สมาคมวิชาชีพราชทัณฑ์อเมริกัน


สมาคมวิชาชีพราชทัณฑ์อเมริกัน (ACA) ประกอบด้วยคณะกรรมการจากผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาวิชาชีพต่างๆ ไม่เกิน 40 คน มีประธานาธิบดีรัทเทอร์ฟอร์ด บี เฮส์ ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา เป็นประธานคณะกรรมการคนแรกของสมาคม มีภารกิจในการพัฒนางานราชทัณฑ์..............................


สมาคมวิชาชีพราชทัณฑ์อเมริกันหรือสมาคมเจ้าพนักงานราชทัณฑ์อเมริกัน (ACA) เป็นสมาคมราชทัณฑ์ ที่เก่าแก่ที่สุดก่อตั้งขึ้นในปี 1870 เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร มีประธานาธิบดีรัทเทอร์ฟอร์ด บี เฮส์ ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา เป็นประธานคณะกรรมการคนแรกของสมาคมทำหน้าที่ในการพัฒนาระบบงานราชทัณฑ์ มีเครือข่ายราชทัณฑ์ของรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น และเครือข่ายราชทัณฑ์จากนานาชาติ มีการประชุมทุกปีในสหรัฐอเมริกา มีภารกิจในการพัฒนางานราชทัณฑ์ทั้งในส่วนของระบบงานราชทัณฑ์ โปรแกรมเพื่อการแก้ไข การพัฒนาเจ้าพนักงานราชทัณฑ์ให้เป็นมืออาชีพ ส่งเสริมการศึกษาวิจัยและนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนางานราชทัณฑ์ และส่งเสริมจริยธรรมในวิชาชีพราชทัณฑ์ เป็นต้น


การประชุมสมาคมวิชาชีพราชทัณฑ์อเมริกัน


แนวคิดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย

สมาคมวิชาชีพราชทัณฑ์อเมริกันหรือสมาคมเจ้าพนักงานราชทัณฑ์อเมริกัน (American Correctional Association) ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.aca.org/ACA_Prod_IMIS/ACA_Member/ Home/ACA_Member/ Home.aspx พบว่าสมาคมฯ ดำเนินงานภายใต้แนวคิดที่สำคัญ คือ แนวคิดในการเปิดโอกาสให้ภาครัฐและเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบงานราชทัณฑ์ มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญหลายประการ เช่น

  • เพื่อส่งเสริมและประสานความร่วมมือกับสมาคมและองค์กรอื่นๆ ทั้งใน USA และต่างประเทศในการพัฒนาระบบงานราชทัณฑ์ให้เป็นองค์กรมืออาชีพ
  • เพื่อเผยแพร่ ผลงานทางวิชาการ เอกสาร วารสารด้านอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา และอื่นๆ รวมทั้งการสนับสนุนให้มีการวิจัยในเรื่องเหล่านี้
  • การสร้างพันธมิตรกับภาคประชาชนและองค์กรมืออาชีพอื่น ๆ ในการพัฒนาระบบงานราชทัณฑ์
  • เพื่อจัดทำและเผยแพร่มาตรฐานงานราชทัณฑ์ในระดับชาติและนานาชาติ
  • เพื่อพัฒนามาตรฐานงานราชทัณฑ์ โปรแกรมเพื่อการแก้ไข สิ่งอำนวยความสะดวกเรือนจำ
  • เพื่อพัฒนากฎหมายปกป้องสิทธิของเจ้าหน้าที่ ผู้ต้องขัง และผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ
  • ดำเนินการหรือสนับสนุนการประชุมสัมมนางานวิชาการราชทัณฑ์
  • การให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานราชทัณฑ์แก่ประชาชน สมาชิกสภานิติบัญญัติ และรัฐบาลในการพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญา การปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับโทษจำคุก
  • การพัฒนาระบบงานราชทัณฑ์ให้มีคุณภาพสูง พัฒนาข้าราชการราชทัณฑ์ให้เป็นมืออาชีพ การพัฒนาและการใช้โปรแกรมการรับรองสำหรับการแก้ไขแบบมืออาชีพ
  • สนับสนุนส่งเสริมให้มีการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้านการแก้ไขและผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมแบบมืออาชีพ
  • เผยแพร่และส่งเสริมจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ที่ใช้บังคับกับสมาชิกของสมาคม
  • ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการจ้างงาน การฝึกอบรมความรู้ ทักษะ อาชีพแก่ผู้ต้องขังรวมทั้งการให้ผู้ต้องขังออกทำงานในบริษัทเอกชน
  • สนับสนุน ส่งเสริม การจัดตั้งหลักสูตรเกี่ยวกับการปฏิบัติงานราชทัณฑ์ในมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาต่างๆ เพื่อพัฒนาเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพและมีความก้าวหน้าในอาชีพ เป็นต้น

การฝึกอบรมเกี่ยวการปฏิบัติงานราชทัณฑ์ในสถานที่ของ ACA

คณะกรรมการ ACA ประกอบด้วยคณะกรรมการจากผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาวิชาชีพต่างๆ ไม่เกิน 40 คน มีประธานาธิบดีเป็นประธาน มีรองประธาน และคณะกรรมการที่ได้รับการคัดเลือกที่ประชุมสภาคองเกรส มีผู้อำนวยการบริหาร เหรัญญิก และ เลขานุการของสมาคม รวมตลอดถึงโฆษกของสมาคม มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี ติดต่อกันไม่เกินสองวาระ

อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ มีหลายประการ เช่น

  • การกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน
  • การมีอำนาจกำกับดูแลกิจการทางการเงินและกิจการภายในของสมาคม
  • นโยบายสาธารณะของสมาคม
  • พิจารณาอนุมัติงบประมาณของสมาคม
  • จริยธรรมของสมาคม
  • การแก้ไขและยกเลิกกฎระเบียบและข้อบังคับของสมาคม
  • การจัดทำรายงานประจำปี เป็นต้น

แนวทางการดำเนินงานและผลการดำเนินงาน

สมาชิกจะเลือกประธาน ประธานเลือกตั้งรองประธานและเหรัญญิก การดำเนินงานของคณะกรรมการACA มีการแบ่งการดำเนินงานในรูปของคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ เช่น คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการสรรหา คณะกรรมการมาตรฐาน คณะกรรมการด้านสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการด้านกฎระเบียบและข้อบังคับ คณะกรรมการ

โปรแกรมแก้ไข คณะกรรมการแก้ไขนานาชาติ คณะกรรมการสมาชิก คณะกรรมการรางวัลเจ้าพนักงาน คณะกรรมการจริยธรรม คณะกรรมด้านกฎหมาย คณะกรรมการพัฒนาวิชาชีพ คณะกรรมการแผนงานและโครงการ คณะกรรมการดูแลสุขภาพเจ้าพนักงาน คณะกรรมการประสานงาน

การดำเนินงานของ ACA มีลักษณะเป็นองค์กรสหวิชาชีพเป็นที่รวมของมืออาชีพด้านต่างๆที่เป็นตัวแทนในการพัฒนางานราชทัณฑ์และกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นของ USA มีการฝึกอบรมระหว่างประเทศครบวงจรโดยการเปิดโอกาสให้พนักงานราชทัณฑ์ได้รับการฝึกอบรมความรู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติของ ACA ในปัจจุบัน ACA มีเครือข่ายองค์กรกว่า 30 องค์กร และมีสมาชิกกว่า 20,000 คน จากประเทศต่างๆ ทั่วโลก ปรากฏผลการดำเนินงานด้านต่างๆ เช่น

  • การจัดทำคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงานราชทัณฑ์ของ ACA สำหรับใช้เป็นคู่มือในการปฏิบัติงานราชทัณฑ์ USA และประเทศสมาชิก
  • การเผยแพร่แนวทางการปฏิบัติงานราชทัณ์ผ่านหนังสือ วารสารของ ACA
  • หลักสูตรการฝึกอบรมความรู้เชี่ยวชาญและมืออาชีพเกี่ยวด้านงานราชทัณฑ์ของ ACA ออนไลน์
  • การสร้างมาตรฐานความเชี่ยวชาญและมืออาชีพด้านงานราชทัณฑ์ระดับนานาชาติของ ACA โดยการสร้างเครือข่ายพันธมิตรไปหลายประเทศทั่วโลก เป็นต้น

การฝึกอบรมออนไลน์และการเผยแพร่มาตรฐานการปฏิบัติงานราชทัณ์ผ่านหนังสือ วารสารของ ACA


การฝึกงานของเจ้าพนักงานราชทัณฑ์นานาชาติของ ACA (ซาอุดิอารเบีย เกาหลีใต้ สวีเดน)

โดยสรุป

สมาคมเจ้าพนักงานราชทัณฑ์อเมริกัน (ACA) เป็นองค์กรมืออาชีพด้านราชทัณฑ์ มีประธานาธิบดีเป็นประธานคณะกรรมการสมาคม ทำหน้าที่ในการพัฒนาระบบงานราชทัณฑ์ใน USA มีภารกิจที่สำคัญหลายประการ เช่น การพัฒนามาตรฐานงานราชทัณฑ์ โปรแกรมเพื่อการแก้ไข สิ่งอำนวยความสะดวกเรือนจำ การเผยแพร่มาตรฐานงานราชทัณฑ์ในระดับชาติและนานาชาติ พัฒนาข้าราชการราชทัณฑ์ให้เป็นมืออาชีพ การสร้างพันธมิตรกับภาคประชาชนและองค์กรมืออาชีพอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศ จัดการประชุมสัมมนางานวิชาการราชทัณฑ์ การฝึกอบรมความรู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ ดำเนินการวิจัยและการศึกษาด้านงานราชทัณฑ์ และ ส่งเสริมจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ในวิชาชีพราชทัณฑ์ ที่แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคม นโยบายและการปฏิบัติงานราชทัณฑ์ที่มีมนุษยธรรม ดำเนินงานภายใต้แนวคิดการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบงานราชทัณฑ์ ในปัจจุบัน ACA มีเครือข่ายองค์กรกว่า 30 องค์กร และมีสมาชิกกว่า 20,000 คน จากประเทศต่างๆ ทั่วโลก จึงเห็นว่าสำหรับผู้เกี่ยวข้องหรือสนใจ ในการพัฒนาระบบงานราชทัณฑ์เพิ่มเติม ก็อาจสามารถใช้ช่องทางศึกษาหาความรู้ได้จากหนังสือ วารสารของ ACA การฝึกอบรมความรู้เชี่ยวชาญและราชทัณฑ์มืออาชีพ ออนไลน์ หรือจากเว็บไชต์ ACA ดังกล่าวข้างต้น


....................


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ

วันที่ - เดือน - ๒๕๕๘



คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 586817เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2015 21:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มีนาคม 2016 05:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท