ความสำคัญและความหมายคำว่า ประชากร (อาจารย์ สุภัชชา พันเลิศพาณิชย์)


ความสำคัญและความหมายคำว่า ประชากร

อาจารย์สุภัชชา พันเลิศพาณิชย์

ประชากร หมายถึง จำนวนทั้งหมดของหน่วยซึ่งมีคุณสมบัติบางอย่างที่ผู้วิจัยสนใจศึกษาและมีปรากฏอยู่ในช่วงเวลานั้น ๆ(Sedlack and Stanley,๑๙๙๒ : ๑o๔)

ประชากร หมายถึง คน สัตว์ และสิ่งของต่าง ๆ ที่มีคุณสมบัติตามที่ผู้วิจัยกำหนดและสนใจศึกษาตามเงื่อนไข ๑.)งานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องอะไร ๒.)หน่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล คืออะไร และผู้วิจัยกำหนดขอบเขตของการวิจัยกว้างขวางเพียงใด มีความครอบคลุมเพื่อนาไปใช้อ้างอิงเพียงใด(ปาริชาต สถาปิตานนท์.๒๕๔๖:๑๒๘)

ประชากรหมายถึงประเภทกลุ่มของทั้งหมดที่ต้องการศึกษาซึ่งอาจจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตและการวิจัยทางสังคมศาสตร์จะเน้นที่ตัวบุคคล(ฤทธิชัย แกมนาค.๒๕๕๕;๕๗)

ประเภทของประชากรจำแนกได้เป็น๒ ประเภทคือ

๑.จำแนกตามขอบเขตของประชากร

๒.จำแนกตามลักษณะของประชากร

ประชากรแบบจำกัด(Finite Population) หมายถึง ทุก ๆ หน่วยของสิ่งที่ต้องการศึกษา ที่สามารถระบุขอบเขตหรือนับจานวนทั้งหมดได้อย่างครบถ้วน เช่นพระนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุลงกรณราชวิทยาลัยที่กำลังศึกษาในคณะพุทธศาสตร์ประชากรแบบไม่จำกัด(Infinite Population) หมายถึง ทุก ๆ หน่วยของสิ่งที่ต้องการศึกษา แต่ไม่สามารถที่จะระบุขอบเขตหรือจำนวนได้อย่างครบถ้วน เช่น จำนวนปลาในแม่น้า หรือ จำนวนต้นไม้ในประเทศไทย หรือจำนวนนกทุกชนิดที่พบในภาคเหนือปีพ.ศ.๒๕๕๖ เป็นต้น

(ดร.ฤทธิชัย แกมนาค การศึกษาอิสระ มหาวิทยาลัยมหาจุลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา ห้องเรียนวัดพระแก้ว ๒๕๕๕ หน้า ๕๘)

๒.จำแนกตามลักษณะของประชากร มีดังนี้(พิชิต ฤทธิ์จรูญ,2544 :118)

-มีลักษณะเป็นเอกพันธ์ (Homogeneity) หมายถึง ประชากรในทุก ๆ หน่วยมีคุณลักษณะ/โครงสร้างที่คล้ายคลึงกัน

-มีลักษณะเป็นวิวิธพันธ์ (Heterogeneity)หมายถึง ประชากรในแต่ละหน่วยมีคุณลักษณะและโครงสร้างที่แตกต่างกัน

สรุปประชากร หมายถึง ทุกสิ่งที่จะศึกษาประชากรที่ใช้ในการวิจัยอาจเป็นได้ทั้งสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งไม่มีชีวิตเช่น

  • -การศึกษาทัศนคติของผู้ใช้ไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานคร
  • ประชากรในการวิจัยเรื่องนี้ได้แก่ประชาชนผู้ใช้รถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานคร
  • ประชากร เป็นสิ่งมีชีวิต คือ ประชาชน
  • -การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพอากาศในเขตเมืองและชนบท
  • -ประชากรในการวิจัยเรื่องนี้ได้แก่อากาศในเขตเมืองและชนบท
  • ประชากร เป็นสิ่งไม่มีชีวิตไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้จึงต้องเป็นการวิจัยเชิงทดลองเพื่อศึกษาคุณภาพอากาศไม่ใช่การวิจัยเพื่อสำรวจความคิดเห็น

ประเภทของประชากร จำแนกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือประชากรที่มีจำนวนจำกัด เป็นประชากรที่สามารถนับจำนวนได้ เช่น จำนวนนักศึกษา จำนวนนักเรียนและประชากรที่มีจำนวนไม่จำกัด เช่นจำนวนเม็ดทราย ดวงดาวบนท้องฟ้าฯลฯ

เหตุผลที่จำเป็นจะต้องวิจัย/ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างแทนประชากรมี ดังนี้(Bailey,๑๙๘๗: ๘๓-๘๔)

๑.เพื่อให้มีมีความถูกต้อง แม่นยำ มากขึ้น

๒.จากพิจารณาประชากรแล้วพบว่าไม่สามารถดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ครอบคลุมอาทิ ระยะทางที่ห่างไกล/อันตราย มีเวลาที่จำกัด เป็นต้น

๓. ประหยัดเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลและประหยัดการใช้งบประมาณในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีค่อนข้างจำกัด

๔.เนื่องจากการใช้กลุ่มตัวอย่างจะมีจำนวนน้อยกว่าประชากร ทำให้มีเวลาที่จะศึกษาและเก็บข้อมูลที่มีรายละเอียดได้ชัดเจนมากขึ้น

๕. นำผลการวิเคราะห์มาใช้ประโยชน์ได้สอดคล้องกับเหตุการณ์

๖.สามารถสรุปผลอ้างอิงไปสู่ประชากรได้

ข้อจากัดของการศึกษา/วิจัยที่ศึกษาจากประชากรมี ดังนี้(สิน พันธุ์พินิจ, ๒๕๔๗ : ๑๑๔)

-ใช้ระยะเวลานานในการเก็บรวบรวมข้อมูล

- ใช้งบประมาณ ค่าใช้จ่ายจานวนมากในดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล

- ใช้แรงงานคนจำนวนมาก

-ได้ข้อมูลที่มีความคลาดเคลื่อนเนื่องจากมีจานวนมาก

- เป็นข้อมูลที่ไม่ลึกซึ้งและไม่ชัดเจน เนื่องจากมีประชากรจานวนมากแต่มีเวลาที่จากัด

-ผลการวิจัยไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ที่จะสามารถนำผลไปใช้ประโยชน์ได้

ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มตัวอย่างและประชากร

นงลักษณ์ วิรัชชัย(๒๕๔๓: ๑๒๗-๑๒๘) ได้นาเสนอความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มตัวอย่างและประชากร ดังนี้

ประชากรทั่วไป(General or Real Populations)หมายถึง ประชากรทั้งหมดที่มีขนาดใหญ่ จำนวนสมาชิกมีมากจนกระทั่งนับไม่ได้

ประชากรตามสมมุติฐาน(Hypothesis Populations) หมายถึง กลุ่มย่อยของประชากรทั่วไปที่จำกัดขอบเขตตามแนวคิด ทฤษฏีที่นำมากำหนดเป็นสมมุติฐาน หรือตามความสนใจของผู้วิจัย

ประชากรเฉพาะการวิจัย(Incumbent Populations)หมายถึง กลุ่มประชากรขนาดเล็กที่เป็นส่วนหนึ่งของประชากรตามสมมุติฐานที่เป็นประชากรในการวิจัยที่ได้มาเนื่องจากข้อจำกัดเกี่ยวกับกาลังคน และทรัพยากรที่ใช้ในการวิจัย

ประชากรเฉพาะการวิจัย(Incumbent Populations)หมายถึง กลุ่มประชากรขนาดเล็กที่เป็นส่วนหนึ่งของประชากรตามสมมุติฐานที่เป็นประชากรในการวิจัยที่ได้มาเนื่องจากข้อจากัดเกี่ยวกับกาลังคน และทรัพยากรที่ใช้ในการวิจัย

........................................................................................................................................ บรรณานุกรม

  • นคร เสรีรักษ์และภรณี ดีราษฎร์วิเศษ. วิจัยไม่ใช่เรื่องยาก. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , ๒๕๕๕.
หมายเลขบันทึก: 586646เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2015 18:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2015 18:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท