ผลการวิจัยพบว่า การสอนแบบบรรยายมีประสิทธิภาพน้อยที่สุด


ผลการวิจัยพบว่า การสอนแบบบรรยายมีประสิทธิภาพน้อยที่สุด

การสอนโดยการบรรยายเป็นวิธีที่นิยมโดยทั่วไป ไม่ว่าในระดับโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือการฝึกอบรมต่างๆ แต่ผลจาการวิจัยพบว่า การบรรยายเป็นวิธีการสอนที่ทำให้คนจำได้น้อยที่สุด

หลังผ่านไปสองสัปดาห์ คนที่ฟังบรรยายจดจำได้เพียง 5 เปอร์เซ็นต์ของเนื้อหาที่รับฟังมา แต่เมื่่่่่่อเปรียบเทียบกับการอ่าน คนอ่านหนังสือส่วนใหญ่มักจะมีสมาธิมากกว่าการฟังบรรยาย ทำให้เขาจดจำได้ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าใช้วิธีการสอนโดยเพิ่มสื่อที่เป็นภาพเคลื่อนไหว เช่น ภาพยนต์ วิดิโอ จะเพิ่มความจดจำให้เขาได้ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ เพราะภาพเคลื่อนไหวดึงดูดความสนใจคนได้ดีกว่า

แต่ก็มีวิธีที่ดีกว่านั้น ที่จะทำให้ผู้เรียนจดจำได้ดีกว่า คือการสาธิตที่ผู้สอนทำให้ดู เช่นการสอนเรื่องการใช้อุปกรณดับเพลิงเมื่อไฟไหม้ วิทยากรก็จะนำเอาถังดับเพลิงสีแดง มาแสดงให้ดูถึงวิธีใช้ วิธีการนี้จะทำให้ผู้เรียนจดจำได้ถึง 30 เปอร์เซ็นต์

แต่ถ้าต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการสอน ต้องใช้วิธีที่เรียกว่า Discussion คือการสอนแบบอภิปราย ที่มีการตั้งคำถามให้แสดงความเห็นกัน วิธีการนี้ทำให้ผู้เรียนต้องกลับไปรวบรวมสิ่งที่เคยเรียนรู้มาก่อน ก่อนที่จะเรียงเรียงเป็นประโยคออกมาพูด ซึ่งเมื่อผ่านไป 2 สัปดาห์จะทำให้เขายังจำได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ทีเดียว

แต่ถ้าจะทำให้ผู้เรียนจดจำได้มากกว่านั้นทำอย่่างไร วิธีการที่ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริงเป็นวิธีที่จะทำให้ผู้เรียนจดจำได้ถึง 75 เปอ์เซ็นต์

แต่วิธีที่ดีที่สุด ที่ทำให้ผู้เรียนเข้าใจและจำไปใช้ได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ของที่เรียน คือ การสอน ซึ่งผู้เรียนนำเอาไปสอนต่ออีกทอดหนึ่ง เพราะการนำไปสอนต่อทำให้ผู้เรียนต้องกลับไปเรียกความรู้เดิมที่เรียนมาทั้งหมดเอามาจัดระบบ เอามาวิเคราะห์และเรียบเรียงออกมาเป็นคำพูดที่ให้คนเข้าใจได้ กระบวนการเหล่านี้ทำให้เขาจดจำสิ่งที่เรียนได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ทีเดียว ยิ่งเขาสอนมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้เขาจดจำมากข้ึนเท่านั้น

จากการวิจัยดังกล่าวบอกเราว่า การบรรยายเป็นวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพน้อยที่สุด แล้วเรายังจะสอนโดยการบรรยายอีกหรือ??

ดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ


https://www.youtube.com/watch?v=_3NKJLWgyL4&feature=youtu.be

หมายเลขบันทึก: 587428เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2015 19:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มีนาคม 2015 19:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท