::การจัดการความรู้ในสถานศึกษา 128::


ศตวรรษที่ 21 ??


ทำไมต้องปรับการเรียน เปลี่ยนการสอน เพื่อเตรียมเด็ก เตรียมคนสู่ศตวรรษที่ 21

คำถาม ที่มักจะได้ยิน ..แล้วเราก็มักจะได้ยินกลับมาว่า..

..เพราะโลกกำลังเข้าสู่ยุดของการเปลี่ยนแปลง..

จากยุดเกษตรสู่ยุคอุตสาหกรรมมาจนถึงปัจจุบันที่เรียกว่า "ยุคความรู้" ซึ่งในหนังสือ 21Th Century Skill Learning for Life in our Times ได้ระบุบทบาทของการศึกษาไว้ว่า 1) เพื่อการทำงานและเพื่อสังคม 2) เพื่อฝึกฝนสติปัญญาของตนเอง 3) เพื่อทำหน้าที่พลเมือง 4) เพื่อสืบทอดจารีตและคุณค่า[1]

จะเห็นได้ว่าระบบเศรษฐกิจของโลกก่อให้เกิดการแข่งขันอย่างรวดเร็วและน่าตกใจ อันเป็นผลมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งผลตอบแทนจากเศรษฐกิจที่ก้าวหน้า เกิดขึ้นจากภาคอุตสาหกรรม และบริษัทที่มีนวัตกรรมจากทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศและความรู้

คนที่มีความรู้และทักษะในการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ใหม่ ๆ เท่านั้นที่ประสบความสำเร็จ และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ช่วยให้เราสามารถเรียนรู้และปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

จากกรณีของโรงเรียนและนักเรียนในสหรัฐอเมริกาที่ยังไม่ปรับตัวตามสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลง ทุกวันนี้ระบบการศึกษาของรัฐก็ไม่ได้เตรียมนักเรียนให้พร้อมสำหรับศตวรรษที่ 21 เช่นกัน

พบว่าในระดับนานาชาตินักเรียนสหรัฐอเมริกา ทำคะแนนได้น้อยกว่าคะแนนเฉลี่ยในโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (Programme for Internationnal Student Assessment :PISA)ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ใช้ประเมินการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งการประเมินของ PISAใช้วัดทักษะเชิงประยุกต์ ซึ่งเรียกว่า ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ในการคิดวิพากษ์ และการแก้ไขปัญหา แม้แต่นักเรียนอเมริกาที่เก่งที่สุดก็ไม่สามารถทำคะแนนจากการประเมินนี้ได้ดีเท่านักเรียนจากประเทศอื่นๆ ที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ[2]

หากมองย้อนกลับมาดูผลการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (Programme for Internationnal Student Assessment :PISA) ของเด็กนักเรียนไทยในปี 2012 ที่ผ่านมา พบว่าจาก 65 ประเทศเขตเศรษฐกิจที่เข้าแข่งไทยได้คะแนนโดยรวมอยู่ในอันดับที่ 50

คณิตศาสตร์ ค่าเฉลี่ย OECD คะแนนมาตรฐานที่ 494 คะแนน ไทยได้ 427 คะแนน แต่เมื่อเทียบกับ PISA 2003-2009 พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้น

การอ่าน ไทยมีคะแนนเฉลี่ย 441 แต่ก็มีสัญญาณบวกว่ามีคะแนนสูงกว่า PISA 2009 ส่วนวิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ย 444 คะแนน และสูงกว่า PISA 2000 และ PISA 2009 คุณภาพการศึกษาไทยจึงยังห่างไกลจากความเลิศ แม้ว่าทุกวิชามีแนวโน้มสูงขึ้น แต่มีคะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย OBCD เกือบหนึ่งระดับ[3]

เมื่อสหรัฐอเมริกาเองซึ่งเป็นชาติมหาอำนาจและมีศักยภาพในการแข่งขันสูงที่สุดในโลก กำลังตระหนักว่าการศึกษากำลังมีปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมของเขาในอนาคตอันใกล้ หากไม่มีการปรับเปลี่ยนระบบการศึกษาหรือสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นพลังที่จะความมั่งคั่งของประเทศ ทักษะที่จะช่วยส่งเสริมนวัตกรรมรวมทั้งความคิดสร้างสรรค์การคิดวิพากษ์ และการแก้ไขปัญหากำลังเป็นที่ต้องการอย่างมาก

ดังนั้นเมื่อเป็นเช่นนี้เพื่อจัดการกับความท้าทายใหม่ที่กำลังเผชิญอยู่ จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้น เพื่อสร้างทักษะแห่งอนาคต สามารถเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมั่นคง และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข จึงน่าที่จะเป็นที่มาของคำตอบว่าทำไมเราต้องปรับการเรียน เปลี่ยนการสอน เพื่อเตรียมคน เข้าสู่ศตวรรษที่ 21 นั่นเอง

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

[1] วิจารณ์พานิช. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ใน ศตวรรษที่ 21 .กรุงเทพฯ :มูลนิธิสดศรี สฤษดิ์วงศ์,2554.

2 วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และ อธิป จิตตฤกษ์. ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21.

กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ openworld, 2554.

3 สสวท. ผลการประเมิน PISA 2012 คณิตศาสตร์ การอ่าน และวิทยาศาสตร์ บทสรุปของผู้บริหาร.กรุงเทพฯ:สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2556.

อ่านเนื้อหาที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่

หมายเลขบันทึก: 587137เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2015 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กันยายน 2017 06:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มาทักทาย

ที่โรงเรียนทำเรื่อง Flipped classroom แล้วหรือยังครับ

หายไปนานมากๆๆ

ยังเลยครับ ท่านอ.ขจิต มีอะไรแนะนำได้เลยครับท่าน

ลองศึกษาเรื่อง PBL และ Flipped classroom นะครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท