แบบสังเกตภาคปฏิบัติ


2. แบบสังเกตภาคปฏิบัติ

ความหมาย

การวัดความสามารถในการทำงานของบุคคลภายใต้สถานการณ์และเงื่อนไขที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุด โดยจะวัดทั้งวิธีการ(process) และผลงาน(product) ที่ผู้ทดสอบแสดงการกระทำออกมา

วิธีการสร้าง

1. ทำความเข้าใจพฤติกรรมที่ต้องการวัด
2. เลือกใช้สถานการณ์หรือเนื้อหาในการประเมิน
3. กำหนดความคิดรวบยอดของสถานการณ์หรือเนื้อหา
4. เขียนข้อคำถามหรือสิ่งที่นักเรียนจะต้องปฏิบัติ
5. เขียนตัวเลือกหรือเกณฑ์การให้คะแนน
6. ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัด

การนำไปใช้

1. การทดสอบเชิงจำแนก (Identification test) เป็นการวัดความสามารถ ของแต่ละบุคคลในการแยกแยะสิ่งต่าง ๆ เช่น เครื่องมือ วัสดุ สิ่งของ ปัญหา หน้าที่ หรือคุณภาพซึ่งอยู่ในงานหรือบริบทในการปฏิบัติงาน เช่น การฟังเสียงเครื่องยนต์ แล้วแยกแยะได้ว่ามีข้อบกพร่องจุดไหน เพื่อดำเนินการซ่อมต่อไป แบบทดสอบเชิงจำแนกโดยทั่วไปไม่เป็นงานที่ต้องปฏิบัติจริง แต่จะเป็นขั้นตอนแรกของการปฏิบัติ

2. การทดสอบด้วยตัวอย่างงาน (Work sbaple test) เป็นการทดสอบภาคปฏิบัติที่ใกล้เคียงกับการปฏิบัติงานจริงมากที่สุด โดยการกำหนดงานที่เป็นตัวแทนของความรู้ ความสามารถและทักษะที่สำคัญของวิชา หรือของเรื่องมาให้ผู้เรียนทดสอบ ซึ่งการประเมินผลสามารถประเมินได้ทั้งกระบวนการ ผลงานและกิจนิสัย เช่น ทดสอบการขับรถยนต์ในสถานที่จริง การจดเชาว์เลข การพิมพ์จดหมาย การทำขนม เป็นต้น

3. การทดสอบโดยใช้สถานการณ์ (Simulation test) เป็นการทดสอบที่ให้ผู้สอบปฏิบัติงานที่ใกล้เคียงกับการปฏิบัติงานจริงขณะดำเนินงานมากที่สุด แต่เงื่อนไขอาจแตกต่างจากสถานการณ์จริงบ้างอาจะเป็นเพราะ อาจเกิดความผิดพลาดอย่างรุนแรง ความไม่ปลอดภัย เสียเวลา หรือเพื่อเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติจริงต่อไป เช่น การขับรถยนต์ในสนามจำลองที่มีเครื่องหมายจราจรและช่องต่างๆ การทดสอบทางการแพทย์บางลักษณะ การฝึกนักบิน การฝึกการใช้เครื่องมือเครื่องจักรที่มีราคาแพง การฝึกการสอบสวนของตำรวจ การฝึกการตัดสินใจบางสถานการณ์ เป็นต้น

4. การทดสอบด้วยวิธีอื่น ๆ (Alternative test) ที่สามารถนำมาทดสอบภาคปฏิบัติ ได้แก่
- การทดสอบปากเปล่าหรือการสัมภาษณ์ สามารถวัดภาคปฏิบัติได้เป็นบางส่วน เช่น ความรู้เกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติ การนำเสนอผลงานหรือโครงการ ทักษะการสื่อสาร ตรวจสอบทัศนคติ ค่านิยม เป็นต้น

- การทดสอบโดยใช้ข้อเขียน มีหลายชนิดทั้งแบบเลือกตอบ ให้เติมคำ ให้เขียนตอบสั้น ๆ หรือเขียนความเรียง รวมทั้งให้คำนวณโดยแสดงวิธีทำ เป็นต้น มักจะประเมินด้านความรู้ ความสามารถ วิธีการทำงาน หรือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

- การให้เขียนรายงาน เป็นการประเมินความรู้ในเนื้อหาในแนวลึกเหมือนกับการประเมินโดยให้นำเสนอสิ่งที่เตรียมมา วิธีการนี้อาจใช้ประเมินทักษะการเขียนสื่อสาร ความสามารถในการเลือกและจัดระบบการนำเสนอความคิดตลอดทั้งวัสดุอุปกรณ์ในเรื่องที่ได้รับมอบหมายให้เตรียมรายงาน ทั้งนี้ผู้สอบต้องมีทักษะในการเขียน

ข้อดีและข้อเสีย

ข้อดี:
1. ให้ครูบอกข้อผิดพลาดและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันที
2. เป็นการตรวจสอบความสามารถของแต่ละบุคคลเพื่อประยุกต์ใช้ข้อมูลในสถานการณ์ที่เหมือนชีวิตจริง
3. วิธีการสังเกตจะให้ข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
4. มีความตรงเชิงทำนายสูงกว่าการทดสอบด้วยวิธีอื่น
5. ปรับใช้กับงานประเภทต่าง ๆ กับบุคคลทุกวัยและทุกระดับได้ง่าย
6. การสังเกตอย่างดี ข้อมูลจะมีความเที่ยงและความตรงตามสภาพที่แท้จริง ซึ่งไม่สามารถได้มาด้วยการเก็บข้อมูลด้วยวิธีอื่น

ข้อเสีย:
1. ผู้สังเกตที่มีอคติหรือคาดหวังหรือมีความรู้ที่ผิด ๆ จะทำให้บิดเบือนข้อมูล
2. ไม่เข้าใจจุดประสงค์ดีพอ
3. ไม่สามารถแยกแยะระหว่างข้อเท็จจริงกับความคิดเห็นได้
4. การสรุปข้อมูลจากเหตุการณ์เพียงเหตุการณ์เดียว ทำให้ผิดพลาดจากความเป็นจริง
5. ต้องพิจารณาบริบทแวดล้อม ประกอบด้วย
6. การสุ่มตัวอย่างพฤติกรรมจำกัดเกินไป
7. ความผิดพลาดในการแยกแยะพฤติกรรม
8. การบันทึกไม่ตรงกับข้อมูลที่แท้จริง
9. การสรุปจากข้อมูลที่ไม่เพียงพอจะทำให้เกิดความผิดพลาด

พีระพงษ์ เครื่องสนุก

11/03/58

หมายเลขบันทึก: 587301เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2015 12:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มีนาคม 2015 12:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท