การจัดการด้านการเงิน


การบัญชีและการเงิน เป็นสิ่งที่มักถูกเรียกควบคู่กันเพราะงานทั้งสองส่วนมีความเกี่ยวข้องต่อเนื่องกัน

ในหลายๆ องค์กร อาจยังไม่ได้เน้นความสำคัญของงานในส่วนนี้ จึงอาจมีการว่าจ้างบริษัทภายนอกให้มีการจัดทำบัญชีให้เป็นรายเดือน ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิดปกติวิสัย แต่อย่างไรก็ดี เรื่องการเงินเป็นเรื่องที่ต้องสงวนไว้ภายในบริษัท และที่สำคัญผู้บริหารองค์กรต้องมีการตระหนักรู้ว่า การบริหารการเงิน นั้น มีขอบเขตอย่างไร และมีใครบ้างที่เกี่ยวข้อง
ในรูปแบบของการบริหารการเงินในองค์กรทั่วไปนั้น ผู้รับผิดชอบหลัก มักจะเป็นผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงิน ซึ่งเรียนจบมาทางด้านการบัญชีโดยตรง มีหน้าที่ในการดูแลความเรียบร้อยใน การทำเบิก จ่าย ลงบัญชี ปิดงบและทำรายงานทางการเงินจัดส่งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ กรมสรรพากร กระทรวงพาณิชย์ ผู้ตรวจสอบบัญชี รวมไปถึงการจัดทำรายงานทางการเงินสำหรับฝ่ายบริหาร
ในรูปแบบองค์กรที่มีการให้ความสำคัญของการเงินมากขึ้น จะมีการแต่งตั้ง Chief Financial Officer (CFO) ขึ้นเป็นผู้ดูแลด้านการเงินทั้งหมดของบริษัท ซึ่งรวมไปถึงงานด้านการบัญชีที่กล่าวมาข้างต้น โดย CFO นี้อาจจะเรียนจบมาทางด้านการบัญชีหรือด้านการเงินก็ได้
หน้าที่หลักของ CFO นั้น มีอยู่เพียง 2 ประการเท่านั้นคือ 1) วิเคราะห์ ตัดสินใจในเรื่องหลัก ที่มีผลกระทบในด้านการเงินของบริษัท 2) ให้คำแนะนำแก่ฝ่ายบริหารของบริษัท โดยเฉพาะ ผู้บริหารสูงสุดขององค์กร
สองเรื่องดังกล่าวแม้ฟังดูง่าย แต่มีรายละเอียดมาก ดังจะได้ยกตัวอย่างประเด็นที่ CFO จะต้องทราบดังนี้

  • ต้นทุนทางการเงิน (Cost of capital) ขององค์กรเป็นเท่าไร ( %) เหมาะสมกับธุรกิจหรือไม่
  • จะสามารถปรับปรุงโครงสร้างของเงินทุน (Capital Structure)เพื่อสร้างมูลค่าสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้นอย่างไร โดยต้องมีความรู้ในเรื่อง
  • วิธีการก่อหนี้สินประเภทต่างๆ (Debt Financing)
  • วิธีการระดมทุน (Equity Financing) เช่นจากบุคคลหรือตลาดหลักทรัพย์
  • การจัดสัดส่วนหนี้สินต่อเงินทุน (Financial Leverage) ที่เหมาะสม
  • กำหนดกรอบการลงทุนประเภทต่างๆ ของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นโครงการต่างๆ ภายในบริษัทเอง หรือ การลงทุนภายนอกเพื่อหาดอกผลสำหรับเงินสดส่วนเกิน
  • หลักการในการพิจารณาโครงการลงทุน (Capital Budgeting) โดยรวมไปถึง วิธีการหา Net Present Value (NPV), Internal Rate of Return (IRR) รวมทั้ง Payback Period สำหรับกระแสเงินสดที่เกิดจากโครงการลงทุนต่างๆ
  • จัดสร้าง Model ในการประมาณการกระแสเงินสด เพื่อนำข้อมูลจากฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการวางแผน
  • อัตราการใช้ สินทรัพย์ กำลังการผลิต (Asset/Capacity Utilization) เป็นอย่างไร และจะปรับปรุงได้ด้วยวิธีใด
  • มีการวางแผนการรับมือกับความเสี่ยงในรูปแบบต่างๆ อย่างไรบ้าง จะต้องออกนโยบาย หรือ ขั้นตอนการปฏิบัติงานใดบ้างเพื่อช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้น (Risk Management & Internal Control)
  • แนวทางการปฏิบัติที่ส่งผลเลิศ (Best Practice) ของงานการบัญชีและการเงินคืออะไร
  • นโยบายการให้ผลตอบแทนแก่พนักงาน (Employee Compensation) ซึ่งต้องมีการเชื่อมโยง ระบบการวัดประเมินผล (Performance Measurement System) เข้ากับ กลยุทธ์ขององค์กร(Coporate Strategy) นอกจากนี้ยังรวมไปถึงเรื่องการให้ สวัสดิการ เช่น การประกัน สิทธิประโยชน์ต่างๆ

จะเห็นได้ว่า การบริหารการเงินมีขอบเขตที่กว้างขวางและลึกซึ้ง ดังนั้น ผู้บริหารขององค์กรควรต้องมีความตระหนักอยู่เสมอว่าประเด็นดังกล่าวข้างต้น มีผู้รับผิดชอบที่เหมาะสม และ ครบถ้วน หรือไม่

ที่มา:http://www.businessacumen.co.th

คำสำคัญ (Tags): #cfo
หมายเลขบันทึก: 586742เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2015 22:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2015 22:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท