​​เรือนจำศาสนา (Prison religion)


เรือนจำศาสนา (Prison religion) บริหารงานโดยมืออาชีพทางจิตวิญญาณ โดยมี พระ บาทหลวง หรือ อิหม่าม เป็นผู้บัญชาการเรือนจำ.................

เรือนจำศาสนา หรือ เรือนจำจิตวิญญาณ เป็นเรือนจำที่มีการดำเนินงานโดยเน้นกิจกรรมการฝึกอบรมความรู้ทางศาสนาสำหรับนักโทษ สำหรับนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตภายหลังพ้นโทษ รวมตลอดถึงการติดตามดูแลนักโทษที่พ้นโทษแล้วให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข ไม่หวนกลับไปกระทำความผิดซ้ำ ช่วยปกป้องสังคมให้ปลอดภัยจากอาชญากรรม โดยมีมืออาชีพทางศาสนา หรือ มืออาชีพทางจิตวิญญาณ ได้แก่ พระ บาทหลวง หรือ อิหม่าม เป็นผู้บริหาร หรือ เป็นผู้บัญชาการเรือนจำ มีการดำเนินงานในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ เป็นต้น สำหรับเรือนจำศาสนาที่นำเสนอในวันนี้ ได้แก่ เรือนจำศาสนาเยอจูเกาหลีใต้ ที่มีองค์กรพันธกิจคริสเตียนเป็นผู้ดำเนินงาน เป็นเรือนจำเอกชนแห่งแรกของประเทศเกาหลีใต้ เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อ ตุลาคม 2010 โดยจะเป็นการกล่าวถึง ความหมายของเรือนจำศาสนา ความเป็นมา แนวคิด วัตถุประสงค์ และ แนวทางการดำเนินงาน โดยสังเขป ดังนี้


เรือนจำศาสนา (Prison religion)

ความหมายของเรือนจำศาสนา

เรือนจำศาสนา (Prison religion) หมายถึง เรือนจำที่ควบคุมหรือปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง โดยมีนโยบายเน้นหนักด้านการฝึกอบรมความรู้ความเชื่อทางศาสนาเป็นหลัก โดยมีพระ อิหม่าม หรือบาทหลวงของศาสนาทำหน้าที่เป็นเป็นผู้บัญชาการเรือนจำ ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมหรือกระทรวงที่มีหน้าที่รับผิดชอบ เรือนจำศาสนามีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า "ศาสนาในเรือนจำ" (Religion in Prisons) กล่าวคือ ศาสนาในเรือนจำ หมายถึง เรือนจำที่มีการเผยแพร่ศาสนาต่างๆ ในเวลาเดียวกันหลายๆ ศาสนา เช่น พุทธ คริสต์ อิสลาม เป็นต้น ส่วนเรือนจำศาสนา หมายความเฉพาะเรือนจำศาสนาใดศาสนาหนึ่ง เช่น เรือนจำคริสเตียนของเกาหลีใต้ และ แอฟริกาใต้ เป็นต้น


เรือนจำศาสนาเยอจูเกาหลีใต้

ความเป็นมา

เมื่อ มีนาคม 2002 กระทรวงยุติธรรมได้ตกลงให้มูลนิธิพันธกิจคริสเตียน เป็นผู้ดำเนินงานเรือนจำศาสนาเยอจู เป็นเรือนจำเอกชนแห่งแรกของเกาหลีใต้ ที่เน้นกิจกรรมทางด้านศาสนาเป็นหลัก ตั้งอยู่ในจังหวัดกียองไก ได้รับงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินงานจากรัฐ 90% (ทำให้รัฐประหยัดงบประมาณได้ 10%) ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะใช้ในการซื้อที่ดิน สำหรับใช้ก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกประกอบด้วยอาคาร 6 หลัง ขนาดความจุสามารถรองรับผู้ต้องขังได้ 300 คน ใช้ควบคุมผู้ต้องขังชายที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี มีอายุระหว่าง 20- 60 ปี เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อ 1 ธันวาคม 2010

แนวคิดวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินงาน

แนวคิดหลักที่ใช้ในการดำเนินงาน ได้แก่ แนวคิดในการเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในงานราชทัณฑ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขัง ให้ผู้ต้องขังเกิดการเคารพกฎหมายและทำให้เขาช่วยเหลือตนเองได้เมื่อได้รับการปล่อยตัว ส่วนกิจกรรมหลักที่ใช้ในการดำเนินงานในเรือนจำ ประกอบด้วยกิจกรรมการฝึกอบรมทางจิตวิญญาณ ศึกษาพระคัมภีร์ การร้องเพลงประสานเสียง กระดิ่งประสานเสียง ประชุมอธิษฐาน หรือ การสรรเสริญ และ การนมัสการ เป็นต้น

กิจกรรมทางศาสนาในเรือนจำเยอจูเกาหลีใต้

โดยสรุป

เรือนจำศาสนา เยอจู เกาหลีใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขัง (rehabilitation) ให้ผู้ต้องขังเกิดการเคารพกฎหมายและทำให้เขาช่วยเหลือตนเองได้เมื่อได้รับการปล่อยตัว ดำเนินงานภายใต้แนวคิดในการเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในงานราชทัณฑ์ และ แนวคิดในการลก กระทำความผิดซ้ำ (recidivism) ช่วยปกป้องสังคมให้ปลอดภัยจากอาชญากรรม บริหารงานโดยมืออาชีพทางจิตวิญญาณ ( พระ บาทหลวง หรือ อิหม่าม ) ทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการเรือนจำ สำหรับเรือนจำเยอจู เกาหลีใต้ บริหารงานโดยมืออาชีพทางจิตวิญญาณ คือ บาทหลวงในศาสนาคริสต์ เป็นประเภท หรือ รูปแบบ การดำเนินงานเรือนจำฯ ที่ยังไม่มีการดำเนินงานในประเทศไทย และ เป็นนวัตกรรมใหม่ ที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่ง


....................


อ้างอิง


ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://impeter.tistory.com/1771



หมายเลขบันทึก: 586621เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2015 22:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 สิงหาคม 2016 08:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท