แนวทางขับเคลื่อนสะเต็มศึกษาในประเทศไทย


สะเต็มประเทศไทย จะเดินต่อไปอย่างไร ?

เมื่อวันที่ ๕-๗ มีนาคม ๒๕๕๘ ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสไปร่วมฟังการบรรยายใน การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ในโรงเรียน ครั้งที่ ๒๒ (วทร.๒๒) ซึ่งในปีนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี หรือ มทส. เป็นเจ้าภาพในการจัด เนื่องในวาระครบ ๒๕ ปี มทส. จุดเน้นหลักในการประชุมในครั้งนี้ก็คือ แนวทางการขับเคลื่อนสะเต็มศึกษาในประเทศไทย (STEM Education for Thailand) ที่มี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เป็นเจ้าภาพหลักในการดำเนินการ ดังนั้นการบรรยายพิเศษหลักของการประชุมจึงจะเน้นที่ การนำเสนอ "แผน ๕ ปี สะเต็มศึกษา และ แนวทางขับเคลื่อนสะเต็มศึกษาในโรงเรียนของไทย" โดย ศ. ดร. มนตรี จุฬาวัฒนฑล ประธานกรรมการ สสวท. และ ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร ผอ. สสวท.

โดยภาพรวมวิทยากรผู้บรรยาย ทั้งจาก นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในหัวข้อ "ครูในฝัน (Dream Teacher)" รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในหัวข้อ " การเรียนการสอนในศตวรรษที่ ๒๑" รวมทั้งจาก สสวท. ก็เป็นไปในแนวทางที่ สำหรับคนที่ติดตามเรื่องราวในการพัฒนาการศึกษาไทยและต่างประเทศก็ทราบกันว่า มีการพูดกันมานานแล้ว.....เป็นหลักคิดที่ไม่ได้มีอะไรใหม่ เพียงแต่เปลี่ยนชื่อเพื่อความเป็น "นวตกรรม" ใหม่ตาม ๆ กันไป ในการบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ "สะเต็ม ช่วยแก้วิกฤติการเรียนการสอนของประเทศได้จริงหรือ ? โดย ศ. ดร. สุพจน์ หารหนองบัว ก็กล่าวว่า สะเต็ม ไม่ใช่ของใหม่ หลักการก็เช่นเดียวกับ การเรียนการสอนโดยใช้ "กระบวนการทางวิทยาศาสตร์" ที่เราทราบกันมานานแล้ว และก็เป็นหลักเดียวกับ เรื่อง อริยสัจสี่ ในทางพระพุทธศาสนา นั่นเอง

ซึ่งโดยความเห็นส่วนตัว หลังจากฟังการบรรยายพิเศษต่าง ๆ รวมทั้งศึกษาจากสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ก็เห้นด้วยว่า "หลักการ" ไม่มีอะไรใหม่.....เป็นเพียงการตั้งชื่อ (ตัวย่อ) ให้ดูเป็น "นวตกรรมใหม่" เท่านั้น ก็เป็นเรื่องปกติ หรือ ธรรมชาติ ตามหลักของวิวัฒนาการ นั่นเอง.....ไม่ว่าจะเป็น....การจัดการเรียนการสอนแบบ การทำโครงงาน การแก้ปัญหา (PBL) แบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง แบบห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom) อาจจะเป็น OTOP (One Team One Project) หรือ OCOP (One Class One Project) การจัดการเรียนการสอนแบบ จิตตปัญญาศึกษา การจัดการความรู้ (KM) การจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ได้ ทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ ๒๑ ก็ตาม....ล้วนมีหลักการคล้าย ๆ กัน ปัญหาจึงอยู่ที่ว่า "จะทำอย่างไร จึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลง? ที่จะทำให้มีการนำไปปฏิบัติกันอย่างถูกต้อง ทั่วถึง และ ต่อเนื่องได้" ซึ่งหลาย ๆ ท่านก็พูดตรงกันว่า "จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ" โดยเฉพาะ ระบบการวัดและการประเมินผล ทั้งการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษา การวัดและประเมินผลการทำงานของครู และ ผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องที่ต้องดูกันต่อไปว่า "สะเต็มประเทศไทย" จะเดินต่อไปอย่างไร ? ซึ่งก็อย่างที่ท่านประธาน สสวท. กล่าวว่า การตามกระแสโลกหรือชาวโลกก็เป็นเรื่องปกติ....ขึ้นอยู่กับการนำมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของประเทศไทย เป็นสำคัญ.....ตอนนี้ก็เริ่มมีข้อเสนอว่า "STEM" ยังไม่พอ จะต้องเป็น "STEAM" ตัว A ที่เพิ่มเข้ามาอาจจะเป็น ด้านศิลปะ (Arts) หรือ ด้านการเกษตร (Argriculture) ก็แล้วแต่แนวคิดและบริบทของแต่ละท้องถิ่น

หมายเลขบันทึก: 587141เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2015 12:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มีนาคม 2015 12:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ในภาพเห้น รศ ดร อรรณพด้วยครับ

STEM Education จะมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาสาระของหลักสูตรระดับต่าง ๆอย่างไร เพราะเหตุใด นอกจากวิธีการสอนที่กล่าวถึง ชัดเจนหรือยังคะจากการประชุมคราวนี้ ส่วนตัวก็ติดตามมานานแต่ยังไม่แน่ใจว่าประเทศนี้จะทำอะไร อย่างไรค่ะ ขอบคุณค่ะ

แนวทางดำเนินการต่อไป....ทาง สสวท. คงจะเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนครับ สามารถติดตามได้จากเว็บไซต์ของทาง สสวท.

ฟังบางส่วนจากการบรรยายแนวทางการดำเนินการเรื่อง STEM Education ของ สสวท. ได้ ที่นี่ ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท