วัฒนธรรม "เด็กเป็นศูนย์กลาง"


Child center เป็นชุดความคิดหนึ่งชุดหนึ่งที่นำเสนอที่ช่วงปฏิรูปการศึกษา ชุดความคิดนี้เป็นอย่างไรชุดความคิดนี้ถูกผลิตมาจากตะวันตก มาจากความคิดเสรีนิยม ซึ่งพื้นฐานญาณวิทยาแบบตะวันตกนั้นอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ [1] ได้เขียนไว้ชัดเจนมากเกี่ยวกับญาณวิทยาแบบตะวันตกไว้ว่า ญาณวิทยาแบบฝรั่ง ความรู้คือการที่มนุษย์จำลองความจริงขึ้นมานั้น หากมีแบบจำลองอันอืนที่มีเหตุผลกว่า ที่ท้าทายกว่า แบบจำลองอันเดิมจะถูกล้มล้างไป วิธีการแสวงหาความรู้ญาณวิทยาแบบฝรั่งคือการสังเกตุการณ์และการใช้เหตุผล

ดังนั้น child center ในระบบไวยากรณ์ของตะวันตก ก็คือ เด็กก็สามารถสร้างความรู้ได้ด้วยการสังเกตุการณ์และการใช้เหตุผล เด็กเป็นประธานของการเรียนรู้ เด็กเป็นองค์ประธาน ความรู้เป็นกริยาที่องค์ประธานสามารถจำลองความจริงขึ้นมาได้ แถมยังสามารถล้มล้างแบบจำลองอันอื่นด้วยเหตุผล child center เป็นผลผลิตของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการและวิทยาศาสตร์ ที่ต่อต้านยุคกลางที่มีความรู้แบบจำลองชุดเดียวที่มาจากนักบวชยุคกลาง เป็นที่มาของรากฐานวัฒนธรรมตะวันตกมาจนถึงทุกวันนี้ ทำให้มีการพิสูจน์ว่าโลกไม่ได้แบน และการทดลองอะไรอีกมากมายที่ล้มล้างแบบจำลองความรู้ทางวิทยาศาสตร์ นี่คือรากฐานทางญาณวิทยาที่มนุษย์เป็นศูนย์กลาง เชื่อมั่นในอำนาจของมนุษย์

เมื่อ Child center ผ่านประเทศไทย โดยนักเทคโนแครต นักเรียนนอก ซึ่งมีรากฐานญาณวิทยาแบบไทย ๆ ซึ่งอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ [2] ได้กล่าวถึงญาณวิทยาแบบไทย ๆ ไว้ว่า ความจริงนั้นมีอยู่ ไม่ได้ถูกสร้างขึ้น และความจริงนั้นสถิตอยู่ในตัวกูรู คุรุ โดยได้รับการบอกเล่าผ่านคนเหล่านั้น แต่ก็เปลี่ยนแปลงตั้งแต่สมัย ร.4 มีการรับเอาญาณวิทยาแบบฝรั่งเข้ามา ผ่านนักเรียนนอกทั้งหลายแต่เมื่อเข้ามาถึงก็ถูกญาณวิทยาแบบไทย ๆ ซึ่งมีรากฐานดังกล่าวา ซึ่งเข้าถึงความจริงด้วยการท่องจำ มากลายเป็นการท่องจำ การสังเกตุการณ์และเหตุผลของฝรั่ง

ดังนั้นไวยากรณ์ของ Child center จึงถูกแปลงจากรากฐานเดิมจากไวยากรณ์เดิม ที่นักเรียนจะเป็นประธานการเรียนรู้ ความรู้ถูกสร้างขึ้น ใครก็สร้างความรู้ขึ้นมาเองได้ มาเป็นไวยากรณ์ที่เรียกว่า องค์ประธาน ถูก ทำให้เกิดการเรียนรู้ ผ่านกูรู หรือ คุรุ ดังนั้นเมื่อไวยากรณ์แบบไทย ๆ นี้ได้เกิดขึ้น เท่ากับลบล้างนัยยะเดิม ของ Child center ไปทั้งหมดทั้งสิ้น วัฒนธรรมที่เกิดการประทะประสานจะเกิดวาทกรรมล้อเลียนที่ว่า "ควายเซ็นเตอร์" หรือ "child center teacher sleeping" ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจไม่ยาก เพราะระบบวัฒนธรรมและความคิดความเชื่อ รากฐานทางญาณวิทยาเป็นแบบนั้น คำอธิบายของอาจารย์นิธิ จึงไม่ล้าสมัยในการนำมาอธิบาย

แต่อย่างไรก็ตามยังไม่สิ้นหวัง ทีกลุ่มปฏิรูปการศึกษาในสังคมไทยอีกหลายแห่ง ที่พยายามจะเปลี่ยนแปลงไวยากรณ์นี้ โดยเรียกตัวเอว่า "facilitator" เป็นไวยากรณ์ใหม่ ที่ไม่เรียกความสัมพันธ์เชิงอำนาจแต่เดิม มาเป็นความสัมพันธ์เชิงราบ ตั้งแต่วัฒนธรรมการสื่อสาร
การจัดองค์กร กระจายความรับผิดชอบ เปลี่ยนไวยากรณ์จาก teaching มาเป็น coaching ความสัมพันธ์แบบนี้มีความใกล้เคียงกับ Child center แบบฝรั่ง ดังจะเห็นตัวอย่างไวยากรณ์แบบนี้ในลำปลายมาศพัฒนา ในโรงเรียนรุ่งอรุณ หรือ โรงเรียนทางเลือกต่าง ๆ

เนื่องจากวัฒนธรรมเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดการปฎิบัติแบบ "ร่างกายใต้บงการ" ดังนั้นสิ่งอยู่ใต้สมองของคน ไม่ใช่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย ดังยกตัวอย่าง คนผิวดำในอเมริกา แม้ว่าจะมีกฎหมาย และสิทธิต่าง ๆ มากมาย แต่ความคิดใต้สมอง อุดมการณ์อำนาจ และความสัมพันธ์ทางสังคม ของคนอเมริกันจำนวนมากยังไม่เปลี่ยนไปแม้แต่น้อย หรือแม้แต่ "ญาณวิทยา" วิธีคิด ความเชือ่ คุณค่าแบบไทย ๆเชื่อว่ายังคงอยู่อีกนานมาก เพราะตราบใดที่ "ไวยากรณ์ไม่เปลี่ยน ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมก็ไม่มีทางเปลี่ยนแปลง" เชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม จากการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องโลกแบน คนอังกฤษจำนวนไม่น้อยยังเชื่อว่า "โลกแบน"


[1] [2] นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2548,กรกฎาคม). การปฏิวัติทางญาณวิทยา.มติชนรายสัปดาห์ ปีที่ 25 ฉบับที่ 1300

คำสำคัญ (Tags): #ญาณวิทยา
หมายเลขบันทึก: 587752เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2015 09:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2015 09:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เออ ..เนอะ...แปลกๆ..ดี...อ่านสนุก....โลกยังแบนอยู่....เหมือนเมื่อสี่สิบปีก่อน..มีคนยุโรปถามว่า..กรุงเทพ..มีช้างเต็มเมือง...เลย..ใช่ไหม...๕๕๕....

ที่มาด้านความรู้ เขาว่ากันว่า มีที่มาอยู่ 5 ประเภท ได้แก่ 1. เรื่องเล่าสืบๆกันมา 2. ครูอาจารย์ 3. การนิรนัย 4. การอุปนัย 5. การตรัสรู้ หรือการรู้เองเห็นเอง วิธีคิดของฝรั่งจะเน้นแต่ข้อ 3-4 ต่อมาก็เริ่มมาเชื่อข้อ 5 บ้างแต่ไม่มาก แต่ผมคิดว่าเชื่อความรู้ทั้ง 5 ประเภทครับ

อาจารย์ต้นครับ ยุคกลางของฝรั่ง มีข้อที่หนึ่ง ข้อที่สอง เป็นหลักเลย และเพิ่มข้อที่ 5 ข้อที่ห้าคือ การวิวรณ์ ครับ ส่วน ข้อที่ 3 - 5 เกิดในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา จนมาถึงปัจจุบันครับ


ดูเหมือนเป็นการวิเคราะห์ child center ในบริบทไทยๆ

เปลี่ยนคำแต่ไม่เปลี่ยนวิธีก็ไปไม่ถึงเป้าหมายนะคะ

ด้วยความห่วงใยว่าคนทำงานรุ่นใหม่ที่เป็นผลผลิตช่างคิดน้อย ไม่สู้งาน อยากได้เงินเยอะๆ และหมกมุ่นกับมือถือ


อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท