Managing Oneself


การจัดการตนเอง ต้องมีสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประวัติการณ์ของบุคลากร – ไปยังจุดที่คนงานที่มีความรู้แต่ละคน คิดและมีพฤติกรรมเช่นเดียวกับซีอีโอ (thinks and behaves like a CEO)

พัฒนาตนเอง

Managing Oneself

พันเอก มารวย ส่งทานินทร์

[email protected]

12 กุมภาพันธ์ 2558

บทความเรื่อง พัฒนาตนเอง นำมาจากหนังสือเรื่อง Managing Oneself ซึ่งเป็นหนังสือ HBR Classics ประพันธ์โดย Peter F. Drucker จัดพิมพ์โดย Harvard Business School Publishing Corporation, PUBLICATION DATE: January 01, 2005

Peter F. Drucker

  • Peter F. Drucker เป็นศาสตราจารย์ (กิตติคุณ) Marie Rankin Clarke ด้าน Social Science and Management (Emeritus) ที่ Claremont Graduate University แคลิฟอร์เนีย
  • เขาเป็นชาวอเมริกันที่เป็นชาวออสเตรียโดยกำเนิด เขาเป็นที่ปรึกษาด้านการจัดการ การศึกษา และนักประพันธ์ เขามีส่วนร่วมในการเขียนปรัชญารากฐาน และแนวทางการปฏิบัติขององค์กรธุรกิจที่ทันสมัย
  • เขายังเป็นผู้นำในการพัฒนาการศึกษาด้านการจัดการ เขาคิดค้นแนวคิดเรียกว่า การจัดการโดยวัตถุประสงค์ (management by objectives) และเขาได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ค้นพบการบริหารจัดการยุคใหม่ (the founder of modern management)

ผู้ที่สนใจเอกสารแบบ PowerPoint (PDF file) สามารถ Download ได้ที่ http://www.slideshare.net/maruay/managing-oneself-thai

ประเด็นของเรื่องพัฒนาตนเอง (Managing Oneself) โดยย่อ

  • 1. อะไรคือจุดแข็งของฉัน? (What are my strengths?)
  • 2. ฉันทำได้ดีเพียงใด? (How do I perform?)
  • 3. ค่านิยมของฉันคืออะไร? (What are my values?)
  • 4. ฉันควรจะเป็นและอยู่ที่ไหนดี? (Where do I belong?)
  • 5. สิ่งที่ฉันควรจะมีส่วนสนับสนุนคืออะไร? (What should I contribute?)
  • ความรับผิดชอบต่อความสัมพันธ์ (Responsibility of relationships)
  • ช่วงครึ่งหลังของชีวิต (The Second Half Of Your Life)

เกริ่นนำ

  • การประสบความสำเร็จในเศรษฐกิจฐานความรู้ คือผู้ที่รู้จุดแข็งของตัวเอง มีค่านิยม และมีวิธีการที่ดีที่สุดที่พวกเขาใช้ดำเนินการ (Success in the knowledge economy comes to those who know themselves-their strengths, their values, and how they best perform)
  • ประวัติของผู้ที่ประสบความสำเร็จในอดีต คือผู้ที่มีการบริหารจัดการตนเองอยู่เสมอ

กล่าวโดยทั่วไป

  • เราจะต้องเรียนรู้ที่จะจัดการกับตัวเอง
  • เราจะต้องมีการพัฒนาตัวเอง
  • เราจะต้องวางตัวเอง ในที่ที่เราสามารถมีผลงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
  • เราจะต้องระลึกไว้เสมอว่า ในช่วง 50 ปีของชีวิตการทำงาน เมื่อถึงจุด ๆ หนึ่ง ต้องรู้จักวิธีการและเวลาที่จะเปลี่ยนงานที่ทำ

1. อะไรคือจุดแข็งของฉัน? (What are my strengths?)

  • รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่คุณทำได้ดี มันเป็นการง่ายที่จะรู้ในสิ่งที่เราทำได้ไม่ดี มากกว่าการรู้ว่าสิ่งที่เราทำได้ดี
  • เราไม่สามารถสร้างประสิทธิภาพการทำงานได้บนจุดอ่อน ซึ่งอาจทำให้เราไม่สามารถทำอะไรได้เลย
  • บุคคลสามารถดำเนินการได้ โดยอาศัยจุดแข็งเท่านั้น
  • ให้ค้นพบจุดแข็งของคุณผ่าน การวิเคราะห์ข้อเสนอแนะ (feedback analysis)

การวิเคราะห์ข้อเสนอแนะ

  • เป็นวิธีเดียวที่ใช้ระบุจุดแข็งของคุณ
  • เขียนผลที่คาดหวังจากการตัดสินใจที่สำคัญและการกระทำของคุณ จากนั้น 9-12 เดือนต่อมา ให้เปรียบเทียบกับผลลัพธ์
  • แผนดำเนินการ:
    • ใส่จุดแข็งของคุณที่ทำให้เกิดผลลัพธ์
    • ทำงานเพื่อปรับปรุงจุดแข็งของคุณ
    • หลีกเลี่ยงความหยิ่งทางปัญญา - หาทักษะที่จำเป็น
    • แก้ไขนิสัยที่ไม่ดี; การขาดมารยาท
    • รู้ในสิ่งที่จะไม่ทำ – ระบุความไร้ความสามารถ และพยายามหลีกเลี่ยง

กลยุทธ์

1.เน้นจุดแข็งของคุณ (ให้ใช้จุดแข็งที่สามารถผลิตผลลัพธ์)

2.ปรับปรุงจุดแข็งของคุณ (พัฒนาทักษะของคุณหรือหามาใหม่)

3.ค้นพบความเย่อหยิ่งทางปัญญาของคุณที่เป็นสาเหตุของความล้มเหลว แล้วเอาชนะมันให้ได้ (แก้ไขนิสัยที่ไม่ดีของคุณ)

2. ฉันทำได้ดีเพียงใด? (How do I perform?)

  • ขึ้นกับลักษณะของบุคลิกภาพ – วิธีการดำเนินการที่บุคคลที่ทำได้ดีหรือไม่ดี เพราะแต่ละคนมีการทำงานและการดำเนินการที่แตกต่างกัน
  • วิธีการที่คนดำเนินการที่ไม่ซ้ำกัน: เรื่องของบุคลิกภาพ
  • คนจำนวนมากทำงานในรูปแบบที่ไม่ได้เป็นวิธีการของพวกเขา
  • อย่าพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง (มากเกินไป) – ให้ทำงานหนักเพื่อปรับปรุงวิธีที่คุณใช้ดำเนินการ

เราเป็นผู้อ่านหรือผู้ฟัง? (Am I a reader or a listener?)

  • ผู้อ่านเช่น ประธานาธิบดีเคนเนดี้ หรือรัฐมนตรีแมคนามารา ที่ชอบอ่านรายงาน ในการแถลงข่าวหรือการอภิปราย
  • ผู้ฟังเช่น ประธานาธิบดีรูสเวลท์ ชอบการฟังและพูดคุย มากกว่าการอ่านและการเขียน
  • ผู้อ่านไม่สามารถกลายเป็นผู้ฟังได้อย่างเต็มที่ – และในทำนองเดียวกัน

เราเรียนรู้ได้อย่างไร? (How do I learn?)

  • คนเราอาจจะได้เรียนรู้จากการอ่าน การเขียน การทำ การพูด การฟัง หรือการรวมกันของวิธีดังกล่าว
  • เราจะต้องใช้วิธีการที่ได้ผล สำหรับเราเอง

3. ค่านิยมของฉันคืออะไร? (What are my values?)

  • การทดสอบกับกระจก (mirror test) : อย่างมีจริยธรรมถามตัวเองว่า คนแบบไหนที่ฉันต้องการที่จะเห็นในกระจกในตอนเช้า?
  • ค่านิยม (values) เป็นการทดสอบที่ดีที่สุด (ultimate test) สำหรับการทำงานที่เข้ากันได้ขององค์กรกับคุณ
  • ความขัดแย้งค่านิยมที่ควรหลีกเลี่ยงคือ
    • ความมุ่งมั่นขององค์กร ระหว่างพนักงานใหม่กับพนักงานเก่า
    • การปรับปรุงที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้น หรือพัฒนาอย่างก้าวกระโดด
    • การเน้นผลในระยะสั้น เทียบกับเป้าหมายระยะยาว
    • คุณภาพเทียบกับปริมาณ
    • การเจริญเติบโตเมื่อเทียบกับความอยู่รอด

4. ฉันควรจะเป็นและอยู่ที่ไหนดี? (Where do I belong?)

  • นักคณิตศาสตร์ นักดนตรี และพ่อครัว มักจะแสดงออกในขณะที่พวกเขามีอายุสี่หรือห้าปี
  • คนที่มีพรสวรรค์สูง ควรจะต้องตระหนักในช่วงต้นของชีวิตว่า พวกเขาควรเป็นหรือไม่ควรเป็นอะไร
  • การประสบความสำเร็จในอาชีพไม่ได้เกิดจากวางแผน
    • ผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพ เกิดจากมีการพัฒนาเตรียมไว้ก่อนสำหรับโอกาสที่จะมาถึง เพราะพวกเขารู้จุดแข็งของพวกเขา วิธีการของพวกเขาในการทำงาน และค่านิยมของพวกเขา
    • การรู้ตัวตนสามารถเปลี่ยนคนธรรมดา - ขยันและมีความสามารถ แต่อย่างอื่นปานกลาง – ให้เป็นผู้ที่มีความโดดเด่น
  • ฉันควรเป็นหรือฉันไม่ควรเป็น ...
  • ฉันควรทำงานในองค์กรขนาดใหญ่หรือองค์กรขนาดเล็ก?
  • "ใช่ฉันจะทำอย่างนั้น " (ในวิถีที่ฉันเป็น)
  • ถ้าฉันไม่ชอบการตัดสินใจ ฉันควรจะได้เรียนรู้ที่จะบอกว่าไม่ เมื่อมีการมอบหมายให้เป็นผู้ตัดสินใจ
  • เมื่อฉันตอบคำถามสามข้อก่อนหน้านี้แล้ว ทำให้ฉันสามารถและตัดสินใจในสิ่งที่ฉันเป็น

5. สิ่งที่ฉันควรจะมีส่วนสนับสนุนคืออะไร? (What should I contribute?)

  • ผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้ ควรแสวงหาการมีส่วนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องกับ:
    • สถานการณ์ต้องการอะไร?
    • การมีจุดแข็ง วิธีการ และค่านิยมของฉัน สามารถสนับสนุนในสิ่งที่ต้องทำอะไรบ้าง?
    • อะไรคือผลลัพธ์ที่ได้ที่สร้างความแตกต่าง จากการประสบความสำเร็จ?
  • ไม่ควรมองไกลไปข้างหน้าเกิน 18 เดือน ควรมีการวางแผนที่จะ -
    • ให้บรรลุผลลัพธ์ที่มีความหมายและสร้างความแตกต่าง
    • ยืดเป้าหมายที่มีความลำบากแต่สามารถทำให้สำเร็จได้
    • สามารถมองเห็นผลได้และสามารถวัดผลได้
  • กำหนดแนวทางของการกระทำว่า: จะทำอย่างไร ที่ใด วิธีการที่จะเริ่มต้น สิ่งที่เป็นเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และกำหนดเวลาเส้นตาย

ความรับผิดชอบต่อความสัมพันธ์

  • เจ้านายจะไม่ได้ขึ้นกับตำแหน่งในแผนภูมิหรือหน้าที่- การปรับปรุงแล้วทำให้เจ้านายมีประสิทธิผล (effective) มากขึ้น เป็นความลับของ "การจัดการเจ้านาย"
  • ความสัมพันธ์ของการทำงานขึ้นอยู่กับคนในการทำงาน - เพื่อนร่วมงานมีความเป็นมนุษย์และความเป็นบุคคลเช่นเดียวกับที่คุณมี
  • ความรับผิดชอบของการสื่อสาร เป็นวิธีการที่คุณดำเนินการ เพื่อลดความขัดแย้งด้านบุคลิกภาพ
  • องค์กรเกิดจากการสร้างความไว้วางใจระหว่างบุคคล - ไม่จำเป็นต้องหมายความว่าพวกเขาชอบกัน - แต่อยู่ที่พวกเขามีความเข้าใจกันและกัน

ช่วงครึ่งหลังของชีวิตของคุณ

  • การจัดการตนเอง นำไปสู่การเริ่มต้นอาชีพที่สอง:
    • เริ่มต้นหนึ่งใหม่ (ย้ายไปยังองค์กรอื่น)
    • พัฒนาอาชีพคู่ขนาน (ทำไปพร้อมกับงานปัจจุบัน)
    • ผู้ประกอบการทางสังคม (กิจกรรมไม่แสวงหาผลกำไร)
  • ผู้ที่จัดการช่วงครึ่งหลังชีวิตของพวกเขา อาจจะเป็นชนกลุ่มน้อย
  • ส่วนใหญ่มักจะอยู่จน เกษียณอายุ (retire on the job)

สรุป

  • ในยุคอุตสาหกรรมความรู้
    • การประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ คือไม่ล้มเหลว
    • แรงงานที่มีความรู้ ยั่งยืนกว่าองค์กร
    • แรงงานที่มีความรู้ มักเคลื่อนที่ และไม่อดทน
    • จำเป็นที่จะต้องจัดการตนเอง เป็นการปฏิวัติกิจกรรมของมนุษย์
  • การจัดการตนเอง ต้องมีสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประวัติการณ์ของบุคลากร – ไปยังจุดที่คนงานที่มีความรู้แต่ละคน คิดและมีพฤติกรรมเช่นเดียวกับซีอีโอ (thinks and behaves like a CEO)

*****************************************************

หมายเลขบันทึก: 585883เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2015 21:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2015 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท