ชี้ตลาดเงินส่อผันผวน-บาทแข็ง ‘ม.รังสิต’เตือน‘ส่งออก’รับมือQE


ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ม.รังสิต ชี้มาตรการ QE ส่งผลให้ตลาดการเงินส่อผันผวนเพิ่มสูงขึ้นอีก ขณะที่เงินบาทแข็งค่าอย่างมากเมื่อเทียบกับเยน-ยูโร กระทบส่งออก เล็งปรับประมาณการส่งออกเหลือเติบโต 1.5-2.5%

เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2558 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป มหาวิทยาลัยรังสิต ได้รายงานบทวิเคราะห์เศรษฐกิจ ในแง่ผลกระทบจากการที่ธนาคารกลางยุโรปจะเริ่มต้นเข้าซื้อพันธบัตรและตราสาร หนี้เพิ่มอีก 6 หมื่นล้านยูโรต่อเดือนตั้งแต่เดือนมี.ค.จนถึงก.ย. ปี 2559 รวมเม็ดเงิน 1.1 ล้านล้านยูโร เม็ดเงินที่อัดฉีดเข้าสู่ระบบการเงินโลกสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้และธนาคาร กลางญี่ปุ่นก็ผ่อนคลายนโยบายการเงินและทำ QE เพิ่มเติมเช่นกัน โดยผลกระทบจากมาตรการดังกล่าว ทำให้ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูปฯได้ปรับประมาณการอัตราการ ขยายตัวของมูลค่าส่งออกของไทยลงมาอยู่ที่ระดับ 1.5-2.5%

ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เชื่อว่า ในช่วง 6 เดือนข้างหน้าตลาดการเงินมีความผันผวนเพิ่มสูงขึ้นอีก จากการดำเนินนโยบายดังกล่าว

อย่างไรก็ดี การดำเนินมาตรการรับมือกับการเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้นเก็งกำไรไหลเข้า ประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงและมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจทำให้เกิด ภาวการณ์แข่งขันการลดค่าเงินเพื่อประคับประคองภาคการผลิตเพื่อการส่งออกของ ประเทศตัวเอง แต่ไม่ถึงขั้นเกิดสงครามค่าเงิน (Currency War) อย่างที่มีการวิตกกังวลกัน ส่วนค่าเงินรูเบิลและเศรษฐกิจรัสเซียจะทรุดตัวมากกว่าเดิมในช่วงครึ่งปีแรก

ขณะที่การต่อรองเงื่อนไขการกู้เงินของรัฐบาลใหม่ของกรีซจะทำให้เจ้าหนี้ อาจไม่ปล่อยสภาพคล่องให้รัฐบาลกรีซและมีผลกระทบลูกโซ่ต่อฐานะของธนาคารใน เยอรมนีและฝรั่งเศส รัฐบาลใหม่กรีซจากพรรคไซริซามีท่าทีชัดเจนในการต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดของ เจ้าหนี้แต่ยังคงใช้เงินยูโรและเป็นสมาชิกของอียูต่อไป ผลกระทบต่อความปั่นป่วนของตลาดการเงินโลกจึงมีจำกัด

ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ กล่าวถึงผลกระทบต่อไทยว่า ทางการไทยควรมีมาตรการและนโยบายที่เหมาะสมในการดูแลความผันผวนในตลาดการเงิน ที่มีผลกระทบต่อภาคการผลิตและภาคส่งออก และต้องดำเนินการให้เท่าทันต่อสถานการณ์ที่มีพลวัตสูง จะเห็นสัญญาณเงินบาทแข็งค่าอย่างมากเมื่อเทียบกับเยนและยูโรตั้งแต่เดือน มีนาคมเป็นต้นไป และเงินบาทจะอ่อนค่าลงเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐอเมริกา

พร้อมคาดว่า ดุลการค้าในไตรมาสแรกปีนี้ (2558) จะเกินดุลการค้าไม่ต่ำกว่า 9 พันล้านดอลลาร์ และเกินดุลบัญชีเดินสะพัดไม่น่าจะน้อยกว่า 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ นับเป็นการเกินดุลทั้งสองบัญชีสูงสุดเป็นประวัติการณ์เป็นผลจากการลดลงของ ราคาน้ำมันเป็นหลัก ไม่ได้เกิดจากการชะลอของเศรษฐกิจแล้วจึงมีการชะลอการนำเข้าและการส่งออกขยาย ตัวเพิ่มสูงขึ้นแต่อย่างใด

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูปฯได้ปรับประมาณการอัตราการขยายตัวของมูลค่าส่งออกของไทยลงมาอยู่ที่ระดับ 1.5-2.5%


ผศ.ดร.อนุสรณ์วิเคราะห์ว่า ในส่วนผลการประชุมของธนาคารกลางออสเตรเลีย อังกฤษและอินเดีย จะยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป และภาวะดังกล่าวจะยังคงสร้างแรงกดดันทำให้กระแสเงินไหลเข้าระยะสั้นเก็งกำไร ในตลาดการเงินของไทยเพิ่มขึ้นต่อไปและบาทจะยังทยอยแข็งค่าต่อเนื่อง แม้นระดับความเสี่ยงทางการเมืองเพิ่มขึ้นจากความสัมพันธ์ที่ไม่ปกติระหว่าง ไทยกับสหรัฐอเมริกาแต่คาดว่าสถานการณ์จะไม่ลุกลามบานปลาย จึงไม่มีผลกดดันให้เงินไหลออกและเงินบาทอ่อนค่า

อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/nnd/2083752


คำสำคัญ (Tags): #มาตรการQE
หมายเลขบันทึก: 587090เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2015 18:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มีนาคม 2015 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท