ความดี ไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเอง


ความดี ไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเอง

------------

ถวิล อรัญเวศ

รอง ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต 4

ความนำ

สรรพสิ่งในโลกนี้ บางสิ่งก็สามารถซื้อได้ด้วยแก้วแหวนเงินทอง แต่ก็มีอีกไม่น้อยที่ไม่สามารถซื้อขายกันได้ ต้องทำเองเท่านั้น ครับ อาทิ เช่น

1. การทำความดี เราจะได้รับความดีเราต้องทำเอง หลักธรรม

ทางพุทธศาสนา สอนไว้ว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว” ฉะนั้น ถ้าเราอยากได้รับความดีเบื้องต้น เราต้องเองก่อน เมื่อทำดีมาก ๆ เข้า

อาจจะได้รับผลแห่งความดีจากที่คนอื่นหยิบยื่นให้ในฐานะเป็นคนดี

2. การรับประทานอาหารการที่เราจะรู้สึกว่าอิ่ม เราต้องกินเอง

รับประทานเองในวิสัยคนปกติกินแทนกันก็ไม่ได้ ใครกิน คนนั้นก็อิ่ม

3. การนอนหลับ การพักผ่อนที่ดีที่สุด ก็คือการที่เราได้นอนหลับ

สนิท เราต้องนอนเอง หลับเอง และการที่เราจะนอนหลับง่ายนั้น

เราต้องตัดความกังวลไม่ให้จิตฟุ้งซ่าน ไม่คิดอะไรมาก ทำสมาธิจิต

คิดเพียงอารมณ์เดียว จากนั้น เราก็จะหลับได้โดยง่ายนะครับ

4. ความรักทางใจ เป็นความรู้สึกที่ดีต่อกันอันเนื่องมาจาก

การรู้สึกประทับใจอะไรกับใครสักอย่าง ซึ่งเราก็ไม่สามารถรักแทน

กันได้ ซื้อขายกันได้ เพราะเป็นความรู้สึกทางใจนะครับ

ความดี ไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเอง

แน่นอน ห้างสรรพสินค้าในเมืองไทย หรือในโลกนี้ เราคงไม่

เห็นร้านที่จำหน่ายความดีอาจจะมีเพียงร้านที่แนะนำความดีให้กัน

ได้ว่าในฐานะเราเกิดมาเป็นมนุษย์ คนที่มีจิตใจสูงส่ง เราควรทำ

ความดี“ทำความดีต่อมวลมิตรดีกว่าไม่มีไมตรีจิตเอาเสียเลย”

นะครับ

การทำความดีเป็นเรื่องยาก บางครั้งก็เป็นเรื่องฝืนใจ เพราะ

“ฝืนใจได้กำไร ตามใจมักขาดทุน” ฉะนั้น การทำความดีเป็นเรื่อง

การทำอะไรต่าง ๆ ทำได้ยาก ต้องฝึกทำวันละนิดวันละหน่อยก็จะชินไปเองนะครับ สำหรับหลักการทำความดีเพื่อจะได้รับอานิสงส์

แห่งผลการทำความดีแรงกล้านั้น หลักธรรมทางศาสนา โดยเฉพาะ

พุทธศาสนา ได้สอนไว้ว่า

1. ทำด้วยใจที่บริสุทธิ์การทำความดีเพื่อหวังผลอะไรบางอย่าง

บางครั้งอาจได้รับทุกข์ อย่างที่เรียกกันว่า “ทำดีเอาหน้า” เงินไม่ค่อยมี

แต่อยากได้หน้า กู้เงินมาทำบุญ ก็ไม่ควรทำ เพราะมีแต่จะทุกข์ตามมา

เช่นเดียว จะทำอะไรสักอย่าง ต้องถามว่า จะได้อะไร การที่เราทำอะไร โดยไม่หวังผลอะไร บางที่เราอาจจะได้อะไรบางอย่างกลับมา

ก็ได้ที่เรียนกันว่า “ได้รับอานิสงส์แห่งผลคุณงามความดี”

2. ทำถูกคน ถ้าเราทำความดีกับโจร คนไม่บริสุทธิ์อาจจะได้

บุญน้อยกว่าทำกับพระสงฆ์ ทำกับพระอริยะสงฆ์ อาจจะมีผลมากกว่า

ทำบุญกับพระสงฆ์ธรรมดาหรือการถวายทานเป็นสงฆ์ อาจจะได้รับ

ผลบุญมากกว่าทำกับพระสงฆ์รูปเดียว เป็นต้น

3. ทำถูกกาลเวลา บางคนบอกว่า ทำความดี จะได้รับผล

ชาติหน้า แต่ถ้าเสนอหน้า จะได้รับผลชาตินี้ นั้น คือการทำความดี

บางครั้ง ก็ต้องถูกกาลเวลา จะมีอานิสงส์แรงกล้า เพราะตามพุทธประวัติ พระพุทธเจ้าท่านจะโปรดใคร ต้องดูอุปนิสัยคนนั้นก่อน

หรือแนะนำให้เขาเข้าใจก่อน ค่อยสอนเขา เขาจึงจะเข้าใจ เช่นเดียวกับครูจะสอนนักเรียนให้ได้ผล ต้องดูวุฒิภาวะความพร้อม

ของนักเรียนก่อน ค่อยสอนจึงจะได้รับผลดี

4. ทำโดยไม่หวังผลอะไร ทำความดีเพื่อความดีการทำความดี

เพราะถูกบังคับให้ทำ เหมือนกับเปรต อสุรกายที่กำลังถูกยมบาลจะ

ลงโทษ ก็กลัว ร้องว่า ข้าฯจะไม่ทำชั่วอีกแล้ว ข้าฯจะไม่ทำอีกแล้ว

ความชั่ว ข้าฯจะตั้งใจทำความดีต่อไป

5. ทำความดี ทำเวลาไหน ก็ได้ ไม่มีฤกษ์ยามไม่มีฤดูเหมือน

กับการปลูกพืชบางชนิดเพราะฉะนั้น ทำความดีตอนไหน ก็เป็น

ความดีตอนนั้นการทำความดี เป็น อกาลิโกไม่มีฤกษ์ยาม นะครับ

บทสรุป

หว่านพืชเช่นใด ก็จะได้รับพืชเช่นนั้นทำดีได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว

จงทำดี มีศีลธรรม ถือความสัตย์ ฝึกหัดทำความดีวันละนิด จิตใจจะเบิกบาน ฝืนใจ ได้กำไร ตามใจ มักจะขาดทุน เพราะการทำความดี

ทำได้ยาก ทำชั่ว ทำได้ง่าย แต่ถ้าเราฝึกทำบ่อย ๆ ก็จะชินไปเอง คนเรา ควรทำความดีต่อกันและกันเอาไว้ จะได้พบแต่สิ่งดี ๆ ในสังคม

สมกับที่ว่า “ความดีไม่มีขาย อยากได้ ต้องทำเอง” ยิ้มให้ จะได้รับ

รอยยิ้มตอบขอบคุณครับ

--------------


หมายเลขบันทึก: 586940เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2015 17:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มีนาคม 2015 17:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท