​ธาตุปะนม 4


เมื่อขบวนแห่อัญเชิญพระอุรังคธาตุมาถึงภูกำพร้าแล้วไม่นานพิธีการสร้างพระธาตุก็เริ่มขึ้นโดยปั้นดินเหนียวก่อขึ้นแล้วสุมด้วยไฟ ดินที่ปั้นกว้างยาวเท่าฝ่ามือพระมหากัสสะปะ ที่นี้ขุดหลุมลึก 2 ศอกและกว้าง 2 วา ของพระมหากัสสะปะด้วย ต่อจากนั้นพญาสุวรรณภิงคารเริ่มขุดก่อนเวียนขวาและพญาต่าง ๆ ก็ขุดตามลำดับจนเสร็จเรียบร้อย

ที่นี้มีการแบ่งหน้าที่ก่ออุโมงค์ โดยพระอรหันต์สั่งให้นำไหมาใส่น้ำพุทธมนต์ใน 4 ทิศ สวดมนต์ด้วยราหูปริตรและคาถา พุทธสํ มงฺคลํ โลเก ต่อจากนั้น พญาจุลณีพรหมทัต ก่อฝาอุโมงค์ด้านทิศตะวันออก พญาอินทรปัตถ์ ก่อฝาอุโมงค์ด้านทิศใต้ พญาคำแดง ก่อฝาอุโมงค์ด้านทิศตะวันตก และพญานันทเสน ก่อฝาอุโมงค์ด้านทิศเหนือ 4 ก่อฝาอุโมงค์ขึ้นเป็นรูปเตาสี่เหลี่ยมสูง 1 วาของพระมหากัสสะปะแล้ว

พญาสุวรรณภิงคารก่อยอดโดมสูงอีก 1 วา แล้วทำประตูเผาไฟทั้ง 4 ด้านด้วยไม้จวง, จันทร์ , กฤษณา , กระลำพัก , คันธรส , หว้า , ไทร , และต้นรัง เผา 3 วัน 3 คืนเมื่อสุกดีแล้วจึงนำหินกรวดมาถมปรับพื้นที่ เมื้อสร้างเสร็จแล้ว พญาทั้ง 5 ท่านได้บริจาคของมีค่าต่าง ๆ เพื่อบรรจุไว้ภายในอุโมงค์พระธาตุเป็นพุทธบูชา

ต่อจากนั้นพระมหากัสสะปะได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุไว้ภายในอุโมงค์แล้วปิดประตูทั้ง 4 ด้าน โดยไม่ได้นึกคิดสิ่งที่เกิดขึ้นคือพระอุรังคธาตุลอยออกมาปรากฏอยู่ในฝ่ามือพระมหากัสสะปะ ทุกคนเห็นเป็นอัศจรรย์ พระมหากัสสะปะรู้ด้วยญาณว่าจะมีผู้มาบูรณะองค์พระธาตุอีกแน่แท้เพื่อให้บริบูรณ์ขึ้นเป็นลำดับครั้งนี้สร้างไว้เพียงแค่นี้ก่อน และแล้วพระอุรังคธาตุก็ลอยกลับเข้าไปภายในอุโมงค์พระธาตุดังเดิมเป็นน่าอัศจรรย์

แล้วพญาทั้ง 5 ท่านได้สร้างปริศนาธรรมเอาไว้รอบ ๆ อุโมงค์พระธาตุเช่นสร้างประตูไม้ประดู่ลงกลอนปิดรอบองค์พระธาตุทั้ง 4 ด้าน สร้างเสาศิลา 4 ต้นมีม้าศิลา 2 ตัว ซึ่งยังคงมีปรากฏอยู่มาจนถึงปัจจุบัน

เมื่อถึงเวลาพญาทั้ง 5 ก็เดินทางกลับยังเมืองของตนและพระอรหันต์ 500 รูปก็เหาะไปยังเมืองราชคฤห์ สำหรับอุโมงค์พระอุรังคธาตุ ณ ภูกำพร้ามอบให้พญานันทเสน และชาวเมืองศรีโคตรบูรดูแลรักษาสืบต่อไป ส่วนเรื่องราวทางทิพย์พระอินทร์แต่งตั้งให้เหล่าเทวดา 4,006 องค์ และมเหศักดิ์หลักเมืองอีก 3 ตน มาเฝ้ารักษาพระอุรังคธาตุและสิ่งของบริจาคท่านพญาทั้งหลายตลอดชาวเมืองที่มาร่วมกันสร้างองค์พระธาตุในคราวครั้งนี้

............................................................

แง่คิดอาจผิดก็ได้ว่าการก่อสร้างเริ่มแรกทุกคนไม่มีเสื้อผ้าสวมใส่ทั้งผู้หญิงผู้ชายด้วยเป็นยุคโบราณบวกกับวัฒนธรรมประเพณีของชนเผ่าลาวดั้งเดิม

หมายเลขบันทึก: 587084เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2015 15:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มีนาคม 2015 15:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท