

บทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย

1. ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นองค์การของรัฐ สังกัดกระทรวงการคลัง ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485
2. ธนาคารแห่งประเทศไทย มีอำนาจในการดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกา กำหนดกิจการธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งออกภายใต้พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485 และมีหน้าที่ในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ สนับสนุนให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ดูแลให้กลไกของตลาดเงินภายในประเทศดำเนินการอย่างราบรื่น และให้คำปรึกษาแก่รัฐบาลในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญ
3. ธนาคารแห่งประเทศไทยแบ่งส่วนราชการออกเป็น ส่วนงานที่ทำหน้าที่อันเป็นงานหลักของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยตรง ส่วนงานที่ทำหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติงานหลักของธนาคารแห่งประเทศไทย และสาขาธนาคาร
4. ธนาคารแห่งประเทศไทยมีบทบาทหลายประการได้แก่ การออกและพิมพ์ธนบัตร การเป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์ การควบคุมธนาคารพาณิชย์ การเป็นนายธนาคารของรัฐบาล การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันการเงิน การพัฒนาตลาดเงินและตลาดเงินตราต่างประเทศ และการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินของรัฐบาล

บทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทยได้แก่
1. บทบาทในการออกและพิมพ์ธนบัตร
2. บทบาทในการเป็นนายธนาคารพาณิชย์
3. บทบาทในการควบคุมธนาคารพาณิชย์
4. บทบาทในการเป็นนายธนาคารของรัฐบาล
5. บทบาทในการเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันการเงิน
6. บทบาทในการพัฒนาตลาดเงินและตลาดเงินตราต่างประเทศ
7. บทบาทในการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินของรัฐบาล

หน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แก่
1. หน้าที่ในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
2. หน้าที่ในการสนับสนุนให้เศรษฐกิจของประเทศไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
3. หน้าที่ในการดูแลให้กลไกของตลาดการเงินภายในประเทศดำเนินไปอย่างราบรื่น
4. หน้าที่ในการให้คำปรึกษาแก่รัฐบาลในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญ ๆ
จากอำนาจหน้าที่ดังกล่าว มีส่วนช่วยให้ประเทศมีทุนและเงินออมเพียงพอที่จะใช้จ่าย ช่วยให้เกิดเสถียรภาพทางการเงิน ไม่ทำให้ราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงไปมาก อันจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา

อำนาจของธนาคารแห่งประเทศไทยที่สำคัญ ได้แก่

1. การออกและจัดการรวมตลอดถึงพิมพ์ธนบัตรและบัตรธนาคาร และการจัดการทุนสำรอง
2. การซื้อขายและรับช่วงซื้อลดตั๋วแลกเงินและตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการค้าหรือพาณิชย์อันสุจริต และจากการอุตสาหกรรมบางประเทศ
3. การดำเนินกิจการ การเงินระหว่างประเทศ
4. การดำเนินกิจการแห่งระบบหักบัญชีระหว่างธนาคาร
5. การเป็นนายธนาคารและเป็นตัวแทนทางการเงินของรัฐบาล

การจัดแบ่งส่วนงานของธนาคารแห่งประเทศไทย
การแบ่งส่วนงานของธนาคารแห่งประเทศไทยออกเป็นประเภทของหน้าที่ อาจแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 3 กลุ่ม ใหญ่ ๆ ได้แก่
1. ส่วนงานที่ทำหน้าที่อันเป็นงานหลักของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยตรง
2. ส่วนงานที่ทำหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติงานหลักของธนาคารแห่งประเทศไทย


ข้อเสนอแนะป้องกันเกิดวิกฤตซ้ำ

1.มาตรการเพื่อป้องกันการความเสี่ยงที่จะเกิดผิดพลาดซ้ำอีก

-อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในประเทศควรปรับให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

-ดูแลค่าเงินบาทอย่างระมัดระวังให้มีค่าอยู่ใกล้เคียงกับอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง

-ไม่สร้างความเชื่อผิดๆ ว่ารัฐบาลจะไม่ปล่อยให้สถาบันการเงินล้ม

2.มาตรการกำกับดูแลสถาบันการเงิน

-กำหนดนโยบายที่เป็นแนวทางพัฒนาสถาบันการเงินให้ชัดเจน

-สร้างกลไกให้สถาบันการเงินสามารถเลิกกิจการได้อย่างเป็นระเบียบ

-พิจารณาแยกงานตรวจสอบ ออกไปจากธนาคารกลาง แต่ธนาคารกลางยังคงมีบทบาทสำคัญในการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาค นโยบายการเงิน และนโยบายสถาบันการเงินอยู่ต่อไป

-ควรมีการจัดตั้งสถาบันประกันเงินฝากขึ้น

-เปิดทางให้มีองค์กรอิสระเข้ามาตรวจสอบและประเมินหลักทรัพย์ค้ำประกันในการกู้เงินจากสถาบัน การเงิน

-จัดอันดับความน่าเชื่อถือของสถาบันการเงินให้เป็นข้อมูลแก่ผู้ฝากเงิน และจ่ายอัตราเบี้ยสูงต่ำตามระดับความเสี่ยง

-ความลับต่างๆ เกี่ยวกับสถาบันการเงินควรมีการเปิดเผยในระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการปกปิดความบกพร่องในการบริหาร

3.มาตรการเตรียมพร้อมรับมือปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจนนำไปสู่วิกฤต

-กำหนดมาตรการตอบโต้ความพยายามโจมตีค่าเงินด้วยการควบคุมการถือครองเงินบาท และแยกตลาดแลกเปลี่ยน offshore ออกจากตลาดในประเทศ

-ในยามที่เศรษฐกิจฟื้นตัวและขยายตัว จะต้องใช้นโยบายเข้มงวดกับสถาบันการเงิน เพื่อไม่ให้ขยายการดำเนินงานไปสู่ธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง

-รัฐบาลจะไม่มีการประกันเงินฝากและเจ้าหนี้ของสถาบันการเงินเต็มจำนวนอีก

-กำหนดมาตรการเตรียมไว้ป้องกันไม่ให้เงินทุนระยะสั้นไหลเข้าหรือออกจากประเทศมากและเร็วเกิ นไป เช่น ควบคุมระยะเวลาในการส่งเงินตราออกนอกประเทศ เป็นต้น

4.มาตรการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

-รวบรวมกฎหมายระบบสถาบันการเงินที่ปรับปรุงแก้ไขและกฎหมายเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องเข้าไว้ด้วย กัน

-เผยแพร่กฎหมายเศรษฐกิจที่ปรับปรุงใหม่ให้รับรู้ในกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง

-ควรมีการทบทวนแก้ไขกฎหมายด้านการเงินที่มีอยู่ให้ทันกับธุรกรรมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

-ควรมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายล้มละลาย เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ลูกหนี้โดยให้มีส่วนในการทำแผนฟื้นฟูกิจการของตนเองด้วย

-มีกฎหมายใหม่ๆ ด้านเศรษฐกิจและการเงินมากมายที่ไม่มีการสอนในหลักสูตรมาก่อน จึงควรแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญกฎหมายเหล่านี้เพื่อให้ความเห็นเพิ่มเติมในการพิจารณาคดีเศรษฐกิจด้วย


ผลภาพวิกฤตต้มยำกุ้ง 2540ผลภาพซับไพร์ม

แหล่งที่มา

http://www.carefor.org/content/view/82/

http://bothailand.blogspot.com/

https://www.bot.or.th/Thai/Pages/default.aspx


หมายเลขบันทึก: 587871เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2015 18:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มีนาคม 2015 19:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท