บทบาทของแบงค์ชาติ


บทบาทหน้าที่

1. การให้ความช่วยเหลือสถาบันการเงิน

นับตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2551 เป็นต้นมา หลังจากที่มีการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากแล้ว บทบาทหน้าที่ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุนฯ) ในเรื่องการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สถาบันการเงินที่ประสบภาวะวิฤติทางการเงินจะเป็นไปตามมาตรา 19 ของพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ที่กำหนดไว้ว่า ภายในระยะเวลา 4 ปีนับแต่วันที่กฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝากใช้บังคับ หากยังไม่มีการตรากฎหมายเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สถาบันการเงินที่ประสบภาวะวิกฤติทางการเงินใช้บังคับ แต่มีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อแก้ไขฟื้นฟูสถาบันการเงินที่ประสบภาวะวิกฤติทางการเงิน อันอาจกระทบต่อเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน และเป็นกรณีที่ได้มีการดำเนินการตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้แล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงินอาจเสนอแนะแผน แนวทาง และวิธีการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินนั้นต่อคณะกรรมการจัดการกองทุน โดยต้องแสดงให้เห็นว่าการดำเินินการตามแผน แนวทาง และวิธีการดังกล่าวมีประสิทธิผลสูงสุดและเป็นไปอย่างเหมาะสม เมื่อคณะกรรมการจัดการกองทุนพิจารณาแล้วเห็นชอบด้วย ให้เสนอรัฐมนตรีเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ

2. การบริหารหนี้ F1 และ F3

เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2555 รัฐบาลโดยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีมติอนุมัติให้ตราพระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2555 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2555 โดยกำหนดให้กองทุนฯ มีหน้าที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับการชำระคืนต้นเงินกู้และการชำระดอกเบี้ยเงินกู้ในส่วนที่เกี่ยวกับหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือจัดการและฟื้นฟูสถาบันการเงินที่ประสบปัญหาวิกฤติทางการเงินเมื่อปี 2540

3. การบริหารสินทรัพย์

ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2555 กองทุนฯ มีสินทรัพย์ที่ต้องบริหารจัดการรวม 1,307,311.2 ล้านบาท มูลค่าหลังหักค่าเผื่อการด้อยค่าสุทธิ 152,319.5 ล้านบาท ประกอบด้วย 1) หุ้นธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หุ้นบริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด หุ้นบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด และหุ้นอื่น ๆ 2) ลูกหนี้ที่เกิดจากวิกฤติสภาพคล่องปี 2540 และตามมาตรการ 14 สิงหาคม 2541 และ 3) ทรัพย์สินอื่น อาทิ เงินลงทุนระยะสั้น อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

ทั้งนี้ การบริหารจัดการดังกล่าวรวมถึงการเรียกเก็บหนี้ นอกเหนือจากการนำมาเพื่อลดความเสียหายจากการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลช่วงวิกฤติสถาบันการเงินแล้ว ยังเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ F1 และ F3 ตามพันธกิจที่รัฐบาลมอบหมายด้วย


https://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutionsDe...

คำสำคัญ (Tags): #บทบาท
หมายเลขบันทึก: 587867เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2015 17:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มีนาคม 2015 17:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท