งานวิจัยทางสังคมศาสตร์;การทบทวนวรรณกรรม


งานวิจัยทางสังคมศาสตร์;การทบทวนวรรณกรรม

อาจารย์ สุภัชชา พันเลิศพาณิชย์

การทบทวนวรรณกรรม(Literature Review) คือการศึกษา ค้นคว้าสารสนเทศ การรวบรวบข้อมูลและประมวลผลงานทางวิชาการ ที่ได้มาจาก รายงานผลงานวิจัย บทความทางวิชาการ วารสารวิชาการ บทคัดย่อ บทปริทัศน์ (reviews) หนังสือ ตำราวิชาการ เอกสารและรายงานของราชการ วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ เอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ รวมทั้งบทวิจารณ์ทฤษฎี บทเนื้อหาสรุปองค์ความรู้ แนวคิด ปรัชญา ระเบียบของเนื้อหาวิชาการต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องและสอดคล้องกับเรื่องที่ผู้ทำวิจัยต้องการจะศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ แนวคิด ทฤษฎี หลักการ ระเบียบวิธีวิจัย ตัวแปร เทคนิคในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลจากการวิจัยที่ได้ ข้อสรุป ข้อเสนอแนะที่ได้จากผลงานทางวิชาการ และเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อหรือประเด็นของปัญหาที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา

วัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรม

  • ๑.เพื่อศึกษาแนวคิดพื้นฐานเชิงทฤษฎีที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทาการวิจัย
  • ๒.เพื่อกาหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual framework)
  • ๓.. เพื่อศึกษาเครื่องมือและตัวแปรที่เหมาะสม
  • . เพื่อนำมาออกแบบวิธีการวิจัย การเปรียบเทียบระเบียบวิธีการวิจัยกับข้อค้นพบของงานวิจัยที่มีอยู่เดิมว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีจุดอ่อน จุดแข็ง อุปสรรคและโอกาสอย่างไรนำข้อสรุปดังกล่าวมาปรับปรุงแก้ไข
  • . เพื่อช่วยในการอภิปรายผล และแปลความหมายของผลการวิจัยจะต้องมีแนวคิด ทฤษฎีหรือผลงานวิจัยครั้งก่อนมารองรับ และเปรียบเทียบว่าข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้ว่ามีแตกต่างหรือคล้ายกับทฤษฎี และผลงานวิจัยที่ค้นคว้ามาแต่ต้นหรือไม่ เพราะเหตุใด และทาไมถึงเป็นเช่นนั้น
  • . เพื่อทราบปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงานวิจัย
  • ในการเขียนงานทบทวนวรรณกรรมที่ดีต้องสามารถเชื่อมโยงผลงานเหล่านั้นเข้ากับโครงการวิจัยให้เห็นชัดเจน
  • .ประโยชน์ของการทบทวนวรรณกรรม
  • ๑. ช่วยให้ผู้วิจัยเข้าใจแนวทางในการศึกษามากขึ้น
  • ๒. ช่วยกำหนดและให้ขอบเขตของปัญหาการวิจัยให้แคบลง มีลักษณะเฉพาะเจาะจงโดยอาศัยทฤษฎีและความรู้จากการทบทวนวรรณกรรมช่วย
  • ๓. ช่วยสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย ทำให้เห็นภาพแนวคิดและวิธีการทาวิจัยเรื่องนั้นโดยตลอด
  • ๔. ช่วยเลือกวิธีการศึกษาและวัดตัวแปรจะออกแบบการวิจัยอย่างไร จะใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไหน จะวัดตัวแปรที่ศึกษาด้วยวิธีใด หาเครื่องมือรวบรวมข้อมูลได้ที่ไหนหรือจะสร้างและพัฒนาเครื่องมือรวบรวมข้อมูลต้องทำอย่างไร
  • ๕. ช่วยให้รู้วิธีการและแนวการวิเคราะห์ข้อมูลต้องใช้สถิติอะไรจะต้องวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร
  • ๖. ช่วยแปลผลการวิจัยและเป็นแนวทางการเขียนรายงานผลการวิจัยโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับงานวิจัยโดยมีรูปแบบและตัวอย่างที่ดีสาหรับใช้เป็นแนวทางในการแปลผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลและนาเสนอผลการวิจัยให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย
  • ๗. ช่วยสนับสนุนผลการวิจัยของเราและช่วยให้เขียนข้อเสนอแนะในการทำวิจัยต่อไป๘. ช่วยให้ไม่ทำวิจัยในปัญหาที่ซ้ำกับผู้อื่น
  • ๙. ช่วยเสริมสร้างองค์ความรู้ใหม่
  • แหล่งที่มาของวรรณกรรม
  • ๑.ประเภทเอกสารสิ่งพิมพ์ได้แก่.๑ หนังสือ ตาราวิชาการทั่วไป (Books General Science) หมายถึง เอกสารสิ่งพิมพ์ที่มีการจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม หรือเป็นชุดก็ได้

.๒ วารสารวิจัยและวารสารวิชาการ (Periodicals and Technical Journals) เป็นหนังสือชนิดหนึ่งที่ประกอบไปด้วยบทความทางวิชาการที่นามารวบรวมอยู่ในเล่มเดียวกัน โดยมีการจัดพิมพ์ตามกำหนดวาระ เช่น รายสัปดาห์ รายเดือน หรือทุก ๓ เดือน ๖ เดือน แล้วแต่วาระ วารสารเป็นหนังสือที่รวบรวมสรุปผลงานทางวิชาการ ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาปัจจุบัน และมีลักษณะเป็นวารสารเฉพาะสาขาวิชา เช่น วารสารพุทธจักร, วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ ฯลฯ

.๓ รายงานผลการวิจัย (Research Report) เป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ที่มีการรายงานผลการวิจัยในสาขาต่างๆ หลังจากดำเนินการวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว จะประกอบไปด้วยเนื้อหาที่สำคัญได้แก่ บทนำ วัตถุประสงค์ การทบทวนวรรณกรรม การกำหนดสมมติฐาน ระเบียบวิธีวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยสามารถค้นหารายงานการวิจัยได้จากหน่วยงานที่ทำการวิจัยหรือสถาบันที่สนับสนุนทุนวิจัย หรือห้องสมุดสานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นต้น

.๔ วิทยานิพนธ์ และดุษฎีนิพนธ์ (Thesis & Dissertation) เป็นรายงานการวิจัยของนิสิต นักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา เป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ที่มีการจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มคล้ายหนังสือแต่ไม่มีการจัดจำหน่ายและถือว่าเป็นสิ่งพิมพ์ต้นฉบับ มีเนื้อหาสาระที่ครบถ้วนทั้งบทคัดย่อ วัตถุประสงค์ วิธีการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ พร้อมทั้งมีเอกสารอ้างอิงท้ายเล่มซึ่งผู้วิจัยสามารถนาไปค้นคว้าเพิ่มเติมได้อย่างสะดวก

.๕ รายงานการประชุมสัมมนาทางวิชาการ (Annual Seminar) เป็นเอกสารที่จัดพิมพ์ขึ้นหลังจากการประชุมเสร็จสิ้นแล้ว โดยจะรวบรวมเนื้อหาสาระที่นำเสนอในที่ประชุมสัมมนา

.๖ วารสารปริทัศน์ (Review Journals) เป็นเอกสารที่จะเขียนโดยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาซึ่งเป็นที่ยอมรับและมักจะเน้นที่ความเห็นของผู้เขียนเป็นหลัก

.๗ หนังสือพิมพ์ (Newspaper) เป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ที่นาเสนอข่าวหรือเหตุการณ์ต่างๆ รายวัน เช่น ไทยรัฐ มติชน เดลินิวส์ Bangkok Post, The Nation, Newsweek เป็นต้น ผู้วิจัยอาจอาจจะให้ความสนใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากการตีพิมพ์ในหน้าหนังสือพิมพ์ แต่อย่างไรก็ตามควรมีการตรวจสอบความถูกต้องก่อนจะนามาใช้อ้างอิง

.๘ เอกสารทางราชการ ได้แก่ ประกาศ คาสั่ง จดหมายเหตุ ใช้ค้นคว้าหัวข้อเกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน

.๙ หนังสืออ้างอิง (Reference books) หนังสืออ้างอิงมีประโยชน์ในการใช้ประกอบการค้นคว้าวิจัย หนังสืออ้างอิงมีหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีวิธีการใช้แตกต่างกัน จะขอกล่าวที่เฉพาะที่สำคัญ ดังนี้

) พจนานุกรม (Dictionary) ๒) สารานุกรม (Encyclopedia) เช่น สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน) หนังสือรายปี (Yearbooks) ๔) หนังสืออ้างอิงเฉพาะสาขาวิชา

) นามานุกรม (Directories) เป็นหนังสือที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับบุคคล องค์กร สถาบันและหน่วยงานต่างๆ เช่น นามานุกรมท้องถิ่น

) อักขรานุกรมชีวประวัติ (Biographical Dictionary) เป็นหนังสือที่มีการรวบรวมชีวประวัติของบุคคลหลายคนไว้ในเล่มเดียวกันหรือในชุดเดียวกัน

.๑๐ ดัชนีวารสาร (Periodical Indexes) เป็นหนังสือคู่มือการค้นหาบทความและวารสารซึ่งระบุถึงแหล่งที่มีหนังสือวารสารนั้น

.๑๑ หนังสือบรรณานุกรม (Bibliography) เป็นหนังสือที่รวมรายชื่อหนังสือ หรือสิ่งพิมพ์ในช่วงเวลาหนึ่ง ได้แก่ บรรณานุกรมของสถาบัน บรรณานุกรมเฉพาะสาขาวิชา

. ประเภทโสตทัศนวัสดุ เป็นวรรณกรรมที่ไม่ได้จัดพิมพ์เป็นหนังสือ ได้แก่

.๑ ทัศนวัสดุ (Visual Materials) เช่น รูปภาพ แผนที่ แผนภูมิ วัสดุกราฟิก หรือวัสดุลายเส้น ลูกโลก หุ่นจาลอง เกม ภาพนิ่งหรือแผ่นชุดการสอน เป็นต้น

.๒ โสตวัสดุ (Audio Materials) เช่น แผ่นเสียง แถบบันทึกเสียง หรือเทปบันทึกเสียง แผ่นดิสก์ เป็นต้น

.๓ โสตทัศนวัสดุ (Audio Visual Materials) เป็นวัสดุสารสนเทศที่มีทั้งภาพและเสียง ได้แก่ เครื่องฉายภาพยนตร์สไลด์ ประกอบเสียง หรือสไลด์มัลติวิชั่น เป็นต้น

. ประเภทฐานข้อมูล (Database) แบ่งออกได้เป็น ๓ ประเภท คือ

.๑ ฐานข้อมูลบรรณานุกรม (Bibliographic databases) เป็นการเก็บข้อมูลของหนังสือ วารสาร เอกสาร รายงานการประชุมต่างๆ ในลักษณะข้อมูลบรรณานุกรม

.๒ ฐานข้อมูลตัวเลข (Numeric databases) เป็นการเก็บข้อมูลตัวเลขเกี่ยวกับการลงทุน ตลาดหุ้น ธุรกิจ อุตสาหกรรม ทฤษฎีและสูตรสมการต่างๆ

.๓ ฐานข้อมูลเต็มรูปแบบ (Full-text databases) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หากผู้วิจัยต้องการศึกษาค้นคว้าข้อมูลประเภทใดและเรื่องใด สามารถค้นหาได้จาก

ฐานข้อมูลที่ห้องสมุด ที่มีการจัดทำระบบนี้ไว้หรือจากองค์การต่างๆ ทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่มีการจัดทำไว้

. ประเภทอินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นการทบทวนวรรณกรรมที่ทำได้รวดเร็ว และได้ข้อมูลมาก ทันสมัย การสืบค้นต้องผ่าน Search Engine ที่เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ต่างๆ ที่นิยมกันแพร่หลาย เช่น Google, Yahoo เป็นต้น

ขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรม

  • ๑.ต้องมีความชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษา โดยเฉพาะต้องทราบว่าคำสาคัญ (Key words) ของเรื่องที่จะวิจัยคืออะไร
  • . ต้องมีการวางแผนในการศึกษา เช่น ใช้กลวิธีใดในการค้นหา ใช้เวลาในการศึกษานานเท่าไร ห้องสมุดที่จะไปศึกษาอยู่ที่ไหนบ้าง
  • . ต้องทราบว่าประเภทของเอกสารที่จะศึกษามีอะไรบ้าง
  • . ทบทวนข้อค้นพบ เนื้อหา หรือประเด็นสำคัญเพื่อนำมาบูรณาการสร้างเป็นกรอบแนวคิดในการทบทวนวรรณกรรม ผู้วิจัยควรจัดทำแบบการบันทึกการวิจัยลงในบัตรหรือแผ่นบันทึก ซึ่งอาจประกอบด้วยชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง จังหวัดที่พิมพ์ สานักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ อ่านเนื้อหาที่ต้องการและสรุปความให้ชัดเจน พร้อมทั้งระบุหน้าที่ใช้ข้อมูลเหล่านั้นด้วย ทั้งนี้เพื่อสะดวกกับการอ้างอิง และค้นคว้าเพิ่มเติมอีกในภายหลัง
  • การเขียนผลการทบทวนวรรณกรรม
  • ๑.การทำโครงเรื่อง (outline)โดยแบ่งประเภทเนื้อหาประกอบด้วยหัวข้อใหญ่ หัวข้อรอง หัวข้อย่อย และหัวข้อสุดท้าย การให้ชื่อหัวข้อควรเป็นข้อความที่กะทัดรัดที่สุด และแต่ละหัวข้อเรื่องต้องมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันตามลาดับ

. เขียนฉบับร่าง (The First Draft) ให้เริ่มย่อหน้าแรกด้วยประโยคบรรยายเกี่ยวกับเนื้อหาสาระของเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องว่า ได้มีการทบทวนจากแหล่งข้อมูลใดบ้าง เนื้อหาที่นำเสนอมีอะไรบ้าง บรรยายให้เห็นภาพของการผสมผสานเนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจึงเขียนเนื้อหาตามหัวข้อที่กำหนดไว้ในโครงเรื่องที่ทำไว้การเขียนฉบับร่างเป็นการเขียนเบื้องต้น เนื้อหาและความถูกต้องของข้อมูลควรระบุการอ้างอิงให้ถูกต้องสมบูรณ์เนื่องจากการเขียนฉบับร่าง (The First Draft เป็นการเขียนอย่างหยาบๆ ยังเขียนไม่จบ เป็นการลองดูก่อน (tentative) ยังไม่แน่นอน ยังไม่ใช่ฉบับสมบูรณ์ (final)จึงควรเขียนตามความรู้ ความเข้าใจและความคิดเห็นที่มีอยู่อย่างแท้จริง

. ปรับปรุงแก้ไขฉบับร่าง (Revising the Draft)ควรอ่านเนื้อหาให้ตลอดในครั้งเดียวและควรอ่านทบทวนหลายๆ ครั้ง อ่านพิจารณาเนื้อหาแต่ละหัวข้อรวมทั้งต้องอ่านตรวจสอบความถูกต้องทั้งเนื้อหา ภาษา การเว้นวรรค การใช้เครื่องหมาย และรูปแบบการเขียน

ในการปรับปรุงแก้ไขฉบับร่างควรตั้งคำถามและตอบเองว่า

- เนื้อหาที่เขียนไว้ให้ประเด็นตรงจุด (at the point) ชัดเจนแล้วหรือยัง

-เนื้อหาที่เขียนไว้ให้ข้อมูล เนื้อหาสนับสนุนปัญหาการวิจัยเพียงพอแล้วหรือยัง

- มีข้อมูล เนื้อหาเกิน หรือไม่เกี่ยวข้องตัดทิ้งออกไปได้บ้างหรือไม่

- เนื้อหาที่เขียนต้องสมเหตุผลและเป็นระบบ ระเบียบดีหรือยัง รวมทั้งเนื้อหาสอดคล้องและต่อเนื่องกันหรือไม่

- แต่ละย่อหน้ายาวเกินไปหรือไม่ ถ้ายาวไปสามารถแยกย่อหน้าได้หรือไม่

- คำที่ใช้ถูกต้องชัดเจนและมีความหมายแน่นอนแล้วหรือไม่

- มีคำฟุ่มเฟือย ไม่เป็นประโยชน์หรือมีคำที่อธิบายไม่ได้บ้างหรือไม่

. การจัดทำฉบับสมบูรณ์ (Final Daft) เมื่อได้แก้ไขฉบับร่างถูกต้องสมบูรณ์ดีแล้วก็เขียนและจัดทาฉบับสมบูรณ์ต่อไป ซึ่งจะเขียนหรือพิมพ์ก็ได้

๔.๑ แนวทางและรูปแบบการเขียน

- เขียน เรียบเรียงเนื้อหาไปตามลำดับและอยู่ในกรอบของโครงเรื่อง

- เขียนเป็นสำนวนของผู้วิจัยเอง

- ใช้คำศัพท์ให้ถูกต้อง เขียนให้กะทัดรัด ชัดเจน และได้ใจความสมบูรณ์ให้ผู้อ่านเข้าใจเหมือนกับเราเข้าใจ

-การคัดลอกเนื้อหาของผู้อื่นอย่าให้มากนัก และไม่ควรคัดลอกเนื้อหาของผู้อื่นมายาวๆและควรอ่านทำความข้าใจแล้วนำมาเขียนใหม่เป็นสำนวนการเขียนตนเอง

- เขียนตามข้อมูลและเนื้อหาที่ได้มา ซึ่งต้องตรวจสอบความถูกต้องและเชื่อถือได้

. สิ่งที่ต้องระมัดระวังในการเขียนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

๕.๑ ขาดระบบ ระเบียบในการจัดลำดับหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อย

๕.๒ หัวข้อกับเนื้อหาไม่สอดคล้องกัน หรือไม่ใช่เรื่องเดียวกัน

๕.๓.ใช้วิธีนำ เนื้อหามาเรียงต่อกันทำให้ขาดการผสมกลมกลืนและไม่ต่อเนื่องกัน

๕.๔ เนื้อหาขาดการปรับปรุง ตบแต่งให้ตรงกับเรื่องที่ต้องการศึกษาวิจัย เช่น ต้องการศึกษาพฤติกรรมผู้สูงอายุ แต่เนื้อหาใช้พฤติกรรมของบุคคลทั่วไป

๕.๕ การอ้างอิงไม่ถูกต้องสมบูรณ์ ไม่เป็นไปตามระบบการอ้างอิงระบบใดระบบหนึ่ง ใช้หลายระบบผสมกัน

๕.๖ การคัดลอกข้อมูล ตัวเลข ตัวเลขทศนิยม ศัพท์เทคนิค ศัพท์ชื่อเฉพาะผิดหรือคลาดเคลื่อน

ความสำคัญของการทบทวนวรรณกรรม

๑. ทำให้ผู้วิจัยสามารถเลือกและกำหนดปัญหาเพื่อการวิจัยได้

๒. ทำให้ผู้วิจัยรู้และเข้าใจสถานภาพปัจจุบันและความก้าวหน้าของสาขาที่ตนเองสนใจทำวิจัย

๓. การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องจะทาให้ผู้วิจัยทราบว่ามีปัญหาที่น่าสนใจอะไรบ้างในสาขาวิชาที่ตนจะทาวิจัยที่มีผู้ทำการศึกษาแล้ว และปัญหาอะไรบ้างที่ยังไม่มีผู้ทำการศึกษาวิจัย

๔. ผู้วิจัยสามารถทราบปัญหาและข้อบกพร่องต่างๆ ในสาขาวิชาที่ตนสนใจและสามารถที่จะนำปัญหาและข้อบกพร่องเหล่านั้นมาปรับปรุงหรือพัฒนา

๕. ผู้วิจัยจะได้แนวทางต่างๆ จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

๖. ผู้วิจัยสามารถนำผลการวิจัยของตนมาเปรียบเทียบอ้างอิงกับวรรณกรรมที่ทบทวนเพื่อสรุปในรายงานวิจัย ทั้งนี้ไม่ว่าการเปรียบเทียบผลที่ได้นั้นจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม

ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม

  • ๑.ผู้วิจัยไม่สามารถตัดสินได้ว่าเอกสารหรืองานวิจัยที่กาลังศึกษาอยู่นั้นเกี่ยวข้องกับงานวิจัยของตนหรือไม่ ดังนั้ร ผู้วิจัยจึงต้องทำความเข้าใจกับปัญหาของตน มีการนิยามปัญหาให้ชัดเจนและกำหนดขอบข่ายของปัญหาที่จะศึกษาว่าต้องการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องใดบ้าง
  • ๒.ผู้วิจัยจดบันทึกข้อมูลไม่ถูกวิธี ผู้วิจัยบางส่วนใช้วิธีการคัดลอกข้อมูลมาทั้งหมด การจดบันทึกข้อมูลต้องเลือกเฉพาะข้อมูลที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับหัวข้อในการวิจัย
  • ๓.ผู้วิจัยไม่มีแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่ชัดเจน ดังนั้นผู้วิจัยต้องจดข้อมูลบรรณานุกรมของหนังสือที่เอามาใช้ด้วย เช่น ชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ ปีที่พิมพ์ สถานที่พิมพ์ เป็นต้น
  • ๔.เลือกข้อมูลมาใช้ในการทบทวนวรรณกรรมไม่ตรงประเด็นในการวิจัยเพราะว่าผู้วิจัยไม่อ่านข้อมูลอย่างละเอียดรอบคอบ ทำให้ไม่เข้าใจในประเด็นที่กำลังศึกษาอยู่
  • ๕.. ผู้วิจัยไม่ทราบแหล่งข้อมูลที่จะใช้ค้นหาเอกสารในการทบทวนวรรณกรรม
  • ๖.ผู้วิจัยไม่ทราบหลักเกณฑ์ในการนาข้อมูลมาใช้ ข้อมูลที่นำมาใช้ควรเป็นข้อมูลที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ สามารถนามาเทียบเคียงหรือปรับใช้ในปัจจุบันได้ ดังนั้น หนังสือหรือเอกสารจึงควรเป็นฉบับที่ตีพิมพ์ล่าสุดและวิทยานิพนธ์ที่นามาเป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องก็ควรค้นคว้าเล่มที่ พ.ศ. ไม่เกิน ๕ ปีถึง๑o ปี ย้อนหลัง นอกจากงานการวิจัยเรื่องนั้นเป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์หรือเกี่ยวกับโบราณสถานหรือโบราณคดี

ข้อจากัดของการทบทวนวรรณกรรม

  • ๑.การทบทวนวรรณกรรมมีลักษณะเฉพาะเจาะจง (selective)อาจไม่ทั่วถึงหรือสาระที่ได้เป็นที่น่าสงสัยในความน่าเชื่อถือ

๒. ผู้อ่านทบทวนวรรณกรรม อาจมีอคติในบางเรื่องบางประเด็น

๓. การทบทวนวรรณกรรมอาจทำให้ผู้วิจัยติดกรอบความคิดที่จะทำให้การศึกษาในภาคสนาม (field work) ไม่ครบถ้วนงานเพราะว่าการวิจัยบางเรื่องจะเริ่มทบทวนวรรณกรรมหลังเก็บข้อมูลไปแล้ว หรือทำการทบทวนเอกสารไปพร้อมๆ กับงานในภาคสนาม

  • สรุป
  • การทบทวนวรรณกรรมเป็นเรื่องที่มีความสำคัญกับผู้วิจัยเป็นอย่างมาก เพราะคาว่า Research คือ การค้นคว้าไป ค้นคว้ามา หรือค้นซ้ำไปซ้ำมา การอ่านมากค้นคว้ามากจะทำให้ผู้วิจัยได้ทราบแนวคิด วิธีการ ปัญหาอุปสรรค ข้อจำกัดในการทำวิจัยเพราะการวิจัยเป็นวิธีการอย่างหนึ่งในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ในทางวิชาการ และผลการวิจัยที่ได้อาจยืนยันว่าทฤษฎีใดถูกต้องเพื่อการพัฒนาสังคมในด้านต่างๆ ได้สอดคล้องกับสภาพปัญหาของสังคม การเมืองหรือวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป เพื่อที่จะได้พัฒนาผลงานวิจัยหรือองค์ความรู้ใหม่ให้ทันสมัย สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน
  • """""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

ขอบคุณแหล่งที่มาค่ะ เรื่อง การทบทวนวรรณกรรมในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์

The literature Review in social science research โดย พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ, ดร.๒๕๕๗

หมายเลขบันทึก: 586644เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2015 15:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2015 15:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท