วิชาชีวิต : วิชาธรรม


วิชาชีวิต : วิชาธรรม

ถวิลอรัญเวศ

รอง ผอ. สพป. นครราชสีมา เขต 4

วิชาการในโลกนี้ มีมากมายนานัปการ แต่ถ้าจะว่าโดยสรุปแล้ว น่าจะเป็นวิชาการความรู้ วิชาชีพ

วิชาชีวิต

วิชาความรู้ คนเราก่อนเติบใหญ่พออายุเข้าวัยเรียน ก็จะเรียนหาวิชาความรู้ เรียนภาคบังคับก็ว่าหรือ

เรียนขั้นพื้นฐานก็เรียก

ต่อมาก็เรียนวิชาชีพเพื่อจะนำมาเป็นเครื่องทำมาหาเลี้ยงชีพ เพราะเมื่อชีวิตยังดำรงอยู่เราต้องกิน

เท่านั้น ยังไม่พอ จะต้องมีวิชาชีวิต คือ ทำอย่างไร จึงจะสามารถดำรงตนในสังคมได้อย่างมีความสุข

วิชาชีวิตนี้แหละ คือวิชาธรรม .......

วิชาชีวิต คนมักจะมองข้าม คิดว่า อย่างอื่นสำคัญกว่า คือทำอย่างไรจึงจะรวย จึงจะมีเงินเป็นเศรษฐี

พยายามหาเงินจนลืมดูแลตนเอง มิหนำซ้ำเงินที่หามาก็ไม่มี

โอกาสได้ใช้ ก็มี ถือว่าเป็นคนมีกรรม หาเงินเพื่อให้คนอื่น

ใช้

วิชาชีวิต ที่น่าจะนำมาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน

ได้แก่

หมวดดำรงตน

1. ธรรมที่มีอุปการะมาก

สติ ระลึกได้ ขณะทำ ขณะพูด ขณะคิด สำคัญมาก

สัมปชัญญะ รู้ตัวเสมอขณะกำลังทำอะไรอยู่ ดีหรือ

ชั่ว

2. ธรรมอันทำให้งาม

ขันติความอดทน อดกลั้น

โสรัจจะสงบเสงี่ยม แม้จะมีอะไรทำให้รู้สึกไม่พอใจ ก็สงบเข้าไว้

3. เบญศีล เบญจธรรม

ศีล 5 เบญจธรรม 5 เป็นหลักธรรมพื้นฐานสำหรับคนเรา จะขาดเสียมิได้

4. สัปปุริสธรรม 7

รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ

รู้จักกาลเทศะ รู้บุคคล รู้ชุมชน ฯลฯ

หมวดการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ

1. อิทธิบาท 4

สรุปใจความได้ว่า การที่จะทำงานให้ประสบผลสำเร็จ ย่อมมีหลายวิธี มีหลายกลยุทธ์

สำหรับกลยุทธ์ที่ขอเสนอแนะ คือ กลยุทธ์ 4 ด้านดลบันดาลให้งานสำเร็จ

1. มีใจรัก

2. เป็นนักสู้

3. รู้จักคิด

4. พินิจพิจารณา

ขยายความ

1. มีใจรัก หมายถึงต้องรักและศรัทธาในงานที่กำลังทำอยู่

2. เป็นนักสู้ คือต้องมีความเพียรพยายามใน

การทำงานนั้นๆ เพราะคนจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียรเท่านั้น

3. รู้จักคิด คือรู้จักเอาใจใส่ต่องานที่กำลังทำ มีใจคอยติดตามงานที่ทำอยู่เสมอ

4. พินิจพิจารณา หมายถึงการพินิจพิจารณาหาข้อบกพร่องในงานที่กำลังทำ ว่ามีตรงไหนที่เรายัง

ทำได้ไม่ดี ขาดอะไร และหาวิธีแก้ไขเพื่อทำให้ดีขึ้น

2. คติธรรม พุทธภาษิต คำคมเกี่ยวกับการทำงาน

คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร

ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั้น

ฝืนใจได้กำไรตามใจมักขาดทุน

หมวดบริหาร

1. บริหารกาย บริหารจิต พิชิตความสุข

2. พรหมวิหาร 4ให้ความรัก ความอบอุ่น

ความสงสาร รู้จักแสดงความยินดีในความสำเร็จ

ของผู้ใต้บังคับบัญชา และรู้จักวางตัวเป็นกลาง

ไม่เข้าฝ่ายใด อันจะทำให้เสียดุลนักบริหาร

3. ไม่หลงอำนาจ ไม่ฉ้อราษฎร์บังหลวง ไม่หลอกลวงลูกน้อง ไม่ยกย่องคนประสบสอพลอ

หรือคนอันธพาล

หมวดสมานฉันท์

1. สามัคคี คือพลังแห่งความสำเร็จ

2. เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก

3. หันหน้าเข้าหากัน สรรสร้างสังคม ประชาคม

เป็นสุข

4. ให้อภัยแก่กัน แบ่งปันความสุข ขจัดทุกข์ให้

สิ้นไป คนไทยจะพบแต่ความรุ่งเรือง

---------

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

http://km.obec.go.th/main/research/201408260308327001651.pdf

http://korat4.net/download/1408995129_Moral.pdf

หมายเลขบันทึก: 586937เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2015 17:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มีนาคม 2015 17:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท