บทบาทของธนาคารกลางในช่วงวิกฤต


ธนาคารกลางเป็นสถาบันการเงินหลักของแต่ละประเทศ ในบางประเทศธนาคารกลางเป็นที่รู้จักกันในนามธนาคารพาณิชย์สำรอง นอกจากนี้ยังกำกับดูแลระบบการธนาคารเชิงพาณิชย์ในประเทศ และยังมีหน้าที่ควบคุมดูแลการพิมพ์ธนบัตรชำระหนี้ได้ตามกฎหมายรวมทั้งควบคุมการดำเนินนโยบายทางการเงินในเศรษฐกิจของประเทศ ตัวอย่างของธนาคารกลาง เช่น ธนาคารกลาง (สหรัฐ), ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ธนาคารแห่งประเทศแคนาดา (BoC), ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BoJ) และประเทศอื่น ๆ อีกทั่วโลก ซึ่งทุกประเทศย่อมมีธนาคารกลางทั้งสิ้น

ในช่วงวิกฤตธนาคารจะต้องเข้ามามีบทบาทเพื่อแก้ไขวิกฤตนั้นๆ ไม่ให้รุกรามไปมาก ซึ่งจะก่อให้เกิดหายนะ ธนาคารกลางจะเข้าแซงในภาคธุรกิจ หรือ ธนาคารพาณิชย์ ก็จะอยู่ที่ วิกฤตนั้นๆ ว่าใครได้รับผลกระทบ โดยขอบเขตของ ธนาคารกลางโดยทั่วไปธนาคารกลางจะมีผู้ดูแลซึ่งเป็นที่รู้จักกันในฐานะผู้ว่าการรัฐหรือประธานกรรมการและคณะกรรมการ โดยมีหน้าที่รับผิดชอบในส่วนของการจัดการ นอกจากนี้ยังมีอีกหลายหน่วยงานที่อยู่ในความดูแลในส่วนต่างๆของธนาคารกลาง ประกอบไปด้วยหน่วยงานที่ดำเนินการกำกับดูแลและวางกฎระเบียบของสกุลเงิน (การพิมพ์ และการควบคุมปริมาณเงินหมุนเวียน) และหน่วยงานอีกส่วนหนึ่งสำหรับดำเนินการบริหารนโยบายทางการเงิน ซึ่งโครงสร้างของธนาคารกลางในแต่ละประเทศก็จะแตกต่างกันตามลักษณะทางการเงินในประเทศนั้นๆ

จะเห็นว่า ในช่วงวิกฤตมีบทบาทอย่างมากหากธนาคารกลางละเลยหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็น ควบคุมอัตราดอกเบี้ย ควบคุมค่าเงินไม่ให้ผันผวนจะมีผลต่อ อัตราแลกเปลี่ยน ส่งผลต่อภาคธุกิจ จะก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินก็เป็นได้

คำสำคัญ (Tags): #finance
หมายเลขบันทึก: 587866เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2015 17:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มีนาคม 2015 17:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท