การประเมินภายในตามแนวทาง EdPEx


รายงานการประเมินตนเอง ตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ เป็นการประเมินประจำปีการศึกษา 2557 โดยหัวหน้าภาควิชาหรือผู้รับผิดชอบ

การประเมินภายในตามแนวทาง EdPEx

พันเอก มารวย ส่งทานินทร์

[email protected]

23 กุมภาพันธ์ 2558

บทความเรื่อง การประเมินภายในตามแนวทาง EdPEx สรุปมาจาก เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Educational Criteria for Performance Excellence - EdPEx) เพื่อใช้เป็นแบบประเมินตนเองของภาควิชาต่าง ๆ ในการตรวจประเมินภายในประจำปี 2558

ผู้ที่สนใจเอกสารแบบ PowerPoint (PDF file) สามารถ Download ได้ที่ http://www.slideshare.net/maruay/edpex-for-internal-assessment

เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Educational Criteria for Performance Excellence - EdPEx)

  • เป็นเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินองค์กรการศึกษาในภาพรวม
  • อยู่บนกรอบของการดำเนินงานที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ
  • สามารถใช้ประเมินได้ทั้งระดับคณะและสถาบัน
  • เป็นเกณฑ์ความเป็นเลิศเดียวกันกับระบบอื่นๆ ที่ได้มีการริเริ่มใช้ในภาคส่วนต่าง ๆ ได้แก่ PMQA, SEPA, HA, TQA

วัตถุประสงค์ในการใช้เกณฑ์ EdPEx

  • พัฒนาเกณฑ์ให้เหมาะกับบริบทของสถาบันอุดมศึกษาไทย
  • ส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพ เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดี การจัดระดับเทียบเคียง และดำเนินงานที่เป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาไทย ในการก้าวสู่ความเป็นเลิศอย่างก้าวกระโดด
  • ส่งเสริมสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษา พัฒนาคุณภาพการศึกษา ระบบการบริหารจัดการ ด้วยเกณฑ์ EdPEx ที่สามารถเทียบได้ในระดับสากล

คุณลักษณะสําคัญของเกณฑ์

  • มุ่งเน้นผลลัพธ์
  • ไม่กำหนดวิธีการ และสามารถปรับใช้ให้เหมาะสมได้
  • มุ่งเน้นความต้องการของสถาบัน
  • สนับสนุนมุมองเชิงระบบ เพื่อให้เป้าประสงค์สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันทั่วทั้งองค์กร
  • สนับสนุนการตรวจประเมินที่เน้นเป้าประสงค์

บทบาทของเกณฑ์ EdPEx

  • ช่วยปรับปรุงวิธีการดำเนินงานของสถาบัน เพิ่มขีดความสามารถ และผลลัพธ์ให้ดีขึ้น
  • ช่วยกระตุ้นให้เกิดการสื่อสาร แลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ
    • เป็นเครื่องมือ สร้างความเข้าใจและบริหารจัดการผลการดำเนินการของสถาบัน
    • ชี้แนะแนวทางการจัดทำแผนกลยุทธ์
    • เปิดโอกาสการเรียนรู้

การประเมินองค์กรด้วยเกณฑ์ EdPEx

  • เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ขององค์กร และค้นหาโอกาสในการปรับปรุง เพื่อจัดทำแผนพัฒนาองค์กร
  • เป็นกลไกสร้างให้เกิดการบูรณาการ เพื่อขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายและวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้
  • ค้นหาแนวทางและวิธีการในการสร้างนวัตกรรมในการปรับปรุง

ส่วนประกอบพื้นฐานในการประเมิน (SAR)

  • โครงร่างองค์การ (Organizational Profile - OP) พื้นฐานด้านสภาพแวดล้อมขององค์การ
    • ความสัมพันธ์กับกลุ่มต่าง ๆ ในระดับองค์การ
    • สภาพการแข่งขันและความท้าทาย
  • กระบวนการทั้ง 6 ส่วน (Process) ผู้นำ การวางแผนกลยุทธ์ การมุ่งเน้นลูกค้าและตลาด การวัดการวิเคราะห์และการจัดการความรู้ การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคลากร การจัดการกระบวนการ
  • ผลลัพธ์ (Results) ด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้านการมุ่งเน้นลูกค้า ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร ด้านการนำองค์การและธรรมาภิบาล และด้านงบประมาณ การเงิน และตลาด

ระบบการประเมินของ EdPEx

  • เป็นการประเมินภาพรวมในระดับองค์กร
  • เพื่อดูระดับพัฒนาการ และการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
  • เน้นกระบวนการที่เป็นระบบและข้อมูลของตัวชี้วัด
    • แบ่งการประเมิน เป็น 2 ส่วน กระบวนการ (หมวด 1 – 6)
    • ผลลัพธ์ (หมวด 7)

เกณฑ์ มี 7 หมวด 1,000 คะแนน

  • หมวดที่ 1 การนำองค์การ (120 คะแนน)
  • หมวดที่ 2 การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (85 คะแนน)
  • หมวดที่ 3 การมุ่งเน้นลูกค้า (85 คะแนน)
  • หมวดที่ 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ (85 คะแนน)
  • หมวดที่ 5 การมุ่งเน้นบุคลากร (85 คะแนน)
  • หมวดที่ 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ (85 คะแนน)
  • หมวดที่ 7 ผลลัพธ์ (450 คะแนน)

ผลจากการประเมิน

  • รายงานระดับพัฒนาการขององค์กร ผลการประเมิน ระบุจุดแข็งและโอกาสในการพัฒนาสำคัญ ๆ
  • การจัดลำดับความสําคัญของโอกาสพัฒนา พร้อมทั้งเป้าหมายกำกับแผนพัฒนา
  • ช่วยให้ผู้บริหารเห็นภาพรวมที่ชัดเจน ทราบจุดอ่อนหลักที่กระทบองค์กรมาก ๆ หรือจุดแข็งหลักที่โดดเด่นมากๆ ทำให้สามารถวางแผนขับเคลื่อนได้ดีขึ้น และมีจุดเน้นที่ชัดเจน

ค่านิยมหลักและแนวคิด 11 ข้อ

มีการนำ

  • การนำองค์การอย่างมีวิสัยทัศน์
  • การมุ่งเน้นอนาคต
  • ความรับผิดชอบต่อสังคมในวงกว้าง
  • มุมมองเชิงระบบ

ทำงานเป็น

  • ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นผู้เรียน
  • การให้ความสําคัญกับพนักงานและพันธมิตร
  • ความคล่องตัว
  • การมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์และการสร้างคุณค่า

เน้นเรียนรู้

  • การเรียนรู้ขององค์การและแต่ละบุคคล
  • การจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง
  • การจัดการเพื่อนวัตกรรม

เพื่อการตรวจประเมินภายใน พ.ศ. 2558

ภาควิชาจัดทำแบบประเมินตนเอง 6 หัวข้อ

3.1 เสียงของผู้เรียน

3.2 ความผูกพันของผู้เรียน

6.1 กระบวนการทำงาน

6.2 ประสิทธิผลการปฏิบัติการ

7.1 ผลลัพธ์ด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน และด้านกระบวนการ

7.2 ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นผู้เรียน

คำนิยาม

Customers

  • An actual or potential user of your organization's educational programs and services
  • Customers include the direct users of your programs and services (students and possibly parents), as well as others who pay for your programs and services
  • EdPEx address customers broadly, referencing your current and future students and other customers, as well as your competitors' students and other customers

Educational Program

  • Activities that engage students in learning or contribute to scientific or scholarly investigation, including credit and noncredit courses, degree programs, research, outreach, community service, cooperative projects, and overseas studies
  • Educational program design requires the identification of critical points (the earliest points possible) in the teaching and learning process for measurement, observation, or intervention

Educational Services

  • Educational services are the services considered most important to student matriculation and success
  • These might relate to student counseling, advising, and tutoring; libraries and information technology; and student recruitment, enrollment, registration, placement, financial aid, and housing
  • They might also include food services, security, health services, transportation, and bookstores

หมวดที่ 3. การมุ่งเน้นลูกค้า

หัวข้อ 3.1 เสียงลูกค้า : องค์การมีวิธีการอย่างไรในการรวบรวมสารสนเทศจากผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น

  • ให้อธิบายถึงวิธีการที่สถาบันรับฟังผู้เรียนและกลุ่มลูกค้าอื่น และการได้มาซึ่งสารสนเทศเกี่ยวกับความพึงพอใจและความไม่พึงพอใจเหล่านั้น
  • ก. การรับฟังผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น
    • 1) การรับฟังผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น
    • 2) การรับฟังผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นในอนาคต
  • ข. การประเมินความพึงพอใจและความผูกพันของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น
    • 1) ความพึงพอใจและความผูกพัน
    • 2) ความพึงพอใจเมื่อเทียบกับคู่แข่ง
    • 3) ความไม่พึงพอใจ

หัวข้อ 3.2 ความผูกพันของลูกค้า : องค์การมีวิธีการอย่างไรในการตอบสนองความคาดหวังของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น เพื่อสร้างความผูกพันและความสัมพันธ์กับกลุ่มดังกล่าว

  • ให้อธิบายถึงวิธีการที่สถาบันกำหนดหลักสูตรและบริการ และช่องทางการสื่อสารเพื่อสนับสนุนผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น รวมทั้งวิธีการสร้างความสัมพันธ์กับผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น
  • ก. หลักสูตรและบริการ รวมทั้งการสนับสนุนผู้เรียนและกลุ่มลูกค้าอื่น
    • 1) หลักสูตรและบริการ
    • 2) การสนับสนุนผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น
    • 3) การจำแนกกลุ่ม/ประเภทของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น
  • ข. การสร้างความสัมพันธ์กับผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น
    • 1) การจัดการความสัมพันธ์
    • 2) การจัดการข้อร้องเรียน

หมวดที่ 6. การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ

หัวข้อ 6.1 กระบวนการทำงาน : สถาบันมีวิธีการออกแบบ จัดการ และปรับปรุงหลักสูตรและบริการ และกระบวนการทำงานที่สำคัญอย่างไร

  • ให้อธิบายวิธีการที่สถาบันใช้ในการออกแบบ จัดการ และปรับปรุงกระบวนการทำงานสำคัญ เพื่อส่งมอบหลักสูตรและบริการที่มีคุณค่าสำหรับผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น และทำให้สถาบันประสบความสำเร็จและยั่งยืน สรุปกระบวนการทำงานที่สำคัญของสถาบัน
  • ก. การออกแบบหลักสูตร การบริการ และกระบวนการ
    • 1) แนวคิดการออกแบบ
    • 2) ข้อกำหนดของหลักสูตร บริการ และกระบวนการ
  • ข. การจัดการกระบวนการ
    • 1) การนำกระบวนการไปสู่การปฏิบัติ
    • 2) กระบวนการสนับสนุน
    • 3) การปรับปรุงหลักสูตร การบริการ และกระบวนการ

หัวข้อ 6.2 ประสิทธิผลการปฏิบัติการ : สถาบันทำให้มั่นใจได้อย่างไรว่าการปฏิบัติการต่าง ๆ มีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิผลทั้งในปัจจุบันและอนาคต

  • ให้อธิบายวิธีการอย่างไรในการควบคุมต้นทุน บริหารห่วงโซ่อุปทาน ทำให้สถานที่ทำงานมีความปลอดภัย มีการเตรียมพร้อมเพื่อภาวะฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เพื่ออนาคต เพื่อทำให้มั่นใจว่าระบบปฏิบัติการมีประสิทธิผล และส่งมอบคุณค่าแก่ผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น
  • ก. การควบคุมต้นทุน
  • ข. การจัดการห่วงโซ่อุปทาน
  • ค. การเตรียมพร้อมด้านความปลอดภัยและภาวะฉุกเฉิน
    • 1) ความปลอดภัย
    • 2) การเตรียมพร้อมต่อภาวะฉุกเฉิน
  • ง. การจัดการนวัตกรรม

หัวข้อ 7.1 ผลลัพธ์ด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน และด้านกระบวนการ

  • ก. ผลลัพธ์ด้านการเรียนรู้ของผู้เรียนและด้านกระบวนการที่มุ่งเน้นผู้เรียน
  • ข. ผลลัพธ์ด้านประสิทธิผลของกระบวนการทำงาน
    • 1) ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการ
    • 2) การเตรียมพร้อมต่อภาวะฉุกเฉิน
  • ค. ผลลัพธ์ด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทาน

หัวข้อ 7.2 ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นลูกค้า

  • ก. ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น
    • 1) ความพึงพอใจของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น
    • 2) ความผูกพันของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น

ขั้นตอนการใช้เกณฑ์ EdPEx

  • เรียนรู้เกณฑ์ และความหมายของนิยามต่าง ๆ
  • วิเคราะห์องค์กร โดยเริ่มจากบริบทสําคัญ
  • จัดทำร่างระบบงานต่าง ๆ
  • ประเมินตนเอง เพื่อค้นหาสิ่งที่ต้องปรับปรุง
  • จัดทำแผนพัฒนาองค์กร พร้อมกำหนดเป้าหมาย
  • ประเมินความก้าวหน้า และผลการปรับปรุง
  • ประเมินตนเองทุกปี เพื่อดูความก้าวหน้าของระบบ

สรุป

รายงานการประเมินตนเอง ตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ เป็นการประเมินประจำปีการศึกษา 2557 โดยหัวหน้าภาควิชาหรือผู้รับผิดชอบ คือ ส่วนที่ 1 โครงร่างองค์กร และส่วนที่ 2 ผลการดำเนินงานรายหมวด (หมวด 3 เสียงของผู้เรียน หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ หมวด 7 ผลลัพธ์ คือ 7.1 ผลลัพธ์ด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน และด้านกระบวนการ และ 7.2 ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นผู้เรียน)

*********************************************

หมายเลขบันทึก: 586736เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2015 18:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2015 18:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท